“พระอัฏฐารส”สัญลักษณ์คู่สุโขทัยบูรณะเสร็จแล้ว กรมศิลป์รับประกันองค์พระแข็งแรง

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8aae0b8b1e0b88de0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893e0b98ce0b884e0b8b9e0b988.jpg

    งดงามอย่างที่เคยเป็น “พระอัฏฐารส วัดสะพานหินสุโขทัย”บูรณะเสร็จแล้ว กรมศิลป์ยืนยันองค์พระแข็งแรง แต่งสีผิวกลมกลืนกลับสู่สภาพเดิม

    13 ก.ย. 60 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่มีการพบความเสียหายอย่างหนักของ “พระอัฏฐารส” พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ขนาดใหญ่ ความสูง 12.50 เมตร ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารบนยอดเขาวัดสะพานหิน แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังระดับโลก เขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ซึ่งตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว) ลงมาถึงพระชานุ (เข่า) มีเศษซากปูนกะเทาะหลุดร่วงลงมากองกับพื้นจำนวนมาก จนเกิดกระแสความสนใจตามที่เสนอข่าวแล้วนั้น

    b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8aae0b8b1e0b88de0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893e0b98ce0b884e0b8b9e0b988-1.jpg

    ร.อ.บุญฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เปิดเผยว่าล่าสุดการบูรณะองค์พระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 6 ได้ติดตามควบคุมการบูรณะอย่างใกล้ชิด โดยฝ่ายอนุรักษ์งานจิตกรรมกรมศิลปากรได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการบูรณะตามกระบวนการทางวิชาการ เริ่มตั้งแต่เก็บข้อมูลก่อนบูรณะ ทดสอบวัสดุ เสริมโครงสร้างภายใน ประกอบชิ้นส่วนเดิมกลับเข้าที่ ปรับแต่งสภาพผิวองค์พระให้กลมกลืนกับของเดิม แล้วจึงเคลือบน้ำยาป้องกันความชื้น เพื่อให้องค์พระมีความคงทนแข็งแรง รวมทั้งได้รักษาสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด จากหลักฐานชิ้นส่วนเก่าที่มี โดยไม่มีการต่อเติมใดๆ บนพื้นฐานของงานโบราณคดีอย่างเคร่งครัด

    b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8aae0b8b1e0b88de0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893e0b98ce0b884e0b8b9e0b988-2.jpg

    ขณะที่ นายปฏิรูป สายสินธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้พาผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พิสูจน์องค์พระที่วัดเขาสะพานหิน พบว่ามีการรื้อนั่งร้านและเก็บเศษวัสดุออกไปหมดแล้ว และพบองค์พระมีความงดงามอย่างยิ่ง โดยมีสีผิวกลมกลืนกับชิ้นส่วนเดิมจนแทบแยกไม่ออกว่าปูนเก่ากับงานซ่อม นายปฏิรูป กล่าวด้วยว่า เมื่อครั้งแรกที่ได้เห็นสภาพชำรุดขององค์พระอัฏฐารส รู้สึกเป็นห่วงในคุณค่าพุทธศิลป์มาก เพราะพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ คงเหลือสภาพเดิมแท้มาตั้งแต่โบราณ ก่อนจะมีการบูรณะใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2499 แต่เมื่อได้เห็นผลงานการบูรณะครั้งนี้ก็รู้สึกพอใจมาก เพราะเป็นการซ่อมใหม่แต่ยังคงความเป็นพระเก่าโบราณอย่างมีฝีมืองดงามอย่างยิ่ง

    b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8aae0b8b1e0b88de0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893e0b98ce0b884e0b8b9e0b988-3.jpg

    ทั้งนี้ “พระอัฏฐารส” เป็นพระพุทธรูปสำคัญ รวมทั้งมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก และยังถูกกล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 27-32 ความว่า “เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทาน แก่มหาเถร สังฆราช ปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิกมีพิหารอันหนึ่งมนใหญ่สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารสอันหนึ่งลุกยืน” การได้กราบไหว้พระอัฏฐารสนี้ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีน่าจดจำ เมื่อเงยหน้าขึ้นมาพบพระพักตร์เสมือนดั่งได้รับพรจากองค์พระปฏิมา ที่แย้มพระโอษฐ์อย่างมีพระเมตตา ด้วยเอกลักษณ์พิเศษแห่งพุทธศิลป์สุโขทัย

    b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8aae0b8b1e0b88de0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893e0b98ce0b884e0b8b9e0b988-4.jpg
    ร.อ.บุญฤทธิ์ ฉายสุวรรณ

    b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8aae0b8b1e0b88de0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893e0b98ce0b884e0b8b9e0b988-5.jpg

    นายปฏิรูป สายสินธุ์

    b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8aae0b8b1e0b88de0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893e0b98ce0b884e0b8b9e0b988-6.jpg

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.thaipost.net/?q=node/35413
     
  2. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b890e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b984e0b894e0b989e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b881e0b8b2e0b8a3e0b89ae0b8b9e0b8a3.jpg

    สุโขทัย-พระพุทธรูปเก่าแก่โบราณได้รับการบูรณะแล้วกรมศิลปากรยันองค์พระแข็งแรงแต่งสีผิวกลมกลืนสภาพเดิม

    ร.อ.บุญฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เปิดเผยว่า การบูรณะ“พระอัฏฐารส”องค์พระพุทธรูป ยืนปางประทานอภัย ขนาดใหญ่ ความสูง 12.50 เมตร ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารบนยอดเขาวัดสะพานหิน เขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังมีเศษซากปูนกะเทาะหลุดร่วงลงมากองกับพื้นจำนวนมากตั้งแต่บั้นพระองค์ (เอว) ลงมาถึงพระชานุ (เข่า) ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยร่วมกับสำนักศิลปากรที่ 6 ได้ติดตามควบคุมการบูรณะอย่างใกล้ชิด โดยฝ่ายอนุรักษ์งานจิตกรรมกรมศิลปากรได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการบูรณะตามกระบวนการทางวิชาการ เริ่มตั้งแต่เก็บข้อมูลก่อนบูรณะ ทดสอบวัสดุ เสริมโครงสร้างภายใน ประกอบชิ้นส่วนเดิมกลับเข้าที่ ปรับแต่งสภาพผิวองค์พระให้กลมกลืนกับของเดิม แล้วจึงเคลือบน้ำยาป้องกันความชื้น เพื่อให้องค์พระมีความคงทนแข็งแรง รวมทั้งได้รักษาสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด จากหลักฐานชิ้นส่วนเก่าที่มี โดยไม่มีการต่อเติมใดๆ บนพื้นฐานของงานโบราณคดีอย่างเคร่งครัด

    นายปฏิรูป สายสินธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรมกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากล่าวว่า เมื่อครั้งแรกที่ได้เห็นสภาพชำรุดขององค์พระอัฏฐารส รู้สึกเป็นห่วงในคุณค่าพุทธศิลป์มาก เพราะพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ คงเหลือสภาพเดิมแท้มาตั้งแต่โบราณ ก่อนจะมีการบูรณะใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2499 แต่เมื่อได้เห็นผลงานการบูรณะครั้งนี้ก็รู้สึกพอใจมาก เพราะเป็นการซ่อมใหม่แต่ยังคงความเป็นพระเก่าโบราณอย่างมีฝีมืองดงามอย่างยิ่ง

    ทั้งนี้“พระอัฏฐารส”เป็นพระพุทธรูปสำคัญ รวมทั้งมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก และยังถูกกล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 27-32 ความว่า “เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทาน แก่มหาเถร สังฆราช ปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิกมีพิหารอันหนึ่งมนใหญ่สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารสอันหนึ่งลุกยืน” การได้กราบไหว้พระอัฏฐารสนี้ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีน่าจดจำเพราะเมื่อเงยหน้าขึ้นมาพบพระพักตร์เสมือนได้รับพรจากองค์พระปฏิมา ที่แย้มพระโอษฐ์อย่างมีพระเมตตา ด้วยเอกลักษณ์พิเศษแห่งพุทธศิลป์สุโขทัย

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/local/north/514534
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กันยายน 2017

แชร์หน้านี้

Loading...