ไฮโปไกลซีเมีย โรคที่กำลังคุกคามคนเมือง!

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 21 พฤศจิกายน 2006.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    มนุษย์เงินเดือนที่อยู่ในเมืองใหญ่ นับวันยิ่งน่าเป็นห่วง...!

    ออกจะบ่อยไปที่ตื่นลืมตาขึ้นมาแล้วรู้สึกวิงเวียน สมองตื้อๆ แถมยังเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวพานจะเป็นไข้ ทำงานก็เลื่อนลอย เหมือนสมองไม่สั่งการ พอเกิดอาการที่ว่าก็อยากจะรีบกลับไปพักผ่อนให้เต็มที่ เผื่อวันพรุ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้น แต่พอถึงบ้านกลับนอนไม่หลับเอาเสียดื้อๆ ซ้ำหนักพอตื่นลืมตาในวันรุ่งทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิม หนักเข้าๆ อาการก็ยิ่งทรุดโทรม ความมีชีวิตชีวาก็ยิ่งหดหาย เซื่องซึมมากยิ่งขึ้นทุกวัน ราวกับซอมบี้ที่ถูกปลุกมาใช้งาน จนทำให้อดคิดไม่ได้ว่า เอ๊ะ นี่ฉันกำลังเป็นอะไรกันนี่...!!!

    เอาเป็นว่าถ้าใครที่กำลังประสบกับอาการที่กล่าวมา ขอบอกให้รับรู้เลยว่า คุณกำลังเผชิญกับ ไฮโปไกลซีเมีย หรือโรคชนิดหนึ่งที่กำลังคุกคามคนเมืองอย่างหนัก !!!

    ไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) หรือเรียกย่อๆ ว่า CFS (Chronic Fatique Syndrome) หมายถึงอาการน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำ สลับกับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงอยู่ตลอดเวลา เมื่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย แต่พอน้ำตาลในเลือดสูงอาการอ่อนเพลียก็จะหายไป และก็จะกลับมาอ่อนเพลียอีกครั้งเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำขึ้นมาอีก ซึ่งจะเกิดภาวะเช่นนี้สลับกันไปมาตลอดเวลา

    เกี่ยวกับโรคนี้ สตีเฟน ไกแลนด์ นายแพทย์ประจำอยู่โรงพยาบาลแทมปา มลรัฐฟลอริดา ซึ่งครั้งหนึ่งเขาก็เคยป่วยเป็นโรคลึกลับชนิดนี้ และเป็นแรงบันดาลใจให้เขาค้นคว้าหาสาเหตุและวิธีรักษาโรคนี้อย่างจริงจัง จนในที่สุดเขาก็ค้นพบสาเหตุและวิธีรักษาจนได้ เขาค้นพบว่า ผู้ป่วยด้วยโรคลึกลับนี้มีอยู่มากมาย แค่เฉพาะในอเมริกาก็ป่วยเป็นโลกนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน ซึ่งผู้ป่วยมีทั้งแพทย์และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนที่ทำงานประจำอยู่ในออฟฟิศ หรือผู้ที่มักใช้ชีวิตแบบคนสมัยใหม่ท่ามกลางเมืองใหญ่


    พูดให้เห็นภาพก็คือ
    ไฮโปไกลซีเมีย เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามประสาคนเมืองแทบทั้งสิ้น เริ่มตั้งแต่การอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่เป็นพิษ ไม่ว่าจะควันพิษจากยวดยานพาหนะ การห่างไกลจากธรรมชาติ ตลอดจนการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ และความเครียดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การมองโรคในแง่ร้าย การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันในสังคม


    สุดท้าย สตีเฟน ไกแลนด์ ยังค้นพบว่า ที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องอาหารการกิน เรียกง่ายๆ ก็คือ
    ไม่เลือกที่จะกิน หรือกินแบบขอไปทีนั่นเอง โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและอาหารฟาสต์ฟู้ด นั้นเป็นตัวการที่ส่งผลให้เป็นโรคนี้ได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่นๆ ยิ่งถ้ารับประทาน เนื้อ นม ไข่ อาหารหวาน-มัน ไอศกรีม ขนมเค้ก ช็อกโกแลต น้ำอัดลม มากจนเกินไป ล้วนแต่เป็นตัวการสำคัญของโรคนี้ทั้งสิ้น



    สำหรับอาการของโรคนี้เขาบอกว่า ไม่เพียงแต่มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม ปวดเนื้อ และปวดตัวเท่านั้น แต่ยังมีอาการป่วยต่างๆ ที่เขารวบรวมไว้ได้ถึง 40 อาการ อาทิ หัวใจเต้นผิดปกติ เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เป็นตะคริวบ่อยๆ เกิดอาการหิวอย่างรุนแรง คันตามผิวหนัง หายใจไม่ออก ไปจนถึงอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น


    ส่วนวิธีการรักษานั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็น เริ่มจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแท้จริง เช่น งดของหวานโดยเด็ดขาด ถ้าต้องการความหวานให้หันมารับประทานน้ำผึ้งธรรมชาติแทน หันมารับประทานข้าวซ้อมมือ ลดการดื่มน้ำเย็นแล้วหันมาดื่มน้ำเปล่าสะอาดบริสุทธิ์ เพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมซับไปใช้ได้ทันที และเมื่อรู้สึกเพลียก็ให้กินผักผลไม้ต้านอาการเพลีย อาทิ กล้วย กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ดอกแค แครอต รวมทั้งผักใบเขียวและผักพื้นบ้านทั้งหลาย ส่วนผลไม้ที่ควรรับประทานก็ต้องเลือกที่ไม่หวานจนเกินไป เช่น ชมพู่ และฝรั่ง


    สำหรับทางด้านจิตใจ เพื่อให้คลายเหนื่อยล้าก็สามารถทำได้ง่ายๆ อาทิ การนั่งสมาธิ การทำซาวน่า นวดคลายปวด กลิ่นหอมบำบัด ออกกำลังกายให้สม่ำเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 5 ครั้ง ฯลฯ รวมไปถึงการปรับสมดุลชีวิตให้ลงตัว อาทิ เลิกกินยาแก้เครียด กินเมื่อหิว เคี้ยวให้ละเอียด ตื่นมาร้องเพลงเพราะๆ ทุกวัน ทำงานด้วยความสุข กระตือรือร้นตลอดเวลา รวมไปถึงการมองโลกในแง่ดี เป็นต้น


    เหล่านี้ล้วนทำให้เจ้าโรค ไฮโปไกลซีเมีย ตัวแสบห่างไกลจากตัวเราได้แล้ว


    ป.ล. อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติม ลองไปหาอ่านในหนังสือคู่มือ 50 วิธีแก้โรคคนเมือง (ไฮโปไกลซีเมีย) ที่แถมฟรีในนิตยสารชีวจิต ฉบับเดือนตุลาคม ซึ่งได้เขียนถึงเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ตั้งแต่สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษาเอาไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว


    http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=magazine&id=129500<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2006

แชร์หน้านี้

Loading...