ไส้ติ่ง โรคง่ายๆที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 30 มกราคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <TABLE class=text7 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ไส้ติ่งเป็นโรคที่ทำให้คนเราต้องเข้าผ่าตัดมากที่สุดโรคหนึ่ง
    เป็นโรคที่ทำให้หมอถูกฟ้องและร้องเรียนมากที่สุดโรคหนึ่ง
    และเป็นโรคที่คนทั่วไปเข้าใจผิดและคิดว่ามันเป็นโรคที่ง่ายๆที่สุดโรคหนึ่ง

    วันนี้ผมจะมาพูดเกี่ยวกับความจริงของโรคที่คนไทยคิดว่าเป็นโรคที่ง่ายๆ ทั้งการวินิจฉัย และการรักษา .... ผมจะพูดถึงความจริงที่คนไทยเข้าใจผิดดูซักตั้ง

    ความเชื่อ : ไส้ติ่งต้องปวดท้องด้านขวา ปวดท้องข้างขวาเป็นไส้ติ่ง
    ความจริง : ไส้ติ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องท้องทางด้านขวาล่าง เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากลำไส้ การอักเสบของไส้ติ่งก็ปวดด้านขวา ตรงไปตรงมาดี
    แต่ว่าไส้ติ่งไม่ได้เป็นอวัยวะเดียวที่อยู่ในท้องด้านขวา ที่ทางขวายังมีไต ท่อไต กล้ามเนื้อ เส้นเลือด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก รังไข่ มดลูก ฯลฯ ซึ่งก็อักเสบและก็ปวดได้เช่นกัน ในขณะเดียวกันไส้ติ่งก็ไม่ได้อยู่ที่ด้านขวาล่างเพียงที่เดียว รวมทั้งการปวดไม่ได้ปวดเพียงที่ด้านขวาเท่านั้น
    บางคนอาจจะเถียงว่าเอาอะไรมาพูด ไส้ติ่งอยู่ทางขวา ก็ต้องปวดขวาสิ จะไปปวดที่อื่นได้อย่างไร นี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่เวลาคนไข้เด็กๆปวดบริเวณสะดือมาแล้วพ่อแม่เด็กมักไม่เชื่อหมอว่าเด็กจะเป็นไส้ติ่งได้ รวมทั้งมักจะพามาเมื่อเป็นมาหลายวันแล้ว(จำไว้นะครับ ผมไม่ได้บอกว่ามาช้า)
    ไส้ติ่งเป็นอวัยวะที่ได้รับเส้นประสาทมาจากกลุ่มประสาทกลุ่มหนึ่ง(ชื่ออะไรไม่บอก) ตำแหน่งมันอยู่ตรงกลาง ในช่วงแรกที่มีการอักเสบมันจะส่งสัญญาณประสาทกลับไป ทำให้มีความรู้สึกปวดมวนท้องทั่วๆไป"ตรงกลางท้อง" หรือบริเวณสะดือ ต่อมามีการอักเสบมากขึ้นลามมานอกตัวไส้ติ่ง(เตรียมแตก)ก็จะไประคายเคืองที่ช่องท้อง ทำให้รู้สึกเจ็บที่ด้านขวาล่าง และต่อมา เมื่อมีการแตกออก การอักเสบก็จะกระจายไปทั่วช่องท้องก็จะมาปวดทั่วๆท้องอีกครั้ง

    ความเชื่อ : เมื่อสงสัยว่าเป็นไส้ติ่ง ต้องรีบไปเจาะเลือด เอกซ์เรย์ อัลตร้าซาวน์ เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ทันทีเพื่อวินิจฉัยให้แน่นอน
    ความจริง : ตอบง่ายๆครับ ยิ่งทำเยอะมันยิ่งช่วยให้แม่นยำมากขึ้น"จริง"ในบางราย ซึ่งเป็นความจริงในต่างประเทศแต่ว่า
    เครื่องเอกซ์เรย์คอมฯ ปกติในเมืองไทยก็มีอยู่ไม่ได้มากมายนัก แต่ในการวินิจฉัยไส้ติ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์อีกแบบ ซึ่งในเมืองไทยยิ่งมีน้อยเครื่องเข้าไปอีก .... แม้นในต่างประเทศ เขาก็แนะนำให้ใช้เฉพาะกรณีที่ตรวจร่างกายแล้วไม่ชัดเจนจริงๆ จึงจะได้ประโยชน์คุ้มค่าพอ
    อัลตร้าซาวน์ เป็นอีกอย่างที่มักโดนขอให้ทำ ซึ่งความจริงต้องรู้ไว้อย่างนึงคือ อัลตร้าซาวน์ต้องใช้คนที่ทำเป็นคนอ่าน คนที่จะอ่านได้ดีๆเก่งๆก็มักเป็นหมอรังสี การทำต้องใช้เทคนิกวิธีการ รวมทั้ง หากทำไม่เจอว่าลักษณะเหมือนไส้ติ่งอักเสบก็ไม่ได้แปลว่าไม่เป็น ต้องสังเกตอาการและตรวจร่างกายต่อไปอยู่ดี
    เจาะเลือด เป็นอันที่ค่อนข้างมีประโยชน์เพราะว่าการอักเสบของไส้ติ่งมักจะทำให้ลักษณะจำนวนเม็ดเลือดขาวเปลี่ยนไป แต่ก็อีกนั่นแหละ ถ้าหากว่าเจาะเลือดไม่เหมือนเลยแต่อาการเหมือน ก็ยังต้องสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอยู่ดี
    เอกซ์เรย์ ไส้ติ่งเป็นเนื้อ ไม่มีกระดูก อยากรู้จังว่าจะดูอะไร.... หรือบางคนบอกว่า ไส้ติ่งอักเสบมักมีหินแคลเซียมไปอุด แต่สุดท้าย ถ่ายมาแล้วเจอผิดปกติ ก็ดูอาการ ถ่ายมาแล้วไม่เจออะไร ก็ยังต้องดูอาการต่ออยู่ดี
    ปัญหาที่หมอพบคือ คนในปัจจุบัน มีความรู้ว่ามีเครื่องมือเหล่านี้อยู่ในโลก และต้องการให้หมอเอามาใช้ในการตรวจวินิจฉัย ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือไม่
    ปัญหาที่หนักกว่าคือคนบางกลุ่มบางคน เมื่อหมอได้อธิบายว่าการส่งเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้การจัดการแตกต่างไปจากเดิม(พูดง่ายๆว่าไม่มีประโยชน์) หมอก็มักจะโดนกล่าวหาว่า
    "ไม่รู้จักติดตามงานวิจัย " (ก็ติดตามนี่ล่ะ ถึงรู้ว่าไม่มีประโยชน์) หรือถ้าที่ผมเจอเองก็
    " ผมรู้ว่าจริง หมอไม่รู้ก็อย่ามามั่วเลย" (ก็รู้และไม่ได้มั่วนี่ไง เลยมาเถียง)
    สรุปว่าไส้ติ่งเป็นโรคที่เราใช้ประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นหลักใหญ่ การตรวจทางห้องปฏิบัติการและทางรังสีเป็นรอง ที่อาจนำมาใช้ในการช่วยตัดสินใจผ่าตัดหากตรวจได้ไม่ชัดเจน และผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงหากจะเฝ้าสังเกตอาการต่อไป

    ความเชื่อ : ถ้าเป็นไส้ติ่ง ต้องเอาไปผ่าทันที ห้ามรอเด็ดขาด
    ความจริง : ถ้าเป็นไส้ติ่งจริง ก็ควรเอาไปผ่าให้เร็วที่สุด "หากไม่มีข้อห้าม"
    ในกรณีที่ยังไม่แน่ใจว่าเป็นไส้ติ่ง หรืออาการคล้ายโรคอื่นโดยที่ยังไม่ตัดประเด็นไส้ติ่งไป อาการมักเป็นลักษณะที่ยังไม่ได้มีการอักเสบมาก ก็มักจะรอต่อไปเพื่อให้อาการชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะหากเอาไปผ่าอย่างไม่จำเป็นก็ต้องไปแบกรับความเสี่ยงของการผ่าตัดโดยไม่จำเป็น
    ในกรณีที่แตกไปแล้วระยะหนึ่ง จนกระทั่งความดันเลือดตก การนำไปผ่าตัดก็เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ก็ต้องให้น้ำเกลือหรือให้ยาเพิ่มความดันจนอาการดีขึ้นเสียก่อน จึงจะนำไปผ่าตัดได้
    ในกรณีที่แตกมานานแล้วจนรวมกันเป็นก้อน ก็มักต้องรอให้การติดเชื้ออักเสบสงบลงก่อน ราวๆ6สัปดาห์ แล้วให้กลับมาผ่าตัด หรือบางคนก็อาจจะผ่าไปเลยก็ได้ ขึ้นกับผู้ผ่าตัดและสภาพคนไข้
    ในกรณีที่ยังไม่ได้งดน้ำงดอาหาร และจะนำไปผ่าด้วยการดมยาสลบ ผู้ป่วยก็จะเสี่ยงต่อการสำลักน้ำและอาหาร โอกาสเสียชีวิตก็มีมากขึ้นไปอีก
    ส่วนในกรณีบล๊อกหลังซึ่งไม่ได้จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร หรือการดมยาสลบด้วยเทคนิกไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร แม้ว่าแพทย์คนไหนจะมีความรู้ความสามารถที่จะทำได้ก็คงไม่ทำหากไม่ใช่หมอดมยา เพราะถ้าผ่าตัดแล้วดีก็มักเสมอตัว ถ้าผ่าตัดแล้วถ้าผลไม่เป็นที่พอใจ(ไม่ว่าจะทำพลาดหรือทำถูกต้อง) หมอคนนั้นก็ผิดในสายตาคนทั่วไปทันที

    ความเชื่อ :ไส้ติ่งแตก เกิดจากการกดของหมอ และเกิดจากการรอนานเกินไป
    ความจริง : การแตกของไส้ติ่งที่เกิดจากการกดของหมอเวลาตรวจร่างกาย ไม่เคยมีใครทำการทดลองว่าจริงหรือเปล่า ดังนั้นคงตอบไม่ได้ (คงไม่มีหมอคนใดปฏิเสธหรือยอมรับเรื่องนี้ เพราะมันไม่มีใครทดลองนี่นา)
    เกิดจากการรอนานเกินไป ก็คงมีส่วน แต่การรอเหล่านี้จำเป็นหรือไม่.... ในฐานะที่เคยผ่าตัดไส้ติ่ง ผมอยากผ่าเร็วๆด้วยซ้ำ เพราะยิ่งผ่าเร็วก็ผ่าง่าย โอกาสแตกก็น้อย ผ่าแล้วกลับไปตีพุงกินกาแฟได้ แต่ที่ต้องรอก็ต้องรอเพราะความจำเป็นในเรื่องการงดน้ำงดอาหารเพื่อความปลอดภัยของคนไข้เอง
    ปวดมาสามวันแล้ว รอการงดน้ำงดอาหาร3-4ชั่วโมงจะเป็นไรไป(ส่วนใหญ่คนที่เป็นไส้ติ่งอักเสบมักปวดจนกินไม่ค่อยลงอยู่แล้ว)

    ความไม่พอใจ : ทำไมสงสัยเรื่องไส้ติ่ง แล้วต้องมาถามเรื่องเพศสัมพันธุ์ หรือเรื่องประจำเดือน
    ความจริง : เวลาตรวจเด็กผู้หญิงในวัยมีประจำเดือนแล้ว แล้วสงสัยไส้ติ่งอักเสบ โรคสำคัญที่ต้องแยกไว้ก็คือเรื่องการติดเชื้อของปีกมดลูกและท้องนอกมดลูก เพราะว่าการรักษาไปกันคนละเรื่อง (อันนึงไม่ต้องผ่าตัด อีกอันนึงต้องผ่าตัดทันที) ถ้าจะไม่ให้ถาม ก็มีอีกทางคือตรวจภายใน การตอบคำถามง่ายๆสั้นๆ1คำถามน่าจะดีกว่าการมาปิดบังอึกอักหรือโกหกกัน
    เคยมีครั้งหนึ่ง มีเด็กอายุไม่มากนักมาด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านขวา หลังจากซักอาการไปแล้ว อาการก็คล้ายๆไส้ติ่งอักเสบแต่ไม่เหมือนนัก (อาการเร็วเกินไปและตำแหน่งไม่ตรงกันนัก) พอตรวจร่างกายก็ไปเจอรอยแผลเป็นจางๆคล้ายรอยผ่าตัด ก็เลยบอกไปว่า จากที่เล่ามาก็ต้องบอกว่าอาการเหมือนไส้ติ่งแต่... ตกลงเคยผ่าไส้ติ่งไหม ก็ปรากฎว่าเคยผ่าแล้ว ก็เลยขอตรวจปัสสาวะเรื่องการตั้งครรภ์ท่ามกลางความไม่พอใจของผู้ปกครอง (หมอจะตรวจคนไข้กับพยาบาลสองคนลำพังก็ได้ แต่ถ้าพ่อแม่ยืนยันว่าจะยืนฟังทุกเรื่องและจะตอบคำถามแทนลูกทุกเรื่อง หมอก็จนใจ)
    ผลก็คือตั้งครรภ์.... ก็เลยต้องส่งไปเพื่อให้หมอสูตินรีดูแลและผ่าตัด.... (รายนี้ ซักครั้งแรกพบว่าไม่เคยมีเพศสัมพันธุ์และประจำเดือนมาปกติดีทุกเดือน)
    ดังนั้นสำหรับผม ใครยังมีประจำเดือน ผมถามทั้งนั้นโดยที่ไม่ต้องไปดูคำนำหน้าชื่อ(สำหรับเด็กกรุงที่อาจจะไม่รู้ คนไทยที่ไม่จดทะเบียนแต่อยู่กินกันแบบเปิดเผยมีเยอะแยะไป)

    ความไม่พอใจ : ตอนมาไส้ติ่งยังไม่แตก แต่หมอปล่อยรอจนให้แตก หรือหมอไปทำแตก
    ความจริง : เป็นคำกล่าวหาที่พบได้บ่อยเมื่อผลปรากฎว่าไส้ติ่งแตก ทั้งที่หลายครั้งคนไข้มาก็มีอาการของไส้ติ่งแตก บอกแต่ต้นว่าไส้ติ่งแตกอยู่แล้ว แต่พอผ่าเสร็จ หมอหลายคนมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยน่าประทับใจนักคือ ญาติคนไข้หรือคนไข้บางคน พูดกล่าวหาหมอว่าไปทำแตก (หรือรอเวลางดน้ำงดอาหารจนแตก) บางครั้งเล่าเหมือนกับไปเห็นด้วยตาในห้องผ่าตัดเอง
    ไม่ว่ามันจะแตกอยู่ก่อน หรือหมอมาทำแตก ผมคงต้องบอกความจริงเกี่ยวกับไส้ติ่งอักเสบไว้ก่อน
    ไส้ติ่งก็เป็นอวัยวะอย่างหนึ่ง และไส้ติ่งอักเสบก็คือไส้ติ่งที่กำลังเน่า ยิ่งปล่อยให้เน่ามานานๆ ก็ยิ่งเละ พอเละได้ที่ก็แตก
    ถ้านึกไม่ออก ลองเอาไส้กรอกยาวมาหนึ่งชิ้น แช่น้ำทิ้งเอาไว้สัปดาห์นึง แล้วพยายามหยิบขึ้นมาจากน้ำไม่ให้ขาด....
    การจะแตกหรือไม่ขึ้นกับองค์ประกอบว่า ไส้ติ่งอยู่ในตำแหน่งที่ยากแค่ไหน ไส้ติ่งถูกปล่อยให้อักเสบนานแค่ไหน(ทั้งที่บ้านและรพ.) คนผ่า ฯลฯ

    ความเชื่อ : การผ่าตัดไส้ติ่ง ต้องใช้หมอเฉพาะทางผ่าตัด (ศัลยแพทย์) เท่านั้น
    ความจริง : ก่อนที่ญาติของใครจะได้รับการผ่าตัดทุกชนิด, ผมเชื่อว่าทุกคนย่อมต้องการให้ผู้ที่ทำการผ่าตัดเป็นศัลยแพทย์หรือแพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านนั้นมาเป็นผู้ผ่า หากแต่ว่าในความจริงการฝึกหัดแพทย์ออกมาหนึ่งคน ได้(เคย)กำหนดให้ทุกคนที่จบมาต้องผ่าไส้ติ่งเป็น
    ที่บอกว่าเคยเพราะได้ยินมาว่าหมอรุ่นใหม่ๆที่กำลังจะจบออกมา ทางแพทยสภาได้กำหนดไว้ว่าไม่จำเป็นต้องผ่าตัดไส้ติ่งเป็น!!!
    เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ในสังคมไทยปัจจุบันมีความต้องการแพทย์เฉพาะทางมากขึ้น จนกระทั่งการฝึกหัดนักเรียนแพทย์ทำได้ยากขึ้น ในการผ่าตัดทุกชนิด หากเป็นการผ่าตัดเพื่อฝึกหัดให้นักศึกษาแพทย์ได้ทำจริงแล้วเกิดมีปัญหาตามมา(แม้จะไม่ได้เป็นปัญหาจากการผ่าตัดก็ตาม) มักจะนำเองเรื่องการเรียนการสอนมาเป็นประเด็นไม่ว่าจะมีมูลจริงหรือไม่ก็ตาม ... ดังนั้นเมื่อไส้ติ่งเป็นโรคที่คนทั่วไปให้ความคาดหวังกันมากว่าต้องเป็นการผ่าตัดที่ไม่มีอันตรายแม้แต่น้อยไม่ว่าคนไข้จะมาด้วยอาการที่เพียบหนักเพียงไร ก็เลยทำให้มันกลายเป็นการผ่าตัดแรกๆที่ต่อไปหมอเมืองไทยอาจจะทำไม่เป็นกัน
    ความจริงแล้ว การผ่าตัดทุกชนิด จะผ่าเป็นหรือไม่ขึ้นกับประสบการณ์เป็นหลัก หากได้เห็นได้ฝึกได้ทำบ่อยๆก็ย่อมทำได้ หรือแม้แต่บางครั้งการได้เห็นบ่อยๆและมีความรู้ก็สามารถทำการผ่าตัดได้ จึงไม่แปลกที่พยาบาลห้องผ่าตัดจำนวนมากสามารถเป็นครูสอนผ่าตัดให้นักศึกษาแพทย์หรือแพทย์จบใหม่ได้ และแพทย์รุ่นที่จบมาเมื่อสัก10ปีก่อน ซึ่งสมัยเรียนมีโอกาสได้ฝึกผ่าตัดสมัยเรียนมากกว่าแพทย์รุ่นหลังๆ เมื่อออกมาทำงาน ก็ย่อมผ่าตัดได้ดีกว่า
    อย่าลืมว่าหมอผ่าตัดที่เก่งก็เกิดมาจากการหาความรู้ทางทฤษฎี
     

แชร์หน้านี้

Loading...