“พระราชยานพุดตานทอง” วิจิตร งดงามสมพระเกียรติ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พสกนิกรชาวไทย ได้มีโอกาสชื่นชมความงดงาม สมพระเกียรติของพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ หรือพระราชยานพุดตานทอง ที่เปรียบประดุจพระราชอาสน์ หรือพระราชบัลลังก์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นประทับ


    ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับ “พระราชยานพุดตานทอง” โดยริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ 2 ริ้วขบวน ในช่วง 2 วันของการพระราชพิธี

    ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 “ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก” ยาตราจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน มายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระยะทางประมาณ 500 เมตร

    0b88ae0b8a2e0b8b2e0b899e0b89ee0b8b8e0b894e0b895e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887-e0b8a7e0b8b4e0b888.jpg

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 เป็น “ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค” ไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร

    ความงดงามวิจิตร และสมพระเกียรติ ของพระที่นั่งราชยานพุดตานทอง หรือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์นี้ ทรงคุณค่าที่มีการเชิญมาเป็นพระที่นั่งสำหรับพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีมานาน โดยชื่อเรียก “พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์” เป็นพระที่นั่งที่ประทับห้อยพระบาท ทำด้วยไม้สักแกะสลักลายหุ้มทองทั้งองค์ เหนือพระแท่นเป็นที่ประทับ มีพนักสามด้าน และมีกระดานพิงอยู่เบื้องหลัง ด้านนอกพนักมีใบปรือประกอบอยู่ด้านซ้ายและด้านขวา และประดับกระจังใบเทศเล็กๆ เรียงเฉพาะด้านนอกใบปรือ

    88ae0b8a2e0b8b2e0b899e0b89ee0b8b8e0b894e0b895e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887-e0b8a7e0b8b4e0b888-1.jpg

    จากนั้นจึงเป็นบัวคุ่ม ชั้นต่ำลงเป็นท้องไม้เว้าเข้าด้านใน ประดับด้วยเทพนมและครุฑแบก 2 ชั้น แกะสลักปิดทองโดยรอบ ถัดลงมาเป็นชั้นหน้ากระดาน ชั้นแรกแกะเป็นลายลูกฟักก้ามปู บนหน้ากระดานเป็นลายกระจังเจิมเรียงไปตลอด ท้องไม้ชั้นสองมีลวดลายเหมือนท้องไม้ชั้นแรก ต่อด้วยชั้นหน้ากระดานชั้นสองที่มีลวดลายประดับเหมือนหน้ากระดานชั้นแรก จากนั้นเป็นชั้นสิงห์ ที่ประกอบด้วยลวดลายบัวหลังสิงห์และปากสิงห์ ต่อหน้าพระแท่นมีอัฒจันทร์

    88ae0b8a2e0b8b2e0b899e0b89ee0b8b8e0b894e0b895e0b8b2e0b899e0b897e0b8ade0b887-e0b8a7e0b8b4e0b888-2.jpg

    เมื่อเชิญเป็นที่ประทับในพระราชพิธี เจ้าพนักงานจะลาดผ้าทิพย์ประดับ ทอดพระยี่ภู่ และพระเขนยอิง เมื่อทอดพระที่นั่งองค์ดังกล่าวเหนือพระราชบัลลังก์ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานภายในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน จึงเรียกรวมว่า พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ เป็นที่ประทับเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จออกในการพระราชพิธี ได้แก่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีฉัตรมงคล และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และในรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีตั่งซ้ายขวาสำหรับวางเครื่องราชูปโภคประกอบด้วยเสมอ และบางคราวก็ทอดพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ไว้เหนือพระแท่นลา โดยมีตั่งซ้ายขวาได้ด้วยเช่นกัน

    เมื่อพระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นพระราชยานได้ จึงมีห่วงและคานสำหรับหาม และเรียกชื่อพระราชยานตามลักษณะการใช้งานว่า“พระราชยานพุดตานทอง”



    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/royal/1560450
     

แชร์หน้านี้

Loading...