๓๒) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 30 เมษายน 2010.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ครั้งที่ ๑๔๐
    บรรยายวันจันทร์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๐๖

    เรื่อง

    มหาสติปัฏฐาน
    (ข้อว่า ป่าช้า ๙ ข้อที่ ๕)
    (rose)

    วันนี้ จะได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อที่ ๕ สืบต่อไป

    ถ. ป่าช้าข้อที่ ๕ ได้แก่อะไร?
    ต. ได้แก่ การพิจารณาซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า มีแต่ร่างกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือด แต่ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ ผู้ปฏิบัติธรรมพิจารณาน้อมเข้ามาสู่กายของตนว่า ถึงร่างกายนี้ ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็ฯอย่างนี้ไปได้แน่นอน

    ถ. ตามที่บรรยายมานี้ มีอะไรเป็นหลักอ้าง หรือว่าเอาตามความชอบใจ?
    ต. มีหลักอ้างปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ มหาสติปัฏฐานสูตรว่า
    ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สรีรํ สีวถิกาย ฉฑฺฑิตํ อฏฺฐิสงฺขลิกํ อปคตมัสสโลหิตํ นหารุสมฺพันฺธิ เป็นต้น
    ใจความว่า
    ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ป่าช้า ๙ ข้อที่ ๕ ยังมีอยู่อีก คือ ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารพึงเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเหลือแต่ร่างกระดูก ไม่มีเนื้อไม่มีเลือด มีแต่เส้นเอ็นรัดรึงอยู่ ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมก็น้อมนำมาสู่ร่างกายของตนฉันนั้นเหมือนกันว่า "อันสรีระร่างของเรานี้ ก็จะต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้เลย
    ถ. ในป่าช้าข้อนี้ จะมีวิธีปฏิบัติโดยย่ออย่างไร จึงจะได้ผลดี?
    ต. มีวิธีปฏิบัิติโดยย่ออย่างนี้ คือ

    ๑. ให้ผู้นั้นไปสู่ป่าช้า ซึ่งพอจะหาซากศพที่มีแต่ร่างกระดูกอย่างนั้นได้ นั่งขัดสมาธิในที่อันสมควร เช่น ใต้ต้นไม้ เป็นต้น ตั้งกายให้ตรงดำรงสติให้มั่น ตาเพ่งดูซากศพนั้น ภาวนาว่า "อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" ดังนี้ ประมาณสัก ๑๐-๒๐ นาที ต่อจากนั้น หลับตา และภาวนาอย่างนั้นประมาณ ๑๐-๒๐ นาที ต่อจากนั้น เอาสติปักลงที่ฝ่ามือขวา ภาวนาว่า "อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๓ นาที ต่อจากนั้น เอาสติปักลงที่บ่าข้างขวา ภาวนา ว่า "อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๓ นาที ต่อจากนั้นเอาสติปักลงที่กระหม่อม ภาวนาว่า "อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณสัก ๓ นาที ต่อจากนั้นเอาสติจดจ่ออยู่เหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า "อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๓ นาที ต่อจากนั้น ใช้สติกำหนดอาการพองขึ้นและแฟบลงของท้อง ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" ประมาณ ๓๐ นาทีถึง ๑ ชั่วโมง อย่างนี้เรียกว่า เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

    ๒. ถ้าไม่ไปปป่าช้า จะหากระดูกมาไว้ที่อยู่ของเราก็ได้ เช่นกระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกแขน เป็นต้น ตั้งไว้เพียงตาในเวลานั่ง ห่างจากตัวประมาณศอกกับ ๔ นิ้ว พอมองเห็นได้ชัด ไหว้พระแล้วนั่งขัดสมาธิ ลืมตาเพ่งดูร่างกระดูกนั้น ภาวนาว่า "อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๕ นาที ต่อจากนั้นให้หลับตา ภาวนาว่า "อฏฺฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" ประมาณ ๓ นาที ต่อจากนั้น ส่งจิตกับสติไปที่บ่าขวา ภาวนาอย่างเดิมอีก ต่อจากนั้น ส่งจิตกับสติไปที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า "อฏฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ" เช่นเดิมอีก ประมาณ ๓ นาที ต่อจากนั้น ให้ใช้สติกำหนดอาการพอง และยุบของท้องโดยภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" ประมาณครั้งละ ๓๐ นาทีถึง ๑ ชั่วโมง

    อย่างนี้เรียกว่า เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เช่นเดียวกันแต่ไม่ต้องไปที่ป่าช้า เพราะได้กระดูกมาเป็นอารมณ์แล้ว

    ๓. วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ในเวลาที่ว่างๆ ประมาณวันละ ๓๐ นาทีหรือ ๑ ชั่วโมงก็ได้ อาบน้ำชำระกายให้สบายเสียก่อนแล้วปฏิบัติดังนี้ คือ
    ๑. เดินจงกรมประมาณ ๑๐-๒๐ นาที เอาสติไว้ที่ส้นเท้า ภาวนาว่า "ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ"

    ๒. นั่งลง ขัดสมาธิ เอาสติไว้ที่ท้อง ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ"
    ประมาณ ๒๐-๓๐ นาที หรือมากกว่านั้นก็ยิ่งดี

    ๓. ถ้าเวทนาเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังนั่งอยู่นั้น เช่นสุขทุกข์ เฉยๆ หรือเจ็บปวด เมื่อย คัน ก็ใช้สติกำหนดได้ ภาวนาว่า สบายหนอๆ หรือ เจ็บหนอๆ เป็นต้น เมื่อเวทนาหายแล้ว ให้เอาสติไปกำหนดท้องพองยุบ ต่อไปตามเดิม
    ๔. ในขณะที่นั่งอยู่นั้น ถ้าใจออกไปคิดถึงเรื่องกิจการงานต่างๆ หรือใจโกรธ ดีใจ เสียใจ ก็ให้ใช้สติกำหนดปักลงไปที่หัวใจ ภาวนาว่า "คิดหนอๆ" หรือ "โกรธหนอ ๆ " เป็นต้น จนกว่าจะหายไป เมื่อหายแล้วให้กลับไปกำหนดท้องพอง ยุบต่อไปตามเดิมอีก

    ๕. เวลานอน เอาสติไว้ที่ท้อง ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" จนหลับไปด้วยกัน ให้สังเกตดูให้ละเอียดว่า จะหลับไปตอนพอง หรือตอนยุบ

    วิธีนี้เรียกว่าเจริญวิปัสสนาล้วน มิได้เอาสมาถมาเจือปน
    ถ. ปฏิบัติอย่างนี้จะชื่อว่าได้พิจารณาป่าช้าข้อที่ ๕ หรือไม่ เพราะเหตุไร?
    ต. ชื่อว่าได้พิจารณาป่าช้าทั้ง ๙ อย่างควบคู่กันไป เพราะร่างกายของแต่ละบุคคลเป็นป่าช้าอยู่ในตัวเสร็จแล้ว ต่างกับร่างกายของคนตายที่นอนอยู่ในโลง นอนอยู่ในป่าช้าเพียงแต่มีวิญญาณครอง มีลมหายใจเข้าออกอยู่เท่านั้น

    ถ. ที่ตอบอย่างนี้มีหลักฐานอะไรเ็ป็นเครื่องอ้าง?
    ต. หลักฐานมีอยู่มากมายหลายประการ เช่น

    ก. ในวัมมิกสูตร พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องจอมปลวกเปรียบเทียบกับร่างกาย เพราะเหตุหลายประการคือ
    ๑. เพราะคายสัตว์ต่างๆ ออกมาเช่นตัวปลวก งู เป็นต้นฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้น เพราะคายของโสดครกออกมา มีขึ้หู ขี้ตา ขี้จมูก ขี้ฟัน ตัวพยาธิ เป็นต้นออกมา

    ๒. เพราะเอาดินเหนียวมาก่อให้สูงขึ้นฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้น เพราะเอาอาหารต่างๆ มีผักปลาเป็ดไก่เป็นต้นมาบำรุง ก่อให้เติบโตขึ้นไปโดยลำดับๆ

    ๓. เพราะคายยางเหนียวคือน้ำลายออกมาผสมกับดิน ทำเป็นน้ำเชื้อเพื่อให้ดินเหนียวฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้น ย่อมคายยางเหนียว คือ กิเลสตัณหาออกมาอยู่มิได้ขาด

    ๔. จอมปลวกมีส่วนปรุงขึ้นด้วยดินที่ตัวปลวดนำมาก่อขึ้นฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้น ย่อมถูกปรุงขึ้นด้วยกระดูก ๓๐๐ ท่อน หุ้มด้วยหนัง รัดรึงด้วยเส้นเอ็นน้อยใหญ่ ชุ่มอยู่ด้วยโลหิต ฉาบไล้ด้วยผิวหนังตลอดถึงอาการ ๓๒

    ๕. ปสูติหรสถาน จอมปลวกย่อมเป็นที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลาย มีตัวปลวกเป็นต้นฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้น ย่อมเป็ที่เกิดเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย เช่นสัตว์บางจำพวกอาศัยอยู่ในผิวหนังก็มี บางจำพวกอาศัยอยู่ในหนังก็มี บางจำพวกอาศัยอยู่ในเนื้อก็มี บางจำพวกอาศัยอยู่ตามเอ็นก็มี บางจำพวกอาศัยอยู่ตามกระดูกก็มี สัตว์เหล่านั้นได้แ่ก่หมู่หนอน ๘ หมื่นจำพวก

    ๖. วัจจกุฏิ จอมปลวกเป็นที่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะของสัตว์ทั้งหลาย ฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้น ย่อมเป็นที่ถ่ายมูตรคูถ ของหมู่หนอนต่างๆ เช่นกัน

    ๗. คิลานศาลา จอมปลวกเป็นโรงพยาบาลของตัวปลวงทั้งหลาย ฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้นย่อมเป็นโรงพยาบาล คือเป็นที่เจ็บป่วยของหมู่หนอน เช่นเดียวกัน

    ๘. สุสานสถาน จอมปลวกย่อมเป็นป่าช้าของตัวปลวกฉันใด ร่างกายก็ย่อมเป็นป่าช้าของหมู่หนอนและสัตว์อื่นๆ อีกเป็นอันมาก ตามที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้ เช่น วัว สุกร เป็ด ไก่ หอย กุ้ง เป็นต้น จนไม่สามารถจะนับจะประมาณได้ ดังนั้น ร่างกายของมนุษย์ท่านจึงเปรียบไว้ว่า เป็นเหมือนป่าช้า คือที่ฝังศพ

    ข. ในเรื่องของพระปูติคัตตติสสเถระ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ว่า

    "ภิกขุ อยํ ตว กาโย อเปตวิญฺญาโณ นิรุปกาโร หุตฺวา คลิงฺครํ วิย ปฐวิยํ สยิสฺสติ"

    ภิกษุ ร่างกายของเธอนี้ ถ้าปราศจากวิญญาณแล้ว เป็นของไม่มีประโยชน์อะไรเลย จักนอนทับถมแผ่นดินดุจดุ้นฟืน ฉะนั้น

    ค. พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระนางเขมาว่า

    ยถา อิหํ ตถา เอตํ ยถา เอตํ ตถา อิทํ.

    สรีระของเธอนี้ฉันใด สรีระของซากศพนั้นก็ฉันนั้น
    สรีระของซากศพฉันใด สรีระของเธอนั้นก็ฉันนั้น


    ทั้ง ๓ ข้อนี้ก็ชี้ให้เห็นได้แล้วว่า ร่างกายของคนเป็นและของคนตาย มีสภาพเป็นป่าช้าเช่นเดียวกัน และมีสภาพแตกต่างกันเพียงมีวิญญาณครองและไม่มีวิญญาณครองเท่านั้น

    ถ. เมื่อปฏิบัติตามโดยถูกต้องแล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?
    ต. ได้ประโยชน์หลายอย่าง นับตั้งแต่ตำ่จนกระทั่งถึงสูงสุด คือพระนฤพาน เช่น
    ๑. มนุสฺสสุขํ ได้สุขของมนุษย์
    ๒. ทิฺพสุขํ ได้สุขทิพย์คือสุขของเทวดา
    ๓. ฌานสสุขํ ได้สุขเกิดขึ้นเพราะฌาน
    ๔. วิปัสฺสนาสุขํ ได้สุขเกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา
    ๕. มคฺคสุขํ ได้สุขอันสัมปยุตด้วยมรรค
    ๖. ผลสุขํ ได้สุขอันสัมปยุตด้วยผล
    ๗. นิพฺพานสุขํ ได้สุขคือพระนิพพาน
    ถ. ข้อว่า มีปกติพิจารณาเห็นกายในกาย ในภายในอยู่ เป็นต้นนั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า พิจารณาเห็นรูปนามของตนของคนอื่น และพิจารณาเห็นรูปนามทั้งของตนทั้งของคนอื่นน

    ถ. ข้อว่า กายมีอยู่เป็นต้นนั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า สกลกายของบุคคลทั่วทั้งโลกมีอยู่เพียงรูปกับนามเท่านั้น

    ถ. ข้อว่า อยู่อย่างไม่มีอะไรอาศัยนั้น หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิอาศัย เพราะผู้นั้นปฏิบัติวิปัสสนาได้ผลดีแล้ว ละกิเลส ละตัณหา ละมานะ ละทิฏฐิได้แล้ว

    ถ. ข้อว่า ไม่ยึดมั่นไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก หมายความว่าอย่างไร?
    ต. หมายความว่า ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูปนาม เพราะละสักกายทิฏฐิ เป็นต้นได้แล้ว

    ถ. ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ได้แล้วหรือยังมีอะไรเป็นหลักอ้าง?
    ต. ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ได้เต็มที่แล้ว มีพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นหลักอ้างว่า

    เอวัมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
    ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร มีปกติพิตจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ดังที่บรรยายมาด้วยประการฉะนี้


    ถ. การพิจารณาป่าช้า ๙ ข้อที่ ๕ จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างไร?
    ต. จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างนี้คือ
    ๑. ปญฺจมสิวฏฺฐิกปริคฺคาหิกา สติ ทุกฺขสจฺจํ
    สติที่กำหนดป่าช้าข้อที่ ๕ จัดเป็นทุกขสัจ

    ๒. ตสฺสา ปมุฏฺฺฐาปิกา ปุริมตณฺหา สมุทยสจฺจํ
    ตัณหาก่อนๆ ที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้นจัดเป็นสมุทยสัจ

    ๓. อุภินฺนํ อปฺปวตฺติ นิโรธสจฺจํ
    ทุกข์กับสมุทัยทั้ง ๒ ดับลงไป จัดเป็นนิโรธสัจ

    ๔. ทุกฺขปริชานโน สมุทยปชหโน นิโรธารมฺมโณ อริยมคฺโค มคฺคสจฺจํ
    อริยมรรคกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ จัดเป็นมัคคสัจ

    วันนี้ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อที่ ๕ มาก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.

    สวัสดี.


     
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมทำบุญ

    สร้างกุศลต่าง ๆ ในกาลนี้ด้วยครับ
    และขออุทิศส่วนกุศลให้กับทุก ๆท่านด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ<!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...