‘UN’ ทุ่มเงิน 6.5 หมื่นล้านช่วย 51 ประเทศสู้ไวรัส เตือนเสี่ยงโกลาหลทั่วโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 26 มีนาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    “สหประชาชาติ” ประกาศแผนงานด้าน “มนุษยธรรม” ทุ่มเงินทุน 6.5 หมื่นล้านบาท ช่วย 51 ประเทศเปราะบางต่อสู้ไวรัสโควิด-19 วอนรัฐบาลประเทศต่างๆ ช่วยหนุน ก่อนเกิดระบาดครั้งใหญ่ เสี่ยงโกลาหลทั่วโลก

    7e0b8b4e0b899-6-5-e0b8abe0b8a1e0b8b7e0b988e0b899e0b8a5e0b989e0b8b2e0b899e0b88ae0b988e0b8a7e0b8a2.jpg

    วานนี้ (25 มี.ค.) นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส (António Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ (United Nations:UN) แถลงผ่านวิดีโอทางออนไลน์ว่า ขณะนี้โรคโควิด–19 ได้คร่าชีวิตประชากรกว่า 16,000 คนทั่วโลก และมีรายงานผู้ติดเชื้อกว่า 400,000 ราย ไวรัสนี้ได้กระจายไปทั่วโลก และกำลังแพร่ไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งเผชิญวิกฤตด้านมนุษยธรรมอยู่ก่อนแล้ว อันเป็นผลมาจากการสู้รบ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ


    ดังนั้น UN จึงได้ประกาศ “แผนงานด้านมนุษยธรรม” เพื่อต่อสู้กับโรคโควิด-19 ในประเทศที่เปราะบาง 51 ประเทศ ในทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย เพื่อปกป้องประชากรหลายล้านคน และป้องกันไม่ให้ไวรัสนี้กระจายไปทั่วทั้งโลก โดยแผนงานนี้จะใช้เงินทุนราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 65,000 ล้านบาท

    0b8b4e0b899-6-5-e0b8abe0b8a1e0b8b7e0b988e0b899e0b8a5e0b989e0b8b2e0b899e0b88ae0b988e0b8a7e0b8a2-1.jpg

    แผนงานด้านมนุษยธรรมครั้งนี้ จะดำเนินงานโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับนานาชาติ และกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นผู้ปฏิบัติงานหลัก ซึ่งบทบาทดังกล่าว ได้แก่

    • การจัดส่งเครื่องมือและอุปกรณ์จำเป็นสำหรับห้องแล็บเพื่อใช้ตรวจหาเชื้อไวรัส ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย
    • การติดตั้งที่ล้างมือในค่ายผู้ลี้ภัยและศูนย์พักพิงชั่วคราว
    • การรณรงค์ให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันตนเองและผู้อื่นจากไวรัส
    • การจัดตั้งศูนย์และเส้นทางส่งความช่วยเหลือทางอากาศ ทั่วทวีปแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่และสิ่งของจำเป็นไปยังพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด

    “โรคโควิด-19 กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ ฉะนั้นพวกเราทุกคนต้องร่วมกันต่อสู้กับภัยครั้งนี้ การรับมือของประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงลำพังนั้นไม่เพียงพอ เราต้องให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอและเปราะบางที่สุด ซึ่งมีมากมายหลายล้านคนที่ไม่อาจปกป้องตนเองได้ นี่เป็นเรื่องมนุษยธรรมขั้นพื้นฐานและเป็นสิ่งจำเป็นในการรับมือกับไวรัส และนี่คือเวลาที่เราต้องยื่นมือไปช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะเปราะบาง” อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

    0b8b4e0b899-6-5-e0b8abe0b8a1e0b8b7e0b988e0b899e0b8a5e0b989e0b8b2e0b899e0b88ae0b988e0b8a7e0b8a2-2.jpg

    นายมาร์ค โลคอค รองเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า หากไม่ช่วยประเทศที่เปราะบางรับมือกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ประชากรหลายล้านคนอาจจะจะตกอยู่ในความเสี่ยง ทั่วภูมิภาคจะเกิดความโกลาหล และจะทำให้ไวรัสสามารถกลับมาแพร่ระบาดได้อีกทั่วทั้งโลก

    ในการแถลงข่าวผ่านวิดีโดครั้งนี้ UN ยังเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกสนับสนุนแผนงานนี้อย่างจริงจัง โดยยังคงสนับสนุนเงินทุนในแผนงานด้านมนุษยธรรมอื่น ๆ ที่กำลังดำเนินการอยู่ด้วย

    Add Friend Follow ขอบคุณที่มา
    https://www.thebangkokinsight.com/318429/
     

แชร์หน้านี้

Loading...