‘พระธาตุ 9 ชั้น’ มิติศิลป์ซ้อนธรรม ณ วัดหนองแวงขอนแก่น

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 24 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    จุดศูนย์รวมศรัทธา ที่หล่อเลี้ยงจิตใจ ความงดด้านศิลปะ และธรรมะ ครบที่เดียว ณ พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน วัดหนองแวงพระอารามหลวง จ.ขอนแก่น

    เมืองเสียงแคนดอกคูณที่ไหนน่าเที่ยว? หากกล่าวถึงสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่น ที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นหูนั้น ก็คงจะเป็น พระธาตุขามแก่น เขื่อนอุบลรัตน์ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง หมู่บ้านงูจงอาง สวนสัตว์เขาสวนกวาง และในอีกหลายๆชื่อ

    95e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b.jpg

    ในความหลากหลายและความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยว จึงทำให้บางท่านไม่รู้จักและยังไม่เคยไปเที่ยวที่วัดหนองแวงพระอารามหลวง ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้คือ “พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “พระธาตุ 9 ชั้น” สถานที่แห่งนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ความงดงาม แต่ยังมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-1.jpg

    อยากจะเที่ยววัดหนองแวง ขอนแก่น : การเดินทางที่แสนจะง่ายดาย

    การเดินทางในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน แต่มันคือการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ไปสู่เส้นทางบุญและความสงบสุข สนองความจรรโลงใจ อันเป็นเรื่องที่ต้องนำเสนอ

    วัดหนองแวง พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลข 593 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ฝั่งทิศตะวันตกจะติดกับถนนกลางเมือง ส่วนทางด้านทิศตะวันออกจะติดกับบึงแก่นนคร การเดินทางมายังวัดหนองแวงสะดวกทั้งรถยนต์ส่วนตัว และการนั่งรถประจำทาง สำหรับผู้ที่นั่งรถประจำทางให้ลงที่ บขส.ขอนแก่น (เก่า) แล้วต่อรถสาย 8 คันสีฟ้า ก็จะพาท่านมาถึงวัดหนองแวงได้อย่างง่ายดาย

    พระธาตุ 9 ชั้นอันงดงาม : เด่นตระหง่านอยู่เบื้องหน้าแล้ว

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-2.jpg

    ด้วยความประณีตของศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานตากแห (หอไอเฟลอีสาน) ฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 50 เมตร สูง 80 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์ จำลองแบบมาจากพระธาตุขามแก่น งดงามตั้งอยู่อย่างเด่นสง่า โดยรอบมีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ บางท่านที่ไม่เคยมาจะสับสนว่าพระธาตุ 9 ชั้นแห่งนี้เป็นที่เดียวกันกับพระธาตุขามแก่น ด้วยชื่อเสียงที่โด่งดังเหมือนกันชื่อคล้ายกัน จึงทำให้สับสน แต่ในการเที่ยวครั้งนี้จะทำให้ท่านทั้งหลายกระจ่างอย่างแน่แท้
    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-3.jpg

    พระมหาธาตุแห่งนี้สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แห่งรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี ของเมืองขอนแก่น ส่วนวัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ทั้งนี้วัดหนองแวงยังเคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-4.jpg

    ด้วยความลงตัวของการออกแบบและก่อสร้างถือเป็นเสน่ห์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างหลงใหล และพูดถึงเสมอเมื่อเดินจากสถานที่แห่งนี้ไป

    พระอัฐิพระสัมมาฯ : สู่ศรัทธามหาชน

    พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน เป็นที่ประดิษฐานของประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) ที่สมเด็จพระสังฆราชวัดราชบพิธฯ ประทานให้ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2528 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนก็เริ่มหลั่งไหลมานมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ในช่วงแรกผู้คนไม่ค่อยมีมากนัก เพราะเพิ่งเปิดให้เข้าชม แต่ในช่วงหลังๆมีการประชาสัมพันธ์ที่ดีขึ้น การติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย และได้รับการสนับสนุนจาก ททท. ทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักและมาเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปีๆ

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-5.jpg
    ภาพพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าชั้นที่ 1

    สิ่งที่โน้มน้าวจิตใจของนักท่องเที่ยวที่อยู่ในภูมิภาคอื่นๆให้มา ณ สถานที่นี้คือ “พระบรมสารีริกธาตุ” และนั่นคือ ความมุ่งหวังของการเดินทาง ส่วนความงดงามนั้นถือว่าเป็นกำไรชีวิต

    173 ขั้น : มิติทางธรรมที่ได้สัมผัสได้ทุกก้าวเดิน

    หลังจากพาท่านชมความงามด้านนอกแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะเข้าไปข้างในกัน สำหรับผู้สูงอายุไม่ต้องหนักใจเลยนะครับว่าจะขึ้นไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุบนชั้น 9 ได้อย่างไร

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-6.jpg

    ภาพพระสารีริกธาตุของพระอัครสาวก

    ทางวัดได้จัดไว้ให้สาธุชนถึง 2 ชั้น คือชั้นแรก และชั้นสุดท้าย ด้วยเหตุที่ผู้สูงอายุไม่อาจสามารถขึ้นไปชั้นสูงสุดได้ ทางวัดได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ชั้นล่างให้ได้ชม ส่วนท่านที่แข็งแรงหากพร้อมแล้วก็ไปกันเลย!

    บันไดตั้งแต่ขั้นที่ 1 จนถึงขั้นที่ 173 จะพาท่านขึ้นมุ่งสู่ชั้น 9 แต่กว่าจะถึงชั้นสูงสุดนั้น ท่านจะได้ชมศิลปะความงดงามที่ประณีตที่อยู่ภายใน ซึ่งเป็นเสมือนสวรรค์บนดินไม่ผิดจากคำร่ำลือ ด้วยความงามที่ผสมผสานอยู่ระหว่างความศักดิ์สิทธิ์ และความศรัทธา จะทำให้ความรู้สึกของเราอิ่มเอมใจ พึงพอใจ และมีความสุขประดุจได้ตัดจากโลกภายนอกที่วุ่นวาย และมิติทางธรรมที่แฝงไว้แต่ละชั้นมีดังนี้

    ชั้นที่ 1 เป็นหอประชุม เหตุที่เรียกอย่างนี้เพราะไม่ว่าจะเป็นงานในส่วนของวัด หรือ ส่วนของราชการ ก็จะใช้พื้นที่ในส่วนนี้ในการจัดงานเป็นหลัก ส่วนความสำคัญแท้จริงของชั้นนี้คือมีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และพระสารีริกธาตุของพระอัครสาวกประมาณ 100 องค์ ประดิษฐานอยู่มณฑปใจกลางขององค์พระธาตุ บานประตู หน้าต่าง แกะสลักภาพนิทานเรื่องจำปาสี่ต้น แบบ 3 มิติ และมีจิตรกรรมฝาผนังประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น ของดีเมืองขอนแก่น ฮีตสิบสองครองสิบสี่ของชาวอีสาน เพียงแค่ชั้นที่ 1 ก็สามารถทำให้ท่านมีความสุขและสร้างรอยยิ้มได้แล้ว

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-7.jpg

    ภาพ ลายเทพพนมปีกค้างคาว ลวดลายดอกโบตั๋น

    ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งมีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้อห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า “คะลำ” ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ (“คะลำ” คือสิ่งที่ไม่ควรทำ) ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-8.jpg

    ภาพ คำสอนคนอีสานและลายดาวล้อมเดือน

    บานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์ และภาพแกะสลักนิทานเรื่องสังศิลป์ชัย ในชั้นที่สองนี้ผมแนะนำว่าให้ท่านเดินช้าๆ สังเกตให้รอบด้าน เพราะเป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวอีสานสมัยโบราณ บางท่านอาจมาจากภาคอื่นซึ่งอาจจะยังไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน ซึ่งของแต่ละชิ้นนั้นมีอายุหลายชั่วคนแล้ว โดยทางวัดรับมาจากผู้มีจิตศรัทธาที่นำมาถวายไว้ให้ลูกหลานได้ชม

    ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติบานประตู หน้าต่าง เขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร พัดยศ ที่เกี่ยวกับยศต่าง ๆ ของพระสงฆ์อีกด้วย

    ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ของเก่า ภาพวาดที่บานประตู หน้าต่าง เป็นภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ สำหรับท่านที่อยากกราบไหว้พระประจำวันเกิดของตนก็เป็นโอกาสดีแล้วครับ ชั้นนี้จะเป็นวัตถุโบราณที่นำมาจากประเทศลาว เนื่องจากเศรษฐีเมืองลาวสมัยโบราณมีความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา จึงเก็บของศักดิ์สิทธิ์ไว้เป็นจำนวนมาก ลูกหลานที่เจริญตามรอยมาเห็นสมควรจะเป็นของคู่วัด จึงได้นำมาถวายไว้ ณ วัดหนองแวง ด้วยความเก่าแก่และมีมูลค่ามากทางวัดจึงทำตู้กระจกขนาดใหญ่ไว้ป้องกันความเสียหาย

    e0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-9.jpg

    ภาพ คันทวยเทพพนม

    ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัด
    รูปที่ 6 บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก ความสำคัญของชั้นนี้คือการได้กราบไหว้อัฐบริขารของหลวงปู่ ซึ่งคนที่อยู่ละแวกนี้ต่างเคารพและศรัทธาท่านมาก สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่เคร่งวินัย รักษาศีลอย่างไม่มีข้อบกพร่อง และยังเป็นพระนักพัฒนาที่เริ่มสร้างชื่อเสียงให้กับวัดหนองแวง

    ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัดหนองแวงตังแต่อดีตสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เป็นชั้นหนึ่งที่มีความน่าสนใจมาก เพราะไม่เพียงแค่การก้มกราบพระเฉยๆ แต่ท่านยังจะได้รับชมความงามบานประตูหน้าต่างที่แกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร

    ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก (นักท่องเที่ยวที่มามักล้อกันว่า “ถึงแล้ว..สวรรค์ชั้น 7”) มีระฆังให้ตีเสริมความสิริมงคลด้วย บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตย์มีใบ้ ชั้นนี้จะเหมาะสำหรับการนั่งพักชมวิว เพราะเป็นชั้นที่ไม่แคบเกินไปเหมือนอีก 2 ชั้นข้างต่อจากนี้

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-10.jpg

    ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา พระไตรปิฎก บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น ในชั้นนี้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมากนัก เพราะต่างมุ่งสู่ชั้นเก้าซึ่งเป็นชั้นสูงสุด

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-11.jpg

    ภาพพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าชั้นที่ 9

    ชั้นที่ 9 บันได 173 ขั้นพาท่านขึ้นมาถึงชั้นสูงสุดแล้ว ความสำคัญเป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และ “ความศรัทธา” นี่ล่ะครับคือสิ่งที่นำพามาเรามาสู่จุดหมาย เป็นมหาบุญกุศลอย่างยิ่งที่ท่านได้มีโอกาสมา ว่ากันว่า “ใครมาขอนแก่น หากมาไม่ถึงวัดหนองแวงและพระธาตุชั้น 9 เท่ากับว่ามาไม่ถึงขอนแก่น” นั่นล่ะคืออีกเหตุผลของหนุ่ม-สาวที่ยังพอมีแรงต้องขึ้นมาให้ถึง

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-12.jpg

    ภาพพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าชั้นที่ 9

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-13.jpg

    ภาพบึงแก่นนคร

    ฤดูกาลทำบุญ : อบอุ่นใจที่ได้มา

    หากท่านใดมีโอกาสมาทำบุญที่วัดหนองแวงบ่อยครั้ง ก็จะได้มีโอกาสทำบุญเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งที่นี่จะจัดขึ้นทุกปี เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา เป็นต้น ในวันสำคัญอย่างนี้ทางวัดจะมีกิจกรรมให้สาสนิกชนร่วมทำบุญ ตั้งแต่เช้าถึงดึก เพราะปกติพระมหาธาตุแห่งนี้จะเปิดให้สาธุชนเข้านมัสการในเวลา 07.00 – 18.00 น.ของทุกๆวัน (ไม่มีวันหยุด)

    ในวันสำคัญอย่างนี้จะเป็นค่ำคืนที่สวยงามมาก เนื่องจากทางวัดจะเปิดไฟรอบพระมหาธาตุทุกดวงไม่เหมือนเช่นวันธรรมดา ที่จะเปิดเพียงสี่มุมเท่านั้น

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-14.jpg

    ภาพพระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน ตอนกลางคืน เปิดไฟทุกดวง

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-15.jpg

    พระมหาธาตุแก่นนครอนุสรณ์สาธุชน ตอนกลางคืน เปิดไฟ 4 มีมุม

    กิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของที่นี่จะเริ่มตั้งแต่เช้าตู่ โดยพระสงฆ์จะรวมตัวกันในเวลา 05.00 น. เพื่อสวดมนต์และให้ศีลให้พร และหากท่านมาสายก็จะพลาดจากการรับน้ำมนต์และตักบาตร ซึ่งถือเป็นบุญมหากุศลตั้งแต่เริ่มแรกของวัน ในเวลาประมาณ 07.00 น. พระธรรมวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวงพระอารามหลวง จะนำพระลูกวัดออกรับบิณฑบาต รอบพระมหาธาตุซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้ทุกปี

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-16.jpg

    ตักบาตร 108

    หากท่านคลาดจากการตักบาตรในช่วงเช้าก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะยังสมารถทำบุญอื่นๆได้ เช่น ถวายสังฆทาน ตักบาตร 108 หรือร่วมสวดมนต์กับพ่อขาวแม่ขาว และร่วมเวียนเทียนตอนเย็นได้อีกด้วย

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-17.jpg

    ภาพ พระธรรมวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแวงพระอารามหลวง

    บึงบอนขอนแก่น : อีกมุมที่ไม่ควรพลาดหากได้มาถึงวัดหนองแวง

    ยามเย็นริมบึงแก่นนคร หรืออีกชื่อใน ‘บึงเมืองเก่า- บึงบอนขอนแก่น’ เป็นสถานที่ออกกำลังกายของคนขอนแก่น ทั้งออกสเต็ปเต้นแอโรบิค เตะฟุตบอล หรือจะวิ่งรอบบึง ส่วนใครเป็นสายกิน ที่นี่ก็มีตลาดนัดริมน้ำให้อิ่มท้อง หลากลายเมนู ทั้งของคาว และของหวาน เรียกได้ว่าอิ่มทั้งท้อง สุขทั้งกาย สุขทั้งใจ ได้ทั้งบุญ จากวัดและบึงแห่งเมืองขอนแก่น

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-18.jpg

    0b8b8-9-e0b88ae0b8b1e0b989e0b899-e0b8a1e0b8b4e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b4e0b8a5e0b89be0b98ce0b88b-19.jpg

    ภาพบึงแก่นนครและพระธาตุ 9 ชั้น ยามเย็น

    สนับสนุนการท่องเที่ยวและเดินทาง โดย : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

    เรียบเรียงโดย : ปิยะณัฐ เทียงเป

    ขอขอบคุณที่มา
    https://news.voicetv.co.th/thailand/534451.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...