๘ ราชวงศ์ของราชอาณาจักรไทย! ราชวงศ์จักรีบ้านเมืองสุขสงบ!!

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 6 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8a8e0b98ce0b882e0b8ade0b887e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b8ade0b8b2e0b893e0b8b2e0b888e0b8b1e0b881e0b8a3.jpg
    ประเทศไทย ก่อตั้งประเทศมาด้วยระบอบกษัตริย์ และยังรักษาสถาบันนี้อย่างมั่นคงมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาถึง ๗๗๐ ปีแล้ว โดยมีกษัตริย์ผลัดเปลี่ยนครองราชย์สืบต่อ ๘ ราชวงศ์

    กษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรไทยคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๑๗๙๒
    เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์พระร่วง มีกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ ๙ พระองค์ แต่พระองค์ที่ ๗ เป็นต้นมา
    อยู่ใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง จนถึงรัชกาลที่ ๙จึงผนวกเข้ากับกรงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงได้รับยกย่องเป็นมหาราช ๑ พระองค์
    คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นรัชกาลที่ ๓

    แม้ไม่ปรากฏหลักฐานว่ากษัตริย์ของกรุงสุโขทัยใช้พระนามราชวงศ์ว่าอย่างไร แต่นักประวัติศาสตร์พบว่าผู้คนในกรุงสุโขทัยหรือแว่นแคว้นใกล้เคียง จะเรียกกษัตริย์ของกรุงสุโขทัยว่า“พระร่วง” ทุกพระองค์เหมือนกันพอสิ้นรัชกาลที่ ๕ ก็มีการชิงราชสมบัติกันแล้ว ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกจารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร)กล่าวว่า

    “…เมื่อเสด็จมีพระบัณฑูรให้ไพร่พลทั้งหลายเข้าระดมฟันประตูประหารศัตรูทั้งหลาย
    บัดนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินเข้าเสวยราชย์ไอสูรยาธิปัตย์ในเมืองสุโขทัยนี้แทนพระบิดา พระอัยกา…”
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๙๐ เมื่อ พระยางั่วนำถม กษัตริย์พระองค์ที่ ๕ ของกรุสุโขทัยสวรรคต
    ได้เกิดการจลาจลชิงราชสมบัติกันขึ้น พระยาลิไท ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าเลอไท กษัตริย์พระองค์ที่ ๒
    และเป็นหลานปู่ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย
    จึงยกกำลังเข้ามาปราบปราม และขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑เป็นการชิงราชบัลลังก์กันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย

    การสืบทอดราชบัลลังก์ แม้จะมีกฎมณเฑียรบาลเป็นกฎกติกากำหนดไว้แต่ตำแหน่งผู้นำแห่งรัฐควรจต้องเป็นผู้ที่เข็มแข็งที่สุด เมื่อได้ผู้นำที่อ่อนแอจึงมักถูกผู้เข้มแข็งกว่าชิงอำนาจ ซึ่งเกิดขึ้นมาตลอด
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต พระราเมศวร พระราชโอรส เสด็จจากเมืองลพบุรี
    มาครองราชย์สืบราชวงศ์อู่ทองแทน พระราเมศวรครองราชย์อยู่เกือบปี ขุนหลวงพะงั่วผู้เป็นพระเชษฐาของพระมารดา ก็เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรีพร้อมกองทัพสมเด็จพระราเมศวรออกไปต้อนรับอัญเชิญเข้าพระนคร แล้วถวายราชสมบัติให้จากนั้นก็เสด็จกลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม

    ขุนหลวงพะงั่วขึ้นครองราชย์ เป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราช ปฐมราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมเด็จพระบรมราชาธิราชครองราชย์อยู่ ๑๓ ปีสวรรคต เจ้าทองจันทร์ หรือ ทองลัน ราชโอรสวัย ๑๕พรรษาขึ้นครองราชย์แทน นับเป็นยุวกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงศรีอยุธยา แต่ครองราชย์อยู่ได้เพียง ๗วันเท่านั้น พงศาวดารบันทึกไว้ว่า

    “สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้าในพระราชวังได้ กุมเอาเจ้าทองจันทร์ได้
    ให้พิฆาตเสียวัดโคกพระยา แล้วพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ”ราชวงศ์ที่ครองกรุงศรีอยุธยาจึงกลับไปเป็นราชวงศ์อู่ทองตามเดิม

    สมเด็จพระราเมศวรครองราชย์อีก ๗ ปีสวรรคต สมเด็จพระรามราชา ราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบราชวงศ์อู่ทองได้ ๑๕ ปี เกิดขัดแย้งกับเจ้าพระยาเสนาบดีฝ่ายเจ้าพระยาเสนาบดีจึงหนีไปคบคิดกับพระยานครอินทร์ ซึ่งเป็นนัดดาของขุนหลวงพะงั่วและยกกำลังจากสุพรรณบุรีเข้ามาชิงราชสมบัติได้ พระยานครอินทร์ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระนครอินทราธิราชที่ ๑ ราชวงศ์สุพรรณภูมิจึงกลับมาครองกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง และสืบต่อมาอีก๑๐ รัชกาล จนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช ที่เสียกรุงแก่พระเจ้าบุเรงนองจึงมีกษัตริย์ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ ๑๓ พระองค์

    ต่อจากนั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช อดีตขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง
    ได้ขึ้นครองราชย์ และถือว่าเป็นปฐมกษัตริย์ของ ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ ๗ พระองค์ คือ
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    สมเด็จพระเชษฐาธิราช และสมเด็จพระอาทิตย์วงศ์

    เหตุการณ์ในช่วงราชวงศ์นี้ บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    จนถึงสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาได้ ๕ ปีเท่านั้น

    เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถสวรรคต เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ต่อได้เพียง ๑ ปี ๒
    เดือน จมื่นศรีสรรักษ์ โอรสลับของสมเด็จพระเกาทศรถกับสาวบางปะอิน ก็สมคบกับพระพิมลธรรม
    โอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถที่ประสูติจากพระสนม ซึ่งครองเพศบรรพชิต สึกออกมาชิงราชย์บัลลังก์สำเร็จโทษสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    จมื่นศรีสรรักษ์มีความดีความชอบได้เลื่อนขึ้นเป็น ออกญาศรีวรวงศ์

    ตอนปลายรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี ขณะประชวรหนักมีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร พระชนมายุ ๑๔พรรษา โดยทรงมอบให้ออกญาศรีวรวงศ์จัดการให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ไม่ให้ราชสมบัติตกแก่พระอนุชาตามกฎมณเฑียรบาล ซึ่งออกญาศรีวงวงศ์ก็ทำสำเร็จสมเด็จพระเชษฐาธิราชทรงตอบแทนความดีความชอบของออกญาศรีวรวงศ์เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ออกญาศรีวรวงศ์ทุ่มสุดตัวผลักดันให้พระเชษฐาธิราชกุมารขึ้นเป็นยุวกษัตริย์ก็หวังอยู่ว่าจะขึ้นครองตำแหน่งนี้ได้ในวันหนึ่งและโอกาสนั้นก็มาถึงเมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราชเกิดหูเบาเชื่อขุนนางสอพลอว่าที่เจ้าพระยากลาโหมจัดงานฌาปนกิจศพมารดาอย่างยิ่งใหญ่ที่วัดไชยวัฒนารามมีขุนนางไปชุมนุมกันพร้อมหน้านั้น ก็เพื่อจะยกกำลังเข้ามาชิงราชสมบัติยุวกษัตริย์จึงรับสั่งเตรียมพร้อมจัดคนขึ้นประจำป้อม เมื่อมีคนส่งข่าวไปถึงเจ้าพระยากลาโหมในงานจึงเป็นโอกาสให้เจ้าพระยากลาโหมบอกกล่าวให้ข้าราชการทั้งหลายเห็นว่าอุตส่าห์รับราชการสนองพระเดชพระคุณถึงขั้นนี้ก็ยังไม่มีความไว้ใจกลายเป็นโทษไหนๆจะต้องร่วมชะตากรรมเป็นกบฏด้วยกันแล้ว จึงยกกำลังเข้ามาจับสมเด็จพระเชษฐาสำเร็จโทษได้สำเร็จ

    แม้ราชบัลลังก์มาถึงมือเอื้อม แต่เจ้าพระยากลาโหมก็ยังไม่ผลีผลามแสดงให้คนทั้งหลายเห็นว่าไม่ได้มักใหญ่ใฝ่สูง จึงอัญเชิญ พระอาทิตยวงศ์ ราชโอรสพระองค์ที่ ๓ของพระเจ้าทรงธรรม ขึ้นครองราชย์ขณะพระชนมายุเพียง ๙ พรรษาแต่ด้วยทรงพระเยาว์เกินกว่าจะว่าราชการได้ จึงทรงสนุกตามประสาเด็กไปวันๆมหาดเล็กต้องคอยนำเครื่องเสวยตามเสด็จอยู่ตลอด ผ่านไปเพียง ๖ เดือนเหล่ามุขมนตรีทั้งหลายก็เห็นพร้อมกันว่าควรถอดพระอาทิตย์วงศ์ออกถวายราชสมบัติให้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จะเหมาะกว่าด้วยเหตุนี้เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์จึงขึ้นครองราชย์ในพระนาม พระเจ้าปราสาททอง
    แม้จะถูกปลดจากกษัตริย์แล้วพระเจ้าปราสาททองก็ยังทรงปราณีให้พระอาทิตย์วงศ์ประทับอยู่ในพระราชวังต่อไป

    แต่ในวันหนึ่งขณะที่พระเจ้าปราสาททองเสด็จไปนมัสการพระศรีสรรเพชญดาญาณทอดพระเนตรเห็นพระอาทิตย์วงศ์ขึ้นไปนั่งบนกำแพงแก้ว จึงชี้พระหัตถ์ตรัสว่า “อาทิตยวงศ์องอาจมิได้ลงจากกำแพงแก้วให้ต่ำ” จึงให้ลดพระยศไปอยู่เรือนเสาไม้ไผ่ ๒ ห้องข้างวัดมีคนคอยหุงข้าวตักน้ำรับใช้เพียง ๒ คน
    พระอาทิตย์ยามนั้นพระชนม์ก็เพิ่ง ๑๓ พรรษา แต่ก็คงรับรู้ได้ถึงความเจ็บช้ำในพระทัยทรงทนความขมขื่นต่อมาอีก ๔ ปี จึงคบคิดกับขุนนางที่ถูกออกจากราชการ รวมสมัครพรรคพวกได้ราว
    ๒๐๐ คน บุกเข้าพระราชวัง พระเจ้าปราสาททองต้องเสด็จหนีลงเรือแต่พอทรงตั้งหลักได้จึงให้ขุนนางเข้าต่อสู้ และจับพระอาทิตย์ไปสำเร็จโทษ เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์สุโขทัย

    ราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์ปราสาททอง ซึ่งที่แท้ก็คือโอรสลับของสมเด็จพระเอกาทศรถนั่นเอง
    มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์นี้ต่อมาอีก ๓ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชยซึ่งพระราชบิดามอบพระขรรค์ชัยศรีให้ก่อนสวรรคตเพียง ๓ วัน แต่ครองราชย์ได้เพียง ๙ เดือนก็ถูกพระศรีสุธรรมราชา พระอนุชาของพระเจ้าปราสาททอง ร่วมกับพระนารายณ์ พระอนุชาต่างพระมารดาสมคบกันชิงราชบัลลังก์ แต่สมเด็จพระศรีสุธรรมราชาครองราชย์ได้ ๒ เดือน ๒๐ วัน ก็ถูกพระนารายณ์ซึ่งเป็นวังหน้า ชิงราชสมบัติจับสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาสำเร็จโทษ

    สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ปราสาททองราชวงศ์ใหม่ และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ก็คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวงซึ่งมาจากชื่อหมู่บ้านในเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของสมเด็จพระเพทราชาและมีกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ ๖ พระองค์ คือ
    1. สมเด็จพระเพทราชา
    2. พระเจ้าสุริเยนทราธิบดี หรือ พระเจ้าเสือ
    3. พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
    4. พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
    5. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ ขุนหลวงหาวัด
    6. สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ พระเจ้าเอกทัศน์

    ราชวงศ์นี้แม้จะครองราชย์ยาวนานถึง ๘๐ ปี แต่บ้านเมืองก็ไม่ได้สงบร่มเย็นมีความขัดแย้งกันภายในราชวงศ์มาตลอด พระเจ้าเสือ ซึ่งก็คือพระราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ทรงยกให้เป็นลูกเลี้ยงของพระเพทราชา ก็ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่โหดร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์และเข่นฆ่าคนที่จะมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ต่อจากพระเพทราชา

    พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระกับเจ้าฟ้าพร พระอนุชาที่ทรงตั้งเป็นวังหน้า ต่างเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ
    ต่อมาก็มีเรื่องขัดแย้งกันเมื่อพระเจ้าท้ายสระได้แต่งตั้งพระราชโอรสเป็นรัชทายาท แต่เจ้าฟ้าพร
    ซึ่งเป็นมหาอุปราชไม่ยอม พระเจ้าอากับพระเจ้าหลานต้องรบกันเป็นปี

    ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็ย่อยยับไปพร้อมกับราชวงศ์บ้านพลูหลวง เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
    หรืออดีตเจ้าฟ้าพร ทรงมอบราชสมบัติให้พระเจ้าอุทุมพร ราชโอรสองค์รอง และให้เจ้าฟ้าเอกทัศน์
    พระราชโอรสองค์โตผนวช ตัดปัญหาการเป็นรัชทายาท เพราะทรงเห็นว่าไร้ทั้งสติปัญญาและความเพียร

    แต่เมื่อพระราชบิดาประชวร เจ้าฟ้าเอกทัศน์ได้สึกออกมาเตรียมขึ้นครองราชย์และขึ้นครองพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ที่ประทับของกษัตริย์ฝ่ายพระเจ้าอุทุมพรก็เห็นแก่วงศาคณาญาติมากกว่าประเทศชาติ ทรงสละราชบัลลังก์ที่ครองราชย์มาได้เพียง๑๐ วันไปผนวช ได้สมญาว่า “ขุนหลวงหาวัด” ให้พระเชษฐาขึ้นครองราชย์แทนสมอยากจนเป็นความย่อยยับของกรุงศรีอยุธยาราชวงศ์กรุงธนบุรี เป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นเพียง ๑๔ ปี ๙๙ วัน จึงสิ้นสุดราชวงศ์และเมืองหลวงแห่งนี้ในช่วงระยะเวลาอันสั้นนี้
    ยังเป็นช่วงลำบากยากเข็นของประเทศไทยที่ต้องฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นใหม่หลังเสียกรุงและแตกเป็นก๊กเป็นเหล่า แต่เมื่อมีผู้นำที่เข้มแข็งก็สามารถขยายพระราชอาณาจักรได้กว้างใหญ่ไพศาล
    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราชวงศ์จักรีครองราชย์ติดต่อกันมา ๑๐ รัชกาล เป็นเวลา ๒๓๗ ปี

    นับเป็นช่วงเวลาที่มั่งคงและสงบสุขที่สุดของประเทศไทยไม่เคยมีอริราชศัตรูรายใดเข้ามาเหยียบถึงชานพระนครได้ประเทศชาติมั่นคงและก้าวเข้าสู่ความรุ่งเรืองเป็นระยะกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงทำหน้าที่ประมุขของชาติอย่างน่าสรรเสริญทรงนำประเทศก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก แม้ในยุคที่ลัทธิล่าอาณานิคมโหมเข้ามาในเอเชียก็ยังทรงนำประเทศฝ่ารอดไปได้ด้วยพระวิริยะอุตสาหะและกุศโลบายที่ล้ำเลิศ ส่วนการเปลี่ยนรัชกาลแม้จะเป็นการสืบทอดโดยทางสายเลือด ไม่ใช่การเลือกตั้ง ก็ไม่มีการช่วงชิงอำนาจแม้แต่ครั้งเดียวทั้งส่วนใหญ่ยังทรงมอบอำนาจให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการปรึกษาหารือกันเพื่อหาผู้เหมาะสมที่สุดสำหรับการเป็นผู้นำประเทศ

    ประเทศไทยจึงร่มเย็นเป็นสุข และเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาได้ถึงวันนี้ นับเป็นบุญของประชาชนคนไทยที่มีราชวงศ์จักรี

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000034122
     

แชร์หน้านี้

Loading...