“พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ หลวงตามหาบัว” งดงามเปี่ยมศรัทธา แลนด์มาร์กธรรมแห่งใหม่ของไทย –...

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 2 มีนาคม 2022.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af.jpg
    ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม นี้ จะเป็นวันสมโภชพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) ณ วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุยอดพระเกตุมาลาองค์พระประธานในพระวิหาร บรรจุอัฐิธาตุหลวงตามหาบัวในรัตนเจดีย์ และเปิดโครงการพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ วันที่ ๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล

    สำหรับ “พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล” นี้ ถือเป็นการร่วมมือร่วมใจของจังหวัดอุดรธานี วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และคณะศิษยานุศิษย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ร่วมกันสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่บรรจุอัฐิธาตุของหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ให้เป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมะ คำสอน ของหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน เป็นอนุสรณ์สถานที่เก็บรวบรวมประวัติหนังสือ คำสอน และเครื่องอัฐบริขารของหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เพื่อเตือนใจให้เยาวชน คนรุ่นหลัง ทั้งสงฆ์และฆราวาสให้รำลึกถึงคุณูปการของท่านทั้งในทางโลกและทางธรรม และถือเป็นแบบอย่างใน การปฏิบัติ และทำความดีเพื่อพุทธศาสนาและประเทศชาติต่อไป

    โครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ฯ ก่อสร้างบนพื้นที่ 181 ไร่ 3 งาน 17 ตารางวา บริเวณด้านหน้าทางเข้าวัดป่าบ้านตาด โดยได้เริ่มต้นการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2559 และได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงรับเป็นประธานโครงการ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และ ทีมสยามรีโนเวท เป็นผู้ดำเนินการออกแบบก่อสร้างโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการออกแบบใดๆ ทั้งสิ้น

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-1.jpg

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-2.jpg
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงออกแบบลักษณะของพระเจดีย์ พระวิหาร และพิพิธภัณฑ์ โดยทรงได้รับแรงบันดาลพระทัยจากสถาปัตยกรรมศิลปะล้านช้าง ผสมผสานกับศิลปะยุคกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงการสืบทอดพระพุทธศาสนาในถิ่นอีสานยังคงดำรงอย่างมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป พระเจดีย์แห่งนี้ นับเป็นศิลปกรรมไทยองค์สำคัญองค์สุดท้ายในสมัยรัชกาลที่ 9 ก็ว่าได้

    พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์พระธรรมวิสุทธิมงคล ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ เจดีย์ พระวิหาร และพิพิธภัณฑ์ ส่วนของพิพิธภัณฑ์นั้นจะอยู่ด้านหน้าของพระวิหารและองค์เจดีย์ ภายในประกอบด้วยห้องแสดง 6 ห้อง คือ ห้องที่ 1 ธรรมของพระพุทธเจ้า ห้องที่ 2 จากกตัญญูมีสัจจะ สู่ร่มกาสาวพัสตร์ ห้องที่ 3 จากปริยัติมุ่งมั่นเพียรพยายามสู่การปฏิบัติ ห้องที่ 4 เมตตาอบรมสั่งสอน ห้องที่ 5 บารมีหลวงตาช่วยชาติ ห้องที่ 6 ละสังขาร ศิษยานุศิษย์สามัคคีบูชา

    ถัดมาจะเป็นบันไดทอดยาวขึ้นสู่พระวิหาร โดดเด่นด้วยหลังลดหลั่นซ้อนกันสามชั้น ในการออกแบบหลังคาพระวิหารนี้ได้ใช้วัสดุ “ทองแดง” มาแทนกระเบื้อง เพื่อตัดปัญหาการบูรณะซ่อมแซมอนาคต โดยทองแดงเป็นวัสดุที่ยุโรปและอินเดียใช้ในการสร้างสถาปัตยกรรมสำคัญๆ มีความคงทนกว่ากระเบื้องดินเผา อยู่ได้เป็นร้อยปี ทองแดงแม้จะเกิดสนิมง่าย แต่ใช้น้ำยาเคลือบ ซึ่งจะคงทนเป็น 10 ปี เมื่อกาลเวลาผ่านไปจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ทำให้เป็นสีสนิมเขียวคล้ายโดมหลังคาของพระที่นั่งอนันตสมาคม

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-3.jpg

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-4.jpg
    นอกจากนั้นยังไดใช้หินอ่อนไวท์คารารา จากประเทศอิตาลีมาตกแต่งพื้นและผนังรอบพระวิหารและเจดีย์ เพราะมีคุณสมบัติระบายความร้อนได้ดี ทำให้ตอนกลางวัน แม้แสงแดดจัด พื้นก็ยังเย็น ไม่ร้อน และมีความงดงามมากอีกด้วย

    เบื้องหลังพระวิหาร เป็นองค์เจดีย์ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่มีกลิ่นอายศิลปะล้านช้าง รูปทรงระฆังแปดเหลี่ยม ปลียอดโลหะทองแดงปิดด้วยทองคำบริสุทธิ์ 96.70%

    บนยอดเจดีย์ยังเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ ที่ได้รับการประทานจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมพโร) และมีอัฐิธาตุของหลวงตามหาบัวส่วนของศีรษะและฟันบรรจุไว้ด้วย

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-5.jpg

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-6.jpg
    นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูป 4 องค์ประดิษฐานอยู่บนยอดเจดีย์ โดยเป็นพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน พระ พุทธรูปพิงก์โกลด์ และพระพุทธรูปหินจุยเจีย ปางสมาธิ โดยพระพุทธรูปทองคำสร้างขึ้นจากปฏิปทาของหลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร และคณะศิษยานุศิษย์หลวงตา พระมหาบัว บริจาคทองคำและเงินสมทบทุนสร้างพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ ร้อยละ 99.99 กำหนด ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก

    พระพุทธรูปเงิน สร้างจากเงินบริสุทธิ์ร้อยละ 92.5 ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก พระพุทธรูปพิงก์โกลด์ สร้างจากทองคำบริสุทธิ์ร้อยละ 42 (10 เค) ผสมอัลลอย เพื่อให้เนื้อออกมาเป็นสีนาก ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ และพระพุทธรูปหินจุยเจียสร้างจากหินควอตซ์เกรดดีที่สุด น้ำหนัก 25 กิโลกรัม แกะสลักโดยช่างฝีมือระดับสูงที่อายุน้อยที่สุดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ผินพระพักตร์ไปทางทิศใต้

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-7.jpg

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-8.jpg

    b8a0e0b8b1e0b893e0b891e0b98ce0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b8af-9.jpg
    พระธาตุเจดีย์ พระวิหาร และพิพิธภัณฑ์ พร้อมส่วนประกอบอื่นๆ เหล่านี้ ตั้งอยู่เป็นแนวเดียวกับจิตกาธาน สถานที่พระราชทานเพลิงสรีรสังขารของหลวงตามหาบัว อีกทั้งยังเป็นแนวชี้ตรงไปถึงพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดินแดนพุทธภูมิในสาธารณรัฐอินเดียอีกด้วย

    พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) อันงดงามโดดเด่นแห่งนี้จึงเปรียบเป็นดังแลนด์มาร์กธรรมแห่งใหม่ของไทยในดินแดนอีสาน ที่เชื่อว่าจะเป็นจุดมุ่งหมายใหม่ของพุทธศาสนิกชนที่จะได้มาเยือนเมื่อเดินทางมาที่จังหวัดอุดรธานี


    #########################################

    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9650000021056
     

แชร์หน้านี้

Loading...