“มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” งานบุญใหญ่เมืองนคร

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 22 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ” งานบุญใหญ่เมืองนคร
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กุมภาพันธ์ 2554 16:53 น.

    [​IMG] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ขบวนแห่ผ้าพระบฏ</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> นครศรีธรรมราช ดินแดนเก่าแก่ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองพระ ได้รับการสันนิษฐานว่ารับเอาพระพุทธศาสนามาจากประเทศศรีลังกา ก่อนที่จะเผยแผ่ไปถึงกรุงสุโขทัย เห็นได้จากสถูปแบบลังกา ซึ่งก็คือ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ศูนย์รวมความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวเมืองนครและคนต่างถิ่น ที่เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จะนับว่าเป็นสิริมงคลในชีวิตอันใหญ่หลวง เพราะมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    และงานบุญใหญ่ ที่จัดขึ้นเพื่อบูชาองค์พระบรมธาตุก็คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ที่จะจัดขึ้นทุกๆ ปี โดยในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 12-18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ภายใต้ชื่องาน “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร 2554”

    ร่วม 800 ปี ที่ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุที่เมืองนคร ได้รับการสืบสานมาอย่างต่อเนื่อง ผู้คนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาเข้าร่วมงานด้วยความศรัทธา ซึ่งนอกจากจะเป็นการสานต่องานบุญในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของชาวเมืองนครอีกด้วย

    ระหว่างช่วงที่มีการจัดงานขึ้น นอกจากจะมีกิจกรรมการแห่ผ้าขึ้นธาตุแล้ว ก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่หลอมรวมกันเข้าเป็นประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ อีกด้วย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">บุญสวดด้าน</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> สวดด้าน ต้นแบบการสวดโอเอ้วิหารราย
    การสวดด้าน เป็นอีกหนึ่งประเพณีของชาวนครศรีธรรมราช ที่เป็นการสวดเฉพาะในวันพระหรือวันธรรมสวนะ เฉลิม จิตรมาศ ประชา สัมพันธ์วัดพระมหาธาตุรมหาวิหาร ให้ความรู้ว่า การสวดด้านก็คือ การสวดของชาวบ้าน ที่แตกต่างจากปกติที่พระสงฆ์เป็นผู้สวด เป็นต้นแบบของการสวดโอ้เอ้วิหารรายในวัดพระแก้ว

    “ความเป็นมาของการสวดด้านก็เนื่องมาจาก ในวันพระจะมีคนมาทำบุญเยอะ ก็จะต้องมาเตรียมตัวนั่งรอก่อนที่พระสงฆ์จะไปถึง ช่วงที่นั่งว่างอยู่ก็จะพูดคุย นินทากันไปเรื่อยๆ และในกลุ่มของชาวบ้านก็จะมีคนที่อ่านหนังสือออกเพราะสมัยก่อนนั้นคนที่ อ่านออกเขียนได้นั้นมีอยู่น้อยมาก เรียกว่าคนที่รู้หนังสือเป็นผู้วิเศษ เขาก็มาอ่านหนังสือให้ฟัง อ่านชาดกบ้าง อ่านบทสวดมนต์ให้ฟังบ้าง ทีนี้ก็เลยมีคนมานั่งฟังกันเยอะขึ้น วันต่อๆ มาก็ทำตามแบบนี้มาเรื่อยๆ เรียกว่าเป็นที่มาของการสวดด้าน”

    ส่วนชื่อของการสวดด้าน คำว่า “ด้าน” หมายถึงด้านต่างๆ ของพระวิหารคด หรือ พระระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งมีอยู่ 4 ด้าน เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านจะมานั่งฟังพระภิกษุสงฆ์มาเทศนาธรรม การที่ได้ใช้ช่วงว่างในการรอพระสงฆ์มาสวดด้าน ก็จะช่วยขับกล่อมจิตใจ และเตรียมใจให้สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เพื่อรับฟังธรรมะด้วยจิตใจที่ใสสะอาด

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">บวงสรวงพิธีพราหมณ์ก่อนการกวนข้าวมธุปายาสยาคู</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> กวนข้าวทิพย์ มธุปายาสยาคู
    ข้าวมธุปายาสยาคู ข้าวทิพย์ หรือข้าวยาคู เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่งที่ในสมัยก่อนชาวบ้านในภาคใต้นิยมทำกันที่วัดในช่วง เดือน 6 หรือ เดือน 10 แต่ในภายหลังมานิยมทำในวันขึ้น 13 ค่ำ และ 14 ค่ำ เดือน 3 ต่อเนื่องกับวันมาฆบูชา

    แต่เดิมนั้นการกวนข้าวมธุปายาสยาคูเป็นพิธีของทางศาสนาพราหมณ์ ในภายหลัง พุทธศาสนิกชนได้นำมาปฏิบัติเป็นประเพณีสืบทอดกันมา เนื่องจากความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ในตอนที่นางสุชาดากวนข้าวมธุปายาสยาคูแล้วนำมาถวายแก่พระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อได้เสวยแล้วก็ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ

    ตามความเชื่อของชาวนครศรีธรรมราช หากว่าได้กินข้าวมธุปายาสยาคูซึ่งถือว่าเป็นอาหารทิพย์ จะมีสมองดี เกิดปัญญา มีอายุยืนยาวร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส เป็นยาดีที่ขจัดโรคภัยได้ทุกชนิด และยังทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาอีกด้วย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">กวนข้าวทิพย์ มธุปายาสยาคู</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ตามพุทธประวัติ ข้าวมธุปายาสคือข้าวที่หุงด้วยนมโค แต่สำหรับการกวนข้าวมธุปายาสยาคูในประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จะมีส่วนผสมที่แตกต่างไปหลายชนิด อาทิ กะทิ เนย น้ำตาล เผือก มัน ถั่ว งา ฟักทอง กล้วย เป็นต้น ซึ่งการกวนก็จะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง จะใช้ความสมัครสมานสามัคคีของชาวบ้านมาช่วยกันกวน

    พิธีจะเริ่มจากการบวงสรวงในพิธีพราหมณ์ จากนั้นจะมีการเจริญชัยมงคลคาถาโดยพระสงฆ์ในพิธีพุทธ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเมื่อนำส่วนผสมใส่ลงไปในกระทะแล้ว ผู้ที่เริ่มกวนเป็นคนแรกก็คือสาวพรหมจรรย์ จากนั้นชาวบ้านก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาช่วยกันกวนข้าวมธุปายาสยาคูจน เหนียวได้ที่

    จากนั้น จะนำข้าวมธุปายาสยาคูที่ได้ไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านเป็นการแบ่งปันกัน ซึ่งทำให้เห็นว่าทุกคนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ที่ถึงแม้ว่าไม่ได้มาร่วมกวนด้วย แต่ก็จะได้รับข้าวมธุปายาสเป็นของฝากด้วยเช่นกัน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ผ้าพระบฏจากประเทศศรีลังกา</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เครื่องพุทธบูชา ผ้าพระบฏ
    ผ้าพระบฏเป็นหนึ่งในเครื่องบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาว พุทธทั่วโลกมาเนิ่นนาน ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล มีตำนานเขียนภาพว่าพระเจ้าอชาตศัตรูทูลขอพระพุทธฉายจากพระพุทธเจ้าเพื่อ สักการบูชา และพระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธฉายประทับบนผืนผ้าผืนหนึ่งพร้อมการระบายด้วย สีต่างๆ จนสืบต่อการทำภาพบนผืนผ้าอย่างกว้างขวางถึงประเทศทิเบต จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่ยังนิยมเขียนภาพพระพุทธเจ้าและอื่นๆ ลงบนผืนผ้าในทุกวันนี้

    ส่วนที่นครศรีธรรมราช เมื่อรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา ก็ได้รับเอาความเชื่อเรื่องผ้าพระบฏเข้ามาด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ก่อนจะเริ่มพิธีสมโภชพระบรมธาตุไม่กี่วัน ได้มีคลื่นซัดผ้าแถบผืนหนึ่งที่มีลวดลายเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติมาขึ้น ที่หาดปากพนัง ชาวบ้านได้เก็บขึ้นมาแล้วส่งมาทูลเกล้าฯถวายพญาศรีธรรมโศกราช ที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งปรากฏว่าเป็นของชาวพุทธกลุ่มหนึ่งที่นำลงเรือจะไปถวายพระทันตธาตุที่ ลังกา แต่เกิดมรสุมทำให้เรือแตกเสียก่อน พญาศรีธรรมโศกราชจึงโปรดให้ชาวเมืองจัดเครื่องประโคมแห่แหนขึ้นห่มองค์พระ บรมธาตุเจดีย์ และให้ทำสืบเนื่องมา จนกลายเป็นประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุอย่างทุกวันนี้

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ลวดลายพุทธประวัติบนผ้าพระบฏ</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> สำหรับผ้าพระบฏนั้น คำว่า “บฏ” มีรากศัพท์ในภาษาบาลีว่า “ปฏ” (อ่าน ว่า ปะ-ตะ) ซึ่งหมายถึงผ้าทอ ผืนผ้า แต่ตามความหมายของไทยนั้น ผ้าพระบฏ คือผ้าผืนสี่เหลี่ยมขนาดยาว ที่เขียนภาพพระพุทธเจ้า พุทธประวัติ หรือทศชาดก ตลอดจนข้อคติธรรมคำสอน สำหรับห้อยแขวนเป็นพุทธบูชา

    ในประเทศไทย นอกจากจะมีที่นครศรีธรรมราชแล้ว ในภาคอื่นๆ ก็ยังมีอยู่เช่นกัน แต่ก็ลดถอยบทบาทลงไปแล้ว เช่นในภาคเหนือ ที่มีลักษณะเป็นตุง หรือธง ภาคอีสาน จะมีในงานบุญผะเหวด หรือในภาคกลาง ก็จะพบในงานบุญเทศน์มหาชาติ

    สมัยก่อน ผ้าพระบฏที่นำขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จะเป็นผ้าผืนยาว เขียนจิตรกรรมไทยเป็นภาพพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปปางต่างๆ และพุทธประวัติ เสร็จแล้วนำไปตกแต่งชายขอบผ้า ประดับประดาด้วยริบบิ้น พู่ห้อย ดอกไม้ หรือลูกปัดสีต่างๆ อย่างสวยงาม แต่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะทำเป็นผ้าผืนยาวเรียบๆ ไม่มีการเขียนรูป เนื่องจากช่างที่มีฝีมือมีจำนวนน้อยลง ชาวพุทธนิยมใช้ผ้า 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีแดง นำไปห่มรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">เด็กๆ ก็ยังมาร่วมแห่ผ้าพระบฏบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> การแห่ผ้าพระบฏนั้นจะเป็นการแห่ทักษิณาวรรตรอบองค์พระธาตุ 3 รอบ จากนั้นจะทำพิธีถวายผ้าพระบฏ โดยหัวหน้าคณะจะกล่าวนำด้วยภาษาบาลี แล้วจึงนำเข้าสู่วิหารพระทรงม้า (พระวิหารมหาภิเนษกรม) ซึ่งเป็นพระวิหารที่มีบันไดขึ้นสู่ภายในกำแพงแก้ว ล้อมรอบฐานพระบรมธาตุ ผู้ร่วมขบวนแห่จะส่งผู้แทนนำผ้าพระบฏขึ้นโอบล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ ต่อจากนั้นก็จะมีพิธีเวียนเทียนต่อไป

    นี่คืออีกหนึ่งงานบุญใหญ่ของชาวนครศรีธรรมราช และพุทธศาสนิกชน ที่เป็นสิ่งแสดงออกถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และยังถือเป็นประเพณีที่ดีงามที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
    </td></tr></tbody></table>

    Travel - Manager Online -
     

แชร์หน้านี้

Loading...