ไวรัสจาก "สัตว์" สู่ "คน" ต้นตอสารพัดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย สัตบุรุษ, 30 เมษายน 2009.

  1. สัตบุรุษ

    สัตบุรุษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    733
    ค่าพลัง:
    +840
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ไวรัสจาก "สัตว์" สู่ "คน" ต้นตอสารพัดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>30 เมษายน 2552 13:21 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>โรคอุบัติใหม่ในศตวรรษนี้ที่มาจากสัตว์สู่คนมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสัตว์กับคนใกล้ชิดกันมากขึ้น ไวรัสจากสัตว์มีโอกาสปรับตัวเข้าหาคนได้ง่ายขึ้น (ภาพจากแฟ้ม)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (ภาพจากแฟ้ม)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>"หมู" ตัวกลางสำคัญที่แพร่เชื้อไวรัสมาสู่คนได้มากกว่า "ไข้หวัดหมู" (ภาพจากแฟ้ม)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ค้างคาวแหล่งรังโรคที่เป็นโรงงานผลิตไวรัสได้มากกว่า 80 ชนิด ที่อาจแพร่มาสู่คนได้ (ภาพจากแฟ้ม)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ขณะนี้ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนกกับการระบาดของโรค "ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก" ที่มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 150 ราย และแพร่กระจายข้ามทวีปไปยังหลายประเทศแล้ว แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากไวรัส และมีต้นตอมาจาก "สัตว์สู่คน" และอาจจะไม่ใช้ครั้งสุดท้ายด้วยเช่นกัน ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ มีรายงาน

    ช่วงระยะหลังมานี้ มีโรคแปลกประหลาดที่ไม่เคยพบมาก่อนปรากฏขึ้นและสร้างความตื่นตะหนกต่อผู้คนทั่วโลกอยู่บ่อยครั้ง จึงกลายเป็นประเด็นของโรคอุบัติใหม่ แถมพ่วงด้วยโรคเก่า ที่กลับมาอุบัติซ้ำเป็นระลอกใหม่ ที่ทั่วโลกจะต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลาในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน

    แค่ช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคซาร์ส ที่พบครั้งแรกในประเทศจีนราวปลายปี 2545 และแพร่กระจายไปทั่วโลก จนมีผู้ติดเชื้อหลายพันราย และมีผู้เสียชีวิตร่วม 800 ราย แต่ในที่สุดก็สามารถควบคุมสถานการณ์และหมดไปในปี 2546

    ต่อจากนั้นไม่นานโรคไข้หวัดนกก็ระบาดในสัตว์ปีก และสามารถติดต่อสู่คนได้ แต่ยังไม่พบการติดต่อจากคนสู่คน จึงยังไม่แพร่กระจายในวงกว้าง แต่ก็จัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง เพราะมีอัตราการเสียชีวิตถึง 60%

    จนมาถึงล่าสุด กับโรคไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ที่แพร่กระจายข้ามทวีปจากเม็กซิโก ไปสหรัฐฯ แคนาดา และมาถึงฝั่งยุโรปเรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้ติดเชื้อแล้วเกือบ 2,000 ราย และเสียชีวิตไปกว่า 150 ราย แต่ก็ยังถือว่ารุนแรงน้อยกว่าไข้หวัดนก 10 เท่า เพราะอัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกเพียง 6.4% เท่านั้น

    ทว่าโรคร้ายที่แพร่มาจากสัตว์สู่คนมีมากมายหลายชนิด และมีมาตั้งแต่อดีตแล้ว ซึ่งบางโรคก็สามารถควบคุม ป้องกัน หรือรักษาให้หายได้ แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้กลับมาอุบัติซ้ำได้อีก บางโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนแล้วหยุดแค่นั้น ไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้า ขณะที่บางโรคติดต่อจากคนสู่คนต่อไปได้อีกโดยอาศัยพาหะเป็นสัตว์บางชนิด เช่น ไข้เลือดออก หรือไม่จำเป็นต้องอาศัยพาหะอีกต่อไป เช่น โรคอีโบลา โรคเอดส์

    ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการ ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน ให้ข้อมูลกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ว่าในปี 2548 องค์การอนามัยโลก ได้มีการจัดอันดับโรคอุบัติใหม่ในคน โดยพบว่ามีเชื้อโรคในคนมากกว่า 1,400 ชนิด

    3 ใน 4 ของจำนวนนี้ เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์สู่คน และเป็นโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำจำนวน 177 ชนิด ในจำนวนนี้ 37% เป็นโรคที่เกิดจาก อาร์เอ็นเอไวรัส (RNA virus) ซึ่งอาร์เอ็นเอไวรัสในกลุ่มนี้จำนวน 49% ก่อให้เกิดโรคสมองอักเสบ ส่วนที่เหลือเป็นโรคที่เกิดในระบบอื่นๆ
    เช่น โรคซาร์ส, ไข้หวัดนก และไข้หวัดหมู

    ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ที่เปลี่ยนชื่อมาจากโรคไข้หวัดหมูที่เรียกในตอนแรก จากการตรวจวิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมทำให้นักวิจัยพบว่าโรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช1เอ็น1 (H1N1) หรือเชื้อไวรัสไข้หวัดหมู แต่ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดหมูธรรมดา ทว่าเป็นเชื้อไข้หวัดหมูกลายพันธุ์ที่มียีนคล้ายกับเชื้อไข้หวัดนกและไข้หวัดคนผสมรวมอยู่ด้วย และยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ แต่ไม่ทำให้หมูที่ติดเชื้อนี้ป่วยเป็นโรคแต่อย่างใด นับว่าเป็นการกลายพันธุ์ของเชื้อครั้งมโหฬารทีเดียว

    โรคไข้หวัดหมูสายพันธุ์นี้ถือว่าเป็นโรคอุบัติใหม่ จากที่พบการระบาดครั้งแรกในช่วงปี 2460-2461 ที่เรียกว่าไข้หวัดใหญ่สเปน ซึ่งเกิดจากเชื้อ H1N1 (เชื้อไข้หวัดหมูสายพันธุ์ดั้งเดิม) และทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก 20-40 ล้านคน หลังจากนั้นก็พบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากเชื้อโรคดังกล่าวอยู่เนืองๆ และเริ่มสงสัยว่าเชื้อไข้หวัดหมูอาจมีการกลายพันธุ์

    จนกระทั่งในปี 2541 พิสูจน์ได้ครั้งแรกว่าหมูที่เลี้ยงในฟาร์มแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ มีเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูกลายพันธุ์ที่มีพันธุกรรมผสมระหว่างหมู คน และนก หรือ 3 เกลอ ซึ่งพบเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ โดยสันนิษฐานว่าอาจเกิดขึ้นเมื่อหมูติดเชื้อไข้หวัดหมู, คน และนก ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไวรัสมีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนยีนกันจนเกิดการกลายพันธุ์ และปรับตัวเรื่อยมาจนสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยไม่ต้องผ่านหมู ซึ่งเชื้อไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกที่ระบาดอยู่ขณะนี้แตกต่างไปจากเชื้อกลายพันธุ์ 3 เกลอ ที่เคยพบมาก่อนหน้านั้น

    "โอกาสที่เชื้อนี้จะกลายพันธุ์และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นหรือไม่นั้นบอกได้ยาก ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของเชื้อ ซึ่งเมื่อไวรัสผ่านจากคนสู่คนหลายๆ ครั้ง ร่างกายของคนก็จะเริ่มมีภูมิคุ้มกันมาต้านทานเชื้อ ส่วนเชื้อไวรัสก็ต้องการอยู่รอด จึงต้องพยายามปรับตัวเองให้หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ เพิ่มความสามารถให้แพร่พันธุ์ต่อไปได้รวดเร็วและมากขึ้น อยู่ในอากาศได้นาน และจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ในระบบทางเดินหายใจได้ดียิ่งขึ้น" ศ.นพ.ธีรวัฒน์ อธิบาย

    อย่างไรก็ตาม นอกจากโรคไข้หวัดหมูกลายพันธุ์ที่กล่าวมา ยังมีโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คนอีกหลายโรคที่ต้องเฝ้าระวังมากไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น โรคสมองอักเสบจากไวรัสนิปาห์ (Nipah virus) ซึ่งมีค้างคาวเป็นพาหะ

    "สมัยก่อนไวรัสนิปาห์จากค้างคาวจะแพร่สู่หมู แล้วจึงติดต่อมาสู่คน แต่ระยะหลังพบว่าสามารถติดต่อจากค้างคาวสู่คน และจากคนสู่คนได้เลย ถือเป็นการพัฒนาขั้นสูงสุดของไวรัสแล้วที่จะสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ซึ่งล่าสุดพบการระบาดจากคนสู่คนในบังกลาเทศเมื่อปีที่แล้ว แต่ยังไม่ติดต่อได้ง่ายเท่ากับโรคไข้หวัดหมู ทว่ามีความรุนแรงกว่ามาก ตั้งแต่พบโรคนี้ครั้งแรกในมาเลเซียเมื่อปี 2541 จนถึง 2551 มีผู้ป่วยแล้ว 477 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 248 ราย อัตราการตายสูงถึง 52%" นพ.ธีรวัฒน์เผยข้อมูล และจากการสำรวจค้างคาวในประเทศไทยก็พบว่ามีเชื้อไวรัสนิปาห์อยู่เยอะพอสมควร

    ยิ่งกว่านั้นในค้างคาวยังเป็นรังของโรคอื่นๆ ได้อีกมาก เพราะในค้างคาวเป็นแหล่งผลิตเชื้อไวรัสได้มากกว่า 80 ชนิด รวมทั้งไข้หวัดใหญ่ อีโบลา และซาร์สด้วย ซึ่งในขณะนี้เราอาจไม่รู้ว่าค้างคาวกำลังแพร่เชื้อโรคใดมาสู่มนุษย์อีกหรือเปล่า ส่วนหมูนั้นสามารถรับเชื้อเข้าไปได้หลายชนิดโดยไม่ป่วยหรือแสดงอาการใดๆ แต่สามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้ จึงนับว่าเป็นตัวพาหะและโรงงานผลิตเชื้อไวรัสที่สำคัญมากที่จะแพร่เชื้อโรคมาสู่คน รวมทั้งโรคไข้สมองอักเสบเจอีด้วยเช่นกัน

    อย่างไรก็ดี ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกไวรัสสัตว์สู่คน บอกว่า แนวโน้มโรคจากสัตว์สู่คนในอนาคตนั้นจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะคนและสัตว์ใกล้ชิดกันมากขึ้น จากการที่คนเราเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่า หรือชอบนำสัตว์ป่าหรือสัตว์แปลกๆ มาเลี้ยง หรือนำมาเป็นอาหาร ทำให้เชื้อโรคจากสัตว์มีโอกาสกลายพันธุ์และแพร่สู่คนได้ง่ายขึ้น เช่น กรณีของโรคซาร์ส ที่เกิดขึ้นเพราะคนไปกินชะมด ส่วนภาวะโลกร้อนนั้นก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่บ้าง เนื่องจากโรคอุบัติใหม่มักเกิดขึ้นในช่วงที่สภาพภูมิอากาศแปรปรวน.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...