๗. เข้าเรียนในหลักสูตรนักปราชญ์ (หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย พามมะวดี, 17 กรกฎาคม 2009.

  1. พามมะวดี

    พามมะวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +1,857
    หลังจากได้ที่อ่านหนังสือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
    พระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ในยุคปัจจุบัน
    โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม2 จบลง
    ก็ขอเผยแผ่ให้ท่านที่ไม่มีหนังสือเล่มนี้ได้อ่านด้วย
    หนังสือจะแบ่งออกเป็น2 ภาค
    ภาค1 ธรรมประวัติ (109 เรื่อง)
    ภาค2 พระธรรมเทศนา ( 6 กัณฑ์)
    จะขอนำมาลงไว้เป็นตอนๆจนจบเล่ม
    ---------------------------------------------------------------
    [​IMG]

    - ๗ -


    เข้าเรียนในหลักสูตรนักปราชญ์


    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มีอุปนิสัยใฝ่เรียน ใฝ่รู้อยู่ในตัวท่าน ต้องการ
    <O:p</O:p
    ศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนา ให้ลึกซึ้งกว้างขวางออกไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเป็นสุดยอดในสมัยนั้น
    เรียกกันว่า “เรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์” คือหัดอ่านเขียนภาษาบาลี
    ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่และจารึกคำสอนในทางพระพุทธศาสนา
    ผู้ที่สนใจศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ลึกซี้งถึงแก่น
    จึงจำเป็นต้องรู้ภาษาบาลีอย่างแตกฉาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    “การเรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์” ซึ่งเป็นการเรียนที่ยากนั้น
    ผู้เรียนต้องมีความเฉลียวฉลาด ขยัน และอดทนอย่างแท้จริง
    ถ้าหากใครเรียนจบตามหลักสูตรดังกล่าวจัดว่าเป็น “นักปราชญ์”
    คือ เป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หลังจากออกพรรษาแรกได้เดือนเศษ ๆ อยู่ในปี พ.ศ.2453 หลวงปู่
    ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนธรรมที่สำนักเรียน วัดโพธิชัย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วัดโพธิชัย เป็นสำนักเรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น
    มีท่านพระอาจารย์คาน เป็นเจ้าสำนักเรียน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ออกเดินทางจากวัดบ้านเกิด เดินทางด้วยเท้าไป
    เป็นระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร ต้องบุกป่าฝ่าดงไปด้วยความยากลำบาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หลวงปู่ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ใช้เวลารวม 4 ปี จึงจบตามหลักสูตร
    จัดว่าเป็น “นักปราชญ์” ที่มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีในสมัยนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อเรียนความรู้จบตามที่ต้องการแล้ว หลวงปู่ ก็กราบลาพระอาจารย์เจ้าสำนัก
    เดินทางกลับมาอยู่ที่สำนักเดิม คือ วัดบ้านข่า บ้านเกิดของท่านนั้นเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ..................................<O:p</O:p

     

แชร์หน้านี้

Loading...