‘ในหลวง’ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์, วาดด้วยหัวใจ ‘สมาน คลังจัตุรัส’

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    28 กรกฎาคม 2564 | โดย วลัญช์ สุภากร / ลิขสิทธิ์ภาพ : หอศิลป์คลังจัตุรัส


    26

    “สมาน คลังจัตุรัส” ศิลปินมือวาดภาพบุคคลสำคัญ กับหัวใจขณะวาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ “ในหลวง” เพื่อประดิษฐาน ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์


    พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานภายในอาคารประธานของ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ซึ่งวาดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ

    ผู้วาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์คือ อาจารย์สมาน คลังจัตุรัส ศิลปินผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน ‘ปรมาจารย์สีน้ำมัน’ ของเมืองไทย

    สืบเนื่องในปี 2557 อาจารย์สมานได้รับคัดเลือกจาก ‘สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์’ ให้เป็นผู้วาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 เพื่อประดิษฐาน ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ซึ่งวาดเสร็จสมบูรณ์และประดิษฐานเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2560

    162738028693.jpg

    พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว, ศิลปิน : สมาน คลังจัตุรัส

    ต่อมาในปีพ.ศ. 2563 อาจารย์สมานก็ได้รับคัดเลือกอีกครั้งให้เป็นผู้วาด พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐาน ณ สถานที่เดียวกันนี้ อาจารย์สมานใช้ระยะเวลาวาด 1 ปีจึงแล้วเสร็จ และดำเนินการติดตั้งไปเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564

    162738010334.jpg

    สมาน คลังจัตุรัส ศิลปินสีน้ำมัน

    “สำหรับภาพต้นแบบนั้น สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์เป็นผู้กราบทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรื่องภาพต้นฉบับ ส่วนผมเตรียมเรื่องจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ มีการสั่งซื้อผ้าใบลินินและสีมาจากต่างประเทศ จัดทำโครงเฟรมไม้สักทอง และต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม เนื่องด้วยภาพมีขนาดใหญ่ ต้องจัดทำนั่งร้าน หารถไฮโดรลิค เพราะภาพมีขนาดกว้าง 2.40 เมตร สูง 3.40 เมตร” อาจารย์สมาน กล่าวถึงขั้นตอนการทำงาน

    อาจารย์สมานกล่าวว่า วัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดในการสร้างสรรค์ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ดีที่สุดของโลกใบนี้เท่าที่จะหามาได้ ได้แก่

    • โครงเฟรม: โครงเฟรมไม้สักทอง ขนาด 3 นิ้ว เนื่องจากต้องรับน้ำหนักของผ้าใบและสี
    • ผ้าใบ: ผ้าลินินออยล์พิเศษ เลือกใช้ผ้าลินินเพราะอายุการใช้งานและความคงทนนั้นมีอายุยาวนาน
    • พู่กัน : ต้องเหมาะกับผ้าใบที่ใช้
    • สีน้ำมัน: อาจารย์สมานเลือกใช้ Winsor Artist oil colors, Grumbacher Artist oil colors, Mussini Artist oil colors, Old Holland Artists Oil Colour ซึ่งเป็นสีที่มีคุณภาพ โดยเลือกใช้แต่ละสีที่มีลักษณะเด่นที่สุดของแต่ละยี่ห้อ ที่สามารถลงสีแล้วทำงานได้ดังใจ และมีการเคลือบภาพด้วย Picture Vanish

    887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b889e0b8b2e0b8a2e0b8b2e0b8aae0b8b2e0b897e0b8b4e0b8aa-2.jpg

    “ต้องวาดให้สามารถสื่อออกมาให้ได้ว่าสิ่งไหนเป็นสีเงินต้องให้ได้อารมณ์เป็นเงิน สิ่งไหนเป็นทองต้องให้ได้อารมณ์เป็นทอง” สมาน คลังจัตุรัส

    อาจารย์สมานกล่าวด้วยว่า การวาดภาพพระบรมวงศานุวงศ์ ต้องระวังในทุกเรื่อง โดยเฉพาะการวาดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ผู้วาดจะวาดเพิ่มเติมไม่ได้ ตัดออกก็ไม่ได้ ต้องวาดให้เกิดความสมบูรณ์ และครบถ้วน ถูกต้อง เรื่องสีก็เป็นเรื่องสำคัญ ต้องวาดให้สามารถสื่อออกมาให้ได้ว่า สิ่งไหนเป็นสีเงินต้องให้ได้อารมณ์เป็นเงิน สิ่งไหนเป็นทองต้องให้ได้อารมณ์เป็นทอง อะไรเป็นพรม หรือเป็นผ้าไหม ต้องวาดแล้วสื่อออกมาให้ได้ ให้คนดูภาพรู้สึกได้

    อาจารย์สมานเกิดที่จังหวัดชัยภูมิ ชีวิตการทำงานศิลปะเริ่มต้นจากการชอบเขียนรูป Portrait ตั้งแต่อายุ 14 ปี จนกระทั่งได้เข้ารับการศึกษาและฝึกฝนการวาดภาพในโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ พ.ศ.2510 สำเร็จประกาศนียบัตรวิชาชีพ แต่เนื่องจากครอบครัวไม่ค่อยมีฐานะ จึงไม่ได้เข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น

    อาจารย์สมานศึกษาค้นคว้าและฝึกฝนด้วยตัวเอง หาเทคนิควิธีโดยศึกษาจากภาพผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ ผลงานภาพวาดส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นคือภาพดอกกุหลาบและภาพเหมือนของบุคคลต่างๆ มาโดยตลอด

    887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b889e0b8b2e0b8a2e0b8b2e0b8aae0b8b2e0b897e0b8b4e0b8aa-3.jpg

    ความละเอียดของฝีมือพู่กัน ลายเส้นบนผืนผ้าใบราวของจริง

    อาจารย์สมานเริ่มเขียนภาพ ‘กุหลาบ’ จากการจ้างเขียนโดยชาวต่างชาติ และเขียนเรื่อยมาจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในนาม มิสเตอร์โรส (Mr.Rose) ด้วยภาพดอกกุหลาบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แสดงให้เห็นถึงความอ่อนหวานและนุ่มนวล เป็นผลงานที่สร้างชื่อ และหาโอกาสศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.2549

    ส่วนงาน Portrait ก็ยังคงสร้างงานมาตลอด ผลงาน Portrait ที่เป็นที่รู้จักและเป็นงานชิ้นใหญ่ที่สุดที่ได้ทำครั้งแรกคือเมื่อพ.ศ.2539 อุเทน เตชะไพบูลย์ เป็นผู้ว่าจ้างให้วาดภาพ “พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ขนาดกว้าง 3.5 เมตร สูง 5.5 เมตร เป็นภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานั้น ประดิษฐาน ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

    162738947651.jpg

    “อะไรเป็นพรม หรือเป็นผ้าไหม ต้องวาดแล้วสื่อออกมาให้ได้ ให้คนดูภาพรู้สึกได้” สมาน คลังจัตุร้ส

    ต่อมาจึงมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ติดต่อให้วาดภาพพระบรมวงศานุวงศ์เรื่อยมา ส่วนใหญ่เป็นผลงานที่มีขนาดใหญ่ ผลงานชิ้นสำคัญๆ ยกตัวอย่างได้แก่ ในปีพ.ศ.2546 ได้รับคัดเลือกจากธนาคารแห่งประเทศไทยให้เป็นผู้วาดภาพ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” เพื่อเป็น ต้นแบบธนบัตรเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการนำภาพวาดมาจัดพิมพ์เป็นธนบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย ปัจจุบันภาพดังกล่าวประดิษฐาน ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, กรุงเทพฯ

    887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b889e0b8b2e0b8a2e0b8b2e0b8aae0b8b2e0b897e0b8b4e0b8aa-5.jpg

    อ.สมาน คลังจัตุรัส เก็บรายละเอียดภาพเครื่องราชกกุธภัณฑ์

    ในปี พ.ศ.2549 ได้วาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ประดิษฐาน ณ วังบางขุนพรหม ธนาคารแห่งประเทศไทย

    ปี พ.ศ.2551 ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้วาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนาดภาพกว้าง 3.70 เมตร สูง 5.20 เมตร ประดิษฐาน ณ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

    พ.ศ.2554ได้รับใช้เบื้องพระยุคลบาท เข้าถวายการสอนการวาดภาพสีน้ำมันแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ณ วังเทเวศร์ ทรงโปรดในการวาดภาพทิวทัศน์ ทัศนียภาพที่สวยงามของสถานที่ที่เคยเสด็จ

    887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b889e0b8b2e0b8a2e0b8b2e0b8aae0b8b2e0b897e0b8b4e0b8aa-6.jpg

    วันติดตั้งพระบรมฉายาสาทิสล้กษณ์ ณ สถาบ้นการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

    887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b889e0b8b2e0b8a2e0b8b2e0b8aae0b8b2e0b897e0b8b4e0b8aa-8.jpg

    วันติดตั้งพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์

    0b887-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ae0b8a3e0b8a1e0b889e0b8b2e0b8a2e0b8b2e0b8aae0b8b2e0b897e0b8b4e0b8aa.png

    อ.สมาน คลังจัตุรัส ลงชื่อที่ด้านล่างของผลงานวินาทีสุดท้ายในวันติดตั้งพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์

    สำหรับการวาด พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อาจารย์สมานทุ่มเทและให้ความสำคัญสูงสุดเพื่อให้สมพระเกียรติอย่างที่สุด ทำหน้าที่ของศิลปินจนวินาทีสุดท้ายแล้วจึงลงนามที่มุมล่างของภาพก่อนอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ ตำแหน่งที่ได้รับการกำหนดไว้

    “เพราะภาพที่เรานำไปติดตั้ง ณ สถานที่จริง แสง เงา บรรยากาศจริงที่เกิดขึ้น เราอาจจะต้องไปวาดเพิ่มเติมบางอย่าง เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุดของภาพ อาจต้องเพิ่มแสง เพิ่มน้ำหนักเข้าไปในภาพ ณ สถานที่จริง ในวันที่ติดตั้ง เมื่อเราได้แต่งเติมจนมีความสมบูรณ์ที่สุดแล้ว เราจึงเซ็นชื่อลงไป ถือว่าภาพนั้นได้เสร็จสมบูรณ์”

    “ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบรมวงศานุวงศ์ของทุกพระองค์นั้น ล้วนวาดด้วยหัวใจที่น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ และเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีภายใต้ร่มพระบารมีของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐที่ทรงมีต่อเหล่าปวงชนชาวไทย” อาจารย์สมานกล่าวถึงความรู้สึกขณะทำงานวาดภาพที่เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์

    * * * * *

    หมายเหตุ : ต้องการภาพความละเอียดสูง กรุณาติดต่อ “หอศิลป์คลังจัตุรัส”

    Credit Photo : ยูทูป Saman Klangjaturat ผลงานอาจารย์สมาน คลังจัตุรัส



    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/951377
     

แชร์หน้านี้

Loading...