‘ระทึก!’ใช่แค่สึนามิ ‘ธรณีสั่นไหว’ รุกคืบไทย‘น่ากลัว?

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 14 เมษายน 2012.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    ‘ระทึก!’ใช่แค่สึนามิ ‘ธรณีสั่นไหว’ รุกคืบไทย‘น่ากลัว?

    วันเสาร์ที่ 14 เมษายน 2555 เวลา 00:00 น.

    [​IMG]
    <!-- /.images-list-items -->
    <!-- /.images-list-container -->
    <!-- /.images-list-wrapper -->

    <!-- /.featured-img -->

    เป็นโชคดีมาก ๆ อีกครั้งสำหรับประเทศไทย และอีกหลาย ๆ ประเทศ ที่เหตุแผ่นดินไหวใต้ทะเลบริเวณหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ไม่เกิด “สึนามิ” ระดับรุนแรงเหมือนเมื่อปี 2547 ซึ่งสึนามิครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากมายกว่า 2.3 แสนคน เฉพาะในไทย...เท่าที่ยืนยันได้ก็กว่า 5,000 คน

    สำหรับคนไทย ’สึนามิ“ เป็นสิ่งไม่ไกลตัวอีกต่อไป

    และที่อาจต้องกลัวจริงจังด้วยคือ ’แผ่นดินไหว??“

    คลื่นยักษ์สึนามินั้นจะเกิดขึ้นและทำอันตรายผู้คนได้ ก็ต่อเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะที่ทำให้เกิดสึนามิ ในขณะที่ แผ่นดินไหวนั้นถึงจะไม่ทำให้เกิดสึนามิแต่ก็ทำอันตรายผู้คนได้ ซึ่งกับแผ่นดินไหวที่เกิดที่อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นในระดับเกิน 8 ริคเตอร์ 2 ครั้ง ก็ ส่งแรงเขย่ามาถึงในไทย!!

    ทั้งนี้ กับแผ่นดินไหวที่เกิดที่อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา มีนักวิชาการบางส่วนชี้ว่า ’น่าสังเกต“ โดยการไหวในระดับเกินกว่า 8 ริคเตอร์ ซ้อน ๆ กัน 2 ครั้งในบริเวณเดียวกันนั้น ครั้งที่ 2 อาจจะมิใช่อาฟเตอร์ช็อก? แต่การไหวทั้ง 2 ครั้งนั้นอาจจะเป็น “ดับเบิลช็อก” ก็ได้? เพราะทั้ง 2 ครั้งมีระดับความรุนแรงใกล้เคียงกัน เพราะครั้งที่ 2 ความรุนแรงไม่ได้น้อยกว่าครั้งที่ 1 เกิน 1 ริคเตอร์ แบบอาฟเตอร์ช็อกทั่ว ๆ ไป

    อย่างไรก็ตาม หากจะว่ากันถึงประเด็น ความน่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทย-คนไทย ในส่วนของ “แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว” โดยตรง ไม่นับรวมกรณีสึนามิ กับผลจากแผ่นดินไหวรุนแรงในอินโดนีเซียโดยตรงก็อาจไม่เท่าไหร่ ที่น่าคิดก็คือ “ผลต่อเนื่องทำให้แรงในจุดอื่น” ซึ่งมีนักวิชาการบางส่วนจับจ้องที่ ’รอยเลื่อนเปลือกโลกที่สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ที่อยู่ในเขตประเทศพม่า“ ประเทศที่อยู่ ’ติดไทย“

    มีการจับจ้องว่า แผ่นดินไหวรุนแรงเกิน 8 ริคเตอร์ ที่เกิดในอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา 2 ครั้งซ้อน จะส่งผลต่อเนื่องอะไรกับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวในพม่าที่อยู่ติดกับไทย หรือไม่??

    และอาจต้องจับจ้อง “รอยเลื่อนในไทย” ด้วย??

    สำหรับคนที่สนใจติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ก็คงจะพอทราบ ๆ กันแล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยสนใจข่าวคราวด้านนี้ ก็อาจจะไม่ทราบว่า... ระยะหลัง ๆ ในเขตประเทศพม่า ที่อยู่ใกล้ชิดติดกับไทยมากกว่าอินโดนีเซียเยอะ ก็เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อย!! ทั้งในช่วงตั้งแต่ก่อนวันที่ 11 เม.ย. 2555 และรวมถึงในวันที่ 11 เม.ย. 2555 วันที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในอินโดนีเซียซึ่งในไทยก็โกลาหล

    กล่าวคือ... 11 เม.ย. 2555 เวลา 10.49 น. เกิดแผ่นดินไหวบนบกในพม่า ขนาด 4.1 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ 102 กม. ห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน แต่ไม่มีรายงานผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนในไทย จึงไม่เป็นข่าวดังเหมือนกรณีอินโดนีเซีย, 10 เม.ย. 2555 เวลา 16.24 น. เกิดแผ่นดินไหวบนบกในพม่า 3.6 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ 58 กม. ห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน และ
    วันที่ 10 เม.ย. 2555 เช่นกัน เวลา 15.29 น. ก็เกิดแผ่นดินไหวบนบกในพม่า ขนาด 4.6 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ 39 กม. ห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งทั้ง 2 ครั้งก็ไม่มีรายงานผลกระทบต่อไทย

    26 มี.ค. 2555 เวลา 22.31 น. เกิดแผ่นดินไหวบนบกในพม่า 3.1 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ 164 กม. ห่างจาก อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน, 15 มี.ค. 2555 เวลา 18.26 น. เกิดแผ่นดินไหวบนบกบริเวณพรมแดนพม่า-จีน 4.7 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ 426 กม. ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย, 14 มี.ค. 2555 เวลา 22.40 น. เกิดแผ่นดินไหวบนบกในพม่า 4.4 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ 540 กม. ห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน, 6 มี.ค. 2555 เวลา 20.37 น. ก็เกิดแผ่นดินไหวบนบกในพม่า 3.0 ริคเตอร์ ศูนย์กลางอยู่ที่ 165 กม. ห่างจาก อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ทั้งนี้ แต่ละครั้งไม่มีรายงานผลกระทบรุนแรงต่อไทย

    ตามมาตราริคเตอร์ จากข้อมูลของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา กับแผ่นดินไหว 3 ริคเตอร์เศษ ๆ ถึง 4 ริคเตอร์ปลาย ๆ ก็ถือว่าอยู่ในระดับ เบามาก ถึง เบา ซึ่งมีผลแค่ คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ บางครั้งสร้างความเสียหายได้บ้าง ถึง ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง ซึ่งเคยเกิดขึ้นทั่วโลกปีละประมาณ 49,000 ครั้ง ถึง 6,200 ครั้ง ยังไม่ถึงขั้น ปานกลาง ช่วง 5.0-5.9 ริคเตอร์ ที่เคยเกิดขึ้นทั่วโลกปีละประมาณ 800 ครั้ง ซึ่งผลคือ สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง

    ทั้งนี้ ณ ที่นี้มิใช่จะชี้ว่าแผ่นดินไหวในพม่าจะมีผลอะไรต่อไทย ที่สำคัญคือมิใช่จะชี้ว่าเขื่อนของไทยสุ่มเสี่ยง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยืนยันตลอดว่าไม่น่าเป็นห่วง โดย ณ ที่นี้เป็นแต่เพียงสะท้อนข้อมูลแผ่นดินไหวในพม่าจากข้อมูลในเว็บไซต์ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จากการที่มีนักวิชาการบางส่วนจับจ้องรอยเลื่อนเปลือกโลกในพม่า หลังการเกิดแผ่นดินไหวเกิน 8 ริคเตอร์ ซึ่งถือว่า รุนแรงมาก ในอินโดนีเซีย ในวันที่ 11 เม.ย. 2555

    ก็แค่สะท้อนว่า ’แผ่นดินไหวเกิดบ่อย ๆ อยู่ใกล้ ๆ ไทย“

    อย่าแตกตื่น...แต่ ’ระวังภัยแผ่นดินไหวไว้ด้วย“ ก็ดีนะ!!!!!.



    -----------
    ขอบคุณที่มา ::
    ‘ระทึก!’ใช่แค่สึนามิ ‘ธรณีสั่นไหว’ รุกคืบไทย‘น่ากลัว? | เดลินิวส์





    ----
     
  2. Aqua-ma-rine

    Aqua-ma-rine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    820
    ค่าพลัง:
    +1,242
    ปรากฎการณ์แผ่นดินถล่มของเกาะภูเขาไฟ จนทำให้เกิดคลื่นซูนามิขนาดยักษ์ เคยเกิดขึ้นในอดีต เก่ากว่าประวัติศาสตร์ของเรา

    จึงไม่มีมนุษย์คนไหน เคยเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวมาก่อน มีเพียงหลักฐานที่เชื่อถือได้ จากทางธรณีวิทยาเท่านั้น

    นักธรณีวิทยาพบว่า เกาะภูเขาไฟที่อาจจะมีการเกิดดินถล่มครั้งต่อไป อาจจะเป็นเกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะ Canary ตั้งอยู่นอกชายฝั่ง ของทวีปแอฟริกา เกาะดังกล่าวมีชื่อว่า La Palma ซึ่งมีภูเขาไฟชื่อว่า Cumbre Vieja ที่ยังไม่ดับและพร้อมจะปะทุ

    นักธรณีวิทยาคำนวนว่า การระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะนี้ จะทำให้ดินและหินนับล้านๆ ตัน ถล่มลงสู่มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว

    ซึ่งสามารถที่จะสร้างคลื่นยักษ์เมกกะซูนามิได้อย่างสบายๆ

    ปัญหาที่เหลือสำหรับนักวิทยาศาสตร์คือ เมื่อไหร่ภูเขาไฟดังกล่าว จึงจะปะทุขึ้นอีกครัง ซึ่งยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอน....

    http://palungjit.org/threads/@-เมก้าสึนามิ-and-ปริศนาแอตแลนติสล่ม-@.334973/
     
  3. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    13 รอยเลื่อน 22 จังหวัด เสี่ยงแผ่นดินไหว


    www.news.voicetv.co.th/thailand/7049.html


    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยรายงาน พบ 13 รอยเลื่อน ใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว

    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานให้ ครม.ทราบถึงพื้นที่มีรอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่ยังมีพลังพาดผ่านว่า มีจำนวน 13 รอยเลื่อน ในพื้นที่ 22 จังหวัด ซึ่งต้องเฝ้าระวังสถานการณ์เรื่องแผ่นดินไหว ได้แก่


    1.เชียงใหม่ 12 อำเภอ


    2. เชียงราย 11 อำเภอ


    3. แพร่ 7 อำเภอ


    4.แม่ฮ่องสอน 5 อำเภอ


    5. กำแพงเพชร 3 อำเภอ


    6. ตาก 7 อำเภอ


    7. น่าน 6 อำเภอ


    8. พะเยา 1 อำเภอ


    9.พิษณุโลก 2 อำเภอ


    10.ลำปาง 5 อำเภอ


    11.ลำพูน 3 อำเภอ


    12.อุตรดิตถ์ 4 อำเภอ


    13.กระบี่ 1 อำเภอ


    14.ชุมพร 4 อำเภอ


    15.พังงา 5 อำเภอ


    16.ระนอง 5 อำเภอ


    17.สุราษฎร์ธานี 9 อำเภอ


    18.กาญจนบุรี 7 อำเภอ


    19.ประจวบคีรีขันธ์ 4 อำเภอ


    20.สุพรรณบุรี 1 อำเภอ


    21.นครพนม 3 อำเภอ


    22.หนองคาย 2 อำเภอ


    รวม 106 อำเภอ 308 ตำบล และ1,406 หมู่บ้าน


    สำหรับ
    13 รอยเลื่อนในประเทศไทยประกอบด้วย

    1. "รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง" ครอบคลุม พื้นที่ จ.เชียงรายและเชียงใหม่

    2. "รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน" ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก

    3. "รอยเลื่อนเมย" ครอบคลุม จ.ตาก และกำแพงเพชร

    4. "รอยเลื่อนแม่ทา" ครอบคลุมจ.เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย

    5. "รอยเลื่อนเถิน" ครอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่

    6. "รอยเลื่อนพะเยา" ครอบคลุม จ. ลำปาง เชียงราย และพะเยา

    7. "รอยเลื่อนปัว" ครอบคลุม จ.น่าน

    8. "รอยเลื่อนอุตรดิตถ์" ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์

    9. "รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี

    10. "รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และอุทัยธานี

    11. "รอยเลื่อนท่าแขก" ครอบคลุม จ.หนองคาย และนครพนม

    12. "รอยเลื่อนระนอง" ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร ระนอง และพังงา

    13. "รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย" ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ธานีกระบี่ และพังงา

    http://www.waddeeja.com/index.php?la...e=2&No=1287906

     
  4. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    แผ่นดินไหวและรอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย

    <dd>แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดจาก เคลื่อนตัวโดยฉับ พลันของเปลือกโลกบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกที่แนวแผ่นดินไหว เพราะหินในชั้นหลอมละลายที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้รับความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางต่าง ๆ ที่มีการสะสมพลังงานไว้ เมื่อพลังงานมีมากจึงชนและเสียดสีกันหรือแยกออกจากกัน
    </dd> www.region3.prd.go.th/natural-disaster/journal4.php<dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>โดยการสะสมของพลังงานที่เปลือกโลกจะถูกส่งผ่านไปยังเปลือกพื้นโลกของทวีป รอยร้าวของหินใต้พื้นโลกเรียกว่า “รอยเลื่อน” และหากรอยเลื่อนที่มีอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกัน
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd> โดยรอยเลื่อนที่จะส่งผลให้เกิดผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา พม่า และรอยเลื่อนในประเทศพม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รอยเลื่อนภายในประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>โดยรอยเลื่อนที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมี ทั้งสิ้น 9 แห่ง เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนระนอง
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>1.รอยเลื่อนเชียงแสน วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนสุดของประเทศ มีความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย แล้วข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 3 ริคเตอร์ เกิดตามแนว รอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง และ 3 ครั้งมีขนาดใหญ่กว่า 4.5 ริคเตอร์และเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดในระดับตื้นกว่า 10 กิโลเมตร
    </dd><dt>
    </dt><dd>2. รอยเลื่อนแพร่ อยู่ทางด้านตะวันออกของแอ่งแพร่ และวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอ เด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>มีแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้กว่า 20 ครั้ง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนแผ่น ดินไหวขนาด 3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2533 ที่ผ่านมา เกิดตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งแยกจากรอยเลื่อนแพร่ไปทางทิศเหนือ
    </dd><dt>
    </dt><dd>3. รอยเลื่อนแม่ทา มีแนวเป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วอง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร
    </dd><dt>
    </dt><dd>4. รอยเลื่อนเถิน อยู่ทางทิศตะตกของรอยเลื่อนแพร่ โดยตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถิน จังหวัดลำปางไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือ ของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับรอยเลื่อนแพร่ ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชิ้น และอำเภอลอง จังหวัดแพร่ รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร เคยมีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์ บนรอยเลื่อนนี้ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2521
    </dd><dt>
    </dt><dd>5. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนไทยพม่า ด้านจังหวัดตาก บริเวณห้วยแม่ท้อ และลำน้ำปิงใต้ ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวม 250 กิโลเมตร
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>มีรายงานแผ่นดินไหวเกิดตามรอยเลื่อนนี้ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518 ที่ อำเภอ ท่าสองยาง จังหวัดตาก แผ่นดินไหวครั้งหลังนี้มีขนาด 5.6 ริคเตอร์
    </dd><dt>
    </dt><dd>6. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อยู่ทางด้านตะวันตกของรอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี โดยมีทิศทางเกือบขนานกับแนวของรอยเลื่อน อยู่ในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวกว่า 500 กิโลเมตร บริเวณนี้มีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายร้อยครั้ง ตามแนวรอยเลื่อนนี้ เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุด ขนาด 5.9 ริคเตอร์ เมื่อปี 2526
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>7. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนช่วงที่อยู่ในประเทศไทยยาวกว่า 250 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนนี้หลายพันครั้ง
    </dd><dt>
    </dt><dd>8. รอยเลื่อนระนองวางตัวตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์
    </dd><dt>
    </dt><dd>
    </dd><dd>9. รอยเลื่อนคลองมะรุยตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา และตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวม 150 กิโลเมตร บริเวณนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวในปี 2476 ที่จังหวัดพังงา และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกฝั่งภูเก็ต เมื่อปี 2519 และ 2542
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>

    เรียบเรียงโดย : ศรีสุข อาชา สขร.สปข.3
    ป้อนข้อมูลโดย :ส่วนข่าวและรายการภูมิภาค สปข.3
    ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd>
    </dd><dd></dd>
     

แชร์หน้านี้

Loading...