“ภัยต่างๆในโลกนี้ไม่สามารถทำลายความสงบของใจได้” โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย กลอง, 29 เมษายน 2015.

  1. กลอง

    กลอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,468
    ค่าพลัง:
    +2,991
    “ภัยต่างๆในโลกนี้ไม่สามารถ<wbr>ทำลายความสงบของใจได้”

    ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในโลกน<wbr>ี้ จะเจริญหรือจะเสื่อม ก็จะไม่มาทำลายความสุขความส<wbr>งบ ที่มีอยู่ภายในใจได้ สิ่งที่จะทำลายความสุขนั้นค<wbr>ือความอยากของใจเอง สิ่งต่างๆ ในโลกนี้จะรุนแรงร้ายแรงขนา<wbr>ดไหนก็ตาม จะเป็นวาตภัย อัคคีภัย อุทกภัย หรือภัยสงครามต่างๆ ที่ถึงกับทำให้ร่างกายนี้เส<wbr>ียชีวิตไป หรือเจ็บไข้ได้ป่วยพิกลพิกา<wbr>ร ภัยเหล่านี้จะไม่สามารถมาทำ<wbr>ลายความสงบสุขของใจได้ ภัยที่จะทำลายความสงบสุขของ<wbr>ใจนี้ก็คือ ความอยากนี่เอง และเหตุที่ทำให้เกิดความอยา<wbr>กก็คือความหลง ความหลงที่ไม่รู้อันตรายของ<wbr>ความอยากนี้ว่าเป็นตัวทำลาย<wbr>ความสงบสุขของใจ แล้วก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่อยาก<wbr>ได้นั้น ไม่ได้ทำให้เกิดความสงบสุขแ<wbr>ก่ใจ กลับทำให้เกิดความทุกข์แก่ใ<wbr>จ เพราะสิ่งที่อยากได้นั้นล้ว<wbr>นเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ แน่นอนไม่ถาวร เป็นสิ่งชั่วคราว เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปล<wbr>ง และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถไปค<wbr>วบคุมบังคับ ให้เป็นอย่างนั้นหรือเป็นอย<wbr>่างนี้ หรือไม่ให้เป็นอย่างนั้นเป็<wbr>นอย่างนี้ได้

    จึงจำเป็นต้องคอยสอนใจให้เข<wbr>้าใจถึงความจริงของสิ่งต่าง<wbr>ๆว่า เขาไม่เที่ยงแท้แน่นอน เขามีการเปลี่ยนแปลง เขามีการเกิดมีการดับ เขาไม่อยู่ภายใต้คำสั่งของเ<wbr>รา ถ้าไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั<wbr>้นเป็นอย่างนี้ ก็จะไปทำลายความสงบ ความสุขที่ได้จากความสงบ ก่อนที่เราจะสามารถสอนใจให้<wbr>เห็นโทษของความอยากได้ เห็นว่าสิ่งต่างๆที่ใจอยากไ<wbr>ด้นั้นไม่เที่ยง ไม่อยู่ภายใต้อำนาจคำสั่งขอ<wbr>งใจ ใจต้องมีความสงบก่อน ใจต้องพบกับความสงบที่เป็นค<wbr>วามสุขที่ยิ่งใหญ่กว่าความส<wbr>ุขทั้งหลายในโลกนี้ ความสงบสุขของใจนี้ เป็นความสุขที่ใหญ่กว่าลาภย<wbr>ศ สรรเสริญ ใหญ่กว่ารูปเสียงกลิ่นรสโผฏ<wbr>ฐัพพะชนิดต่างๆ ถ้ายังไม่ได้เห็นความสุขอัน<wbr>นี้ ก็จะไม่รู้ว่ามีความสุขอันน<wbr>ี้อยู่ ก็จะติดอยู่กับการหาลาภยศ สรรเสริญ หาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกา<wbr>ยอยู่ไปเรื่อยๆ เพราะว่าจะไม่มีอะไรมาทดแทน<wbr>ความสุขที่ได้จากลาภยศสรรเส<wbr>ริญ ความสุขที่ได้จากรูปเสียงกล<wbr>ิ่นรสโผฏฐัพพะ ถึงแม้ว่าจะทุกข์จะยากจะลำบ<wbr>ากขนาดไหน ก็ยินดีที่จะทุกข์ดีกว่า ที่จะทนต่อสู้กับความอยาก เช่นเวลาอยากจะทำอะไรนี้ ถึงแม้ว่าจะลำบากยากเย็นอย่<wbr>างไร ก็ขอให้ได้ทำ ถึงแม้ว่าทุกข์ขนาดไหน ก็ดีกว่าไม่ได้ทำในสิ่งที่อ<wbr>ยากทำ เพราะว่าไม่มีความสุขในตัวข<wbr>องตัวเอง แต่ถ้ามีความสุขในตัวของตัว<wbr>เองแล้ว ก็คือความสงบนี้ พอเวลาเกิดความอยากขึ้นมาก็<wbr>จะได้มีการต่อรองกันได้ มีการต่อสู้กันได้ เพราะรู้ว่าสู้แล้วจะรักษาส<wbr>ิ่งที่ดีกว่าได้ ถ้าไม่สู้ก็จะเสียสิ่งที่ดี<wbr>กว่าไป และจะได้สิ่งที่เลวกว่ามา คือความสุขทางใจกับความสุขท<wbr>างลาภยศสรรเสริญ ทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้ มีความแตกต่างกัน

    ความสุขทางใจนี้เป็นความสุข<wbr>ทางใจที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ดีก<wbr>ว่าความสุขทางลาภยศสรรเสริญ<wbr> ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ถ้ามีความสุข ได้พบความสุขทางใจแล้วก็จะอ<wbr>ยากรักษาความสุขนี้ไว้ ยิ่งกว่าจะไปหาความสุขที่ด้<wbr>อยกว่า คือความสุขทางลาภยศสรรเสริญ<wbr> ทางรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ<wbr> ก็จะยอมต่อสู้กับความอยาก เพื่อจะให้ความอยากนั้นหมดไ<wbr>ป หายไป

    การต่อสู้กับความอยากนี้แหล<wbr>ะ เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง ถ้าชนะแล้วก็จะหายทุกข์ไปตล<wbr>อด ถ้าแพ้ความอยากก็ต้องอยู่ภา<wbr>ยใต้ความทุกข์ของความอยากไป<wbr>ตลอด ความอยากนี้ก็เป็นเหมือนกับ<wbr>เสี้ยนที่ตำเท้า หนามที่ตำเท้าถ้าไม่บ่งเสี้<wbr>ยนบ่งหนามออกจากเท้า เวลาเดินไปแล้วเหยียบก็จะเก<wbr>ิดอาการเจ็บปวดจะไม่มีวันหา<wbr>ย ก็จะเจ็บอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แต่เวลาบ่งเสี้ยนออกบ่งหนาม<wbr>ออกก็จะต้องเจ็บบ้าง แต่ถ้าบ่งแล้ว เอาเสี้ยนเอาหนามออกจากเท้า<wbr>ไปแล้ว อาการเจ็บก็จะหายไปในที่สุด<wbr>และหลังจากนั้นก็จะเดินได้อ<wbr>ย่างสบาย ไม่เจ็บเท้าอีกต่อไป นี่ก็คือตัวอย่าง

    ความอยากนี้เป็นเหมือนเสี้ย<wbr>นเหมือนหนามที่ฝังอยู่ในใจข<wbr>องเรา ที่ทำให้ใจของเราทุกข์ทรมาน<wbr> กินไม่ได้นอนไม่หลับ กระวนกระวายกระสับกระส่าย วิตกกังวลเดือดร้อนว้าวุ่นข<wbr>ุ่นมัว เศร้าโศกเสียใจไปกับเหตุการ<wbr>ณ์ต่างๆ อันนี้เป็นเรื่องของตัณหาคว<wbr>ามอยาก ถ้าเราบ่งเอาตัณหาความอยากน<wbr>ี้ ที่ทิ่มแทงหัวใจนี้ ออกไปจากใจได้แล้ว ใจจะไม่มีความทุกข์กับอะไรต<wbr>่อไป เพราะสิ่งที่ทำให้เกิดความท<wbr>ุกข์ใจนั้น ได้ถูกกำจัดออกไปแล้ว แต่ขณะที่กำจัดเป็นเวลาที่จ<wbr>ะแสนทุกข์ แสนจะทรมานใจ เราสังเกตดู ถ้าเราอยากได้อะไร หรืออยากดื่ม อยากรับประทานอะไร และเราบังคับอย่าไปดื่ม อย่าไปรับประทานดูซิว่า มันทุกข์ทรมานขนาดไหน เช่นเราอดข้าวเย็นกันก่อนก็<wbr>ได้ พวกที่ไม่เคยอดข้าวเย็น ไม่เคยรักษาศีล ๘ ลองมาอดข้าวเย็นสักมื้อหนึ่<wbr>งดู ดูว่ามันทุกข์ทรมานใจขนาดไห<wbr>น แต่สำหรับคนที่อดได้แล้วนี้<wbr> จะไม่เดือดร้อนเลย จะไม่มีปัญหาเลย เพราะว่าเขาได้หยุดความอยาก<wbr>ที่จะรับประทานอาหารมื้อเย็<wbr>นได้แล้ว เวลาถึงเวลาเย็นก็จะไม่มีคว<wbr>ามอยากจะรับประทานอาหารแต่อ<wbr>ย่างใด แต่ผู้ที่ยังไม่เคยหยุดความ<wbr>อยาก ยังไม่เคยอดอาหารเย็นนี้ พอตกเวลาเย็นนี้ท้องมันจะร้<wbr>องโกรกกากขึ้นมา ใจจะหิว น้ำลายจะไหล เวลาคิดถึงอาหารชนิดต่างๆ จะทุกข์ทรมานใจ นอนก็นอนไม่หลับ อันนี้ก็เป็นเพราะว่าไม่ได้<wbr>ทำตามความอยากนั่นเอง แต่ถ้าเราฝืนทำไปเรื่อยๆต่อ<wbr>ไปก็จะชินความอยากนั้น ก็จะอ่อนกำลังลงไปและก็หายไ<wbr>ป แต่ยังไม่หายขาด ถ้าเราอดอาหารเย็นด้วยการฝื<wbr>นใจ ฝืนความอยาก ถ้าเราอยากจะให้มันหายอย่าง<wbr>ถาวร เราต้องใช้เหตุผลสอนใจว่าไม<wbr>่จำเป็นจะต้องกินอาหารมื้อเ<wbr>ย็นก็อยู่ได้ กินแล้วก็ต้องกินไปเรื่อยๆ เวลาที่ไม่ได้กินก็จะทุกข์ท<wbr>รมานใจ ถ้าเราสอนใจแบบนี้แล้ว ความอยากจะกินอาหารเย็นนี้ก<wbr>็จะหายไปหมดไป เพราะว่ารู้ว่าไม่มีความจำเ<wbr>ป็นที่จะต้องกิน กินแล้วแทนที่จะมีความสุขมา<wbr>กขึ้น กลับมีความทุกข์มากขึ้น เพราะจะทำให้เกิดอาหารติดอา<wbr>หารเย็น พอเวลาไม่ได้กินเวลานั้น ก็จะเกิดความทุกข์ทรมานใจ แต่ถ้าไม่มีความอยากจะรับปร<wbr>ะทาน เพราะเห็นว่ามันไม่จำเป็น และมันก็ไม่ได้ทำให้เกิดควา<wbr>มสุขใจเพิ่มมากขึ้นแต่อย่าง<wbr>ใด กลับมาทำลายความสุขใจ เพราะจะทำให้เกิดความทุกข์ใ<wbr>จเพิ่มมากขึ้นอีก

    ถ้าคิดอย่างนี้แล้วต่อไปก็จ<wbr>ะไม่อยากกินอาหารเย็นอีกต่อ<wbr>ไป แต่ฝืนบังคับใจถึงเวลาอยากจ<wbr>ะกินก็ไม่กิน หรือไม่อยู่ในสถานที่ที่ไม่<wbr>มีอาหารเย็นให้รับประทานก็จ<wbr>ะไม่กิน แต่พอไปอยู่ในสถานที่ ที่มีการรับประทานอาหารเย็น<wbr>กัน พอเห็นเขารับประทานกันก็จะอ<wbr>ดไม่ได้ ก็อยากจะรับประทานอยากจะกิน<wbr>กับเขาไป แต่ถ้ามีปัญญาบอกว่า กินไปให้โง่เปล่าๆ กินไปทำไม กินแล้วทำให้ต้องมาติดต้องม<wbr>าทุกข์กับเรื่องการกินอาหาร<wbr>เย็น ไม่กินดีกว่า ไม่กินก็อยู่ได้ไม่ตาย กินมื้อเดียว กินหนเดียวนี้ก็อยู่ได้แล้ว<wbr> มีประโยชน์กว่าหลายอย่างด้ว<wbr>ยกัน กินน้อยโรคภัยไข้เจ็บก็น้อย<wbr> รูปร่างหน้าตาหุ่นก็ดีกว่า คนที่กินมากๆ ทุกวันนี้คนต้องเสียเงินเสี<wbr>ยทองต้องทุกข์กับการลดน้ำหน<wbr>ักกัน เพราะว่ากินมากเกินไป เพราะไม่รู้วิธีที่จะทำไม่ใ<wbr>ห้น้ำหนักเพิ่ม ก็คือการไม่กิน กลัวว่าเวลาไม่ได้กินแล้วจะ<wbr>เจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง ผอมแห้งแรงน้อย จะมีโรคภัยไข้เจ็บ แต่ไม่คิดว่ายิ่งกินยิ่งมีโ<wbr>รคภัยไข้เจ็บเพิ่มมากขึ้น เพราะไม่มีกำลังที่จะต่อสู้<wbr>กับความอยากกินอาหารนั่นเอง<wbr>

    แต่ถ้ามาฝึกทำใจให้สงบได้ ใจมีความสงบแล้ว จะมีกำลังที่จะต่อสู้กับควา<wbr>มอยากกินอาหารเย็นได้ จะไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร ยิ่งถ้ามีปัญญาสอนใจว่า กินแล้วกลับมีความทุกข์ใจมา<wbr>กกว่าความสุขใจ เพราะจะทำลายความสุขใจที่มี<wbr>อยู่ ที่ได้มาจากการทำใจให้สงบนี<wbr>้ให้หมดไป ก็จะยอมทนทุกข์ในขณะที่มีคว<wbr>ามอยากอยู่ แต่พอสอนใจว่าถ้าไม่กินตามค<wbr>วามอยากแล้ว จะดีกว่าจะได้ความสงบ ความสุขของใจกลับคืนมา พอเข้าใจอย่างนี้แล้ว ความอยากก็จะหยุดไปเอง

    ธรรมะบนเขา วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๖
    “สถานที่สงบ สงัด วิเวก”
    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
     

แชร์หน้านี้

Loading...