ไหว้พระรับปีใหม่

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย titawan, 28 ธันวาคม 2010.

  1. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    [FONT=Tahoma,]ไหว้พระรับปีใหม่

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

    โดย ราม วัชรประดิษฐ์



    <table width="20%" align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>ช่วง เทศกาลปีใหม่ จะถือเป็นธรรมเนียมประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยก็ว่าได้ ในการทำบุญตักบาตร และกราบนมัสการพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ หนึ่งในพระพุทธรูปที่ชาวไทยไม่ว่าจะอยู่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เมื่อถึงเทศกาลสำคัญก็จะรำลึกนึกถึง หรือถ้ามีโอกาสก็จะเข้ามากราบนมัสการ นั่นคือ "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" หรือ "พระแก้วมรกต" ซึ่งประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันว่า "วัดพระแก้ว" ครับผม

    พระ พุทธมหามณีรัตนปฏิมากร มหาปูชนียวัตถุสูงสุดประจำชาติไทย เป็นที่เคารพบูชากราบไหว้มาตั้งแต่อดีตกาลจวบจนปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หลักยึดเหนี่ยวจิตใจของปวงชนชาวไทยและพุทธศาสนิกชนทั่วโลก สิ่งที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากแก้วสีเขียวแก่ ซึ่งโบราณเรียก "แก้วมรกต" จึงมักเรียกพระนาม "พระแก้วมรกต" สืบมา

    เป็น พระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 17 นิ้ว สูง 21 นิ้ว พระพักตร์อิ่มเอิบ พระเมาลีตูม พระกรรณยาว พระนาสิกโด่ง พุทธลักษณะสมส่วนและสง่างามอย่างหาที่เปรียบมิได้ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ศึกษารูปทรงของพระแก้วมรกตอย่างละเอียด สรุปความว่า

    "น่า จะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่นในอาณาจักร ล้านนาไทย หรือช่างทางเมืองเหนือของไทย ถ้าจะจัดยุคสมัยทางโบราณคดี พระแก้วมรกตน่าจะสร้างขึ้นในสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง ไม่ใช่ฝีมือช่างชาวต่างประเทศ ดังเข้าใจมาแต่เดิม" <table width="20%" align="right" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>

    เรื่อง ราวความเป็นมาของการค้นพบพระแก้วมรกตจนอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นั้น เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1977 องค์พระถูกพอกไว้ด้วยปูนแล้วลงรักปิดทองบรรจุไว้ในพระเจดีย์วัดป่าญะ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงราย ต่อมาพระเจดีย์ถูกฟ้าผ่าพังลง เจ้าอาวาสจึงอัญเชิญไปไว้ในพระวิหาร ต่อมาปูนที่พอกเกิดกะเทาะออกทำให้มองเห็นองค์พระภายในเป็นเนื้อแก้ว บริสุทธิ์สีเขียวเข้ม จึงมีการกะเทาะปูนออก และพบว่ามีพระพุทธรูปมรกตงดงามมากอยู่ภายใน

    ต่อมาพระเจ้าสามฝั่งแกน แห่งเมืองเชียงใหม่จัดขบวนไปอัญเชิญมาที่นครเชียงใหม่ แต่พระแก้วมรกตสร้างปาฏิหาริย์จนต้องทำการเสี่ยงทายว่าปรารถนาจะอยู่ที่ใด จนพระองค์ต้องจำพระทัยอัญเชิญไปเมืองลำปาง ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ ชาวลำปางดีใจมากสร้างวัดถวายชื่อ "วัดพระแก้วดอนเต้า" (ปัจจุบันอยู่ที่บ้านเวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง)

    ต่อ มาปี พ.ศ.2011 พระเจ้าติโลกราชได้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้จัดขบวนแห่ไปอัญเชิญพระแก้วมรกต มาประดิษฐานยังนครเชียงใหม่ ณ ซุ้มจระนำของพระเจดีย์องค์ใหญ่ ในวัดเจดีย์หลวง

    จนถึงปี พ.ศ.2094 พระเจ้าไชยเชษฐาขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ มีเหตุที่ต้องยกทัพไปเมืองหลวงพระบาง จึงอัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย ปี พ.ศ.2107 พระองค์ทรงย้ายราชธานีมาที่เมืองเวียงจันทน์ก็ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมา ประดิษฐานที่นครเวียงจันทน์ด้วย และประดิษฐานต่อมาอีกหลายชั่วคนรวมเวลาประมาณ 215 ปี

    จนเมื่อปี พ.ศ.2321 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ และอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนบุรี ประดิษฐาน ณ โรงพระแก้ว ในพระราชวังเดิม (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณกองทัพเรือ)

    ปี พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงสร้างพระราชธานีใหม่ขึ้นทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยานามว่า "กรุงรัตนโกสินทร์" หรือ "กรุงเทพฯ" พระองค์โปรดอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน ณ พระอารามที่สร้างขึ้นพร้อมกัน พระราชทานนามพระแก้วมรกตว่า "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร" และพระราช ทานนามพระอารามว่า "วัดพระศรีรัตนศาสดา ราม" ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วัดพระแก้ว" ในปี พ.ศ.2327 จวบจนปัจจุบัน

    นอกจากนี้ มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายพระแก้วมรกตเป็นพุทธบูชาสำหรับฤดูร้อนและ ฤดูฝน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวถวายเป็นพุทธบูชาเพิ่มอีก 1 ชุด เพื่อให้ครบ 3 ฤดู พระราชประเพณีประกอบพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงของพระแก้วมรกต กำหนดในวันเริ่มของทุกฤดูกาลเป็นประจำทุกปี ดังนี้

    การเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อน (คิมหันต์) กำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 หรือราวเดือนมีนาคม

    การเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝน (วสันต์) กำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือราวเดือนกรกฎาคม

    การเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาว (เหมันต์) กำหนดวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 หรือราวเดือนพฤศจิกายน

    พระ พุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกๆ พระองค์ ทรงเคารพสักการะ ทำนุบำรุง และจะทรงมีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชาเป็นพระราชประเพณี ทั้ง 3 ฤดู สืบต่อมาจวบจนปัจุบัน ถ้าทรงติดภารกิจอย่างอื่นจนไม่อาจเสด็จฯ ด้วยพระองค์เองได้ ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายอันเป็นพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์

    ปีใหม่นี้ถ้า มีโอกาสเข้ากรุงเทพฯ หรืออยู่ในกรุงเทพฯ ก็น่าจะหาเวลาไปกราบไหว้ขอพรพระรับปีใหม่และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ พร้อมเยี่ยมชมความงดงามของสถาปัตยกรรมภายในบริเวณวัด ซึ่งเป็นที่เชิดหน้าชูตาไปทั่วโลกครับผม

    [/FONT][​IMG]

    http://www.khaosod.co.th/view_news....nid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHhNaTB5T0E9PQ==
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ปีนี้ พี่ติงมีโอกาสไปไหว้พระและทำบุญที่วัดป่าใหญ่ และวัดป่าน้อย จังหวัดอุบลราชธานี ปิติมากเลยค่ะ จะหาโอ กาสไปอีกแน่นอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...