‘วัดสุทัศน์เทพวราราม’ แกนกลางของจักรวาล

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 มกราคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    วลีที่ติดปากคุ้นหูของคนที่รู้จัก “วัดสุทัศน์เทพวราราม” หรือ ต่อไปจะเรียกว่า วัดสุทัศน์ ก็คือ เรื่องของเปรตวัดสุทัศน์ ที่มักจะถูกกล่าวถึงและพ่วง กับประโยคที่ว่า แร้งวัดสระเกศ

    ชื่อเต็มๆ ของวัดสุทัศน์ ก็คือ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

    บานประตูพระวิหารของวัดสุทัศน์ จำหลักลายโดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในหลวงรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี

    0b897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98ce0b980e0b897e0b89ee0b8a7e0b8a3e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8a1-e0b981e0b881.jpg

    ในหลวงรัชกาลที่ 2 ไม่ได้ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านบทกวีเท่านั้น พระปรีชาสามารถในด้านศิลปะ และ สถาปัตยกรรม ยังงดงามยิ่ง

    พระประธานในวิหารที่วัดสุทัศน์ชื่อเดิมว่า “หลวงพ่อโต” รัชกาลที่ 4 พระราชทานนามใหม่ว่า “พระศรีศากยมุนี” เป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

    ความเก่าแก่ของพระศรีศากยมุนี สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ในยุคก่อน 25 พุทธศตวรรษอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ล่องแพมาตามน้ำเจ้าพระยา และมาขึ้นที่ท่าช้าง

    897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98ce0b980e0b897e0b89ee0b8a7e0b8a3e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8a1-e0b981e0b881-1.jpg

    วัดสุทัศน์ มีชื่อเดิม ว่า วัดมหาสุทธาวาส ตามพระราชประสงค์ของในหลวงรัชกาลที่ 1 แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 2 และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า สุทัศน์เทพวราราม

    พระอุโบสถของวัดสุทัศน์ มีความยาวที่สุดในประเทศไทยเมื่อเทียบกับวัดอื่นๆ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ คือ พระประธานที่ประดิษฐานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

    คงจำกันได้ถึงการประกอบพิธีเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อนำมาใช้งานพระราชพิธีราชาภิเษก เมื่อวันที่ 6 เมษายน ปีที่ผ่านมา ที่พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์ เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญนี้ โดยมีความเชื่อว่า สถานที่แห่งนี้ เป็นศูนย์กลางจักรวาลหรือ ศูนย์กลางพระนคร

    พระวิหารหลวงวัดสุทัศน์ เป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ ขนาดความกว้าง23.84 เมตร ความยาว 26.25 เมตร ฐานรากของวัดถูกวางในสมัยรัชกาลที่ 1 แล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งวัดในสมัยรัชกาลที่ 3

    ฝีมือช่างของวัดสุทัศน์ที่เป็นตัวอาคาร จึงเป็นฝีมือของช่างในรัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3

    897e0b8b1e0b8a8e0b899e0b98ce0b980e0b897e0b89ee0b8a7e0b8a3e0b8b2e0b8a3e0b8b2e0b8a1-e0b981e0b881-2.jpg

    งานฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 2 ลักษณะอาคารแบบประเพณีนิยม มีเสาย่อมุมไม้สิบสอง เสามีบัวประดับหัวเสาฯลฯ ส่วนฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นงานนิยมอาคารแบบจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เสาก็นิยมทำเป็นแท่งเหลี่ยม ไม่มีการย่อมุม ไม่มีบัวประดับหัวเสา

    ใครที่นึกภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไม่ได้ ต้องมาวัดสุทัศน์ เพราะงานศิลปกรรมที่นี่จำลองภาพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในจินตนาการออกมาได้งดงามยิ่งนัก

    พระระเบียงคดรอบวิหารแทนสัญญลักษณ์ของกำแพงจักรวาลที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ พระวิหารหลวงจึงเปรียบได้กับเขาพระสุเมรุ ที่เป็นแกนกลางของจักรวาล ศาลาประจำมุมทั้งสี่ทิศเหมือนทวีปทั้งสี่ ภาพจิตรกรรมในพระวิหารหลวงเป็นเรื่องราวของไตรภูมิ คือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และ นรกภูมิ

    ไปถึงวัดสุทัศน์ หลังกราบไหว้พระประธานแล้ว อย่าลืมไปกราบเทพอัปสรสุนทรีวาณี เทพนารีแห่งปัญญา ที่คนเชื่อและศรัทธาว่า ไหว้แล้วจะเกิดปัญญาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

    เมื่อมีปัญญาหลุดพ้นแล้ว โชคลาภก็จะตามมา

    อาทิตย์นี้ไปไหว้พระที่วัดสุทัศน์กันดีกว่า.
    ………………………………
    คอลัมน์ : ชำเลืองเมือง
    โดย “แรมทาง”
    ขอบคุณภาพประกอบจาก : @WatSuthatBangkok

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/754090
     

แชร์หน้านี้

Loading...