๔๖ อุบาสิกา..พุทธสาวิกาในสมัยพุทธกาล

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย สีลสิกขา, 3 พฤษภาคม 2013.

  1. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    อุบาสิกาคือใคร ??

    วินัยปิฎกให้ความหมายว่า "ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ" (วินย.มหาวิ.ข้อ ๖๓๔,๖๔๗)

    กล่าวให้สั้นที่สุด อุบาสิกาคือสตรีผู้นับถือพระรัตนตรัย สตรีใดมีจิตใจเคารพและกล่าวคำถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่เคารพสักการะ สตรีนั้นก็ชื่อว่า อุบาสิกา

    ดังที่มารดาและอดีตภรรยาของพระยสะเป็นอุบาสิกาคู่แรก โดยทั้งสองนางกล่าวคำถึงพระรัตนตรัยว่า "มยํ ภนฺเต ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉาม ธมฺมญฺจ ภิกขุสงฺฆญฺจ, อุปาสิกาโย โน ภควา ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตา สรณํ คตา" ติ ตา จ โลเก ปฐมํ อุปาสิกา อเหสํุ เตวาจิกา

    แปลว่า หม่อมฉันทั้งสองขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่า เป็นอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ก็มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสะได้เป็นอุบาสิกา กล่าวอ้างรัตนตรัยคู่แรกในโลก" (วินย.มหา.ข้อ ๒๙)

    อุบาสิกาบริษัทเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท(ชุมนุมผู้นับถือพุทธศาสนา)๔ เป็นบริษัทที่รวมเพศหญิงจากทุกชั้นวรรณะ ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล หรือแม้แต่เทพธิดาเข้าในความเป็นอุบาิสิกาเสมอกันด้วยความเคารพเดียวกัน(แต่ท่านจัดเฉพาะมนุษย์) การเปล่งวาจาประกาศตนเป็นอุบาสิกา ที่ปรากฎในหลักฐานคัมภีร์พระบาลีนั้นมีเพียงมารดาของพระยสะ(คือนางสุชาดา) อดีรภรรยาของพระยสะ นางคันธคันธารินี ผู้ยั่วยวนพระอนุรุทธะ และพระนางมัลลิกาเท่านั้นที่เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัยเป็นกิจลักษณะอย่างอุบาสกทั้งหลาย
    คือกล่าวชมเชยพระธรรมเทศนาและประกาศตนเป็นอุบาสิกาว่า

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
    เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
    เปิดของที่ปิด
    บอกทางแก่คนหลงทาง
    หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจะเห็นรูป

    หม่อมฉันทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่าเป็นอุบาสิกาผู้มอบชีวิตถึงสรณะ นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป" (เรื่องของนางสุชาดา เสนานีกุฎมพี)

    เพราะฉะนั้น ธรรมเพื่อความเป็นอุบาสิกา จึงเป็นเหมือนธรรมเพื่อความเป็นอุบาสกนั่นแหละ เนื่องจากต่างก็มีชีวิตยังอยู่กับการครองรักครองเรือน ยังมีกายและใจพัวพันกับกิเลสกาม ไม่ใช่ชีวิตที่ปลอดโปร่งอย่างบรรพชิต (หรือแม้จะปราศจากกาม เป็นพระอนาคามีแล้วแต่เมื่อมิได้บวชเป็นบรรพชิต ยังเป็นคฤหัสถ์อยู่ ก็เรียกว่าอุบาสิกาเช่นกัน)


    ขออนุญาติเขียนเรื่องอุบาสิกาในสมัยพุทธกาล เพื่อเป็นความรู้ภูมิธรรมและธรรมทาน แก่เพื่อนสมาชิกค่ะ > ยังไงจะเข้ามาโพสต่อค่ะ ^^
     
  2. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    อนุโมทนา สาธุ ศาสนาพุทธมีผู้สืบทอดนานเท่านานกว่าห้าพันปี
     
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    เรื่องจะโพสต์ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตนะ

    แล้วก็... ตรวจสอบให้ดีก่อนโพสต์ว่าเนื้อหาถูกต้องแค่นั้นแหละ
     
  4. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135

    คำแนะนำนี้..ขอขอบพระคุณมากค่ะ..หากดิฉันมีความเข้าใจที่ผิดพลาดหรือสับสนประการใด
    ในเรื่องพุทธกาลและหลักธรรมคำสอน ดิฉันขอน้อมรับคำชี้แนะ ติติงเพื่อนำมาแก้ไขให้ถูกต้องค่ะ

    ด้วยจิตคารวะ
    ^^
     
  5. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    ความสำคัญของอุบาสิกาบริษัท

    พระพุทธเจ้าตรัสกับพระจุนทะว่า "ดูก่อนจุนทะ แม้หากว่าพรหมจรรย์ (คือพระศาสนา)ประกอบด้วยองค์เหล่านี้คือ

    ๑.) องค์ศาสดาเป็นเถระ เป็นรัตตัญญู เป็นผู้บวชมานาน เป็นผุ้ล่วงกาลผ่านวัยโดยลำดับ
    ๒.) มีภิกษุสาวกที่เป็นเถระ มีความรู้เชื่ยวชาญ ได้รับการฝึกฝนอบรมอย่างดี แกล้วกล้า อาจหาญ บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ สามารถแสดงธรรมให้เห็นผลจริงจังกำราบปรัปวาท(ลัทธิที่ขัดแย้งหรือวาทะฝ่ายตรงข้าม) ที่เกิดขึ้นให้สำเร็จเรียบร้อยโดยถูกต้องตามหลักธรรม และมีภิกษุสาวกชั้นปูนกลาง(มัชฌิมภิกษุ) และชั้นนวกะ(ภิกษุบวชใหม่) ที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน
    ๓.) มีภิกษุณีสาวิกาชั้นเถรี ชั้นปูนกลางและชั้นนวกะ ที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน
    ๔.) มีอุบาสกทั้งประเภทที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาวประพฤติพรหมจรรย์(เช่น จิตตคฤหบดี) และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข(เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี) ซึ่งมีความสามารถอย่างเดียวกัน
    ๕.) มีอุบาสิกาทั้งหลายที่เป็นสาวิกาของศาสดานั้น ที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ (เช่น นางนันทมาตาผู้เป็นอนาคามี) และประเภทครองเรือนเสวยสุขก็มีอยู่ (เช่น นางวิสาขา)

    พรหมจรรย์ (คือคำสอนของพระองค์หรือพระศาสนา) ของศาสดานั้นก็เป็นคำสอนสำเร็จผลแพร่หลาย กว้างขวาง ชนเป็นอันมากรู้ได้ เป็นปึกแผ่นถึงขั้นที่ว่า เทวดาและมนุษย์ประกาศไว้ดีแล้วและถึงความเลิศด้วยลาภเลิศด้วยยศ เมื่อนั้นพรหมจรรย์นั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น" (ดู ที.ปา.ข้อ ๑๐๔)

    พรหมจรรย์คือพระพุทธศาสนานี้ สำเร็จประโยชน์แพร่หลาย เป็นปึกแผ่นมั่นคงยั่งยืนได้ เพราะมีองค์ประกอบ ๕ ข้อนี้ครบถ้วน หากขาดแม้เพียงอุบาสิกาไป พรหมจรรย์ก็ยังไม่ชื่อว่าเจริญบริบูรณ์เป็นปึกแผ่นดี

    จะเห็นได้ว่า อุบาสิกามีความสำคัญเพราะมีคุณสมบัติเท่ากับพุทธบริษัทอื่นๆ ยิ่งมองในความเป็นผู้สนับสนุนปัจจัย ๔ แก่ภิกษุ ภิกษุณี สามเณรและสามเณรี ก็จะยิ่งเห็นความสำคัญของอุบาสิกาเป็นอย่างสูง

    มีอุบาสิกา ๒ ท่าน ที่พระพุทธเจ้าทรงยกเป็นตัวอย่างเชิญชวนอุบาสิกาทั้งหลายให้เป็นเหมือนนางขุชชุตตรา และนางนันทมาตาว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อวิงวอนให้ลูกสาวคนเดียวผู้เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปรานโดยชอบ พึงวิงวอนอย่างนี้ว่า ขอแม่จงเป็นเช่นนางขุชชุตตราอุบาสิกาและนางนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะเถิด
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเราขุชชุตตราอุบาสิกาและนางนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้ (ตุลา เอตํ ปมาณํ - แปลว่า เป็นมาตรฐาน หรือตราชั่งก็ได้).." (สํ.นิ.ข้อ ๕๗๒)

    อนึ่ง นางขุชชุตตราเป็นอริยสาวิกาโสดาบันผู้แตกฉานในธรรม ทั้งฉลาดในการถ่ายทอดธรรมนั้น ส่วนนางนันทมาตาชาวเมือเวฬุกัณฑกะ เป็นอริยสาวิกาอนาคามีถึงพร้อมด้วยฌาน ๔

    ^^
     
  6. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    อุบาสิกามี ๒ ประเภท

    อุบาสิกาบริษัทนี้ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑.) อุบาสิกาที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ คือ อุบาสิกาที่เป็นพระอนาคามี ปราศจากกามราคะ แต่มิได้บวชเป็นบรรพชิต ไม่มีสามี ไม่ข้องเกี่ยวกับเมถุน เช่น นางนันทมาตาและนางมาติกมาตา เป็นต้น
    ๒.) อุบาสิกาที่เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม คือ อุบาสิกาที่มิได้บวชเป็นบรรพชิต ยังครองเรือนกับสามี ยังมีกามราคายุ่งเกี่ยวกับเมถุนและการงานทั้งหลาย อุบาสิกาประเภทนี้นับตั้งแต่สตรีปุถุชนผู้ถึงพระรัตนตรัยมีศีล (เช่น พระนางมัลลิกา) อริยสาวิกาโสดาบัน (เช่น นางวิสาขา) และอริยสาวิกาสกทาคามี(เช่น นางสุมนาเทวี)

    ดังที่ตรัสไว้ว่า "ดูก่อนจุนทะ อุบาสกสาวกและอุบาสิกาทั้งหลายของเรา ผู้เป็นคฤหัสถ์นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีอยู่ ที่บริโภคกามก็มีอยู่" (ที.ปา.ข้อ ๑๐๖)


    บทบาทของอุบาสิกาครั้งพุทธกาล

    แม้ว่าอุบาสิกาบริษัทจะมีอุบาสิกาที่บรรลุอริยคุณเป็นจำนวนมาก แต่บทบาทของอุบาสิกาจะหนักไปทางเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี คือ ประพฤติดี ถวายทาน รักษาศีล สร้างเสนาสนะและอุปัฏฐากบำรุงภิกษุภิกษุณี เ็ป็นต้น

    บทบาทด้านปกป้องคุ้มครองต่อกรกับลัทธิภายนอกอย่างที่ภิกษุภิกษุณี และอุบาสกบริษัทกระทำนั้น ที่มีปรากฏบ้างก็ตอนที่นางฆรณีอุบาสิกาอนาคามี ทูลอาสาจะแสดงปาฏิหาริย์แทนพระพุทธเจ้า

    บทบาทด้านเผยแผ่ศาสนธรรม เพื่อทำให้คนหมู่อื่นหันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างที่ภิกษุกระทำนั้น แม้อุบาสิกาจะทำไม่ได้ แต่ใช่ว่าจะไม่มีผุ้กระทำเลย ดังจะเห็นตัวอย่างจากนางจูฬสุภัททา ที่ใช้โอกาสอันเล็กน้อยกล่าวอธิบายความรู้ ความเข้าใจธรรมของสมณะที่ตนนับถือ ทำให้คนในตระกูลสามีเปลี่ยนมานับถือพุทธ

    ^^
     
  7. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,189
    ค่าพลัง:
    +20,861
    อุบาสิกาที่เป็นคฤหัสถ์ครองเรือน นุ่งขาวห่มขาว ปวรณาตนว่าเป็นอุบาสกที่ดี

    แต่แอบละเมิดศีล ล่วงละเมิดกายกรรม วจีกรรม ก็มีให้เห็นมากมายในปัจจุบัน

    ฉะนั้นจะพิจารณาว่าใครเป็นอุบาสิกา....แท้
    ก็พึงพิเคราะห์ให้จงหนัก....
     
  8. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,612
    นางสุชาดา (มารดาพระมหาสาวกยส)
    เอตทัคคผู้ถึงสรณะก่อน

    นางสุชาดาเป็นธิดาของเสนียะ(เสนานิกุฏุมพี) ผู้มีทรัพย์ซึ่งเป็นนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา และเป็นมารดาของพระยสมหาสาวก

    ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้านามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดใน เรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา นางฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถึงสรณะก่อนอุบาสิกาทั้งปวง จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น

    นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป บังเกิดในครอบครัวของกุฎุมพีชื่อเสนียะ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด เจริญวัยแล้วได้ทำความปรารถนาไว้ ณ ต้นไทรต้นหนึ่งว่า ถ้านางไปมีเหย้าเรือนกะคนที่เสมอ ๆ กัน ได้บุตรชายในท้องแรกจักทำพลีกรรมประจำปี ความปรารถนาของนางก็สำเร็จ

    เมื่อพระมหาสัตว์ทรงทำทุกรกิริยาครบปีที่ ๖ ในวันวิสาขปุณณมี นางมีความประสงค์จะทำพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน ๖ และก่อนหน้านั้นแหละ ได้ปล่อยแม่โคนมพันตัวให้เที่ยวไปในป่าชะเอม ให้แม่โคนม ๕๐๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑,๐๐๐ ตัวนั้น แล้วให้แม่โคนม ๒๕๐ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๕๐๐ ตัวนั้นรวมความว่า นางต้องการความข้นความหวาน และความมีโอชะของน้ำนมจึงได้กระทำการหมุนเวียนไป จนกระทั่งแม่โคนม ๘ ตัวดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑๖ ตัว ด้วยประการฉะนี้ ในวันเพ็ญเดือน ๖ นางคิดว่า จักทำพลีกรรมตั้งแต่เช้าตรู่ จึงลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งของราตรี แล้วให้รีดนมแม่โคนม ๘ ตัวนั้น ลูกโคทั้งหลายยังไม่ทันมาใกล้เต้านมของแม่โคนม แต่เมื่อพอนำภาชนะใหม่เข้าไปที่ใกล้เต้านม ธารน้ำนมก็ไหลออกโดยธรรมดาของตน นางสุชาดาเห็นความอัศจรรย์ดังนั้น จึงตักน้ำนมด้วยมือของตนเองใส่ลงในภาชนะใหม่ แล้วรีบก่อไฟด้วยมือของตนเอง

    เมื่อนางกำลังหุงข้าวปายาสนั้นอยู่ ฟองใหญ่ ๆ ผุดขึ้นไหลวนเป็นทักษิณาวัฏ น้ำนมแม้จะแตกออกสักหยาดเดียว ก็ไม่กระเด็นออกไปข้างนอก ควันไฟแม้มีประมาณน้อยก็ไม่ตั้งขึ้นจากเตาไฟ

    สมัยนั้น ท้าวจตุโลกบาลมาถือการอารักขาที่เตาไฟ ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกะทรงนำดุ้นฟืนมาใส่ไฟให้ลุกโพลงอยู่ เทวดาทั้งหลายรวบรวมเอาโอชะที่สำเร็จแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารมาใส่ลงในข้าวปายาสนั้น ด้วยเทวานุภาพของตน ๆ เสมือนคั้นรวงผึ้งซึ่งติดอยู่ที่ท่อนไม้ถือเอาต้นน้ำหวานฉะนั้น

    จริงอยู่ ในเวลาอื่น ๆ เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในทุก ๆ คำข้าว แต่ในวันบรรลุพระสัมโพธิญาณ และวันปรินิพพานใส่ลงในหม้อเลยทีเดียว

    นางสุชาดาได้เห็นความอัศจรรย์มิใช่น้อย ซึ่งปรากฏแก่ตน ณ ที่นั้น ในวันเดียวเท่านั้น จึงเรียกนางปุณณาทาสีมาพูดว่า "นี่แน่ะแม่ปุณณา วันนี้เทวดาของพวกเราน่าเลื่อมใส่ยิ่งนัก เพราะว่าเราไม่เคยเห็นความอัศจรรย์เห็นปานนี้ ในเวลามีประมาณเท่านี้ เธอจงรีบไปปัดกวาดเทวสถานโดยเร็ว" นางปุณณาทาสีรับคำของนางแล้วรีบด่วนไปยังโคนไม้

    ในตอนกลางคืนวันนั้น แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเห็นมหาสุบิน ๕ ประการ เมื่อทรงใคร่ครวญดู จึงทรงกระทำสันนิษฐานว่า วันนี้ เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ ทรงคอยเวลาภิกขาจาร

    พอเช้าตรู่ จึงเสด็จมาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ยังโคนไม้ทั้งสิ้นให้สว่างไสวด้วยพระรัศมีของพระองค์

    ลำดับนั้น นางปุณณาทาสีนั้นมาได้เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งที่โคนไม้ มองดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออกอยู่ และต้นไม้ทั้งสิ้นมีวรรณดุจทองคำ เพราะพระรัศมีอันซ่านออกจากพระสรีระของพระองค์ นางปุณณาทาสีนั้นได้เห็นแล้วจึงมีความคิดดังนี้ว่า วันนี้ เทวดาของเราเห็นจะลงจากต้นไม้มานั่งเพื่อคอยรับพลีกรรมด้วยมือของตนเอง จึงเป็นผู้มีความตื่นเต้น รีบมาบอกเนื้อความนั้นแก่สุชาดา

    นางสุชาดาได้ฟังคำของนางปุณณาทาสีนั้นแล้วมีใจยินดีพูดว่า ตั้งแต่วันนี้ไป เจ้าจงตั้งอยู่ในฐานะเป็นธิดาคนโตของเรา แล้วได้ให้เครื่องอลังการทั้งปวงอันสมควรแก่ธิดา ก็เพราะเหตุที่ในวันจะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า ควรจะได้ถาดทองใบหนึ่งซึ่งมีราคาหนึ่งแสน ฉะนั้นนางสุชาดานั้นจึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า เราจักใส่ข้าวปายาสในถาดทองนางมีความประสงค์จะให้นำถาดทองราคาหนึ่งแสนมา เพื่อใส่ข้าวปายาสในถาดทองนั้น จึงรำพึงถึงโภชนะที่สุกแล้ว ข้าวปายาสทั้งหมดได้กลิ้งมาตั้งอยู่เฉพาะในถาด เหมือนน้ำกลิ้งมาจากใบปทุมฉะนั้น ข้าวปายาสนั้นได้มีปริมาณเต็มถาดหนึ่งพอดี นางจึงเอาถาดใบอื่นครอบถาดใบนั้นแล้วเอาผ้าขาวพันห่อไว้ ส่วนตนประดับประดาร่างกายด้วยเครื่องประดับทุกอย่างเสร็จแล้ว ทูนถาดนั้นบนศีรษะของตนไปยังโคนต้นไทรด้วยอานุภาพใหญ่ เห็นพระโพธิสัตว์แล้วเกิดความโสมนัสเป็นกำลัง สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา จึงโน้มตัวเดินไปตั้งแต่ที่ที่ได้เห็น ปลงถาดลงจากศีรษะแล้วเปิด (ผ้าคลุม) ออก เอาสุวรรณภิงคาร คนโทน้ำทองคำ ตักน้ำที่อบด้วยดอกไม้หอมแล้วได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ยืนอยู่

    บาตรดินที่ฆฏิการมหาพรหมถวาย ไม่ได้ห่างพระโพธิสัตว์มาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ขณะนั้นได้หายไปพระโพธิสัตว์ไม่ทรงเห็นบาตร จึงเหยียดพระหัตถ์ขวาออกรับน้ำ นางสุชาดาจึงวางข้าวปายาสพร้อมทั้งถาดลงบนพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ ๆทรงแลดูนางสุชาดา ๆ กำหนดพระอาการได้ทูลว่า

    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันบริจาคแก่ท่านแล้ว ท่านจงถือเอาถาดนั้นไปกระทำตามความขอบใจเถิด ถวายบังคมแล้วทูลว่า

    มโนรถของดิฉันสำเร็จแล้ว ฉันใด แม้มโนรถของท่านก็จงสำเร็จ ฉันนั้น นางบริจาคถาดทองซึ่งมีราคาตั้งหนึ่งแสน เหมือนบริจาคใบไม้เก่าไม่เสียดายเลย แล้วหลีกไป

    พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองไว้ริมฝั่ง ลงสรงสนานแล้วเสด็จขึ้น ทรงปั้นเป็นก้อนได้ ๔๙ ก้อน เสวยข้าวมธุปยาสแล้ว ทรงลอยถาดทองลงในแม่น้ำ เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถานตามลำดับ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ประทับ ณ โพธิมัณฑสถานล่วงไป ๗ สัปดาห์ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐโปรดแก่ปัญจวัคคีย์แล้ว ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงเห็นอุปนิสัยของเด็กชื่อยสะ บุตรของนางสุชาดา จึงเสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง

    แม้ยสกุลบุตรเห็นนางบำเรอนอนเปิดร่างในลำดับต่อจากครึ่งราตรี เกิดความสลดใจพูดว่า วุ่นวายหนอ ขัดข้องหนอ แล้วออกจากนิเวศน์เดินไปยังสำนักพระศาสดานอกพระนครฟังธรรมเทศนาแล้วแทงตลอดมรรคผล ๓

    ขณะนั้น บิดาของยสกุลบุตรเดินตามรอยยสกุลบุตรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเรื่องของยสกุลบุตร พระศาสดาทรงปกปิดยสกุลบุตรไว้ ทรงแสดงธรรมจบเทศนา เศรษฐีคฤหบดีก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล

    ส่วนยสะบรรลุพระอรหัต

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเขาว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด

    ทันใดนั้นนั่นเอง เพศคฤหัสถ์ของเขาก็หายไป เขาได้เป็นผู้ทรงบาตรและจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ แม้บิดาของท่านก็นิมนต์พระศาสดา พระศาสดาทรงมีพระยสกุลบุตรเป็นปัจฉาสมณะ ติดตามไปข้างหลัง เสด็จไปเรือนของเศรษฐีนั้น เสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด

    จบเทศนา นางสุชาดามารดาและภริยาเก่าของพระยสะ ก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล

    ในวันนั้น นางสุชาดากับหญิงสะใภ้ ก็ดำรงอยู่ในเตวาจิสรณะคือถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ครบ ๓ เป็นสรณะ นี้เป็นความย่อในเรื่องนั้น ส่วนโดยพิสดาร เรื่องนี้มาแล้วในคัมภีร์ขันธกะ

    ภายหลังต่อมา พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้ถึงสรณะ แล


    เอตทัคคะ นั้น คือ ตำแหน่งที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่า เป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางใดหนึ่ง เป็นผู้ประเสริฐสุดบ้าง ตำแหน่ง เอตทัคคะนี้ย่อมได้โดยเหตุ ๔ ประการคือ

    ๑. โดยเหตุเกิดเรื่อง คือ อุบาสิกาท่านนั้น ได้แสดงความสามารถออกมาให้ปรากฏในเหตุการณ์หรือสถานการณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้น

    ๒. โดยการมาก่อน คือ อุบาสิกาท่านนั้น ได้สร้างสมบุญมาตั้งแต่อดีตชาติและได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อให้ได้ตำแหน่งเอตทัคคะด้วย

    ๓. โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ คือ อุบาสิกาท่านนั้น ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นๆ เป็นพิเศษ

    ๔. โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ คืออุบาสิกาท่านนั้น มีความสามารถในเรื่องนั้น ๆ เหนือกว่าอุบาสิกาท่านอื่น ๆ ที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน

    อุบาสิกาที่ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะมี ๑๐ ท่าน

    นางสุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถึงสรณะก่อน ฯ

    นางวิสาขามิคารมาตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายทาน ฯ

    นางขุชชุตตรา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เป็นพหูสูต ฯ

    นางสามาวดี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้มีปรกติอยู่ด้วยเมตตา ฯ

    นางอุตตรานันทมาตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดีในฌาน ฯ

    นางสุปปวาสาโกลิยธีตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายรสอันประณีต ฯ

    นางสุปปิยาอุบาสิกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เป็นคิลานุปัฏฐาก ฯ

    นางกาติยานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น ฯ

    นางนกุลมาตาคหปตานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้คุ้นเคย ฯ

    นางกาฬีอุบาสิกาชาวกุรรฆริกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม ฯ


    ที่มา : พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน
     
  9. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    "เมื่อมีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริิบูรณ์.." เพราะศีล นั้นเปนเครื่องประดับประเสริฐสุด
    ศีลเปนกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเปนอาวุธสูงสุด ศีลเปนเกราะอย่างน่าอัศจรรย์..
     
  10. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    เท่าที่อ่านดู เราพอจะทราบว่า อุบาสิกา ครั้งสมัยพุทธกาลมีใครบ้าง

    แต่อยากทราบว่า ในกาลปัจจุบัน ณ เมืองไทยเรา มีอุบาสิกาที่เป็นที่ยอมรับนับถือ อยู่บ้างหรือไม่ ?

    สามารถบอกชื่อ หรือ คุณลักษณะของท่าน ได้ ณ ที่นี้ รึปล่าว คะ
     
  11. daowdeaw

    daowdeaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2013
    โพสต์:
    537
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ ขอกล่าวถึงอุบาสิกาผู้เปี่ยมด้วยธรรม และเป็นที่เคารพนับถือจนถึงปัจจุบัน ก็คือ อุบาสิกาบุญเรือน โตงบุญเติม ฆราวาสผู้เปี่ยมด้วยธรรม

    อุบาสิกาบุญเรือน โดยทั่วไปคนที่เคารพท่านมักเรียกท่านว่า “คุณแม่บุญเรือน” เพราะความเมตตากรุณาที่ท่านมีให้กับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ อีกทั้ง กระทำตนเป็น “แม่” ของทุกคนที่ไปขอความช่วยเหลือจากท่าน เหมือนอย่างที่แม่คนหนึ่งที่ให้แก่บุตรธิดาของตนนั่นเอง

    คุณแม่บุญ เรือนท่านเป็นนักบุญ และเป็นผู้นำในการประกอบการทำบุญต่าง ๆ ที่เข้มแข็งแกล้วกล้าสามารถทุกอย่าง ทั้งยังเป็นผู้อบรมสั่งสอนและบรรยายธรรมให้บุคคลทั่วไปเข้าใจซาบซึ้งในธรรม ได้อย่างดีเลิศ พื้นเพเดิมท่านเป็นชาวอำเภอมีนบุรี กรุงเทพมหานคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2437 เวลา 11.20 นาฬิกา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเมีย ครอบครัวมีฐานะค่อนข้างยากจน พ่อแม่เป็นชาวสวน ซึ่งต่อมาครอบครัวได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่แถวบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ ฝั่งธนบุรี

    ด้วยมีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมมาแต่เด็ก ได้รับการสั่งสอนให้รู้จักธรรมะในพระพุทธองค์จาก “หลวงตาพริ้ง” ซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบางปะกอก ผู้มีศักดิ์เป็นลุง พระสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จนทำให้คุณแม่บุญเรือนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ฝักใฝ่ในบุญกุศล หมั่นเพียรในทางธรรมตลอดมา

    เมื่อมีอายุในวัยครองเรือน คุณแม่บุญเรือนได้สมรสกับสิบตำรวจโทจ้อย โตงบุญเติม แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ภายหลังจึงรับเด็กหญิงมาอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมคนหนึ่ง ขณะเดียวกันคุณแม่บุญเรือน ก็ยังมีโอกาสได้ปฏิบัติและศึกษาธรรมมากขึ้น โดยมีท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระรัชชมงคลมุนี” เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ (ในสมัยนั้น) เป็นพระอาจารย์สอนสมถะวิปัสสนากรรมฐานให้

    ท่านเป็นผู้ นำในการจัดตั้งคณะผู้ร่วมบุญในนาม “คณะสามัคคีวิสุทธิ” ซึ่งช่วยเหลืองานบุญงานกุศลต่างๆ ตลอดจน รักษาโรคภัยไข้เจ็บนานัปการด้วยอำนาจพระพุทธคุณแก่ทุกคนอย่างเต็มที่ ไม่เลือกชั้นวรรณะ ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ และยึดถือหลักการบริจาคและการให้เป็นหลักสำคัญ ในที่สุดจนกระทั่งปี พ.ศ. 2470 ท่านก็เข้าสู่พระพุทธศาสนาอย่างเต็มตัวโดยการบวชชี โดยได้ลาสามีเพื่อมาบวชชีที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่ระยะหนึ่ง แล้วลาสึกไป และเมื่อสามีถึงแก่กรรมแล้ว จึงมีศรัทธากลับมาบวชชีอีกในปี พ.ศ. 2482

    ด้านอุปนิสัยนั้น ผู้ที่รู้จักคุณแม่บุญเรือนดีตั้งแต่อายุท่านยังน้อยอยู่ คงพอจะทราบได้ดีว่า ท่านเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยมารยาท คุณธรรมอันสูงส่ง มีอุปนิสัยเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาปรานีแก่บุคคลที่รู้จักพบเห็นทุกคน แต่ทว่าท่านเป็นคนที่ค่อนข้าง “ดุเดือด โผงผาง และมีวาจาไม่อ้อมค้อมแบบขวานผ่าซาก” อยู่บ้าง พูดเสียงดัง กังวาล เด็ดขาด และจริงจัง หรือนัยหนึ่งก็คือพูดจริงทำจริงตลอดเวลา

    งานบุญตามคติ แห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วยการทำทาน ถือศีล การภาวนา สวดมนต์ ฟังธรรม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น คุณแม่บุญเรือน รัก ศรัทธา เลื่อมใส ปฏิบัติมาตั้งแต่อายุเริ่มวัยกลางคน ขณะยังครองชีวิตร่วมกับสิบตำรวจโทจ้อย ทีเดียว งานทำทานไม่ว่าจะเป็นทานต่อบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือการถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งการถวายอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ได้เพียรบำเพ็ญตลอดมาไม่ขาดสาย ท่านเป็นผู้รักการบำเพ็ญทานการกุศลตั้งแต่อายุน้อย ตลอดมาจนเติบใหญ่ และจนตลอดชีวิตของท่าน

    คุณแม่บุญเรือน เคารพศรัทธาเลื่อมใสในคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างจริงจัง และเคร่งครัดตลอดเวลา ท่านฝึกจิตใจและความรู้สึกให้เป็นผู้ที่เต็มไปด้วยการเสียสละ ไม่นิยมการสั่งสม โปรดการให้เป็นหัวใจสำคัญ ตัดความรู้สึกด้านโกรธ รัก โลภ และหลง โดยสิ้นเชิง นับได้ว่าเป็นชาวพุทธที่สำคัญยิ่งผู้หนึ่ง ซึ่งยากจะหาผู้อื่นที่บำเพ็ญตนให้เท่าเทียมได้

    การถือศีล คุณแม่บุญเรือนเคร่งครัดในศีล 5 วันธรรมสวนะยึดมั่นในศีล 8 แต่ชีวิตตอนหลังส่วนใหญ่ท่านถือศีล 5 เป็นประจำ การภาวนาอันประกอบด้วยสวดมนต์ ฟังธรรม และทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฝึกจิตให้สะอาดปราศจากมลทิน มีสมาธิแน่วแน่ เกิดปัญญาแจ่มแจ้งในธรรมอันวิเศษของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้เพียรบำเพ็ญปฏิบัติโดยสม่ำเสมอจนตลอดชีวิตของท่าน

    ความเพียรใน การฝึกจิตและเรียนรู้ทางธรรมของคุณแม่บุญเรือน ปรากฏเรื่องราวอันเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ ที่จะสำเร็จได้ก็ด้วยอำนาจสมาธิซึ่งเป็น “พลังจิต” อันมหัศจรรย์ จึงมีเรื่องเล่ามากมายจากคนเก่าแก่ และผู้ประสบเหตุเรื่องราวพิศวง อันเกิดจากอำนาจทิพย์ของอุบาสิกาท่านนี้

    คุณธรรมอันสูงส่งของ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม” อุบาสิกาผู้ใจบุญท่านนี้ยิ่งใหญ่ ท่านเป็นผู้เสียสละ ชอบการทำบุญ ให้ทาน ไม่ยึดติดสะสมในทรัพย์สมบัติ มีแต่เป็นผู้ให้ตลอดมา และทั้งชีวิตท่านยังได้บำเพ็ญธรรมอย่างสม่ำเสมอตราบจนวาระสุดท้ายที่ท่านได้ จากโลกนี้ไปอย่างสงบด้วยโรคหัวใจ ไต และโลหิตจาง

    แม้จะมีลูกศิษย์ ต้องการให้ท่านมีชีวิตอยู่ต่อโดยการอธิษฐานขอ แต่ท่านก็ไม่ทำ ท่านบอกว่า “สังขารร่างกายและใจ หรือขันธ์ห้านี้ไม่ใช่ตัวของเรา มันเป็นเพียงเครื่องอยู่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น เป็นเรือนทุกข์ ท่านจึงต้องการออกจากเรือนทุกข์นี้”

    หลังจากการสวดมนต์ นั่งสมาธิแล้ว สานุศิษย์และผู้ศรัทธาจะขอรับเอาสิ่งของต่าง ๆ ที่นำมาสักการบูชา เช่น ผลไม้ น้ำตาลทราย เกลือ พริกไทย สาคู และปูนสีแดง ที่ใช้ทาใบพลูสำหรับรับประทาน โดยอธิษฐานขอให้สิ่งของต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นยาแก้โรคต่าง ๆ ซึ่งก็แปลกที่หลายคนหายขาดโรคภัยที่เป็นอยู่อย่างน่ามหัศจรรย์

    นอกจากนี้บางคนยังเอาไพลทุกชนิดไปถวายต่อหน้ารูปปั้นของคุณแม่บุญเรือน แล้วจุดธูปเทียนกราบไหว้บูชาท่าน อธิษฐานจิตขอให้ท่านดลบันดาลให้ไพลเป็นยารักษาโรค แล้วนำไพลนั้นมาทารักษาโรค ก็หายได้เช่นกัน คุณแม่บุญเรือนเป็นผู้ที่มีพลังจิตสูง มีชื่อเสียงโด่งดังจากการใช้พลังจิตในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนทั่วไป รวมทั้งการนวดจับเส้น การใช้พลังจิตของคุณแม่บุญเรือนนั้น ท่านเรียกว่าเป็นการ “อธิษฐานจิต” คือ ท่านจะเข้าสมาธิให้จิตนิ่งเสียก่อน จากนั้นท่านจะอธิษฐานจิตขอให้เป็นไปตามที่ท่านปรารถนา

    แม้ว่าท่านจะจากไปนานแล้ว แต่คุณงามความดีและชื่อเสียงในทางธรรมที่ท่านเพียรสร้างไว้ขณะยังมีชีวิต อยู่ ก็ยังมีผู้กล่าวถึงอยู่ตลอดไป

    ขอกราบอนุโมทนา สาธุด้วยค่ะ
     
  12. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    ยินดีและขอขอบคุณ คุณ daowdeaw มากค่ะที่นำความรู้มาช่วยโพส ขอให้เจริญยิ่งในบุญนะคะ ช่วงนี้ดิฉันไม่สะดวกโพสบทความเยอะๆ (สถานที่และอุปกรณ์ไม่เอื้อค่ะ) นำมาโพสอีกนะคะถ้ามีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับอุบาสิกาท่านอื่นๆอีก... ^^
     
  13. น้ำใสไหลเย็น

    น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ขอบพระคุณมากค่ะ
     
  14. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    (*)บทบาทที่โดดเด่นที่สุดด้านการเผยแผ่ คือการทำตนเป็นแบบอย่างชีวิตที่ดี

    บทบาทที่ถือว่าเป็นการเผยแผ่ธรรมของอุบาสิกาก็คือ "การทำตนเป็นแบบอย่างชีวิตที่ดี" เป็นแบบอย่างชีวิตของอุบาสิกาที่รู้แจ้งและซาบซึ้งในพระรัตนตรัย แล้วดำรงชีวิตหรือดำเนินชีวิตไปอย่างมั่นคง จนคนใก้ลชิดได้รู้ได้เห็นแล้วอยากจะมีชีวิตแบบนั้นบ้าง เช่น

    นางวิสาขา แน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่ตนเองทำ จนบิดาสามีหันมานับถือพระรัตนตรัย และนับถือนางเป็นมารดา หรือกรณีที่พวกผู้ชายทั้งหลายต้องการจะให้ภรรยาเป็นเหมือนนางวิสาขา หรือนางกุลธิดาชาวสาวัตถีอุปัฏฐากของพระอัครสาวก นางเป็นพุทธศาสนิกชนที่ประพฤติดี แม้เข้าไปสู่ตระกูลสามีผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ก็ได้เป็นภรรยาและสะใภ้ที่ดี ทั้งมิได้ละทิ้งการถวายทานและฟังธรรม ที่สุดก็สามารถโน้มน้าวให้สามีและคนในตระกุลพบภิกษุ และฟังธรรมจนเกิดความศรัทธาเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาได้สำเร็จ ดังนี้เป็นต้น

    การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีนี่แหละ คือการเผยแผ่พระธรรมรูปแบบหนึ่งของอุบาสิกาทั้งหลาย



    (*)ความหมายและคุณสมบัติของอุบาสิกา

    ธรรมปฎิบัติเพื่อความเป็นอุบาสิกานั้น พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสกับอุบาสิกาท่านใดโดยตรง แต่เกิดจากการที่พระเจ้ามหานามศากยะกราบทูลถามเรื่องของอุบาสก ซึ่งสามารถใช้ได้กับอุบาสกและอุบาสิกา คือเปลี่ยนเพียงประธานจากอุบาสกเป็นอุบาสิกาเท่านั้น ดังนี้

    ๑. เมื่อไหร่ บุคคลจึงจะชื่อว่าอุบาสิกา ?
    ตอบ เมื่อใดที่สตรีถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ เมื่อนั้นก็เป็นอุบาสิกา

    ๒. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสิกาจึงชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ?
    ตอบ เมื่ออุบาสิกางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท และงดเว้นจากสุราเมรัย เมื่อนั้นชื่อว่าผู้มีศีล

    ๓. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสิกาจึงชื่อว่าปฎิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฎิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ?
    ตอบ
    - เมื่ออุบาสิกาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวนให้ผู้อื่นถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑
    ตอบ - ตนเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นถึงพร้อมด้วยศีล ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ (การบริจาค) แต่ไม่ชักชวนให้ผู้อื่นถึง พร้อมด้วยจาคะ ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อการเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นเพื่อการเห็นภิกษุ !
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ใคร่ฟังพระสัทธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นฟังพระสัทธรรม ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นทรงจำธรรม ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ตนได้ฟัง แต่ไม่ชักชวนให้ผู้อื่นพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ฟัง ๑
    ตอบ - ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมและปฎิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนให้ผู้อื่นปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

    ๔. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสิกาจึงชื่อว่าเป็นผุ้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ?
    ตอบ
    - เมื่ออุบาสิกาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง และชักชวนผุ้อื่นถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนให้ผู้อื่นถึงพร้อมด้วยศีล ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนให้ผู้อื่นถึงพร้อมด้วยจาคะ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อการเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นเพื่อการเห็นภิกษุ ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังพระสัทธรรม และชักชวนให้ผู้อื่นฟังพระสัทธรรม ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว และชักชวนให้ผู้อื่นทรงจำธรรม ๑
    ตอบ - ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรมที่ได้ฟังแล้วชักชวนให้ผู้อื่นพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑
    ตอบ - ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนให้ผู้อื่น ปฎิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

    องฺ.อฎฐก.ข้อ ๑๑๕-๑๑๖
     
  15. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,135
    อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้ามหานามศากยะกราบทูลถามถึงคุณสมบัติของอุบาสก ? จึงตรัสตอบอธิบายเป็นธรรมปฎิบัติ
    (เปลี่ยนประธานเป็นอุบาสิกา) ซึ่งมีคำถามคำตอบต่างจากสูตรก่อนดังนี้

    ๑. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสิกาจึงจะชื่อว่าเป็นผุ้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ?
    ตอบ
    - เมื่ออุบาสิกานั้นเป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

    ๒. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสิกาจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ?
    ตอบ
    - เมื่ออุบาสิกานั้นมีใจปราศจากความตะหนี่
    ตอบ - บริจาคได้ไม่ติดขัด(ไม่หวงแหน)
    ตอบ - ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่าย

    ๓. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสิกาจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ?
    ตอบ
    - เมื่ออุบาสิกานั้นเป็นผู้มีปัญญา
    ตอบ - เห็นความเกิดความดับ (อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย)
    ตอบ - เป็นอริยะ (อริยายนิพฺเพธิกาย)
    ตอบ - เป็นไปเพื่อออกจากกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

    (สํ.ม.ข้อ ๑๕๙๐-๑๕๙๔)
     
  16. yo09()

    yo09() เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +4,897

แชร์หน้านี้

Loading...