ไวรัสตับอักเสบบี รู้ทัน ป้องกันรักษาได้

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย น้ำใสไหลเย็น, 29 สิงหาคม 2013.

  1. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ประเทศไทยนับเป็นอีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นถิ่นที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นจำนวนมาก

    โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงนับว่ามีความสำคัญ เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับตาย

    หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้

    จากหลักฐานการศึกษาในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดมะเร็งตับ

    ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทย


    มารู้จัก ... โรคไวรัสตับอักเสบบี กันเถอะ

    :โรคที่มีการอักเสบของเนื้อตับ เนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

    [​IMG]


    โรคไวรัสตับอักเสบบีแพร่กระจายได้อย่างไร


    การติดต่อของโรคนี้ติดต่อกันได้ ที่สำคัญมี 4 ทาง คือ

    1. ติดต่อทางเลือด โดยได้รับเชื้อจากการได้รับเลือดจากผู้ที่เป็นโรคนี้ ปัจจุบันเราพบการติดต่อทางนี้น้อยลง เพราะเรามีการตรวจเลือดก่อนที่จะนำมาให้คนไข้

    2. ติดต่อทางน้ำลาย การรับประทานอาหารร่วมกับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีโอกาสจะติดต่อกันได้ง่าย

    เพราะการรับประทานอาหารของคนไทยมักจะลืมใช้ช้อนกลาง ทำให้มีโอกาสติดโรคนี้ได้ง่าย

    3. ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสจะติดโรคนี้ได้

    4. ติดต่อจากมารดาสู่บุตร การติดต่อนี้จะมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด จึงควรมีการตรวจเลือดมารดาในตอนที่ฝากครรภ์

    ถ้าพบว่ามารดามีเชื้อโรคนี้อยู่ ควรให้วัคซีนแต่ทารกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้

    ไวรัสตับอักเสบบี ไม่สามารถแพร่กระจายผ่านการให้นมบุตร กอดจูบ การไอ จาม การจับมือ

    การกินอาหารร่วมภาชนะเดียวกัน และไม่สามารถแพร่กระจายโดยการปนเปื้อนอาหารหรือน้ำ


    โรคไวรัสตับอักเสบน่ากลัวอย่างไร

    ประมาณ 15- 25 % ของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง จะกลายเป็น ตับแข็ง และมะเร็งตับ ตามมาในอนาคต

    [​IMG]
    เปรียบเทียบกับลักษณะตับแข็ง

    [​IMG]
    ลักษณะเซลล์เนื้อตับเมื่อเป็นมะเร็ง

    อาการและอาการแสดง

    ในเด็ก มักไม่มีอาการแต่จะกลายเป็นพาหะโรคตับอักเสบบีได้ร้อยละ 90 โดยจะเริ่มมีอาการเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

    ในผู้ใหญ่ ผู้ป่วยจะมีอาการในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม

    ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะสร้างภูมิคุ้มกันและกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจนหายเป็นปกติ

    แต่ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งจะกลายเป็นผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง และกลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับ ในที่สุด

    [​IMG]
    ปัสสาวะสีเข้ม

    [​IMG]
    ท้องโต

    โรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง และพาหะ

    ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสดังกล่าวได้ จะยังคงมีไวรัสหลงเหลืออยู่ในร่างกายโดยไม่มีอาการหรือกลายเป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบี

    เมื่อเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น ไวรัสจะทำลายเนื้อตับอย่างช้าๆและต่อเนื่อง หรือกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังนั่นเอง


    การอักเสบของตับจะก่อให้เกิดพังผืดในเนื้อตับและเป็นตับแข็งตามมา ระหว่างนี้ผู้ป่วยอาจมีโรคตับอักเสบบีเฉียบพลันแทรกซ้อนได้

    ซึ่งจะยิ่งทำให้เนื้อตับถูกทำลายมากขึ้น และผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด

    โรคไวรัสตับอักเสบบี กับการติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัส HIV ถึง50-100 เท่า

    โรคไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันได้อย่างไร

    การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถทำได้โดย

    - หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน

    - หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

    - การรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี


    ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน

    และให้วัคซีนโรคตับอักเสบบีในเด็กทารกแรกเกิดทุกคน

    โดยกำหนดให้ 4 ครั้ง แรกเกิด , 2 เดือน , 4 เดือน ,และ 6 เดือน

    สำหรับการป้องกันในผู้ใหญ่ จะให้วัคซีนดังกล่าวจำนวน 3 เข็ม โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 6 เดือน


    สำหรับผู้ที่เป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบ หรือเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังอยู่แล้ว การได้รับวัคซีนตับอักเสบนั้นไม่มีประโยชน์

    ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์

    จึงเป็นวิธีป้องกันการป่วยเป็นโรคตับอักเสบรุนแรงที่อาจตามมาได้

    ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิโรคตับ, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
     
  2. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    สิ่งที่ท่านอาจจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับค่าต่างๆ เมื่อท่านไปตรวจเลือด

    ผลการตรวจจำนวนและปริมาณสารนำอ๊อกซิเจนของเม็ดเลือดแดง

    รายละเอียด Hemoglobin (ฮีโมโกบิน)ความหมาย เป็นสารสีแดงในเม็ดเลือดมีหน้าที่ช่วยจับออกซิเจน
    ค่าของ Hb ใช้บอกภาวะโลหิตจาง
    ค่ามาตรฐาน M=13-18 F=12.5-16.5


    รายละเอียด Hemotocrits (ความเข็มข้นเลือด)

    ความหมาย เป็นเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเทียบกับปริมาตรของเลือดทั้งหมด ค่านี้ใช้บอกภาวะโลหิตจางหรือข้นของเลือดปกติ

    -ถ้า ต่ำกว่า 30% ถือว่า ต่ำมาก อาจจะต้องพิจารณาให้เลือดช่วยในบางราย
    -ถ้า สูงมาก อาจจะต้อง ระวัง โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมามากผิดปกติ

    ค่ามาตรฐาน M=40-50% F=35-47%



    ผลการตรวจจำนวนและชนิดเม็ดเลือดขาว
    รายละเอียด White Blood Cell Count (WBC)

    ปริมาณเม็ดเลือดขาวทุกชนิด ในเลือดรวมกัน
    ความหมาย -ถ้า ต่ำมาก อาจจะเกิดจาก โรคที่มีภูมิต้านทานต่ำบางอย่าง หรือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางประเภท

    หรือ โรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ
    ถ้า สูงมาก อาจจะเกิดจากการติดเชื้อพวกแบคทีเรีย แต่จะต้องดูผลการนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential Count)
    ค่ามาตรฐาน 5 ,000-10,000 cell/dl


    ผลการตรวจปริมาณเกร็ดเลือด
    รายละเอียด Platelets (เกล็ดเลือด)

    ความหมาย เป็นเซลเม็ดเลือดที่ช่วยในการหยุดไหลของเลือดเวลาเกิดบาดแผล
    ค่ามาตรฐาน 140-450 x1000


    ผลการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด
    รายละเอียด Fasting Blood Sugar (FBS)

    ความหมาย ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ที่เจาะหลังงดอาหารไม่น้อยกว่า 6 ชม
    ค่ามาตรฐาน 70-120 mg/dl


    ผลการตรวจสมรรถภาพการทำงานและการขับถ่ายของเสียของไต
    รายละเอียด Blood Urea Nitrogen (BUN)

    ความหมาย ใช้เพื่อดูการทำงานของไตคู่กับ Creatinine ในคนที่ไตทำงานกำจัดสารพิษ ออกจากร่างกายได้น้อยลง (ไตวาย)

    จะมีสารนี้สูง
    ค่ามาตรฐาน 8.0-20.0 mg/dl

    รายละเอียด Creatinine

    ความหมาย เป็นการตรวจการทำงานของไต ในการกำจัดของเสีย ถ้าคนไข้ที่มีภาวะไตวาย จะมีค่าตัวนี้สูงกว่าปกติ
    ค่ามาตรฐาน 0.8-2.0 mg/dl


    ผลการตรวจปริมาณสารยูริคในเลือด(โรคข้ออักเสบชนิดเก๊าท์)
    รายละเอียด Uric Acid

    ความหมาย เป็นเกลือยูริคในกระแสเลือด พบสูงได้ในโรคเก๊าต์
    ค่ามาตรฐาน M= 3.4-7 mg/dl F= 2.4-5.7 mg/dl


    ผลการตรวจปริมาณไขมันในเลือด
    รายละเอียด Cholesterol

    ความหมาย เป็นไขมันในเลือด ถ้า สูงมาก จะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดตามที่ต่างๆ เช่นสมอง หัวใจ หรือไต เป็นต้น
    ค่ามาตรฐาน 150-250 mg/dl


    รายละเอียด Triglyceride

    ความหมาย เป็นไขมันอีกในเลือด ถ้า สูงมาก จะทำให้เกิดการอุดตันหลอดเลือด
    ค่ามาตรฐาน 60-160 mg/dl


    รายละเอียด High Density Lipoproteins (HDL)

    ความหมาย เป็นไขมันชนิดที่มีความหนาแน่นของโมเลกุลสูง ตัวนี้ช่วยในการนำพวกไขมันที่เกิดโทษ (เช่น Cholesterol และ Triglyceride)
    ไปกำจัดทิ้ง

    ซึ่งจะทำให้มีการ อุดตันหลอดเลือดตามอวัยวะต่างๆได้น้อยลง
    ค่ามาตรฐาน 30-60 mg/dl (มากดี)


    ผลการตรวจภาวะตับอักเสบ และหรือการอุดกั้นทางเดินน้ำดี
    รายละเอียด AST( SGOT) และ ALT (SGPT)

    ความหมาย สองตัวนี้เป็นเอนไซม์ของตับ ที่จะพบเมื่อมีการทำลายของเซลล์ตับ เช่นเกิดจากภาวะตับอักเสบจากโรคต่างๆ
    ค่ามาตรฐาน 0-40 U/L 0-35 U/L


    รายละเอียด Alk. Phosphatase

    ความหมาย ค่าเอนไซม์ของเลือด ถ้าพบสูงมาก จะระบุว่าอาจจะมีการอุดตันของระบบทางเดินน้ำดีในตับ
    ค่ามาตรฐาน 98-279 U/L


    ผลการตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเลือด (สำหรับผู้สัมผัสอาหาร)
    รายละเอียด HBs Ag

    ความหมาย เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัส ตับอักเสบชนิด B ว่ามีในเลือด
    Negative = ไม่พบเชื้อ
    Positive = พบเชื้อ
    ค่ามาตรฐาน Negative

    รายละเอียด HBs Ab

    ความหมาย เป็นการตรวจหาระดับ ภูมิต้านทานต่อเชื้อตับอักเสบชนิด B
    Negative = ไม่มีภูมิต้านทาน
    Positive = มีภูมิต้านทาน
    ค่ามาตรฐาน Positive



    ขอบคุณข้อมูล จาก �ٹ�����ᾷ�������࿤��Ÿ
    และ :: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ถวายพระพรวันแม่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ::
     
  3. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    มีอะไรให้ดูบ้าง เมื่อเราไปตรวจเลือดคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี

    ตามแผนภูมิด้านล่าง

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...