“กฐินสามัคคี” กับบางสิ่งที่ถูกลบเลือน ด้วยคติความเชื่อคนยุคใหม่

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 ตุลาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8aae0b8b2e0b8a1e0b8b1e0b884e0b884e0b8b5-e0b881e0b8b1e0b89ae0b89ae0b8b2e0b887e0b8aae0b8b4e0b988.jpg

    [embedded content]

    นครพนม – ระหว่างหลังวันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ก็จะย่างเข้าสู่ฤดูกาลทอดกฐินสามัคคี เป็นเวลา 30 วัน คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (วันตักบาตรเทโว) ไปจนถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12(วันลอยกระทง) จึงขอนำความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฐิน ที่มีอยู่ทั้งหมด 4 ความหมาย ดังนี้ 1.”กฐิน” หมายถึง กรอบไม้แม่แบบ(สะดึง) สำหรับทำจีวร และต้องการทำให้เสร็จภายในวันเดียวฯ 2.หมายถึง ผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐินฯ 3.หมายถึง สังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ ฯ และ 4.หมายถึง บุญกิริยาหรือที่เรียกว่ากฐินทาน คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งจนครบ 3 เดือนฯ จึงจะเห็นได้ว่าตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ออกเป็นประเภทต่างๆไว้แต่อย่างใด

    สำหรับมูลเหตุให้เกิดมีการทอดกฐิน และการทำจีวรของพระสงฆ์นั้น กล่าวไว้คือในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวเมืองปาฐา ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน 30 รูป มีความประสงค์จะเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี ก็พากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังกรุงสาวัตถี ปรากฏว่าพอมาถึงเมืองสาเกดก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี จึงต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่นตามพระวินัย ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทางไปเฝ้า ระหว่างทางเกิดฝนตกหนทางเป็นโคลนตม ต้องเดินบุกลุยโคลนไป ทำให้จีวรเปียกและเปื้อนไปด้วยโคลนตม กว่าจะมาถึงที่ประทับของพระพุทธเจ้า จีวรเหล่านั้นจึงหม่นหมองด้วยคราบโคลน พระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์หลังจำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว ให้ยับยั้งอยู่อีก 1 เดือน เพื่อรับกฐินเสียก่อน และเมื่อหมดเขตกฐินแล้ว การเดินทางก็จะสะดวกขึ้นเพราะฤดูฝนก็จะขาดหายไป จะได้ไม่ต้องลำบากในการเดินทาง และถนนหนทางก็แห้งสนิทไม่เปียกชื้นเหมือนฤดูฝน เมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ทราบพระพุทธานุญาตเช่นนั้น จึงได้จัดผ้ากฐินไปถวายพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จึงนับได้ว่านางเป็นคนแรกที่ได้ถวายผ้ากฐิน

    ต่อมาก็เกิดปัญหาขึ้น คือ ผ้าที่ทายกนำมาถวายนั้นไม่พอกับจำนวนพระภิกษุที่จำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้มีผ้าจีวรเก่ากว่าเพื่อน และฉลาดในพระธรรมวินัยเป็นผู้รับกฐิน และให้พระภิกษุนอกนั้นเป็นผู้อนุโมทนา ก็ได้อานิสงส์ในด้านพระวินัยเท่ากัน

    ส่วนที่เป็นมูลเหตุในการทำจีวรของพระภิกษุในช่วงเขตกฐิน เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ทรงทราบด้วยพระพุทธญาณว่า พระอนุรุทธะมีจีวรเก่าและขาดเกือบใช้ไม่ได้ ช่วงนั้นเป็นเวลาจวนจะสิ้นสุดกฐินกาลพอดี การแสวงหาผ้าเพื่อทำจีวรของพระอนุรุทธะเป็นด้วยความลำบาก

    ครั้นพระอนุรุทธะได้รับผ้าที่จะทำเป็นจีวรจากนางเทพธิดาผู้เคยเป็นภรรยาเก่าวางไว้เพื่อให้ท่านได้เห็นที่กองขยะ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จเป็นประธานในการทำจีวรโดยทรงช่วยสนเข็ม มีพระสงฆ์พร้อมทั้งอุบาสกอุบาสิกาได้ช่วยเหลืออย่างพร้อมเพรียงกัน และในการทำจีวรครั้งนี้ พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้แล้วเสร็จในวันนั้นก่อนอรุณขึ้น จากการร่วมกันทำดังกล่าว ทำให้จีวรของพระอนุรุทธะสำเร็จตามที่กำหนด

    และหลังพระพุทธเจ้ามีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ ก็จะได้รับอานิสงส์ 5 ประการคือ 1.เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา 2.ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ 3.ฉันคณะโภชน์ได้ 4.ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา และ 5.ลาภที่เกิดขึ้นให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้นซึ่งได้กรานกฐินแล้ว

    อานิสงส์ดังกล่าวทำให้เกิดความสะดวกแก่พระภิกษุมากขึ้น เพราะการยกเว้นพระวินัยบางข้อที่ทำให้เกิดความลำบากในการปฏิบัติ กล่าวคือ ถ้าอยู่คนเดียวบอกลาใครไม่ได้ ทำให้เดินทางออกจากวัดไม่ได้ การที่ต้องเอาจีวรไปให้ครบ ฉันอาหารล้อมวงกันเป็นหมู่คณะไม่ได้ เก็บจีวรสำรองไว้ไม่ได้ และหากมีภิกษุผู้อาวุโสกว่าก็จะไม่ได้รับลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น การได้รับอานิสงส์กฐินดังกล่าว จึงลดความลำบากในการปฏิบัติตามพระวินัยลง อนึ่ง พระภิกษุผู้ได้รับกฐินแล้ว จะได้รับอานิสงส์นี้เป็นเวลา 4 เดือน คือ จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

    ดังนั้น ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง ต่างจากในปัจจุบันที่มีผ้าจีวรสำเร็จรูปแล้ววางจำหน่ายในร้านสังฆภัณฑ์ทั่วๆไป การทำจีวรที่เกิดจากการใช้กรอบไม้แม่แบบจึงเลิกไป แต่การถวายผ้ากฐินก็ต้องรักษาความหมายเดิมไว้ จึงนิยมถวายผ้าขาวไปพร้อมๆกับผ้าไตรจีวรสำเร็จรูป เพื่อให้พระสงฆ์นำไปตัด เย็บ ย้อม ตากให้แห้ง กำหนดให้เสร็จภายในวันเดียว โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบ และผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ได้

    เขตกำหนดทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 (หลังวันออกพรรษา) ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (ตรงกับวันลอยกระทง) ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

    และการถวายกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

    ส่วนธงกฐินนั้นมีทั้งหมด 4 ผืน คือ จระเข้,นางมัจฉา,ตะขาบ และเต่า เป็นปริศนาธรรมของคนโบราณได้กำหนดไว้ “จระเข้” หมายถึง “ความโลภ” (ปากใหญ่ กินไม่อิ่ม) “ตะขาบ หรือ แมงป่อง” หมายถึง “ความโกรธ”(พิษที่เผ็ดร้อนเหมือนความโกรธที่แผดเผาจิต) “นางกินรี หรือ นางมัจฉา” หมายถึง “ความหลง”(เสน่ห์แห่งความงามที่ชวนหลงไหล) “เต่า” หมายถึง “สติ”(การระวังรักษาอายตนะทั้ง 6 ดุจเต่าที่หดอวัยวะซ่อนในกระดอง)

    สำหรับความหมายของแต่ละธง มีดังนี้ ”ธงจระเข้” ใช้ประดับในการแห่ (มีตำนานว่าเศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย) “ธงนางมัจฉา หรือนางกินรี” ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน (เป็นตัวแทนหญิงสาว ตามความเชื่อว่าอานิสงส์จากการถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์จะมีรูปงาม) “ธงตะขาบ หรือแมงป่อง” ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้มีคนมาจองกฐินแล้ว ให้ผู้จะมาปวารณาทอดกฐินผ่านไปวัดอื่นเลย “ธงเต่า ” ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่า วัดนี้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว (จะปลดลงในวันเพ็ญเดือน 12)

    แต่ในปัจจุบันเกิดความเชื่อขึ้นมาใหม่ ว่า ธงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นมงคล ผ่านการสวดมนต์พิธีใหญ่ ฉะนั้นสิ่งของที่อยู่ในพิธีจึงถือว่าเป็นมงคล จึงมีหลายคนอยากจะได้ธงเหล่านั้นไปครอบครอง ไม่เว้นแม้แต่เจ้าภาพเองมักจะนำธงกลับบ้านด้วย เพราะถือเป็นสิ่งมงคลสูงยิ่ง เราจึงไม่พบเห็นธง 4 ผืน หลังถวายกฐินแล้ว โดยเฉพาะธงเต่าที่หลังทอดกฐินเสร็จ พระสงฆ์จะต้องนำมาปักไว้บริเวณหน้าวัดเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่ามีการทอดกฐินแล้ว แต่มักจะถูกชาวบ้านนำไปเป็นสมบัติส่วนตนเสมอ ปัจจุบันจึงไม่มีธงดังกล่าวแสดงให้เห็นเหมือนในอดีต แม้ธงกฐินทั้ง 4 ผืนนี้ โดยใจความแล้วไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกหรือในหนังสือคัมภีร์อื่นๆ อย่างชัดเจน แต่ด้วยความเชื่อศรัทธาส่วนบุคคลของคนสมัยใหม่ สิ่งที่สำคัญบางอย่างทางศาสนาก็ย่อมจะถูกลบเลือนด้วยน้ำมือคนรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน

    อ่านข่าวอื่นๆในจังหวัดนครพนม กดอ่านที่นี่

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.77kaoded.com/content/961956
     

แชร์หน้านี้

Loading...