ไม่ไปอบายภูมิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แว๊ด, 4 พฤศจิกายน 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว มักเชื่อว่าไม่ไปอบายภูมิ ความเชื่ออย่างนั้นมีเหตุผลอะไรหรือไม่ การที่เชื่ออย่างนั้นก็เพราะรู้ว่า ผู้ปฏิบัติผ่านญาณในวิปัสสนาไปจนจบแล้ว ตามหลักท่านว่าเป็นผู้ปิดประตูอบายแล้ว

    ผู้ผ่านการปฏิบัติไปแล้ว ตามปกติมักมีสติอยู่เสมอ ที่ว่าเสมอนั้นไม่ใช่มีอยู่ทุกขณะ แต่มีมากกว่าบุคคลธรรมดา ตามที่สังเกตุวันหนึ่ง ๆ แม้จะมีเวลาเผลอตัวอันเป็นโมหะอยู่มากอยู่ก็จริง แต่มีเวลารู้ตัวอยู่บ่อย ๆ เช่นเดินกำหนดไปตามทาง กำหนด พองยุบ เวลาที่นึกขึ้นได้ แต่แม้ว่าจะไม่ได้กำหนดอยู่ คล้าย ๆ กับไม่มีสติเลยนั้น หากจิตไหวตัวไปในทางใดเช่น พอใจ หรือไม่พอใจ สติจะตามทันให้กำหนดรู้อยู่ในอาการนั้นเสมอ

    จิตที่ไหวไปกับอารมณ์ของโทสะ รู้สึกว่ากำหนดได้ทันได้เร็วกว่าจิต

    ที่ไหวไปในอารมณ์ของโลภะ ดังนั้นในอารมณ์ของโลภะนั้น เมื่อความพึงพอใจเกิดขึ้น จิตจะแล่นไปตามอารมณ์นั้นก่อน สติจึงจะตามทัน แต่ถ้าเป็นอารมณ์โลภะที่ยังติดนิสัยสันดานอยู่ เช่นการอยากสูบบุหรี่นั้น บางครั้งก็รู้ทันแต่โดยมากรู้ไม่ทัน แม้จะรู้ว่าเป็นโทษ ก็มักจะใคร่ครวญไปอีกว่า เป็นโทษที่ไม่ทำให้ต้องไปอบาย เช่นการสูบบุหรี่ กินหมาก เป็นต้น

    แต่โทษอย่างกลาง ๆ นั้น เมื่อสติรู้ทันแล้วก็ยังไม่สามารถจะประหารกิเลสอันนั้นได้ หิริโอตัปปะ ก็จะผุดขึ้นมาให้ได้ชั่งใจไตร่ตรองอีกชั้นหนึ่ง

    การเป็นเช่นนี้ยากที่บุคคลธรรมดาจะกระทำให้จิตใจอยู่ในลักษณะนี้ได้ แต่แม้กระนั้นบุคคลบางคนที่ได้อบรมจิตใจด้วยตน ในศีล ทาน ภาวนามาเป็นอย่างดีจนติดเป็นนิสัยสันดาน ความประพฤติย่อมราบเรียบกว่าบุคคลที่กผ่านการปฏิบัติไปแล้วก็มี แต่ถึงอย่างไรการที่สติจะติดตามบุคคลนั้นทุกหนทุกแห่งเหมือนผู้ปฏิบัติยอ่มเป็นไปไม่ได้ และก็ไม่สามารถจะเข้าถึงธรรมตามความเป็นจริงเยี่ยงผู้ปฏิบัติ

    กรรมใดที่ทำไว้เด่น กรรมนั้นย่อมชักนำไป ฉะนั้นในด้านกุศลอกุศลทั้งหลายเมื่อไม่มีอนันตริยกรรมอันเป็นฝ่ายอกุศลจะนำไปแล้ว กรรมฐานที่ปฏิบัติอยู่ย่อมเป็นกรรมสูงสุดในฝ่ายกุศลที่จะนำไปเช่นกัน ไม่มีอกุศลอื่นจะกีดกันได้ นั่นคือ ตัดอบายภูมิอย่างเด็ดขาด

    เคยเห็นพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า คนไม่กลัวตายด้วยเหตุ 4 ประการคือ

    1 ไม่อาลัยของภายนอก

    2 ไม่อาลัยของภายใน

    3 ความชั่วไม่ได้ทำไว้

    4 ไม่สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    พระโสดาบันบุคคลย่อมไม่กลัวตายด้วยเหตุดังนี้

    ***

    คัดลอกมาจาก คู่มือวิปัสสนาจารย์ สภาวธรรมของผู้ปฏิบัติ

    โดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อจรัญ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...