เรื่องเด่น ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ สุดยอดเครื่องรางของขลังอาถรรพณ์โลก

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 26 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    ขณะเดียวกัน ยังมีการผูกโยง “สการับ” เข้ากับตำนานการฟื้นคืนชีพ, การเกิดใหม่และความเป็นอมตะ เนื่องจากเจ้าด้วงศักดิ์สิทธิ์จะวางไข่ในมูลกลมๆของมันเอง และฟักตัวออกมาจากมูลกลมๆเหล่านั้น กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด

    ชาวไอยคุปต์ยังนิยมนำ “สการับ” มาสลักเป็นเครื่องรางของขลังพกติดตัว และที่อะเมซิ่งเหลือเชื่อคือ การใช้ด้วงแกะสลักวางแทนหัวใจของ “มัมมี่” เพื่อรอการฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ตามคติเรื่องชีวิตหลังความตายของอารยธรรมอียิปต์โบราณเชื่อว่า หลังจากมนุษย์ตายไปแล้ว ดวงวิญญาณจะกลับมาเกิดใหม่ในร่างเดิม จึงต้องมีการทำมัมมี่เพื่อเก็บร่างเอาไว้รอรับการจุติใหม่ กระนั้นในยุคอาณาจักรเก่าฝังหัวว่ามีเพียงกษัตริย์ฟาโรห์เท่านั้นที่กลับมาคืนร่างเดิมได้หลังวิญญาณหลุดลอยไป กระทั่งในสมัยต่อมา การทำมัมมี่จึงค่อยๆแพร่หลายมาสู่ขุนนางและสามัญชน แม้แต่สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าก็ถูกจับมาดองศพทำมัมมี่อย่างคึกคัก

    0b988e0b8ade0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b89ae0b8abe0b8a5e0b8b9e0b988-e0b8aae0b8b8e0b894e0b8a2.jpg
    988e0b8ade0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b89ae0b8abe0b8a5e0b8b9e0b988-e0b8aae0b8b8e0b894e0b8a2-1.jpg

    ค้นประวัติ “เครื่องรางเก่าแก่ที่สุดในโลก” พบว่า มีรูปร่างหน้าตา คล้ายกังหัน ซึ่งก็คือเครื่องหมาย “สวัสติกะ” ที่เห็นกันเจนตา สันนิษฐานว่ามีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยยุคหิน โดยหลักฐานปรากฏชัดว่ามนุษย์ยุคหินได้สลักลายสวัสติกะไว้ที่อาวุธหิน กระนั้น สัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคลของชาวฮินดู, พุทธ นิกายมหายาน และเชน ต้องมาแปดเปื้อนเพราะน้ำมือของผู้นำเผด็จการ “อดอล์ฟ ฮิตเลอร์” ที่นำ “สวัสติกะ” ไปใช้เป็นสัญลักษณ์ของนาซีเยอรมันในยุคสงคราม โลกครั้งที่สอง จนชาวโลกชิงชังว่าเป็นของต้องห้ามไปแล้ว เพราะเห็นทีไรก็นึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อันโหดเหี้ยม

    988e0b8ade0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b89ae0b8abe0b8a5e0b8b9e0b988-e0b8aae0b8b8e0b894e0b8a2-2.jpg

    ตามความเชื่อที่แพร่หลายในอินเดีย, จีน, ญี่ปุ่น และทิเบต เนื้อแท้ของ “สวัสติกะ” คือสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคลสูงสุด, ความดีงาม และความอุดมสมบูรณ์ โดยคำว่า “สวัสติกะ” มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความสวัสดี, มีโชค, มีกำลัง และความสำเร็จ ตามประตูเข้าวัดญี่ปุ่นจะมีเครื่องหมาย “สวัสติกะ” อยู่ด้วยเสมอ ขณะที่ในภาพเขียนพระพิฆเนศของอินเดีย มักปรากฏเครื่องหมายมงคลดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญ แม้แต่ “พระยูไล” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวจีน ก็มีเครื่องหมาย “สวัสติกะ” อยู่ที่พระอุระ ถ้าสังเกตให้ดีการเขียน “สวัสติกะ” มีสองแบบคือ แบบทักษิณาวัฏ เขียนเวียนขวา และแบบอุตราวัฏ เขียนเวียนซ้าย ในทิเบตใช้ทั้งสองแบบผสมกัน ส่วนพวกนาซีเยอรมันใช้แบบเวียนขวา และจะเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระนาบ

    988e0b8ade0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b89ae0b8abe0b8a5e0b8b9e0b988-e0b8aae0b8b8e0b894e0b8a2-3.jpg

    คนไทยนิยมเครื่องรางของขลังตั้งแต่เมื่อไหร่ เท่าที่มีหลักฐานแน่ชัดก็ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารและวรรณคดีต่างๆ เมื่อบ้านเมืองเกิดศึกสงคราม อาจารย์ผู้มีวิทยาอาคมมักจะทำเครื่องรางของขลังแจกทหาร ดังปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผน มีทั้งของที่มนุษย์ทำขึ้น และของที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตั้งแต่ ตะกรุด, พระภควัม, ผ้ายันต์ และคต ไปจนถึงเครื่องรางของขลังที่ฝังไว้ในกายอย่าง “เหล็กไหล” และยังมีการสักคาถาอาคมไว้ที่ผิวหนัง เพื่อความอยู่ยงคงกระพันฟันแทงไม่เข้า

    988e0b8ade0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b89ae0b8abe0b8a5e0b8b9e0b988-e0b8aae0b8b8e0b894e0b8a2-4.jpg

    เครื่องรางยอดนิยมในสมัยก่อนต้องยกให้ “ตะกรุด” มาแรงอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่ทำจากแผ่นโลหะ มีทั้งทองแดง, ทองคำ, นาก และเงิน เมื่อลงยันต์ทำพิธีปลุกเสกแล้วก็ม้วนให้กลม ใช้เชือกร้อยคาดเอวบ้าง นำมาร้อยสายสร้อยคล้องคอบ้าง แม้ยุคใหม่คนจะหันมานิยมห้อยพระเครื่องมากกว่า แต่เมื่อเร็วๆนี้กระแสความนิยมของ “ตะกรุดวัดดัง” ก็กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยแพร่ระบาดในหมู่ดาราคนดัง และวัยรุ่น เพราะโดนใจกับรูปลักษณ์ใหม่อินแฟชั่นของตะกรุดร่วมสมัย

    988e0b8ade0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b89ae0b8abe0b8a5e0b8b9e0b988-e0b8aae0b8b8e0b894e0b8a2-5.jpg
    988e0b8ade0b8ade0b8a2e0b988e0b8b2e0b8a5e0b89ae0b8abe0b8a5e0b8b9e0b988-e0b8aae0b8b8e0b894e0b8a2-6.jpg

    สำหรับคนค้าขายทำธุรกิจ “นางกวัก” ถือเป็นของขลังยอดฮิตตลอดกาลครองใจชน เพราะให้คุณด้านเมตตามหานิยม ถือเป็นเทพีแห่งโชคลาภ ที่ช่วยกวักเงินกวักทองให้ผู้บูชา นอกจากจะตั้งไว้หน้าร้านเพื่อเรียกทรัพย์ดึงดูดลูกค้า บางคนยังเลี่ยมนางกวักแขวนติดคอ แปลกแต่จริงที่ญี่ปุ่นก็มีนางกวักเหมือนไทยเราเป๊ะ แต่มาในรูปของ “แมวกวัก” ชื่อว่า “มาเนกิ-เนโกะ” คนญี่ปุ่นเชื่อว่าจะกวักโชคลาภให้เจ้าของ และดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน บางร้านวางคู่กันทั้งนางกวักและแมวกวัก หวังเบิ้ลพลังคูณสองจะได้ค้าขายเฮงๆ.

    อาคีรา

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/foreign/1576015
     

แชร์หน้านี้

Loading...