ไม่มาเกิดไม่มาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 14 มีนาคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ในโอกาสวันถวายเพลิงสรีระสังขาร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะศิษย์วัดภูสังโฆ ได้จัดทำหนังสือ ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า “ชาติสุดท้าย”...

    หมายเหตุ - ในโอกาสวันถวายเพลิงสรีระสังขาร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะศิษย์วัดภูสังโฆ ได้จัดทำหนังสือ ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า “ชาติสุดท้าย” แจกเป็นที่ระลึก ก่อนหน้านี้คณะผู้จัดทำได้เคยจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้แล้วนำถวายหลวงตามหาบัวครั้งยังดำรงขันธ์อยู่มาก่อนแล้ว เนื่องจากการพิมพ์ครั้งล่าสุดนี้หนังสือมีจำนวนจำกัด

    ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์จึงได้ขออนุญาต พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต เจ้าอาวาสวัดภูสังโฆ นำรายละเอียดของหนังสือมาเผยแผ่ซึ่งท่านได้แจ้งว่า ให้พิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์หรือไม่ ทางกองบรรณาธิการจึงจะนำเสนอต้นฉบับตามเดิม โดยเพิ่มเนื้อหาที่เป็นเทศนาของพ่อแม่ครูอาจารย์แต่ละรูปเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง แล้วนำเสนอต่อเนื่องไปคราวละสัปดาห์จนกว่าจะสิ้นความหลักในหนังสือ มีรายละเอียดดังนี้

    คำนำ
    “ครูบาอาจารย์เหล่านี้มีแต่ประเภทน้ำหนึ่งนะ น้ำสองมีแทรกนิดหน่อย มีเพชรน้ำหนึ่ง ดูเอาพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบันให้ดูเอา ไม่ต้องตีตรา พระภายในท่านรู้กันหมดนั่นละ ไม่รู้แต่ภายนอก เพราะถึงกันมีแต่อรรถแต่ธรรมถอดออกมาจากหัวใจ ถอดออกมาจากหัวใจมาสนทนากันเป็นชั่วโมงๆ มีแต่ประเภทเพชรน้ำหนึ่ง น้ำสองมีน้อยมาก

    [​IMG]

    น้ำสองก็คือจวนแล้วจวนจะเข้าแล้ว นี่ประเภทเข้าแล้ว เพชรน้ำหนึ่งเข้าเต็มสัดเต็มส่วน พระอรหันต์ในสมัยปัจจุบันดูเอา ท่านรู้กันหมด การปฏิบัติวงภายในรู้กันละ แต่ภายนอกท่านไม่ออก เฉย ภายในท่านรู้กันหมด เพราะสนทนาธรรมใครจะสนทนาสนิทสนมยิ่งกว่าพระปฏิบัติสนทนาต่อพระปฏิบัติด้วยกัน มีเรื่องอะไรก็รู้กันหมด แต่รู้แล้วก็แล้วเลยเหมือนไม่รู้ไม่ชี้ นี่มีแต่เพชรน้ำหนึ่งเหล่านี้ ของเล่นเมื่อไรเหล่านี้ เพชรน้ำหนึ่งเข้าถึงวิมุตติหลุดพ้นแล้ว

    เพชรน้ำหนึ่งเข้าใจไหม มีแต่องค์สำคัญๆ นี่ ไม่ว่าหนุ่มว่าแก่ จิตใจไม่มีวัยชำระได้เท่าไรก็บริสุทธิ์เท่านั้นๆ

    เพชรน้ำหนึ่ง...น้ำสองมีน้อยมาก เพชรน้ำหนึ่งมีมาก อยากดูพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบันให้ดูเอา ถอดออกมาจากหัวใจคุยกันพอแล้วเหล่านี้ ไม่ใช่มาโม้เฉยๆ นะ มีแต่ประเภทเพชรน้ำหนึ่งละมาก”

    เมื่อวันที่ 1 ต.ค. พุทธศักราช 2552 (15.10 น.)

    อย่าให้มีใจหมายโทษขออานุภาพบารมีพระรัตนตรัยและอานิสงส์แห่งบุญที่ได้จัดทำหนังสือเล่มนี้เพื่อบูชาคุณองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จงอำนวยผลให้ธาตุขันธ์ขององค์หลวงตาสมบูรณ์แข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานตราบนานเท่านาน และขอให้ข้าพเจ้า ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาที่เสียสละทรัพย์ในการจัดพิมพ์ทั้งหลายจงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติทุกประการ เป็นผลเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพานในอนาคตอันใกล้นี้เทอญ

    คณะศิษยานุศิษย์

    พระสมบูรณ์แบบ
    พระเราที่จะเป็นพระสมบูรณ์แบบขึ้นอยู่กับพระวินัยเป็นหลักประกันพระในขั้นแห่งความเป็นพระทั่วๆ ไปตามหลักนิยมของพุทธศาสนา การประพฤติทางกาย ทางวาจา มีใจเป็นธรรมนำมารับผิดชอบการเคลื่อนไหวของกาย วาจา อยู่ด้วยความระมัดระวังเสมอ นี่คือพระที่ชอบธรรมตามหลักของศาสดาที่สอนไว้ นี่เป็นขั้นหนึ่งแห่งความสมบูรณ์ของพระเจ้าของก็มีความอบอุ่น คนอื่นมองเห็นก็น่าเคารพเลื่อมใส

    ขั้นที่สองก็คือธรรม เจริญธรรมขึ้นภายในใจ มีสมถธรรมหรือสมาธิธรรมเป็นขั้นๆ ด้วยความพากเพียร และปัญญาธรรม ถึงวิมุตติหลุดพ้น เรียกว่าวิมุตติธรรม ทรงไว้ซึ่งธรรมซึ่งวินัยโดยสมบูรณ์ในหลักธรรมชาติของพระ นี้เป็นพระสมบูรณ์แบบ เป็นพระที่ควรอย่างยิ่งต่อความเป็นสรณะของโลกได้ ดังพระในครั้งพุทธกาลที่ท่านได้เป็นสรณะของโลกเรื่อยมา

    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ก็คือพระพุทธเจ้าเป็นผู้บรรลุวิสุทธิธรรมอันล้ำเลิศ ด้วยการประพฤติปฏิบัติชอบยิ่งของพระองค์เอง

    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ พระธรรมอันประเสริฐเลิศเลอยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดในโลก ได้ปรากฏขึ้นในพระทัยเพราะการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยิ่งของพระองค์

    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ได้เกิดความเชื่อความเลื่อมใสในหลักธรรมที่พระองค์ทรงสอนแล้ว นำไปประพฤติปฏิบัติด้วยความเอาจริงเอาจัง เนื่องมาจากความเชื่ออย่างถึงใจ การทำทุกสิ่งทุกอย่างย่อมถึงใจ เมื่อถึงใจแล้วก็ถึงทั้งสิ่งที่ชั่วมีอยู่ภายในจิตใจของตนมาดั้งเดิม ทั้งสิ่งที่ดีซึ่งควรจะเกิดขึ้นได้ เพราะความถึงใจในความเชื่อเหตุผลดีชั่วนั้น แล้วประพฤติปฏิบัติด้วยความถึงใจ

    สุดท้ายก็ปรากฏเป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ขึ้นมาอย่างเต็มดวง นี่คือหลักแห่งความสมบูรณ์ของผู้ปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมของพระพุทธเจ้าจริงๆ เพราะฉะนั้นศาสนธรรมจึงไม่ใช่เป็นเครื่องประกาศอยู่ธรรมดา โดยหาตัวจริงไม่ได้ ธรรมที่ประกาศออกมาแต่ละแง่ละกระทงของศาสนธรรมนั้นออกมาจากความจริง และพร้อมที่จะแสดงความจริงให้แก่ผู้ปฏิบัติตามขั้นตามภูมิของตนอยู่ทุกระยะกาล จึงเรียกว่าอกาลิโก ธรรมไม่มีกาล ไม่มีเวลา ให้ผลได้ทุกเมื่อจากการกระทำของผู้ไม่เลือกกาล เครื่องหล่อหลอมพระเราให้สมบูรณ์แบบ หรือให้มนุษย์สมบูรณ์แบบก็ไม่มีสิ่งใดนอกเหนือไปจากธรรม สิ่งใดงามก็ตามไม่ซาบซึ้งไม่ถึงใจ ไม่แน่ใจ ไม่ตายใจ ไม่อบอุ่นใจยิ่งกว่าธรรม ธรรมจึงเลิศ ธรรมจึงประเสริฐกว่าความดีอื่นใดทั้งสิ้น

    เมื่อวันที่ 15 ก.ย. พุทธศักราช 2523 เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

    พระอรหันต์ 4 ประเภท
    นตฺถิ เสยฺโยว ปาปิโย ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์หลุดพ้นเรียบร้อยแล้วนั้นเสมอกันหมด นอกนั้นมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงต่างกัน ภูมิของศาสดาก็รู้ลึกซึ้งกว้างขวางเต็มภูมิของศาสดา สาวกแต่ละองค์ๆ ก็เป็นตามนิสัยวาสนาของตนที่สร้างมามากน้อย กว้างแคบเป็นลำดับลำดามาเพราะฉะนั้น ท่านถึงยกพระอรหันต์ขึ้นเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ประเภทที่หนึ่ง สุกขวิปัสสโก การปฏิบัติอย่างเรียบๆ ราบๆ ไปเรื่อยๆ สม่ำเสมอไปเรื่อย วิปัสสโกเกี่ยวกับเรื่องวิปัสสนา สติปัญญาติดตามฆ่ากิเลสเรียบไปเลยรู้อย่างสงบสบาย ไม่กระทบกระเทือน ไม่ตื่นไม่เต้นเกี่ยวกับเรื่องธาตุเรื่องขันธ์มากนัก ภูมิจากนั้นกระเทือนธาตุขันธ์ กระเทือนจิตใจเป็นพักๆ การบำเพ็ญกิเลสมีหลายคลื่น ธรรมะต้องมีหลายคลื่นด้วยกัน รับกัน ตอบรับกัน ฟัดกันบนเวที สำหรับสุกขวิปัสสโก รู้สึกท่านจะไปอย่างเรียบๆ แต่เราเล็งเอาตามศัพท์ที่ท่านแปลออกมา แล้วการปฏิบัติของเรามันก็เข้ากันทุกอย่าง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สงสัยที่เทียบเคียงเหล่านี้ สุกขวิปัสสโก ผู้ที่รู้อย่างสงบเรียบไปเลย ได้แก่

    ประเภทที่ 1 เตวิชโช บรรลุแล้วยังได้วิชชา 3 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติย้อนหลังได้ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ จากนั้นก็ฉฬภิญโญ ได้อภิญญา 6 นี่หมายถึงกรณีพิเศษ เครื่องประดับท่านเป็นพิเศษๆ ไป ลำดับที่ 4 นี่เรียกว่าสุดยอดบารมีของพระอรหันต์ท่าน จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต เรียกว่าผู้แตกฉานมากอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้แตกฉานหมด นี่เรียกว่า จตุปฏิสัม-ภิทัปปัตโต อรหันต์ประเภทที่ 4 เครื่องประดับของท่านเรียกว่าหยดย้อยมากทีเดียว นี่ก็คือเป็นไปตามความปรารถนาของท่าน

    เวลาท่านปรารถนา เช่น ความวิมุตติหลุดพ้นต้องการด้วยกัน แต่มีความปรารถนาปลีกย่อยในเครื่องประดับ เหมือนต้นไม้ ต้นลำของมันเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันก็ตาม แต่กิ่งก้านสาขาแตกแขนงไปจะต่างกันๆ มีลักษณะต่างกันอย่างนั้น อรหันต์ 4 นี้เหมือนกัน หลักของอรหันต์นั้นก็ได้แก่ ผู้สิ้นจากกิเลสด้วยกันเรียบร้อยแล้ว นี่เสมอกันหมด เรียกว่าต้นลำทีนี้กิ่งก้านสาขาที่แตกออกไปก็แตกไปเป็น สุกขวิปัสสโกเตวิชโช ฉฬภิญโญ จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต 4 ประเภท แยกสาขา คือกิ่งก้านของท่านออกไปตามนิสัยวาสนาที่ผู้มีความปรารถนาอย่างไรๆ เป็นเครื่องประดับความบริสุทธิ์ ท่านก็ปรารถนามา เวลาสำเร็จแล้ว กิ่ง ก้าน สาขาดอก ใบ ซึ่งเป็นความปรารถนาปลีกย่อยก็รวมๆ เป็นกิ่งเป็นก้านสวยงามตามนิสัยวาสนาของท่านที่ได้ทำความปรารถนามา นี่อรหันต์ 4 ท่านทั้งหลายให้ทราบเสียนะ ว่าอรหันต์ 4 อยู่ในศาสนาพระพุทธเจ้า ที่เป็นต้นลำของพุทธศาสนาเรียกว่าชั้นเอกอุ ในสามแดนโลกธาตุไม่มีศาสนาใดที่จะเทียบเสมอเหมือนพุทธศาสนาได้เลย เป็นศาสนาคู่โลก

    คู่สงสารจริงๆ ไม่บกพร่องเลย นี่เป็นอันหนึ่ง คือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสมบูรณ์อรรถธรรมทั้งหลายเต็มภูมิของศาสดา จากนั้นก็มาสอนสาวก นี่คือออกจากพุทธศาสนานะ พอแตกออกมาก็เป็นสาวกบารมีญาณ สาวกทั้งหลายไปศึกษาอบรมจากท่าน แตกกระจัดกระจายออกมาเป็นมรรคเป็นผล แตกกระจัดกระจายไปหมดจากพุทธศาสนา เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ เมื่อยังมีผู้ปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมอยู่มรรคผลนิพพานจะกระจายอยู่อย่างนี้ตลอด

    เมื่อวันที่ 14 ก.ย. พุทธศักราช 2545 อรหันต์ 4 มีในพุทธศาสนาเท่านั้น

    พระอรหันต์ที่สิ้นกิเลสหายากมาก สมัยทุกวันนี้จะมีหรือไม่มีก็ไม่รู้ แต่แน่ใจมี หากไม่มากเท่านั้น มีนี้ส่วนมากจะหาได้ในป่าในเขา ในตลาดลาดเลกระดูกหมูกระดูกวัวนี้ไม่มี มีตั้งแต่ส่วนมากอยู่ในป่าในเขาท่านภาวนาของท่านๆ ในสมัยปัจจุบันนี้ก็หลวงปู่มั่นอยู่ในป่าในเขา หลวงปู่เสาร์ก็เช่นเดียวกัน เป็นอาจารย์ของพวกเราทั้งหลายเรียกว่าปรมาจารย์เป็นอาจารย์ชั้นเยี่ยมในสมัยปัจจุบัน ท่านก็อยู่ในป่าในเขาสำเร็จอยู่ในป่าในเขา ออกมาเป็นสรณะในปัจจุบันของพวกเรา ก็คือท่านทั้งสองพระองค์นี้ละ ท่านอาจารย์เสาร์-ท่านอาจารย์มั่นเป็นพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบันเมื่อวันที่ 21 ก.พ. พุทธศักราช 2551 วันนี้ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์พระกรรมฐานรู้สึกจะมากทางภาคอีสานและมากเรื่อยมา เพราะรากแก้วของกรรมฐานในสมัยปัจจุบันก็อยู่

    ที่ภาคอีสานเป็นพื้นฐาน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เป็นรากฐานของกรรมฐานมานาน เพราะฉะนั้นบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ต้องการอรรถธรรมจริง จึงต้องหมุนหาครูหาอาจารย์ซึ่งเป็นที่แน่ใจได้ แล้วก็ไม่พ้นหลวงปู่ทั้งสององค์นี้

    หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ท่านไม่ค่อยเทศน์ เงียบแต่ว่าไม่เทศน์ ถ้าจะเทศน์ก็พูดเพียงสองสามประโยคแล้วหยุดเลย สำหรับหลวงปู่มั่นการเทศนาว่าการทุกสิ่งทุกอย่างอยู่นั้นหมดเลย ธรรมทุกขั้นอยู่นั้นหมด ออกจ้าๆ เลยจากนั้นมาบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ไปศึกษากับท่านทั้งสององค์นี้มา ก็กลายเป็นครูเป็นอาจารย์ของพระทั้งหลายต่อมาเรื่อยๆ ดังที่เราเห็น เช่น อาจารย์นั้น อาจารย์นี้ ออกจาก เฉพาะอย่างยิ่งหลวงปู่มั่น ออกจากนี้เรียกว่ามีอยู่ทั่วประเทศไทยทุกภาค บรรดาที่ได้รับจากครูบาอาจารย์ที่ท่านศึกษามาจากหลวงปู่มั่น ยกตัวอย่างเช่น

    หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงปู่คำดี เหล่านี้มีแต่ออกจากนี้ล้วนๆ เลย นี่เราพูดเพียงเอกเทศนะ ทีนี้แต่ละองค์ๆ นี้ลูกศิษย์มากน้อยเพียงไรมาศึกษาอบรม แล้วก็แตกกระจายออกไป ซึ่งก็มีอยู่ทุกภาคๆ เป็นรุ่นหลาน รุ่นลูกก็คือลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน รุ่นหลานก็เป็นลูกศิษย์ของลูกศิษย์ผู้ใหญ่อีกทีนึง แตกกระจายออกไป ถึงจะไม่ได้แบบฉบับของครูของอาจารย์ ก็พอเป็นร่องเป็นรอยบ้างก็ยังดี เรียกว่าฐานอนุโลม ดีกว่าไม่ได้ไปศึกษาอบรมมา

    ตั้งแต่หลวงปู่สิงห์ จ.นครราชสีมา ที่สร้างวัดสาลวันขึ้น นั่นเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน เท่าที่เราจำได้ก็อาจารย์สุวรรณ ท่านเสียไปแล้ว แล้วก็ไล่เลี่ยกัน อาจารย์สุวรรณท่านเคยไปอยู่ทางท่าบ่อ เคยสนิทสนมกับเราเพราะเราไปเที่ยวทางท่าบ่อ ไปพบกับท่านที่นั่น นี่เรียกว่าอาจารย์สุวรรณ คู่เคียงกันกับหลวงปู่สิงห์ วัดสาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น เป็นน้องของหลวงปู่สิงห์ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรัทธารวม ด้านตะวันออกโคราช ติดกัน แต่ก่อนอยู่ชานเมืองไป ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 2 กิโล เดี๋ยวนี้มันจะกลายเป็นใจเมืองเข้าไปแล้ว บ้านครอบหมด นี่ก็องค์หนึ่ง

    นอกจากนั้นเราก็จำไม่ค่อยได้ ลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านมาหาหลวงปู่แหวนอย่างนี้ ไล่เลี่ยๆ กันมาแต่ก่อนท่านอยู่ในป่าจริงๆ เพราะหลวงปู่มั่นท่านไม่ได้ออกมานอกๆ นาๆ ง่ายๆ ท่านอยู่ในป่าๆ จากป่าก็ภูเขา ออกมาตีนเขาตีนอะไร ถ้าไม่ใช่อยู่ภูเขาก็ต้องอยู่ในป่า ส่วนมากท่านจะอยู่ในภูเขา เอาจริงเอาจัง นี่ละต้นเป็นอย่างนั้น ทีนี้เวลากิ่งก้านแตกแขนงออกไปมันก็ปลอมก็แปลมไปเรื่อยๆ อย่างนั้น อย่างเรานี่เป็นวาระสุดท้ายท่านจริงๆ เรานี้เรียกว่าเหลนก็ถูก เรานี่เป็นรุ่นเหลนไป หรือยกๆ ขึ้นบ้างก็ว่าหลาน แต่ไม่เต็มใจนัก ถ้าว่าเหลนนั้นจะพอดี เพราะครั้งสุดท้ายของท่าน ลูกศิษย์ต้น ที่สองลำดับมาที่สาม สุดท้ายก็น่าจะเป็นอย่างพวกเรานี้

    ต้นจริงๆ ก็ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สุวรรณ แล้วต่อเนื่องมาท่านอาจารย์ฝั้น เกี่ยวโยงกันมาตลอดนะเรื่อยมา แล้วก็ค่อยต่อกันมาๆ ครูอาจารย์ทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการอบรมมาแล้วมาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ก็แนะนำสั่งสอน เป็นหลานไปละนะ เราจะอยู่ในขั้นหลานนี่ละ

    เมื่อวันที่ 29 เม.ย. พุทธศักราช 2545 รากแก้วของกรรมฐาน

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : ไม่มาเกิดไม่มาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ไม่มาเกิดไม่มาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย

    เพชรน้ำหนึ่งในเมืองไทยเรามีน้อยเมื่อไร ไม่น้อย แต่ส่วนมากหาตามตลาดลาดเลไม่มี หาอยู่ในป่าในเขา ท่านเหล่านี้เป็นอยู่ในป่าในเขา ที่ปรากฏชื่อลือนามออกมาจากป่าจากเขาทั้งนั้นละ....

    หมายเหตุ - ในโอกาสวันถวายเพลิงสรีระสังขาร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะศิษย์วัดภูสังโฆ ได้จัดทำหนังสือ ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า “ชาติสุดท้าย” แจกเป็นที่ระลึก ก่อนหน้านี้คณะผู้จัดทำได้เคยจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้แล้วนำถวายหลวงตามหาบัวครั้งยังดำรงขันธ์อยู่มาก่อนแล้ว เนื่องจากการพิมพ์ครั้งล่าสุดนี้หนังสือมีจำนวนจำกัด

    ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์จึงได้ขออนุญาต พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต เจ้าอาวาสวัดภูสังโฆ นำรายละเอียดของหนังสือมาเผยแผ่ซึ่งท่านได้แจ้งว่า ให้พิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์หรือไม่ ทางกองบรรณาธิการจึงจะนำเสนอต้นฉบับตามเดิม โดยเพิ่มเนื้อหาที่เป็นเทศนาของพ่อแม่ครูอาจารย์แต่ละรูปเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง แล้วนำเสนอต่อเนื่องไปคราวละสัปดาห์จนกว่าจะสิ้นความหลักในหนังสือ มีรายละเอียดดังนี้

    เพชรน้ำหนึ่งในเมืองไทยเรามีน้อยเมื่อไร ไม่น้อย แต่ส่วนมากหาตามตลาดลาดเลไม่มี หาอยู่ในป่าในเขา ท่านเหล่านี้เป็นอยู่ในป่าในเขา ที่ปรากฏชื่อลือนามออกมาจากป่าจากเขาทั้งนั้นละ

    เมื่อเช้าวันที่ 12 เม.ย. 2550 เพชรน้ำหนึ่งของพุทธศาสนาแห่งชาติไทย

    “เพชรน้ำหนึ่งจะเป็นอะไรไปถ้าไม่ใช่พระอรหันต์น่ะ”

    เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2552 สุดสิ้นลงที่ธรรมธาตุ

    นี่เพชรน้ำหนึ่งมีหลายรูปนะนี่ ท่านสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าเป็นสมัยครั้งพุทธกาลเป็นพระอรหันต์ ทุกวันนี่เทวทัตมันขวางหูขวางใจ ว่าอรหันต์ไม่ได้ เทวทัต คือพระที่ท่านจะรู้กันต้องเป็นนักภาวนาด้วยกัน ได้สนทนากันในวงภายในๆ รู้กันแต่ว่าภายใน นอกนั้นไปท่านเหมือนไม่รู้ไม่ชี้ เพราะฉะนั้นวงกรรมฐานกันมองเห็นกันรู้กันทันทีๆ เพราะทราบจากใจ

    เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2552 ครั้งพุทธกาลเรียกผู้สิ้นกิเลสเป็นพระอรหันต์

    พระอรหันต์ที่สิ้นกิเลสหายากมาก สมัยทุกวันนี้จะมีหรือไม่มีก็ไม่รู้ แต่แน่ใจมี หากไม่มากเท่านั้น มีนี้ส่วนมากจะหาได้ในป่าในเขา ในตลาดลาดเลกระดูกหมูกระดูกวัวนี้ไม่มี มีตั้งแต่ส่วนมากอยู่ในป่าในเขาท่านภาวนาของท่านๆ ในสมัยปัจจุบันนี้ก็หลวงปู่มั่นอยู่ในป่าในเขา หลวงปู่เสาร์ก็เช่นเดียวกัน เป็นอาจารย์ของพวกเราทั้งหลายเรียกว่าปรมาจารย์เป็นอาจารย์ชั้นเยี่ยมในสมัยปัจจุบัน ท่านก็อยู่ในป่าในเขาสำเร็จอยู่ในป่าในเขา ออกมาเป็นสรณะในปัจจุบันของพวกเรา ก็คือท่านทั้งสองพระองค์นี้ละ ท่านอาจารย์เสาร์-ท่านอาจารย์มั่นเป็นพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบัน

    เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2551 วันนี้ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

    พระกรรมฐานรู้สึกจะมากทางภาคอีสานและมากเรื่อยมา เพราะรากแก้วของกรรมฐานในสมัยปัจจุบันก็อยู่ที่ภาคอีสานเป็นพื้นฐาน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เป็นรากฐานของกรรมฐานมานาน เพราะฉะนั้นบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ต้องการอรรถธรรมจริง จึงต้องหมุนหาครูหาอาจารย์ซึ่งเป็นที่แน่ใจได้ แล้วก็ไม่พ้นหลวงปู่ทั้งสององค์นี้หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ท่านไม่ค่อยเทศน์ เงียบแต่ว่าไม่เทศน์ ถ้าจะเทศน์ก็พูดเพียงสองสามประโยคแล้วหยุดเลย สำหรับหลวงปู่มั่นการเทศนาว่าการทุกสิ่งทุกอย่างอยู่นั้นหมดเลย ธรรมทุกขั้นอยู่นั้นหมด ออกจ้าๆ เลย

    [​IMG]
    จากนั้นมาบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ไปศึกษากับท่านทั้งสององค์นี้มา ก็กลายเป็นครูเป็นอาจารย์ของพระทั้งหลายต่อมาเรื่อยๆ ดังที่เราเห็น เช่น อาจารย์นั้น อาจารย์นี้ ออกจาก เฉพาะอย่างยิ่งหลวงปู่มั่น ออกจากนี้เรียกว่ามีอยู่ทั่วประเทศไทยทุกภาค บรรดาที่ได้รับจากครูบาอาจารย์ที่ท่านศึกษามาจากหลวงปู่มั่น ยกตัวอย่างเช่นหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว หลวงปู่คำดี เหล่านี้มีแต่ออกจากนี้ล้วนๆ เลย นี่เราพูดเพียงเอกเทศนะ ทีนี้แต่ละองค์ๆ นี้ลูกศิษย์มากน้อยเพียงไรมาศึกษาอบรม แล้วก็แตกกระจายออกไป ซึ่งก็มีอยู่ทุกภาคๆ เป็นรุ่นหลาน รุ่นลูกก็คือ ลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน รุ่นหลานก็เป็นลูกศิษย์ของลูกศิษย์ผู้ใหญ่อีกทีหนึ่ง แตกกระจายออกไป ถึงจะไม่ได้แบบฉบับของครูของอาจารย์ ก็พอเป็นร่องเป็นรอยบ้างก็ยังดี เรียกว่าฐานอนุโลม ดีกว่าไม่ได้ไปศึกษาอบรมมา
    ตั้งแต่หลวงปู่สิงห์ จ.นครราชสีมา ที่สร้างวัดสาลวันขึ้น นั่นเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่าน เท่าที่เราจำได้ก็อาจารย์สุวรรณ ท่านเสียไปแล้ว แล้วก็ไล่เลี่ยกัน อาจารย์สุวรรณท่านเคยไปอยู่ทางท่าบ่อ เคยสนิทสนมกับเราเพราะเราไปเที่ยวทางท่าบ่อ ไปพบกับท่านที่นั่น นี่เรียกว่าอาจารย์สุวรรณ คู่เคียงกันกับหลวงปู่สิงห์ วัดสาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น เป็นน้องของหลวงปู่สิงห์ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรัทธารวม ด้านตะวันออกโคราช ติดกัน แต่ก่อนอยู่ชานเมืองไป ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 2 กิโล เดี๋ยวนี้มันจะกลายเป็นใจเมืองเข้าไปแล้ว บ้านครอบหมด นี่ก็องค์หนึ่ง นอกจากนั้นเราก็จำไม่ค่อยได้ ลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านมาหาหลวงปู่แหวนอย่างนี้ ไล่เลี่ยๆ กันมา

    แต่ก่อนท่านอยู่ในป่าจริงๆ เพราะหลวงปู่มั่นท่านไม่ได้ออกมานอกๆ นาๆ ง่ายๆ ท่านอยู่ในป่าๆ จากป่าก็ภูเขา ออกมาตีนเขาตีนอะไร ถ้าไม่ใช่อยู่ภูเขาก็ต้องอยู่ในป่า ส่วนมากท่านจะอยู่ในภูเขา เอาจริงเอาจัง นี่ละต้นเป็นอย่างนั้น ทีนี้เวลากิ่งก้านแตกแขนงออกไปมันก็ปลอมก็แปลมไปเรื่อยๆ อย่างนั้น อย่างเรานี่เป็นวาระสุดท้ายท่านจริงๆ เรานี้เรียกว่าเหลนก็ถูก เรานี่เป็นรุ่นเหลนไป หรือยกๆ ขึ้นบ้างก็ว่าหลาน แต่ไม่เต็มใจนัก ถ้าว่าเหลนนั้นจะพอดี เพราะครั้งสุดท้ายของท่าน ลูกศิษย์ต้น ที่สองลำดับมาที่สาม สุดท้ายก็น่าจะเป็นอย่างพวกเรานี้ต้นจริงๆ ก็ท่านอาจารย์สิงห์ อาจารย์สุวรรณ แล้วต่อเนื่องมาท่านอาจารย์ฝั้น เกี่ยวโยงกันมาตลอดนะเรื่อยมา แล้วก็ค่อยต่อกันมาๆ ครูอาจารย์ทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการอบรมมาแล้วมาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ก็แนะนำสั่งสอน เป็นหลานไปละนะ เราจะอยู่ในขั้นหลานนี่ละ

    เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2545 รากแก้วของกรรมฐาน

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : ไม่มาเกิดไม่มาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย (2)-
     
  3. Nat Simon

    Nat Simon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2010
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +172
    Arnumotan Satu Kha. Appreciate the documents.
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ไม่มาเกิดไม่มาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย(3)

    เทศน์นี่ให้สมบูรณ์แบบสมกับศาสนาของเราเป็นศาสนาของศาสดาองค์เอก ให้ได้ทั้งภายนอกภายใน ภายนอกตีกระจายออกทั่วโลกดินแดน ภายในหมุนเข้าหาอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติ...

    หมายเหตุ - ในโอกาสวันถวายเพลิงสรีระสังขาร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะศิษย์วัดภูสังโฆ ได้จัดทำหนังสือ ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า “ชาติสุดท้าย” แจกเป็นที่ระลึก ก่อนหน้านี้คณะผู้จัดทำได้เคยจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้แล้วนำถวายหลวงตามหาบัวครั้งยังดำรงขันธ์อยู่มาก่อนแล้ว เนื่องจากการพิมพ์ครั้งล่าสุดนี้หนังสือมีจำนวนจำกัด

    ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์จึงได้ขออนุญาต พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต เจ้าอาวาสวัดภูสังโฆ นำรายละเอียดของหนังสือมาเผยแผ่ซึ่งท่านได้แจ้งว่า ให้พิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์หรือไม่ ทางกองบรรณาธิการจึงจะนำเสนอต้นฉบับตามเดิม โดยเพิ่มเนื้อหาที่เป็นเทศนาของพ่อแม่ครูอาจารย์แต่ละรูปเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง แล้วนำเสนอต่อเนื่องไปคราวละสัปดาห์จนกว่าจะสิ้นความหลักในหนังสือ มีรายละเอียดดังนี้

    ท่านเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร

    สมัยก่อนไม่มีเสียงเทปอย่างนี้ เวลาเทศนาว่าการไม่ได้ยินนะ เพิ่งมามีขึ้นเร็วๆ นี้ อย่างพ่อแม่ครูจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่มี เสียดายครูบาอาจารย์ที่ท่านเทศน์เป็นอรรถเป็นธรรมฟังแล้วซึ้งๆ มาก มันไม่มีอะไรอัด มันเพิ่งมามีเมื่อเร็วๆ นี้ สมัยก่อนหน้านี้ท่านเจ้าคุณอุบาลี วัดบรมนิวาส ฟังว่าเทศน์เป็นประโยชน์มากมาย วัดบรมนิวาสท่านเจ้าคุณอุบาลี ประชาชนเขาเคยเล่าให้ฟังว่าเขาอยู่นู้น เลยพระโขนงไปนู้น เสียค่ารถเท่านั้นเท่านี้ เขาเล่าให้ฟัง เขามาฟังเทศน์ท่านเจ้าคุณอุบาลี วัดบรมนิวาส เขาอยู่ทางพระโขนงฟากพระโขนง เขาเสียค่ารถเท่านั้นเท่านี้เขาเล่าให้ฟังนะ เขาเป็นคนมาฟังเอง

    [​IMG]

    คือท่านเจ้าคุณอุบาลีท่านเทศน์อยู่ที่วัดบรมนิวาส เขาอยู่ฟากพระโขนงยังอุตส่าห์มา เสียค่ารถเท่านั้นเท่านี้เขาเล่าให้ฟัง ฟังที่ไหนมันก็ไม่จุใจ ว่าอย่างนั้นนะ มาฟังเทศน์ท่านเจ้าคุณอุบาลีแล้ว แหม ถึงใจ ไม่มีจืดจางอะไรเลย ฟังเมื่อไรถึงใจทุกครั้งๆ เขาอยู่ทางฟากพระโขนง เสียค่ารถมาวัดบรมนิวาส เขายอมเสียเขาไม่เสียดาย เงินไม่มีคุณค่าเท่าธรรม เขาพูดน่าฟังนะ เสียค่ารถเท่านั้นเท่านี้ เขาพูดเอง เขาอยู่ทางพระโขนงแล้วเสียค่ารถมาฟังเทศน์วัดบรมนิวาส เสียเท่าไรเขาก็พอใจ เงินไม่มีคุณค่าเท่าธรรม นี่ละจุดนี้สำคัญมากนะ เงินไม่มีคุณค่าเท่าธรรม ท่านเจ้าคุณอุบาลีเทศน์อยู่วัดบรมนิวาสเขามาฟัง เขาบอกว่าอยู่ทางฟากพระโขนงไปนู้น

    เทศน์นี่ให้สมบูรณ์แบบสมกับศาสนาของเราเป็นศาสนาของศาสดาองค์เอก ให้ได้ทั้งภายนอกภายใน ภายนอกตีกระจายออกทั่วโลกดินแดน ภายในหมุนเข้าหาอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติ เทศน์คุ้ยเขี่ยตลอดทั่วถึงทั้งภายนอกภายในนั่นเรียกว่ารู้ธรรมเห็นธรรม เทศน์เป็นธรรมล้วนๆ แต่เทศน์ส่วนมากมันก็มักจะเป็นแกงหม้อใหญ่ ไม่ใช่แกงหม้อเล็ก หม้อจิ๋ว คือแกงหม้อเล็กหม้อจิ๋วนั้นหมุนเข้าเลย ตั้งแต่นอกตีเข้าไปๆ ถึงเรือนรังของวัฏวน ได้แก่ อวิชฺชาปจฺจยา

    นั่นผู้รู้จริงเห็นจริงเทศน์ถอดออกมาๆ ดังพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายท่านเทศน์ท่านจะดึงออกมาเลย รังแห่งภพแห่งชาติอยู่ที่ไหนท่านดึงออกมาๆ คือผู้เทศน์เทศน์ด้วยความรู้จริงๆ เห็นจริงๆ ถอดถอนกิเลสเหล่านี้ได้จริงๆ คุณค่าของธรรมที่เกิดขึ้นจากการถอดถอนกิเลสท่านจะนำออกมาเทศน์ทั้งหมดเลย นี่เรียกว่าเทศน์ถึงเหตุถึงผลถึงกิเลสถึงธรรม ถึงทั้งกิเลสถึงทั้งธรรม

    เมื่อวันที่ 19 ก.พ. พุทธศักราช 2551
    แสดงด้วยความรู้ความเห็นของธรรมแท้ๆ


    *************************

    พระธรรมเทศนาของเจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)

    กายนคร

    กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
    นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
    โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
    ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยาติ


    บัดนี้จะรับประทานวิสัชนาพระธรรมเทศนาในพุทธภาษิต ซึ่งมีมาในคัมภีร์พระธรรมบท เนื้อความตามพุทธภาษิต ซึ่งได้ยกขึ้นเป็นอุเทศนั้นว่า “กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา” บุคคลพึงรู้แจ้งซึ่งสกลกายของตนนี้ว่า เป็นของไม่คงทนสักปานใด เปรียบด้วยภาชนะคือหม้ออันบุคคลทำขึ้นด้วยดินเหนียว จะเล็กจะใหญ่ขนาดไหนไม่ว่า ย่อมจะมีความแตกความทำลายเป็นที่สุดฉันใด สกลกายซึ่งนิยมว่าเป็นของๆเรานี้ จะเล็กใหญ่ แน่นหนาหรือบอบบางประการใดก็ตาม คงจะมีความแตกความทำลายเป็นที่สุดฉันนั้น

    “นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา” แล้วพึงตั้งจิตนี้ไว้ภายในสกลกายอันประกอบด้วยทวารทั้ง 9 ซึ่งมีอาการควรเปรียบด้วยพระนครอันมั่นคงพรักพร้อมด้วยประตูหอรบครบบริบูรณ์สมควรจะรับข้าศึกได้ อธิบายว่า เจ้าผู้ครองนครก็ดี แม่ทัพก็ดี เมื่อได้พระนครอันมั่นคง พร้อมด้วยค่ายคูประตูหอรบเช่นนั้น เมื่อมีข้าศึกปัจจามิตรมาติดพระนคร ก็ควรออกรบกับข้าศึกถ้าเสียท่วงที แก่ข้าศึกลง ก็ให้กลับเข้าพระนครรักษาประตูหอรบไว้ให้มั่นคง ทแกล้วทหารบำรุงกำลังสุรโยธาให้บริบูรณ์ขึ้นเต็มที่แล้ว ก็ให้ออกรบบ่อยๆ อย่าปล่อยให้ข้าศึกมีกำลัง เมื่อมีชัยได้แคว่นแคว้นของปรปักษ์แล้ว ก็ให้ตั้งกองรักษาไว้อย่าให้เสียท่วงทีได้
    [​IMG]
    ข้ออุปมาอันนี้แลมีฉันใด พระโยคาวจรผู้เห็นโทษในวัฏสงสาร เมื่อได้สกลกายบริบูรณ์พรักพร้อมด้วยทวารทั้ง 6 มีจักษูทวารเป็นต้นอันพ้นเสียแล้วจากพิบัติ คือใบ้บ้า บอดหนวก ชื่อว่าเป็นอันได้พระนครอันดี “โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน” เมื่อเห็นว่าตนได้พระนครอันดี ก็พึงตั้งหน้ารบกับมารกิเลสด้วยอาวุธคือ วิปัสสนาญาณ เมื่อเห็นว่ากิเลสมีกำลังกล้าสู้ไม่ไหวก็ให้เข้าภายในพระนครพักผ่อนบำรุงตรุณวิปัสสนา คือสมาธิจิตให้มีกำลังกล้าแล้วออกรบบ่อยๆ

    “ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยาติ” เมื่อรบชนะได้เพียงใดก็ให้ตั้งสังวรอินทรีย์ รักษาไว้อย่าให้เสียแก่ข้าศึกอีก แต่อย่ายินดีอยู่แต่เพียงเท่านั้น ข้อสำคัญคือพระนิพพานเป็นสถานะอันข้อศึกรักษาอยู่โดยรอบ ชื่อว่าอาณาเขตแห่งปรปักษ์ เราจะต้องตั้งใจหักเอาให้จงได้ จึงจะเป็นผู้พ้นภัย

    กายนครมีข้าศึกตั้งอยู่โดยรอบได้แก่อุปกิเลส ซึ่งเข้าทำใจให้ขุ่นมัว 16ประการคือ โมโห ความหลงไม่รู้จักดีและชั่ว อหิริกํ ความไม่ละอายต่อกรรมอันเป็นบาป อโนตฺตปฺปํ ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวต่อกรรมอันเป็นบาป โลโภ ความละโมปเพ่งอยากได้พัสดุของผู้อื่น ทิฏฺฐิ ความเห็นวิปลาสผิดจากทางชอบธรรม มาโน ความถือตนว่าตนดีกว่าผู้อื่น อิสฺสา ความริษยาไม่อยากให้ผู้อื่นดีกว่าตน มจฺฉริยํ ความตระหนี่หวงแหนวัตถุ ซึ่งเป็นของมีอยู่แห่งตนเกินประมาณ กุกฺกุจฺจํ ความรำคาญใจ ถีนํ ความง่วงเหงา มิทฺธํ ความหลับ วิจิกิจฺฉา ความไม่แน่ใจ มกฺโข ความกลบเกลื่อนคุณของท่าน ปลาโส ความอวดตน มายา ความล่อลวงเขา สาเถยฺยํ ความปิดโทษของตน

    อกุศลธรรมเหล่านี้เมื่อเข้าสัมปยุตกับจิตผู้ใดแล้ว ย่อมทำจิตให้เศร้าหมองขุ่นมัว เมื่อจะเกิดต้องอาศัยเหตุ คือ ผัสสะ มีอวิชชาเป็นปัจจัย ส่วนผัสสะนั้น ถ้ามีวิชชาเป็นปัจจัยก็ไม่เกิด อกุศลเจตสิกเหล่านั้นได้ จิตของท่านจึงผ่องใสอยู่เสมอ ผู้ตั้งใจจะรักษากายนครให้อยู่เย็นเป็นสุขก็จะต้องตั้งหน้ารบข้อศึก คือมารกิเลสเหล่านี้ไม่ให้เข้าอาศัยพระนครได้ วิธีรบนั้นก็ไม่ยาก คือให้ปราบพลมารชั้นต่ำเลวด้วยอาวุธคือศีล ให้ปราบพลมารชั้นกลางด้วยอาวุธ คือสมาธิ ให้ปราบจอมพลของมารคือตัว อุปธิด้วยอาวุธคือปัญญา สนามรบก็คือประตูพระนครทั้ง 6 แห่ง คือ ตาหู จมูก ลิ้น หายใจ นี้เอง การจะยิงอาวุธทั้ง 3 ประเภทนั้นก็เล็งศูนย์ให้ตรงคือตัวสติสัมปชัญญะ

    ยังมีข้อศึกอีกประเภทคือ ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ พยาธิ ความป่วยไข้ มรณะ ความตาย ถ้าเราเพ่งดูความจริงให้ชัดแล้วก็จะเห็นชาติความเกิดเป็นตัวทุกข์ เพราะเป็นฐานที่ตั้งแห่งความแก่ความเจ็บไข้ความตายและความเศร้าโศกคร่ำครวญทนยากลำบากคับแค้นอัดอั้นตันใจ

    เมื่อตรวจตรองจนรู้จักหน้าตาของทุกข์และสมุทัยจนชัดใจแล้วก็จะต้องค้นหาทางละทางวาง หาทางปล่อย หาทางออกจากตัณหานั้น จะละจะวางจะปล่อยจะออกทางไหน โบราณท่านว่า ขึ้นต้นไม้สุดยอดแล้วจะไปทางใด ก็ได้ความว่า ขึ้นทางใดก็ต้องลงทางนั้น อันตัวของเรานี้มาทางเกิดแก่เจ็บตายฉะนี้แล้ว จะออกทางอื่นไม่ได้ ต้องออกทางเกิดแก่เจ็บตายนี้เองจึงจะตรง

    เมื่อแน่นอนเกิดขึ้นแก่ใจฉะนี้แล้ว จะต้องตรวจดูความเกิด คำที่ว่าชาติความเกิดนี้ เมื่อไม่เข้าใจให้ระลึกถึงปฏิจจสมุปบาทธรรมที่ว่า “ภวปจฺจยา ชาติ” ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติดังนี้ คำที่ว่าภพนั้น ก็คือความเป็นความมีแห่งสกลกายอันนี้เอง ก็จะเห็นได้ว่าเราเป็นตัวภพตัวชาติ เมื่อภพปรากฎอยู่เพียงใด ชาติก็ย่อมปรากฎอยู่เพียงนั้น ก้จะเห็นได้ว่าเราเกิดอยู่เสมอทุกขณะลมหายใจเข้าออก เมื่อเห็นชาติความเกดซึ่งเป็นปัจจุบันโดยชัดเจนแล้ว ก็จะเห็นความชราความแก่ พยาธิความป่วยไข้ มรณะความตายซึ่งเป็นปัจจุบัน

    เมื่อความเห็นอันนี้ชัดใจแล้ว ส่วนชราพยาธิมรณะซึ่งเคยเข้าใจว่าเป็นอนาคตนั้นก็จะดับไป ยังเหลืออยู่แต่ชาติชราพยาธิมรณะ เป็นอดีตบ้างเป็นอนาคตบ้างและเห็นตัวของเราเป็นปัจจุบัน ว่างจากชาติชราพยาธิมรณะด้วยนั้นแล เป็นทุกข์ด้วย เป็นสมุทัยด้วย

    อาการที่เห็นชาติพยาธิมรณะเป็นปัจจุบันธรรม คือเป็นตัวเรา หรือตัวเราเป็นชาติชราพยาธิมรณะตรงทีเดียวนั่นแลเป็นนิโรธด้วย เป็นมรรคด้วย เมื่อมรรคภาวนาอันโยคาวจรเจ้าได้เจริญให้เกิดให้มีขึ้นเต็มที่ เป็นสีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิขึ้นในกาลใด ญาณทัสสนะเป็นเครื่องวินิจฉัยว่า นี่โลก นี่ธรรม นี่สมมติ นี่บัญญัติ ก็จะปรากฏขึ้นแก่โยคาวจรเจ้าในกาลนั้น คือบรรลุวิมุตติธรรมนั้นเอง
    อันพวกเราทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัทจะพึงดำเนินตาม แต่พึงเข้าใจว่าทางหนีทางสู้ เหล่านี้จะปรากฏขึ้นได้ต้องอาศัยกิจจญาณ คือปฏิบัติ ตัวภาเวตัพพธรรม เป็นมรรคภาวนา ได้แก่การทำให้พระอัฏฐังคิกมรรคบริบูรณ์ขึ้นเต็มที่แก่ตนเป็นข้อสำคัญ

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : ไม่มาเกิดไม่มาตายเรียกว่าชาติสุดท้าย(3)-
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ไม่มาเกิด ไม่มาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย(4)

    หลวงปู่เสาร์ก็เช่นเดียวกันเป็นอาจารย์ของพวกเราทั้งหลายเรียกว่าปรมาจารย์ เป็นอาจารย์ชั้นเยี่ยมในสมัยปัจจุบัน...

    หมายเหตุ - ในโอกาสวันถวายเพลิงสรีระสังขาร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะศิษย์วัดภูสังโฆ ได้จัดทำหนังสือ ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า “ชาติสุดท้าย” แจกเป็นที่ระลึก ก่อนหน้านี้คณะผู้จัดทำได้เคยจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้แล้วนำถวายหลวงตามหาบัวครั้งยังดำรงขันธ์อยู่มาก่อนแล้ว เนื่องจากการพิมพ์ครั้งล่าสุดนี้หนังสือมีจำนวนจำกัด

    ทางกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์จึงได้ขออนุญาต พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต เจ้าอาวาสวัดภูสังโฆ นำรายละเอียดของหนังสือมาเผยแผ่ซึ่งท่านได้แจ้งว่า ให้พิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์หรือไม่ ทางกองบรรณาธิการจึงจะนำเสนอต้นฉบับตามเดิม โดยเพิ่มเนื้อหาที่เป็นเทศนาของพ่อแม่ครูอาจารย์แต่ละรูปเข้ามาอีกส่วนหนึ่ง แล้วนำเสนอต่อเนื่องไปคราวละสัปดาห์จนกว่าจะสิ้นความหลักในหนังสือ มีรายละเอียดดังนี้
    ****************

    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    “หลวงปู่เสาร์ก็เช่นเดียวกันเป็นอาจารย์ของพวกเราทั้งหลายเรียกว่าปรมาจารย์ เป็นอาจารย์ชั้นเยี่ยมในสมัยปัจจุบัน”

    หลวงปู่มั่นเรานี้ไปแบบหนึ่ง ส่วนหลวงปู่เสาร์นี้ก็ไปอย่างนั้นแหละ ไปเรียบๆ นี่ก็อัฐิเป็นพระธาตุเหมือนกันนะ หลวงปู่เสาร์อัฐิก็เป็นพระธาตุ หลวงปู่มั่นก็เรียกว่าเป็นมาแล้ว นั่นก็เป็นตั้งแต่นู้นแหละ

    ตั้งแต่มรณภาพแล้วทีแรก หลวงปู่เสาร์ก็เป็นเหมือนกัน ท่านเป็นคู่กันนะ ไปที่ไหนไปด้วยกัน ท่านติดกันมาแต่นู่นแหละ นี่ละสององค์นี้เบิกกรรมฐานเรานะ จากนั้นก็หลวงปู่มั่นเป็นผู้เบิกจริงๆ เบิกกรรมฐานจึงได้มีร่องรอยมาจนกระทั่งทุกวันนี้มาจากหลวงปู่มั่นเรา
    เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2544 อิริยาบถบรรเทาทุกข์

    ปฏิปทาของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) กล่าวถึง ปฏิปทาของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ไว้ในหนังสือ “ฐานิยตฺเถรวตฺถุ” ว่าดังนี้ :

    หลักปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ให้ไว้
    ท่านจะสอนให้พวกเราประกอบความเพียรดังกล่าวตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่งเวลา 4 ทุ่ม พอถึง 4 ทุ่มแล้วก็จำวัดพักผ่อนตามอัธยาศัย พอถึงตี 3 ท่านก็เตือนให้ลุกขึ้นมาบำเพ็ญเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา หรือทำวัตรสวดมนต์ก็ตามที่จะถนัด แต่หลักที่ท่านยึดเป็นหลักที่แน่นอนที่สุดก็คือว่าในเบื้องต้นท่านจะสอนให้ลูกศิษย์หัดนอน 4 ทุ่ม ตื่นตี 3 ในขณะที่ยังไม่ได้นอนหรือตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ท่านก็จะสอนให้ทำอย่างนี้

    อันนี้เป็นหลักสำคัญที่ท่านจะรีบเร่งอบรมสั่งสอนและฝึกลูกศิษย์ให้ทำให้ได้ ถ้าหากยังทำไม่ได้ท่านก็ยังไม่อบรมสั่งสอนธรรมะส่วนละเอียดขึ้นไป เพราะอันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อฉันในบาตร ฉันหนเดียว
    อันนี้ท่านยึดเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติกรรมฐานเลยทีเดียว

    หลักสมวิปัสสนาของพระอาจารย์เสาร์ พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ 4 ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ
    หลักการสอนท่านก็สอนในหลักของสมถวิปัสสนา ท่านจะเน้นหนักในการสอนให้เจริญพุทธคุณเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเจริญพุทธคุณจนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณากายคตาสติ เมื่อสอนให้พิจารณากายคตาสติ พิจารณาอสุภกรรมฐาน จนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนใจพิจารณาธาตุกรรมฐาน ให้พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วก็พยายามพิจารณาว่าในร่างกายของเรานี้ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้นหาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ในเมื่อฝึกฝนอบรมให้พิจารณาจนคล่องตัว จิตก็จะมองเห็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน คือเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัว เป็นอนัตตาทั้งนั้น จะมีตัวตนในเมื่อแยกออกไปแล้ว มันก็มีแต่ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี แต่อาศัยความประชุมพร้อมของธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มีปฏิสนธิจิตปฏิสนธิวิญญาณมายึดครองอยู่ในร่างอันนี้ เราจึงสมมติบัญญัติว่า สัตว์บุคคลตัวตนของเรา

    [​IMG]

    อันนี้เป็นแนวการสอนของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์สิงห์ การพิจารณาเพียงแค่ว่าพิจารณากายคตาสติก็ดี พิจารณาธาตุกรรมฐานก็ดี ตามหลักวิชาการท่านว่าเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน แต่ท่านก็ย้ำให้พิจารณาอยู่ในกายคตาสติกรรมฐานกับธาตุกรรมฐานนี้เป็นส่วนใหญ่ ที่ท่านย้ำๆ ให้พิจารณาอย่างนี้ ก็เพราะว่าทำให้ภูมิจิตภูมิใจของนักปฏิบัติก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้เร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณากายคตาสติ แยก ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น

    ท่านบอกว่า เร่งเข้าๆๆ
    เมื่อหลวงพ่อไปเล่าเรื่องภาวนาให้ท่านฟัง ถ้าสิ่งใดที่มันถูกต้อง ท่านบอกว่าเร่งเข้าๆๆ แล้วจะไม่อธิบาย แต่ถ้าหากว่ามันไม่ถูกต้อง เช่น อย่างใครทำสมาธิภาวนามาแล้วมันคล้ายๆ กับว่า พอจิตสว่างรู้เห็นนิมิตขึ้นมาแล้วก็น้อมเอานิมิตเข้ามา พอนิมิตเข้ามาถึงตัวถึงใจแล้ว มันรู้สึกว่าอึดอัดใจเหมือนหัวใจถูกบีบแล้ว สมาธิที่สว่างก็มืดไปเลย อันนี้ท่านบอกว่าอย่าทำอย่างนั้น มันไม่ถูกต้อง
    เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมา ถ้าหากว่าไปเล่าให้อาจารย์องค์ใดฟัง ถ้าท่านแนะนำว่าให้น้อมให้เอานิมิตท่านแนะนำให้กำหนดรู้จิตเฉยอยู่คล้ายๆ กับว่าไม่สนใจกับนิมิตนั้น แล้วนิมิตนั้นจะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปในแง่ต่างๆ เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะดี มีสมาธิมั่นคง เราจะอาศัยความเปลี่ยนแปลงของมโนภาพอันเป็นของนิมิตนั้น เป็นเครื่องเตือนใจให้เรารู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ บางทีสมาธิของเรามันแน่วแน่ ความทรงจำมันฝังลึกลงไปในคล้ายๆ มองเป็นนิมิตนั้นอยู่ นึกถึงมันก็เห็น ไม่นึกถึงมันก็เห็น มันติดตาติดใจอยู่อย่างนั้นอันนี้เรียกว่าอุคคหนิมิต

    ว่ากันง่ายๆ ถ้าจิตของเรามองเพ่งอยู่ที่ภาพนิ่ง เป็นอุคคหนิมิต ถ้าจิตเพ่งรู้ความเปลี่ยนแปลงของนิมิตนั้น เป็นปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตเป็นสมาธิขั้นสมถกรรมฐาน แต่ปฏิภาคนิมิตนั้นเป็นสมาธิขั้นวิปัสสนาเพราะจิตกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลง อันนี้ถ้าหากว่าใครภาวนาได้นิมิตอย่างนี้ ไปเล่าให้ท่านอาจารย์เสาร์ฟังท่านจะบอกว่า เอ้อ! ดีแล้ว เร่งเข้าๆๆ แต่ถ้าใครไปบอกว่า ในเมื่อเห็นนิมิตแล้ว ผมหรือดิฉันน้อมเข้ามาในจิตในใจ แต่ทำไมเมื่อนิมิตเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว จิตที่สว่างไสวปลอดโปร่ง รู้ ตื่น เบิกบาน มันมืดมิดลงไปแล้วเหมือนกับหัวใจถูกบีบ หลังจากนั้น จิตของเราไม่เป็นตัวของตัวคล้ายๆ กับว่าอำนาจสิ่งที่เข้ามานั้นมันครอบไปหมด ถ้าไปเล่าให้ฟังอย่างนี้ ท่านจะบอกว่าทำอย่างนั้นมันไม่ถูกต้องเมื่อเห็นนิมิตแล้วให้กำหนดรู้เฉยๆ อย่าน้อมเข้ามา ถ้าน้อมเข้ามาแล้ว นิมิตเข้ามาในตัวมันจะกลายเป็นการทรงวิญญาณ

    อันนี้เป็นเคล็ดลับในการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดมาแนะนำเราว่า ทำสมาธิแล้วแล้วให้น้อมจิตไปรับเอาอำนาจเบื้องบนหรือนิมิต แล้วให้น้อมเข้ามาในตัว อันนี้อย่าไปเอา มันไม่ถูกต้อง ในสายพระอาจารย์เสาร์ท่านสอนให้ภาวนาพุทโธ

    ทำไมพระอาจารย์เสาร์ภาวนาพุทโธ เพราะพุทโธเป็นกิริยาของใจ
    หลวงพ่อก็เลยเคยแอบถามท่านว่าทำไมจึงต้องภาวนา พุทโธ ท่านก็อธิบายให้ฟังว่าที่ให้ภาวนาพุทโธนั้น เพราะพุทโธ เป็นกิริยาของใจ

    ถ้าเราเขียนเป็นตัวหนังสือเราจะเขียน พ-พาน-สระอุ-ท-ทหาร สะกด สระ โอ ตัว ธ-ธง อ่านว่า พุทโธ อันนี้เป็นเพียงคำพูด เป็นชื่อของคุณธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตภาวนาพุทโธแล้วมันสงบวูบลงไปนิ่งสว่างรู้ตื่นเบิกบาน พอหลังจากนั้นคำว่า พุทโธ มันก็หายไปแล้ว ทำไมมันจึงหายไปเพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว จิตกลายเป็นจิตพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะ เกิดขึ้นในจิตของท่านผู้ภาวนา

    พอหลังจากนั้นจิตของเราจะหยุดนึกคำว่าพุทโธ แล้วก็ไปนิ่ง แล้วก็ไปนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ จิตสงบ ยังแถมมีปีติ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก อันนี้มันเป็นพุทธะ พุทโธ โดยธรรมชาติเกิดขึ้นที่จิตแล้ว พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิตมันใกล้กับความจริงแล้วทำไมเราจึงมาพร่ำบ่น พุทโธๆๆ ในขณะที่จิตเราไม่เป็นเช่นนั้น

    ที่เราต้องมาบ่นว่าพุทโธนั่นก็เพราะว่า เราต้องการจะพบพุทโธ ในขณะที่พุทโธยังไม่เกิดขึ้นกับจิตนี้ เราก็ต้องท่อง พุทโธๆๆๆ เหมือนกับว่าเราต้องการจะพบเพื่อนคนใดคนหนึ่ง เมื่อเรามองไม่เห็นเขา หรือเขายังไม่มาหาเรา เราก็เรียกชื่อเขา ทีนี้ในเมื่อเขามาพบเราแล้ว เราได้พูดจาสนทนากันแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียกชื่อเขาอีก ถ้าขืนเรียกซ้ำๆ เขาจะหาว่าเราร่ำไร ประเดี๋ยวเขาด่าเอา
    ทีนี้ในทำนองเดียวกันในเมื่อเรียก พุทโธๆๆ เข้ามาในจิตของเรา เมื่อจิตของเราได้เกิดเป็นพุทโธเอง คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราก็หยุดเรียกเอง ทีนี้ถ้าหากว่าเรามีความรู้สึกอันหนึ่งแทรกขึ้นมา เอ้าควรจะนึกถึงพุทโธอีก พอเรานึกขึ้นมาอย่างนี้สมาธิของเราจะถอนทันที แล้วกิริยาที่จิตมันรู้ ตื่น เบิกบาน จะหายไป เพราะสมาธิถอน

    ทีนี้ตามแนวทางของครูบาอาจารย์ที่ท่านแนะนำพร่ำสอน ท่านจึงให้คำแนะนำว่าเมื่อเราภาวนาพุทโธไป จิตสงบวูบลงนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นท่านก็ให้ประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติอย่างนั้น ถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป จิตของเราจะค่อยสงบ ละเอียดๆๆ ลงไป ในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ มันจะเกิดขึ้น ถ้าจิตส่งกระแสออกนอกเกิดมโนภาพ ถ้าวิ่งเข้ามาข้างในจะเห็นอวัยวะภายในร่างกายทั่วหมด ตับ ไต ไส้ พุง เห็นหมด แล้วเราจะรู้สึกว่ากายของเรานี่เหมือนกับแก้วโหร่ง ดวงจิตที่สงบ สว่างเหมือนกับดวงไฟที่เราจุดไว้ในพลบครอบแล้วสามารถเปล่งรัศมีมีสว่างออกมารอบๆ จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป จนกระทั่งว่ากายหายไปแล้วจึงจะเหลือแต่จิตสว่างไสวอยู่ดวงเดียวร่างกายตัวตนหายหมด ถ้าหากจิตดวงนี้มีสมรรถภาพพอที่จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรได้ จิตจะย้อนกายลงมาเบื้องล่าง เห็นร่างกายตัวเองนอนตายเหยียดยาวอยู่ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป

    ฉะนั้น คำว่า พุทโธๆๆ นี้มันไม่ได้ติดตามไปกับสมาธิ พอจิตสงบเป็นสมาธิแล้วมันทิ้งทันที ทิ้งแล้วมันก็ได้แต่สงบนิ่ง แต่อนุสติ 2 คือกายคตานุสติ อานาปานสติถ้าตามหลักวิชาการท่านว่า ได้ทั้งสมถะทิ้งวิปัสสนา ทีนี้ถ้าเราภาวนาพุทโธ เมื่อจิตสงบ นิ่งสว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ถ้ามันเพ่งออกไปข้างนอกไปเห็นภาพนิมิตถ้าหากว่านิมิตนิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นสมถกรรมฐาน ถ้าหากนิมิตเปลี่ยนแปลงก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ทีนี้ถ้าหากจิตทิ้งพุทโธ แล้วจิตอยู่นิ่งสว่าง จิตวิ่งเข้ามาข้างใน มารู้เห็นภายในกาย รู้อาการ 32 รู้ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งร่างกายปกติแล้วมันตายเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป มันเข้าไปกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งร่างกายปกติแล้วมันตายเน่าเปื่อยผุพังสลายไป มันเข้าไปกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะคือกายกับจิตมันก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน มันก็คลุกเคล้าอยู่ในอันเดียวกันนั้นแหละ

    แล้วอีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเคยได้ยินได้ฟังว่าสมาธิขั้นสมถะมันไม่เกิดภูมิความรู้ อันนี้ก็เข้าใจผิด ความรู้แจ้งเห็นจริง เราจะรู้ชัดเจนในสมาธิขั้นสมถะมันไม่เกิดภูมิความรู้ อันนี้ก็เข้าใจผิด ความรู้แจ้งเห็นจริง เราจะรู้ชัดเจนในสมาธิขั้นสมถะเพราะสมาธิขั้นสมถะนี่มันเป็นสมาธิที่อยู่ในฌานมันเกิดอภิญญา ความรู้ยิ่งเห็นจริง แต่ความรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่จิตอยู่ในสมาธิขั้นสมถะ มันจะรู้เห็นแบบชนิดไม่มีภาษาที่จะพูดว่าอะไรเป็นอะไร สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เช่น มองเห็นการตาย ตายแล้วมันก็ไม่ว่า เน่าแล้วมันก็ไม่ว่า ผุพังสลายตัวไปแล้วมันก็ไม่ว่า ในขณะที่มันรู้อยู่นั่น แต่เมื่อมันถอนออกมาแล้วยังเหลือแต่ความทรงจำ จิตจึงจะมาอธิบายให้ตัวเองฟังเพื่อความเข้าใจทีหลังเรียกว่าเจริญวิปัสสนา

    แยกออกเป็นส่วนๆ เราจะมองเห็นว่าในกายของเรานี้ก็ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันเป็นแต่เพียง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เท่านั้น ถ้าว่ากายนี้เป็นตัวเป็นตน ทำไมจึงจะเรียกว่าขน ทำไมจึงจะเรียกว่าเล็บ ว่าฟัน ว่าเนื้อ ว่าเอ็น ว่ากระดูก ในเมื่อแยกออกไปเรียกอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นอกจากนั้นก็จะมองเห็นอสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกเน่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายึดมั่นถือว่าเป็นอัตตาตัวตน แล้วพิจารณาบ่อยๆ พิจารณาเนืองๆ จนกระทั่งจิตเกิดความสงบ สงบแล้วจิตจะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาโดยอัตโนมัติ ผู้ภาวนาก็เริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของร่างกายอันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณากายแยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนนี้เป็นดิน ส่วนนี้เป็นน้ำ ส่วนนี้เป็นลม ส่วนนี้เป็นไฟ เราก็จะมองเห็นว่าร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ก็ทำให้จิตของเรามองเห็นอนัตตาได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการเจริญกายคตาสติก็ดี การเจริญธาตุกรรมฐานก็ดี จึงเป็นแนวทางให้จิตดำเนินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้

    และอีกอันหนึ่งอานาปานสติ ท่านก็ยึดเป็นหลักการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมฐานอานาปานสติการกำหนดพิจารณากำหนดลมหายใจนั้น จะไปแทรกอยู่ทุกกรรมฐาน จะบริกรรมภาวนาก็ดี จะพิจารณาก็ดี ในเมื่อจิตสงบลงไป ปล่อยวางอารมณ์ที่พิจารณาแล้ว ส่วนใหญ่จิตจะไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ในเมื่อจิตตามรู้ลมหายใจเข้าออกกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ จิตเอาลมหายใจเป็นสิ่งรู้ สติเอาลมหายใจเป็นสิ่งระลึก ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามปกติของร่างกาย

    เมื่อสติไปจับอยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจก็เป็นฐานที่ตั้งของสติ

    ลมหายใจเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาย สติไปกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จดจ่ออยู่ที่ตรงนั้นวิตกถึงลมหายใจ มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะนั้น จิตก็มีวิตกวิจารอยู่กับลมหายใจ เมื่อจิตใจสงบลงไป ลมหายใจก็ค่อยละเอียดๆ ลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดลมหายใจก็หายขาดไป เมื่อลมหายใจหายขาดไปจากความรู้สึก ร่างกายที่ปรากฏว่ามีอยู่ก็พลอยหายไปด้วย ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าลมหายใจยังไม่หายขาดไปกายก็ยังปรากฏอยู่

    เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปข้างใน จิตจะไปสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของกาย แล้วก็แผ่รัศมีออกมารู้ทั่วทั้งกาย จิตสามารถที่จะมองเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้หมดทั้งตัว เพราะลมย่อมวิ่งเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลมวิ่งไปถึงไหนของร่างกายได้หมดทั้งตัว เพราะลมย่อมวิ่งเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลมวิ่งไปถึงไหนจิตก็รู้ไปถึงนั่น ตั้งแต่หัวจรดเท้า ตั้งแต่แขนซ้ายแขนขวา ขาขวาขาซ้ายเมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปแล้วจิตจะรู้ทั่วกายหมด ในขณะใดกายยังปรากฏอยู่ จิตสงบอยู่สงบนิ่ง รู้สว่างอยู่ในกาย วิตก วิจาร คือจิตรู้อยู่ภายใจกาย สติก็รู้พร้อมอยู่ในกายในอันดับนั้นปีติและความสุขย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขบังเกิดขึ้น จิตก็เป็นหนึ่ง นิวรณ์ 5 กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็หายไป จิตกลายเป็นสมถะ มีพลังพอที่จะปราบนิวรณ์ 5 ให้สงบระงับไป ผู้ภาวนาก็จะมองเห็นผลประโยชน์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

    โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : ไม่มาเกิด ไม่มาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย(4)-
     
  6. Mrs_Mr_Ms

    Mrs_Mr_Ms สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    อยากให้ทางโพสต์ทูเดย์ ได้อ่านหรือฟังเทศน์ของครูจารย์สัก2กัณฑ์
    เพื่อรักษาวงกรรมฐานแบบไม่ให้มีอะไรเจือปนไม่ให้มีลับลมคมในค่ะ

    "เสียงธรรมหลวงตา"
    http://www.watpakhaodangyai.com/content_show.php?content=2828

    "หมาของหลวงตา"
    http://www.watpakhaodangyai.com/content_show.php?content=2837
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 เมษายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...