ไหว้พระธาตุวิถีแห่งล้านนา

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย guawn, 9 มกราคม 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ไหว้พระธาตุวิถีแห่งล้านนา พ.ท.นเรศร์ จิตรักษ์ ประจำมณฑลทหารบกที่ ๓๓ ค่ายกาวิละ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บอกว่า การไหว้พระธาตุประจำปีเกิดนั้น เป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา ต่อมาเมื่อมีการเผยแพร่ความเชื่อเรื่องสิริมงคลแห่งการไว้พระธาตุประจำปีเกิดออกไป คนที่เกิดในปีนั้นๆ เมื่อมีโอกาสขึ้นมาเที่ยวทางภาคเหนือ จึงไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง
    ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา แต่โบราณเชื่อว่าทุกคนจะมีพระธาตุประจำปีเกิด หรือ 'ปีเปิ้ง' ของตัวเอง ก่อนที่คนเราจะปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดานั้น ดวงวิญญาณจะต้องมา "ชุ" (คนเหนืออ่านว่า จุ๊ แปลว่าพัก หรือบรรจุ) อยู่ที่พระธาตุประจำตัวก่อน โดยมี "ตัวเปิ้ง" (สัตว์ประจำราศีเกิด) นำมาเมื่อได้เวลา วิญญาณก็จะไปสถิตอยู่ที่กระหม่อมของบิดาเป็นเวลา ๗ วัน แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดา แล้วก็คลอดออกมานี่ล่ะจ้ะ จนเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไป 'ชุ' อยู่ที่พระธาตุประจำตัวของตนตามเดิมก่อนที่จะกลับไปเกิดในภพภูมิตามบุญกรรมที่ต่างทำมา

    คนเกิดปีชวด (ใจ้) ตัวเปิ้ง คือ หนู จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่

    คนเกิดปีฉลู (เป้า) ตัวเปิ้ง คือ วัว จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง

    คนเกิดปีขาล (ยี) ตัวเปิ้ง คือ เสือ จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่


    คนเกิดปีเถาะ (เหม้า) ตัวเปิ้ง คือ กระต่าย จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน

    คนเกิดปีมะโรง (สี) ตัวเปิ้ง คือ นาค จะนำดวงวิญญาณมาชุที่องค์พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

    คนเกิดปีมะเส็ง (ใส้) ตัวเปิ้ง คือ งู จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ วัดพุทธคยา ประเทศอินเดีย แต่เราสามารถไปไหว้แทนได้ที่ วัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม) จ.เชียงใหม่

    คนเกิดปีมะเมีย (สะง้า) ตัวเปิ้ง คือ ม้า จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุชเวดากอง ประเทศพม่า หรือเราสามารถไปไหว้แทนได้ที่พระบรมธาตุ วัดบรมธาตุ จ.ตาก

    คนเกิดปีมะแม (เม็ด) ตัวเปิ้ง คือ แพะ จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

    คนเกิดปีวอก (สัน) ตัวเปิ้ง คือ ลิง จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุพนม จ.นครพนม

    คนเกิดปีระกา (เร้า) ตัวเปิ้ง คือ ไก่ จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน

    คนเกิดปีจอ (เส็ด) ตัวเปิ้ง คือ สุนัข จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แม้จะไม่มีบนโลก แต่คนเกิดปีจอสามารถไปไหว้แทนได้ ๒ แห่ง คือ พระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่า หรือ วัดเกตุการาม จ.เชียงใหม่ ส่วนคนเกิดปีกุน (ใค้) ตัวเปิ้ง คือ ช้าง จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย

    ตำนานแห่งพระธาตุปีกุน



    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ตำนานแห่งพระธาตุปีกุน</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] "ปีกุน" หรือ "ปีหมู" ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการเริ่มต้นนับปีกุน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่

    การนับปีนักษัตรตามตำราโหราศาสตร์ ปีกุนจะเริ่มนับตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือ วันจันทร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐ ถึงจะเข้า ปีกุน อย่างแท้จริง
    ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา พุทธศาสนิกชนจะเดินทางไปกราบไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคล และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ พระธาตุดอยตุง ณ วัดพระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งเป็น พระธาตุประจำผู้เกิดปีกุน (หมู)
    เหตุผลที่ พระธาตุดอยตุง ถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุเจดีย์ของผู้ที่เกิดปีกุนนั้น เนื่องเพราะปู่เจ้าลาวจก และพระยามังราย ต้นวงศ์กษัตริย์เชียงใหม่ต่างก็ประสูติใน ปีกุน นั่นเอง
    องค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีอยู่ ๒ องค์ โดยมีเรื่องเล่าว่า มีการนำพระบรมธาตุมาบรรจุที่ดอยตุงถึง ๓ ครั้ง แต่ละครั้งจะมีการก่อเจดีย์ขึ้นด้วย แต่มีเพียง ๒ องค์เท่านั้น ที่ได้รับการบูรณะและอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์นี้ เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และพระธาตุย่อย
    สำหรับท่านที่จะขึ้นไปนมัสการ พระบรมธาตุเจ้าดอยตุง นั้น จะสังเกตเห็นว่า วัดพระธาตุดอยตุงมีบริเวณ ๒ เขต คือ ชั้นบนเป็นเขตพุทธาวาส นับเอาตั้งแต่ประตูวัด ที่มียักษ์นั่งถือขวานอยู่ขึ้นไป ห้ามไม่ให้ใครไปทำสกปรกรกรุงรัง เช่น ถ่ายหนัก ถ่ายเบา เพราะห้องน้ำไม่มี และนับจากประตูวัดลงมาประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นเขตสังฆาวาส หรือวัดน้อยดอยตุง เป็นที่อยู่พำนักของพระสงฆ์องค์เณร และประชาชนทั่วไป
    คำไหว้บูชาพระบรมธาตุ "นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรงมะหาคะมานะ มามิหัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา"
    พระครูมานิตบุญญาคม เจ้าอาวาสวัดพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง เจ้าคณะอำเภอแม่สาย เล่าประวัติพระธาตุดอยตุงให้ฟังว่า พระธาตุเจ้าดอยตุง นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า
    พระมหากัสสะปะเถระ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้อาราธนาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า มาถวายแด่พระเจ้าอชุตราช เจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ ๓
    แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ เป็นประธาน พร้อมด้วยมุกขมนตรีเสวกอำมาตยต์
    ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง (ดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๔๕๔ ก่อนที่จะสร้างพระเจ้าอชุตราชให้ทำทุง (ตุง) มีความยาว ๑,๐๐๐ วา ปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ
    ต่อมาอีก ๑๐๐ ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาวชิรโพธิเถระ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุ อีก ๕๐ องค์ มาถวายให้พระเจ้ามังรายะนะธิราช แล้วจึงพร้อมใจกันนำเอาพระบรมธาตุบรรจุสร้างใหม่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง บนดอยตุง ใกล้กับองค์เดิม พร้อมปฏิสังขรณ์องค์เดิม
    จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานรายนามผู้บูรณปฏิสังขรณ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งลำพูน พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวพุทธ ได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์เป็นรูปทรงระฆังคว่ำ ศิลปะล้านนาโบราณ พร้อมกับบูรณะพระวิหารและพระประธาน
    กาลเวลาผ่านพ้นมานาน พระวิหาร และพระประธาน ก็ถูกภัยธรรมชาติครอบงำ ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ส่วนองค์เจดีย์นั้นยังมีรูปทรงปกติดีอยู่
    ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๙ มีอุบาสิกาผู้หนึ่งอยู่ใน จ.พะเยา ชื่อว่า นางทองคำ ฮั้นตระกูล มีกุศลเจตนาอันยิ่งใหญ่ทำการลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์ ให้เหลืองอร่าม
    พ.ศ. ๒๕๐๐ องค์สรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร กทม. พร้อมด้วยอุบาสิกาทองคำ ฮั้นตระกูล ก่อสร้างอุโบสถขึ้นหนึ่งหลัง พร้อมทั้งพระประธานในอุโบสถ พระสาวก หมอชีวกโกมารภัจ
    ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มีการบูรณะองค์พระธาตุดอยตุงครั้งใหญ่ ซึ่งใช้เวลาเตรียมการ และหาทุนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี
    "ในการบูรณะครั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์กันใหม่ ออกแบบโดยอาจารย์ประกิต (จิตร์) บัวบุศน์ องค์พระเจดีย์เป็นรูปทรงแบบเชียงแสนประยุกต์ บุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๘ ซุ้ม มีฉัตรประดับทั้ง ๔ มุม ดังที่เป็นปรากฏในทุกวันนี้ ขณะนี้กรมศิลปากรกำลังดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ และรื้อครอบพระธาตุดอยตุงที่เป็นโมเสกออก เพื่อเผยให้เห็นพระธาตุดอยตุงองค์เดิม ซึ่งเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ ศิลปะแบบล้านนาโบราณ ที่บูรณปฏิสังขณโดยครูบาเจ้าศรีวิชัย แล้วลงรักปิดทองใหม่ ส่วนครอบโมเสกนั้น จะนำไปประกอบใหม่ และนำไปตั้งไว้บนดอยฤาษีใกล้ดอยตุง" พระครูมานิต กล่าว
    นางมะลิวัลย์ ธีระวงษาสกุล จากกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตนเกิดปีกุน และเป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาสักการะพระธาตุดอยตุง ซึ่งได้ขอพรให้มีสุขภาพแข็งแรง พ้นจากภยันตรายทั้งปวง และขอให้ครอบครัวอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป หากมีโอกาสก็จะมากราบไหว้อีก
    ในขณะที่ ร.ต.สมจิตร ศรีสมบูรณ์ จาก จ.กาญจนบุรี บอกว่า เป็นครั้งแรกที่เดินทางมาสักการะพระธาตุดอยตุง รู้สึกดีใจและประทับใจมาก เพราะเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของตน ซึ่งตนศึกษามานานเกี่ยวกับพระธาตุประจำปีเกิด แต่หาโอกาสเดินทางมายากมาก การเดินทางค่อนข้างลำบาก เพราะมีคนขึ้นมากราบไหว้พระธาตุดอยตุงมาก ถนนก็แคบ วันนี้เลยขอพรว่า ขอให้ถูกหวย ได้เงินเยอะๆ แล้วจะกลับมาสร้างถนนถวายให้กว้างขวางกว่าเดิม
    ---------ล้อมกรอบ---------
    ID:6472386-6472396 พ.ท.นเรศร์ จิตรักษ์ (ใส่ไว่ในล้อมกรอบ)
    ID:3617931 พระธาตุพนม จ.นครพนม พระธาตุประจำปีระกา (ใส่ไว่ในล้อมกรอบ)
    ไหว้พระธาตุวิถีแห่งล้านนา
    พ.ท.นเรศร์ จิตรักษ์ ประจำมณฑลทหารบกที่ ๓๓ ค่ายกาวิละ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บอกว่า การไหว้พระธาตุประจำปีเกิดนั้น เป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา ต่อมาเมื่อมีการเผยแพร่ความเชื่อเรื่องสิริมงคลแห่งการไว้พระธาตุประจำปีเกิดออกไป คนที่เกิดในปีนั้นๆ เมื่อมีโอกาสขึ้นมาเที่ยวทางภาคเหนือ จึงไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเอง
    ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา แต่โบราณเชื่อว่าทุกคนจะมีพระธาตุประจำปีเกิด หรือ 'ปีเปิ้ง' ของตัวเอง ก่อนที่คนเราจะปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดานั้น ดวงวิญญาณจะต้องมา "ชุ" (คนเหนืออ่านว่า จุ๊ แปลว่าพัก หรือบรรจุ) อยู่ที่พระธาตุประจำตัวก่อน โดยมี "ตัวเปิ้ง" (สัตว์ประจำราศีเกิด) นำมาเมื่อได้เวลา วิญญาณก็จะไปสถิตอยู่ที่กระหม่อมของบิดาเป็นเวลา ๗ วัน แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดา แล้วก็คลอดออกมานี่ล่ะจ้ะ จนเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไป 'ชุ' อยู่ที่พระธาตุประจำตัวของตนตามเดิมก่อนที่จะกลับไปเกิดในภพภูมิตามบุญกรรมที่ต่างทำมา
    คนเกิดปีชวด (ใจ้) ตัวเปิ้ง คือ หนู จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ คนเกิดปีฉลู (เป้า) ตัวเปิ้ง คือ วัว จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง คนเกิดปีขาล (ยี) ตัวเปิ้ง คือ เสือ จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ คนเกิดปีเถาะ (เหม้า) ตัวเปิ้ง คือ กระต่าย จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน
    คนเกิดปีมะโรง (สี) ตัวเปิ้ง คือ นาค จะนำดวงวิญญาณมาชุที่องค์พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ คนเกิดปีมะเส็ง (ใส้) ตัวเปิ้ง คือ งู จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ วัดพุทธคยา ประเทศอินเดีย แต่เราสามารถไปไหว้แทนได้ที่ วัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม) จ.เชียงใหม่
    คนเกิดปีมะเมีย (สะง้า) ตัวเปิ้ง คือ ม้า จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุชเวดากอง ประเทศพม่า หรือเราสามารถไปไหว้แทนได้ที่พระบรมธาตุ วัดบรมธาตุ จ.ตาก คนเกิดปีมะแม (เม็ด) ตัวเปิ้ง คือ แพะ จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ คนเกิดปีวอก (สัน) ตัวเปิ้ง คือ ลิง จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุพนม จ.นครพนม คนเกิดปีระกา (เร้า) ตัวเปิ้ง คือ ไก่ จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน
    คนเกิดปีจอ (เส็ด) ตัวเปิ้ง คือ สุนัข จะนำดวงวิญญาณมาชุที่พระเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แม้จะไม่มีบนโลก แต่คนเกิดปีจอสามารถไปไหว้แทนได้ ๒ แห่ง คือ พระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่า หรือ วัดเกตุการาม จ.เชียงใหม่ ส่วนคนเกิดปีกุน (ใค้) ตัวเปิ้ง คือ ช้าง จะนำดวงวิญญาณมาชุที่ พระธาตุดอยตุง จ.เชียงราย
    "การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิสดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้วก็คือ การกราบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้นการสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสตัณหา และที่สำคัญต้องระลึกเสมอว่าพระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่างๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล" พ.ท.นเรศร์ กล่าว0 เรื่อง / ภาพ:ศิริมา สุริยะมงคล จ. เชียงราย 0


    -->[​IMG]
    "ปีกุน" หรือ "ปีหมู" ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการเริ่มต้นนับปีกุน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่
    การนับปีนักษัตรตามตำราโหราศาสตร์ ปีกุนจะเริ่มนับตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือ วันจันทร์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐ ถึงจะเข้า ปีกุน อย่างแท้จริง
    ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา พุทธศาสนิกชนจะเดินทางไปกราบไหว้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคล และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ พระธาตุดอยตุง ณ วัดพระธาตุดอยตุง ต.ห้วยไคร้ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งเป็น พระธาตุประจำผู้เกิดปีกุน (หมู) [​IMG]
    เหตุผลที่ พระธาตุดอยตุง ถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุเจดีย์ของผู้ที่เกิดปีกุนนั้น เนื่องเพราะปู่เจ้าลาวจก และพระยามังราย ต้นวงศ์กษัตริย์เชียงใหม่ต่างก็ประสูติใน ปีกุน นั่นเอง
    องค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีอยู่ ๒ องค์ โดยมีเรื่องเล่าว่า มีการนำพระบรมธาตุมาบรรจุที่ดอยตุงถึง ๓ ครั้ง แต่ละครั้งจะมีการก่อเจดีย์ขึ้นด้วย แต่มีเพียง ๒ องค์เท่านั้น ที่ได้รับการบูรณะและอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์นี้ เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมธาตุส่วนไหปลาร้า และพระธาตุย่อย
    สำหรับท่านที่จะขึ้นไปนมัสการ พระบรมธาตุเจ้าดอยตุง นั้น จะสังเกตเห็นว่า วัดพระธาตุดอยตุงมีบริเวณ ๒ เขต คือ ชั้นบนเป็นเขตพุทธาวาส นับเอาตั้งแต่ประตูวัด ที่มียักษ์นั่งถือขวานอยู่ขึ้นไป ห้ามไม่ให้ใครไปทำสกปรกรกรุงรัง เช่น ถ่ายหนัก ถ่ายเบา เพราะห้องน้ำไม่มี และนับจากประตูวัดลงมาประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นเขตสังฆาวาส หรือวัดน้อยดอยตุง เป็นที่อยู่พำนักของพระสงฆ์องค์เณร และประชาชนทั่วไป
    คำไหว้บูชาพระบรมธาตุ "นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) พิมพา ธะชัคคะ ปัพพะเต นะจุฬาธาตุ จิรงมะหาคะมานะ มามิหัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา"
    พระครูมานิตบุญญาคม เจ้าอาวาสวัดพระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง เจ้าคณะอำเภอแม่สาย เล่าประวัติพระธาตุดอยตุงให้ฟังว่า พระธาตุเจ้าดอยตุง นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า
    พระมหากัสสะปะเถระ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้อาราธนาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า มาถวายแด่พระเจ้าอชุตราช เจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ ๓
    แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ เป็นประธาน พร้อมด้วยมุกขมนตรีเสวกอำมาตยต์
    ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง (ดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๔๕๔ ก่อนที่จะสร้างพระเจ้าอชุตราชให้ทำทุง (ตุง) มีความยาว ๑,๐๐๐ วา ปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ
    ต่อมาอีก ๑๐๐ ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาวชิรโพธิเถระ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุ อีก ๕๐ องค์ มาถวายให้พระเจ้ามังรายะนะธิราช แล้วจึงพร้อมใจกันนำเอาพระบรมธาตุบรรจุสร้างใหม่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง บนดอยตุง ใกล้กับองค์เดิม พร้อมปฏิสังขรณ์องค์เดิม
    จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานรายนามผู้บูรณปฏิสังขรณ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งลำพูน พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวพุทธ ได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์เป็นรูปทรงระฆังคว่ำ ศิลปะล้านนาโบราณ พร้อมกับบูรณะพระวิหารและพระประธาน
    กาลเวลาผ่านพ้นมานาน พระวิหาร และพระประธาน ก็ถูกภัยธรรมชาติครอบงำ ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ส่วนองค์เจดีย์นั้นยังมีรูปทรงปกติดีอยู่
    ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๙ มีอุบาสิกาผู้หนึ่งอยู่ใน จ.พะเยา ชื่อว่า นางทองคำ ฮั้นตระกูล มีกุศลเจตนาอันยิ่งใหญ่ทำการลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้ง ๒ องค์ ให้เหลืองอร่าม
    พ.ศ. ๒๕๐๐ องค์สรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร กทม. พร้อมด้วยอุบาสิกาทองคำ ฮั้นตระกูล ก่อสร้างอุโบสถขึ้นหนึ่งหลัง พร้อมทั้งพระประธานในอุโบสถ พระสาวก หมอชีวกโกมารภัจ
    ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มีการบูรณะองค์พระธาตุดอยตุงครั้งใหญ่ ซึ่งใช้เวลาเตรียมการ และหาทุนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี
    "ในการบูรณะครั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์กันใหม่ ออกแบบโดยอาจารย์ประกิต (จิตร์) บัวบุศน์ องค์พระเจดีย์เป็นรูปทรงแบบเชียงแสนประยุกต์ บุด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ๘ ซุ้ม มีฉัตรประดับทั้ง ๔ มุม ดังที่เป็นปรากฏในทุกวันนี้ ขณะนี้กรมศิลปากรกำลังดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ และรื้อครอบพระธาตุดอยตุงที่เป็นโมเสกออก เพื่อเผยให้เห็นพระธาตุดอยตุงองค์เดิม ซึ่งเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ ศิลปะแบบล้านนาโบราณ ที่บูรณปฏิสังขณโดยครูบาเจ้าศรีวิชัย แล้วลงรักปิดทองใหม่ ส่วนครอบโมเสกนั้น จะนำไปประกอบใหม่ และนำไปตั้งไว้บนดอยฤาษีใกล้ดอยตุง" พระครูมานิต กล่าว
    นางมะลิวัลย์ ธีระวงษาสกุล จากกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตนเกิดปีกุน และเป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาสักการะพระธาตุดอยตุง ซึ่งได้ขอพรให้มีสุขภาพแข็งแรง พ้นจากภยันตรายทั้งปวง และขอให้ครอบครัวอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป หากมีโอกาสก็จะมากราบไหว้อีก
    ในขณะที่ ร.ต.สมจิตร ศรีสมบูรณ์ จาก จ.กาญจนบุรี บอกว่า เป็นครั้งแรกที่เดินทางมาสักการะพระธาตุดอยตุง รู้สึกดีใจและประทับใจมาก เพราะเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของตน ซึ่งตนศึกษามานานเกี่ยวกับพระธาตุประจำปีเกิด แต่หาโอกาสเดินทางมายากมาก การเดินทางค่อนข้างลำบาก เพราะมีคนขึ้นมากราบไหว้พระธาตุดอยตุงมาก ถนนก็แคบ วันนี้เลยขอพรว่า ขอให้ถูกหวย ได้เงินเยอะๆ แล้วจะกลับมาสร้างถนนถวายให้กว้างขวางกว่าเดิม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "การไหว้สถูปเจดีย์ ไม่ว่าจะมีรูปทรงงดงามแปลกพิสดารเพียงใดก็ตาม แต่หัวใจของการไหว้ที่แท้จริงแล้วก็คือ การกราบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่บรรจุอยู่ภายในสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น ดังนั้นการสักการะจึงควรกระทำด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสตัณหา และที่สำคัญต้องระลึกเสมอว่าพระบรมธาตุไม่ใช่ผู้บันดาลสิ่งต่างๆ จึงไม่ควรขอสิ่งใดนอกจากสวัสดิมงคล" พ.ท.นเรศร์ กล่าว 0 เรื่อง / ภาพ:ศิริมา สุริยะมงคล จ. เชียงราย 0





    ref.http://www.komchadluek.net/2007/01/0...?news_id=80664
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig --><!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...