“ตำราดูพระ” นับถือให้ถูก กราบไหว้ให้เป็น

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 เมษายน 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อย คงจะรู้สึกตรงกันว่า “ พุทธศาสนา ” ของเรามองดูเหมือนเสื่อมโทรมลงเป็นอันมาก ในขณะที่วัดอันเป็นรูปธรรมทางศาสนาได้มีการบรูณะปฏิสังขรณ์อย่างสวยงามโอ่อ่า บางแห่งก็มีการสร้างถาวรวัตถุใหญ่ หรูหรา จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คนไปเพื่อชมความวิจิตรงดงามนั้นๆ แต่พระภิกษุที่เป็นเสมือนตัวแทนของ “ พระพุทธองค์ ” กลับมีวัตรปฏิบัติที่บั่นทอนความศรัทธาลงไปทุกที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมั่วสีกา ฆ่าเพื่อนพระ เมาสุราอาละวาด เสพสังวาสกับสัตว์ ชอบสะสมทรัพย์ หรือลักเพศ เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวที่ทำลายพุทธศาสนาทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี หากเราได้ศึกษาพระไตรปิฎก หลายคนคงจะทราบได้ว่า พระภิกษุในสมัยพุทธกาลหรือสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่ก็มีการประพฤติปฏิบัติที่นอกลู่นอกทาง จนพระพุทธองค์ต้องบัญญัติเป็นวินัยหรือข้อห้ามเอาไว้เช่นกัน ทั้งนี้ เพราะผู้ที่มาบวชเป็น “ พระภิกษุ ” ก็มาจากคนที่แตกต่างหลากหลาย แต่สิ่งสำคัญคือ ความต้องการมาศึกษาและเรียนรู้ “ ธรรมะ ” เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ตั้งแต่ระดับธรรมดาสามัญจนไปถึงขั้นนิพพาน ดังนั้น ในระหว่างบวชเรียน จึงมีความต่างจาก “ ปุถุชน ” ก็ตรงที่ต้องศึกษา “ ธรรมะ ” ของพระองค์ให้ถ่องแท้ และต้องประพฤติตัวอยู่ในธรรมวินัย โดยมี “ ผ้าเหลือง ” เป็นเสมือนเครื่องแบบให้ผู้บวชได้เกิดความสำรวม และระลึกเสมอว่าตนเข้ามาในร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อการใด และเมื่อเรียนรู้แล้วก็ต้องดำรงตนให้เหมาะสม อีกทั้งต้องช่วยเผยแผ่ “ ธรรมะ ” ให้แพร่หลายออกไปเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป

    ท่านพุทธทาสได้เขียนเรื่อง “ ตำราดูพระ ” อันเป็นการพูดถึงภิกษุที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เป็นแบบต่างๆ ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอสรุปบางส่วนมาเผยแพร่ต่อ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้นำไปใคร่ครวญดูว่า พระภิกษุแบบไหนที่เราควรกราบไหว้ หรือแบบใดที่เราควรห่างไกล

    คำว่า “ พระ ” ท่านว่า แปลว่า ประเสริฐ ประเสริฐตรงที่มีจิตใจสะอาด สว่าง สงบ ส่วนคำว่า “ ภิกษุ ” ถ้าตามตัวหนังสือ แปลว่า “ ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารหรือความทุกข์ หรือจะแปลว่า “ ผู้ขอ ” ก็ได้ แต่ว่ามิใช่ขอแบบขอทาน เนื่องจากพระภิกษุมิได้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองดังเช่นคนทั่วไป แต่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองและผู้อื่น การถือบาตรไปขออาหารจึงเป็นเพียงต้องการอาหารไปประทังชีวิต เพื่อจะได้ทำหน้าที่ชำระตน และชำระโลกให้สะอาด บริสุทธิ์ หมดจากกิเลสและความทุกข์ ดังนั้น ภิกษุจึงจะต้องประพฤติตนให้เหมาะสมกับอาหารหรือสิ่งที่ทายกทายิกาเขาทำบุญ มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่ผิดอะไรกับขอทาน หรือกลายเป็นคนหลอกลวงเพราะไม่ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของตน

    อย่างไรก็ดี ท่านได้กล่าวไว้ว่า ศาสนาที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ตัวธรรมะ มิได้อยู่ที่ตัววัดวาอาราม หรือตัวภิกษุสามเณร ซึ่งตัวศาสนานี้ท่านจำแนกเป็น ๓ อย่างคือ ปริยัติศาสนา หมายถึง ความรู้ ปฏิบัติศาสนา หมายถึง การปฏิบัติ และ ปฏิเวธศาสนา หมายถึง ผลของการปฏิบัติ คือมรรผลนิพพาน เมื่อมีครบ ๓ อย่างจึงจะเรียกว่ามี “ พระธรรม ” ลำพังเพียงมีวัดวาอาราม หรือมีพระภิกษุสามเณรมากมาย ก็เป็นเพียงแต่เปลือกของศาสนา มิใช่เนื้อแท้ ดังนั้น การบำรุงพุทธศาสนาจึงต้องมีการบำรุงให้ถึงกับมีการปฏิบัติธรรมจนพ้นจากความทุกข์จริง มิใช่เพียงถาวรวัตถุทั้งนี้ เพราะ พระธรรมหรือศาสนานี้ มีไว้เพื่อเป็นที่พึ่งของชาวโลก มิใช่ให้คนดีหนีโลกหรือทิ้งโลก และต้องการให้คนเป็นอยู่ในโลกอย่างมีประโยชน์ และไม่มีความทุกข์

    สำหรับภิกษุประเภทต่างๆที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ ได้แก่

    -ภิกษุอุจจาระ พระองค์ตรัสว่า นักบวชที่เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็อ้างตัวว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็อ้างว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่า เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย นักบวชชนิดนี้ คือ คนที่ทุกๆคนควรขยะแขยง ไม่ควรคบหาสมาคม ไม่ควรเข้าใกล้ เปรียบเหมือนงูตกลงไปในหลุมอุจจาระ กัดไม่ได้ก็จริง แต่ก็ทำให้คนที่เข้าไปช่วยยกมันขึ้นเปื้อนอุจจาระไปด้วย และถ้าอยู่ใกล้แม้จะไม่ประพฤติแบบเดียวกัน แต่คนก็จะร่ำลือว่ามีมิตรหรือเพื่อนเลวทรามเช่นกัน ดังนั้น จึงไม่ควรเข้าใกล้หรือคบสมาคมกับนักบวชพวกนี้

    -ภิกษุชอบหญิง พระองค์ว่าพรามณ์หรือสมณะใดที่อ้างว่าเป็นผู้รักษาพรหมจรรย์โดยชอบ แม้จะไม่ได้เสพเมถุนกับหญิง แต่หากยินดีกับการพูดจา เล่นหัวสัพยอกกับหญิง ปลาบปลื้มในลักษณะดังกล่าว หรือชอบสบตากับหญิง หรือยังชอบฟังเสียงผู้หญิงพูดจา ขับร้อง หัวเราะร้องไห้อยู่ก็ดี หรือยังชอบระลึกถึงเรื่องเก่าๆที่เคยเล้าโลม เล่นหัวกับหญิงอยู่ก็ดี หรือยินดีปลาบปลื้มกับการที่เศรษฐีหรือบุตรเศรษฐีที่ได้รับการบำเรอด้วยกามคุณก็ดี หรือประพฤติพรหมจรรย์เพื่อหวังไปเกิดเป็นเทพยดาพวกใดพวกหนึ่งก็ดี พระพุทธองค์ว่าสิ่งเหล่านี้คือความขาด ความทะลุ และความด่างพร้อยแห่งพรหมจรรย์ หรือประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ยังเกี่ยวพันกับเมถุน ดังนั้น จึงย่อมไม่พ้นจากทุกข์ไม่ว่าจะเป็นความเกิด แก่ เจ็บและตายได้

    - ภิกษุแหวกแนว หมายถึง ภิกษุที่ทำการชักชวนมหาชนให้ทำกายกรรม วจีกรรมและการบำเพ็ญทางจิตให้ผิดแนวทางแห่งการทำให้พ้นทุกข์ในพระศาสนา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำให้มหาชนเสื่อมเสีย หมดสุข ทำให้เกิดความฉิบหายแก่มหาชน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และสร้างทุกข์ทั้งแก่มนุษย์และเทวดา พูดง่ายๆ ก็คือ ภิกษุที่ชอบชักชวนให้คนประพฤติปฏิบัติผิดจากที่พระพุทธเจ้าสอน ทำให้หลงงมงาย เชื่อในสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ

    -ภิกษุเนื้อนา ที่ไม่เกิดบุญ หมายถึง ภิกษุที่ประกอบเหตุ ๕ อย่าง คือ ภิกษุที่ไม่อดทนต่อรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสทั้งหลายที่ก่อให้เกิดความกำหนัดยินดี ไม่อาจตั้งจิตเป็นกลาง(จิตว่าง)อยู่ได้ หรือจะเรียกอีกอย่างว่า ภิกษุติดบ่วงกามคุณ ก็ได้ คือหมกมุ่น มัวเมาในกามคุณทั้ง ๕ จนไม่เห็นโทษ และไม่เห็นอุบายออกไปจากทุกข์ รังแต่จะถึงความพินาศย่อยยับ พระพุทธองค์ว่า ภิกษุที่ประกอบเหตุหรือติดบ่วงกามคุณ ๕ อย่างนี้ ย่อมไม่ควรแก่ของบูชา ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควรแก่ของทำบุญ ไม่ควรทำความเคารพ และไม่เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างดีเยี่ยม

    -ภิกษุทำศาสนาเสื่อม มี ๔ ประเภทคือ ๑.ภิกษุที่เล่าเรียนพระสูตรอันถือกันมาผิดๆด้วยคำและสำเนียงที่ใช้กันผิด ทำให้ความหมายคลาดเคลื่อน ๒.ภิกษุที่ว่ายาก ไม่อดทน ไม่ยอมรับคำตักเตือนโดยความเคารพหนักแน่น ๓.ภิกษุเรียนรู้มาก คล่องแคล่วในหลักพระพุทธศาสนา รู้ธรรม รู้วินัย รู้แม่บท แต่ไม่เอาใจใส่ที่จะบอกจะสอนใจความพระสูตรแก่คนอื่นๆ เมื่อท่านเหล่านี้ล่วงลับ พระสูตรทั้งหลายก็ขาดอาจารย์ที่จะถ่ายทอดต่อ ๔.ภิกษุเถระที่สะสมเครื่องอุปโภค บริโภค ประพฤติย่อหย่อนในไตรสิกขา มีจิตต่ำด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์ ไม่สนใจในกิจแห่งวิเวกธรรม ไม่ทำความเพียรเพื่อบรรลุ ทำให้ผู้บวชภายหลังนำไปประพฤติเป็นแบบอย่าง ไม่สนใจจะทำสิ่งที่ไม่แจ้งให้แจ้ง(นิพพาน) มูลเหตุทั้งสี่ประการข้างต้นจะเป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไปในที่สุด

    ที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนจากหนังสือดังกล่าว ซึ่งเพียงแค่นี้ก็คงทำให้พุทธศาสนิกชนพอเห็นแล้วว่า “ ภิกษุ ” หรือสาวกของพระพุทธองค์ควรเป็นเช่นไร แบบไหนที่เราควรทำบุญเพื่อสืบทอดพระศาสนาหรือควรห่างไกล เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่นั้นได้เคยกล่าวว่า “ อานนท์ เราไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทนุถนอม เหมือนพวกช่างหม้อทำแก่หม้อที่มันยังเปียก ยังดิบอยู่ อานนท์ เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด อานนท์ เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด ผู้ใดหวังมรรคผลเป็นวัตถุประสงค์ ผู้นั้นจักทนอยู่ได้เองแล ” นอกจากนี้ยังทรงตรัสว่า การที่พระองค์ออกบวชเป็นบรรพชิตมิใช่เพราะจีวร มิใช่เพราะบิณฑบาต มิใช่เพราะที่อยู่อาศัยมิใช่เหตุเพราะขาดแคลนสิ่งเหล่านี้ หรือจะให้ร่ำรวยด้วยสิ่งเหล่านี้ แต่เพราะพระองค์ต้องการแสวงหาทางหลุดพ้นจากกิเลส และความทุกข์ต่างหาก ดังนั้น พระองค์จึงเตือนภิกษุที่มาบวชให้สำเหนียกว่า การมาบวชแล้วกลับไปแสวงหากามที่ละแล้ว(คือรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัสที่ทำให้เจริญราคะ) ย่อมเป็นของต่ำทรามและไม่สมควรปฏิบัติ และที่สำคัญคือ พระองค์ได้ตรัสสอนไว้ว่า

    “ พวกเธอ (ภิกษุ) ทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท (คือรับมรดกธรรม) ของเราเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท (คือรับมรดกสิ่งของ) เลย ”

    อมรรัตน์ เทพกำปนาท
    กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
     
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    ตำราดูพระของผม เริ่มจากดูที่ ศีล ๕ กรรมบถ ๑๐
    ดูได้ตามกำลัง ดูเกินกว่ากำลังของตัวเองคงดูไม่ได้
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ดูพระเริ่มจากดูที่ศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ แน่ใจนะครับว่าดูพระ
    ตำรานี่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอน พระสงฆ์ถือศีลปาติโมกข์
    มี ๒๒๗ ข้อ ไม่ใช่แค่ศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ครับ
     
  4. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    อ่านคำว่า เริ่ม... ด้วยสิครับ
    เริ่ม แปลว่า อย่างน้อยต้องมี ศีล ๕ กรรมบถ๑๐
    ให้เริ่มดูจากตรงนั้น ถ้าพระไม่มีศีล ๕ ไม่มีกรรมบถ๑๐
    ให้ถือวินัยเป็นหมื่นก็ไม่ใช่พระ

    ศีล ๒๒๗ ผมไม่ใช่พระ ไม่ใช่ภิกษุ รู้วินัยบ้าง เคยบวชมาบ้าง
    แต่จำไม่ได้หมด รู้ไม่ลึกซึ้ง
    อะไรที่ผมเองก็ไม่ได้และไม่แม่น ผมไม่ไปดูให้เมื่อย
    ที่สำคัญ วินัยเป็นเรื่องของพระภิกษุที่จะต้องตรวจตัวเอง ไม่ใช่ให้ผมไปตรวจ

    คุณอุรุเวลาเป็นพระหรือฆาราวาสละครับ
    ถ้าเป็นฆาราวาสรักษาวินัย ๒๒๗ ด้วยเหรอครับ
    ถ้าเราไม่รักษาจริงๆ เราจะดูได้หรือว่าที่เราจะดูคนอื่นมันใช่
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมเป็นฆราวาสครับ เป็นฆราวาสก็ต้องศึกษาศีลของพระจะได้ไม่ยื่นบาปให้พระเป็นการบำรุงพระศาสนาอย่างถูกต้อง
    พระถือศีลปาติโมกข์ ฆราวาสถือศีล ๕ ศีล ๘ ดูพระดูศีล ๒๒๗ ข้อเป็นเบื้องต้นยังมีศีลอีกกลุ่มหนึ่งที่พระต้องรักษา
    แต่ไม่ต้องเอามาสวดอีกหลายพันข้อครับ ความเป็นพระไม่ได้ดูที่ผ้าเหลือง พระสงฆ์คือผู้อยู่ในศีลธรรม
    ศีล ๔ ข้อแรกที่ดูความเป็นพระคือไม่เสพเมถุน ๑ ไม่ลักทรัพย์ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ ๑ ไม่พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑
    ถ้าทำขาดจากความเป็นพระทันทีครับ พระต้องเริ่มจากศีล ๔ ข้อนี้ไม่ใช่เริ่มจากศีล ๕ หรือกรรมบถ ๑๐
    ถือศีลเป็นหมื่นข้อแต่ละเมิดแค่สี่ข้อนี้ไม่ใช่พระ ถ้าเป็นพระก็ปาราชิกทันทีครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...