ไม่มีทุกข์ ไม่มีสมุทัย ไม่มีนิโรธ ไม่มีมรรค

ในห้อง 'ฝากคำถามถึงหลวงพ่อเล็ก' ตั้งกระทู้โดย NirvanaPhuket, 14 ตุลาคม 2011.

  1. NirvanaPhuket

    NirvanaPhuket เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    112
    ค่าพลัง:
    +165
    ขอนมัสการพระอาจารย์เล็กช่วยแนะนำวิจารณญาณ
    ในการศึกษาและทำความเข้าใจครับ
    Reading tip: (ศรัทธา กาลามสูตร และปัญญา)

    ปัญญาที่หนึ่ง เป็นปัญญาที่มีมาพร้อมกับปฏิสนธิ
    ปัญญาที่สอง เป็นวิปัสสนาปัญญา
    ปัญญาที่สาม เป็นปัญญาที่นำในการบริหารกิจกรรมทุก ๆ อย่าง
    -----------------------------------------------------------------------------------------------------

    ผู้มีปัญญาญาณย่อมประจักษ์ชัดว่าสรรพสัตว์และมวลมนุษย์
    ล้วนแต่ดำรงอยู่ชั่วคราวบนโลกมายาที่ไร้ความจริงแท้
    และทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตบนโลกมายาใบนี้
    ล้วนอยู่ภายใต้กฎเดียวกันคือกฎ สุญญตา หรืออนัตตา
    คือกฎที่ว่าด้วยสรรพสิ่งอุบัติขึ้น ดำรงอยู่และสูญสลายไป
    กระนั้นการใช้ปัญญาญาณเข้าไปเห็นแจ้งเช่นนี้
    ก็ยังเป็นปัญญาระดับเหตุผล มิใช่ปัญญาระดับ โลกุตรปัญญา
    หากใช้โลกุตรปัญญา หรือปัญญาที่ยิ่งกว่าปัญญา
    พิจารณาสรรพสิ่ง (ธรรม) บนโลกแล้ว ก็จะพบความจริงแท้
    หรือความจริงสูงสุดที่เรียกว่า ปรมัตถสัจจะ
    คือความจริงที่เหนือความจริง หรือความจริงที่เหนือสมมติ
    คือความจริงที่ว่าสรรพสิ่งบนโลก ล้วนเป็นสุญญตาและอนัตตา
    อีกทั้งยังดำรงอยู่อย่างที่มันเป็น คือมันเป็นของมัน เช่นนั้นเอง หรือ
    ตถาตา(หน้า 44)

    สรรพสิ่งนั้นไม่มีไม่เป็นอะไร นอกจากความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถาตา)
    สุดท้ายก็ต้องขจัดความเห็นความคิดทุกชนิดออกไปจากจิต
    ไม่ว่าความคิดความเห็นนั้นจะเกี่ยวกับ สุญญตา และ ตถาตา
    ทั้งนี้ ทั้งสุญญตาและตถาตา ก็เป็นเพียงสิ่งสมมติมิใช่มีอยู่จริง
    ผู้ใดหมดความคิดหมดความเห็นต่อธรรมชาติของกายและจิต
    ว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นคนเป็นสัตว์
    จิตของผู้นั้นก็พ้นจากสภาวะปรุงแต่ง
    เมื่อใดจิตไม่ปรุงแต่งเรียกว่า จิตว่าง จากความคิดปรุงแต่ง
    เป็นความว่างที่ปราศจากความไม่มีไม่เป็นอะไร
    กล่าวถึงที่สุด จิต และ ความว่าง ก็ไม่มี เป็นแต่เพียงชื่อเรียก
    เมื่อใดจิตอยู่ในภาวะแห่งความว่าง ปราศจากความคิดปรุงแต่งใดๆ
    เมื่อนั้นความเป็น พุทธะ ก็ปรากฎให้รู้ให้เห็นทันที(หน้า 45)
    <o:p</o
    หากเรายิ่งใฝ่หาหนทางบรรลุธรรม หรือบรรลุ พุทธภาวะ
    หนทางนี้เองที่ลวงหลอกให้ติดกับดักความคิดปรุงแต่ง
    ความคิดปรุงแต่งที่เราสร้างขึ้นเองจากความไม่รู้
    ยิ่งเรามุ่งมั่นศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างแรงกล้า
    เพื่อที่จะหลุดพ้นหรือรู้แจ้ง (ตรัสรู้)
    ในการอ่านการท่องบ่นภาวนาเพียงใด
    หากในการปฏิบัตินั้นยังมีความอยากที่จะบรรลุความรู้แจ้ง
    อีกทั้งยังหลงยึดติดในคัมภีร์และครูบาอาจารย์
    ก็จะไม่มีทางพบกับความรู้แจ้งใดๆ ได้เลย
    กระนั้นหากเรานั่งเงียบหวังให้จิตสงบ และบำเพ็ญภาวนาทุกเช้าค่ำ
    ก็เปรียบประดุจดั่งเรากำลังเหยียบความหลงอยู่ด้วยอวิชชา (ความไม่รู้)
    เช่นเดียวกับความเพียรพยายามในการเปล่งวาจาอธิบายธรรม
    ด้วยความอยาก (ตัณหา) ที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจมากเท่าใด
    ก็จะเพิ่มตัวตนทั้งผู้พูดและผู้ฟังมากเท่านั้น
    โลกุตรปัญญาจะไม่เกิดขึ้นจากความอยาก (ตัณหา) นั้น
    ดังนั้น จึงเพียงแต่ดูความคิดปรุงแต่งทั้งหลายที่เกิดขึ้น
    ว่าเป็นเพียงสภาวธรรมหนึ่ง ไม่ได้เป็นตัวตนหรือมีผู้คิดแต่อย่างใด(หน้า 49)

    ผู้ใดยึดติดในการปฏิบัติธรรมว่าตนสามารถปฏิบัติธรรม
    จนหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงกลายเป็นพุทธะ
    ผู้นั้นก็จะเกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง
    เพราะไม่มีสิ่งใดและไม่มีใครที่จะบรรลุ หรือไม่บรรลุอะไร
    ความจริงการ ตรัสรู้ หรือการ รู้แจ้ง หรือการ หลุดพ้น นั้น
    ไม่ว่าจะเป็นการตรัสรู้หรือรู้แจ้ง หรือหลุดพ้นจากอะไร
    ก็เป็นเพียงแต่คำพูดที่สมมติเรียกขานกันเท่านั้น
    ผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทาง โลกุตรธรรม คือธรรมที่เหนือสิ่งสมมติ
    ย่อมเป็นผู้ที่รู้แจ้งว่าไม่มีใครหลุดพ้น หรือไม่มีใครรู้แจ้งหรือตรัสรู้
    และไม่มีใครไม่หลุดพ้นหรือไม่รู้แจ้งจากอะไร
    หรือไม่มีใครบรรลุหรือบรรลุอะไร
    กล่าวสำหรับอริยชนผู้ที่คิดว่าตนตรัสรู้แล้วหรือบรรลุแล้ว
    เขาก็จะหุบปากเงียบกริบโดยไม่โอ้อวดใครๆ
    ว่าตัวเขาได้บรรลุธรรมหรือตรัสรู้ธรรมอะไร(หน้า 58)
    <o:p</o
    ดูก่อนสารีบุตร ธรรม(สิ่งทั้งหลายทั้งปวง) ย่อมประกอบด้วยความว่าง
    ธรรมเหล่านั้นไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นและมิอาจทำลายได้
    มิอาจทำให้มัวหมองหรือบริสุทธิ์ได้ ทั้งไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
    ดังนั้นในความว่างจึงไม่มีทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขารหรือวิญญาณ
    ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย หรือจิตใจ ไร้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ ปราศจากซึ่งธาตุ(หน้า 35)
    <o:p</o
    นับตั้งแต่จักษุธาตุไปจนถึงมโนวิญญาณธาตุ ไม่มีความเกิดแห่งอิทัปปัจจยตา และไม่มีความดับแห่งอิทัปปัจจยตา
    (นับตั้งแต่อวิชชาไปจนถึงชาติ ชรา มรณะ) ไม่มีทุกข์ ไม่มีสมุทัย ไม่มีนิโรธ ไม่มีมรรค ไม่มีความเข้าใจ ไม่มีการบรรลุธรรม
    <o:p</o
    ข้อความในพระสูตรนี้เป็นการอธิบายขยายความลักษณะของ ความว่าง หรือ สุญญตา
    เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่มีไม่เป็น หรือความมีความเป็นว่า
    ล้วนแล้วแต่เป็นความว่างด้วยกันทั้งสิ้น
    นั่นเป็นการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงว่า ทั้งขันธ์ 5 และธาตุ 18
    (อันได้แก่อายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6
    และวิญญาณในอายตนะภายใน 6) รวมทั้งไม่มีความเกิดแห่งอิทัปปัจจยตา
    และไม่มีความดับแห่งอิทัปปัจจยตา
    (นับตั้งแต่อวิชชาไปจนถึงชาติ ชรา มรณะ)
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสมุทัย ไม่มีนิโรธ ไม่มีมรรค ไม่มีความเข้าใจ
    และพระสูตรนี้กล่าวถึง การบรลุธรรม อีกว่า ก็ไม่ได้มี หรือไม่มีการบรรลุใดๆ (หน้า 36)

    บรรลุธรรม 4 ขั้น คือบรรลุโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหันต์ แต่พระสูตรนี้บอกว่าไม่มีปัญญาหรือมีความเข้าใจ
    ในการที่จะทำให้บรรลุธรรม และไม่มีการบรรลุธรรม 4 ขั้นดังกล่าว
    นี่คือความแตกต่างที่สำคัญของพุทธศาสนาเถรวาท กับฝ่ายมหายาน เฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนานิกายเซน
    ด้วยเหตุนี้กระมังจึงทำให้บางคนงุนงงสงสัยว่า พระสูตรนี้เป็น ลัทธินัคถิกทิฏฐิ คือลัทธิขาดศูนย์ ที่ปฏิเสธอะไรๆ
    ว่าไม่มีๆ แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นหนึ่งในลัทธิที่รุ่งเรืองในอินเดียยุคพุทธกาล
    <o:p</o
    กระนั้นหากเข้าใจอย่างซึมซับแล้ว สาระสำคัญของพระสูตรนี้ นอกจากมิใช่เป็นลัทธินัคถิกทิฏฐิแล้ว พระสูตรนี้
    ยังมีความแตกต่าง และยังปฏิเสธสิ่งที่ลัทธินัคถิกทิฏฐิบอกว่าไม่มีอีกด้วย นั่นก็คือ ว่างทั้งจากความมีและความไม่มี (หน้า37)


    คัดลอกจากหนังสือ ก้าวพ้นทุกข์สู่สุข ด้วยจิตที่ว่างเปล่า
    ผู้แต่ง อ.นิโรธ จิตวิสุทธิ์ 02-5133279, 08-9126-0689
    จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัทนกฮูก พับลิชชิง จำกัด (สำนักพิมพ์นกฮูก)
    www.nokhook.co.th, 02-9724690
    (หาซื้ออ่านได้ที่ เซเว่น อีเลเว่นและร้านหนังสือทั่วไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...