“ระบบสงฆ์” ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ “ระบอบธรรมาธิปไตย” ทางการปกครอง

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 มกราคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b887e0b886e0b98c-e0b882e0b8ade0b887e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b980e0b888e0b989.jpg

    คนข้างวัด/อุทัย บุญเย็น

    ระหว่างปลายปี 2561 กับต้นปี 2562 เขียนเรื่อง “ธรรมาธิปไตย” ที่วงการเมืองไทย ชอบอ้างว่าเป็นระบอบการปกครองของพระพุทธเจ้า เพราะรำคาญกับชาวพุทธที่โมเมว่า พระพุทธเจ้าสอนว่า ะรรมาธิปไตยเป็นระบอบการปกครอง เพราะหลงทางไปกับคำว่า “ประชาธิปไตย” ที่เป็นศัพท์บัญญัติของคำอังกฤษว่า Democracy ที่เป็นระบอบการปกครองอย่างหนึ่ง ในทฤษฎีทางการเมืองของฝรั่ง

    ได้บอกว่า ธรรมาธิปไตย เป็นวิธีปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าสอนภิกษุโดยเฉพาะ

    ได้บอกว่า ไม่ว่าจะเป็นอัตตาธิปไตย หรือโลกาธิปไตย ก็ล้วนแต่เป็นวิธีปฏิบิตธรรม

    บอกอีกว่า พระพุทธเจ้าทางไม่เคยสอนเรื่องระบอบการปกครอง และไม่เคยสอนทฤษฎีทางการเมืองใดๆ

    สมัยพุทธกาล การปกครองในทุกแคว้น ล้วนปกครองโดยราชา ที่เราเรียกว่า พระราชา หรือพระมหากษัตริย์ หรือพระเจ้าแผ่นดิน

    ประเทศไทยก็ปกครองโดย “พระเจ้าแผ่นดิน” หรือ ราชาตลอดมา

    สมัยนี้ถือว่า เป็นการปกครองในระบอบเผด็จการ ก็เลยคิดว่า เป็นการปกครองแบบ “อัตตาธิปไตย” เพราะเปรียบเทียบกับคำว่า “ประชาธิปไตย”

    ถ้าจะว่าไปแล้ว สมัยชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) มีระบอบการปกครองอย่างเดียว คือปกครองโดยราชา ซึ่งสมัยนี้คิดศัพท์ขึ้นว่า “ราชาธิปไตย”

    ราชาธิปไตย บัญญัติจากคำอังกฤษว่า Monarchy ถ้าเป็นราชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข หรือ มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ก็ใช้คำอังกฤษว่า Limited Monarchy

    แต่ไม่เคยพบคำบาลีแสดงระบอบการปกครอง

    ต้องการจะบอกชัดๆ ว่า การปกครองของพระพุทธเจ้าใช้ระบบสงฆ์เป็นใหญ่

    นักวิชาการทางพุทธศาสนาสมัยใหม่มักจะใช้คำว่า “ระบบสังฆะ” สังฆะ เขียนให้ออกเสียงอย่างบาลีคือ “สังฆะ” หรือ “สํฆ” ก็คือ “สงฆ์” ในคำไทยนั่นแหละ

    แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยใช้คำว่า “สังฆาธิปไตย” น่าสังเกตว่า เมื่อเรียกหมู่ภิกษุเมื่อเรียกหมู่ภิกษุ ใช้คำว่า “ภิกษุสงฆ์” หรือ “ภิกขุสงฺโฆ” ไม่ใช้คำว่า ภิกขุนิกาโย หรือ ภิกขุกาโย ที่แปลว่า หมู่ภิกษุเหมือนกัน

    คำว่า “สงฆ์” ใช้ในสังฆกรรมต่างๆ ก็มีซึ่งระบุจำนวนภิกษุไม่เท่ากัน

    ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปเรียกว่า สงฆ์ ต่ำกว่า 4 รูป เรียกว่า “คณ”

    ถ้าเป็นคณะภิกษุ (ไม่เรียกว่า สงฆ์) มีระบุจำนวน 4 รูป-5รูป และ21 รูป แล้วแต่ว่าเป็นสังฆกรรมชนิดใด

    4 รูปขึ้นไปเป็นสงฆ์ในอุโบสถสังฆกรรม (และในสังฆกรรมอีกหลายอย่าง)

    5 รูปขึ้นไปเป็นสงฆ์ในการรับและมอบผ้ากฐิน

    21 รูป ขึ้นไปเป็นสงฆ์ในพิธีลดอาบัติภิกษุผู้ละเมิดอาบัติสังฆาทิเสส (หลังจาก “อยู่กรรม” หรือ ประพฤติตนตามเงื่อนไขที่ทรงบัญญัติ)

    (สงฆ์อีกประเภทหนึ่ง จำนวนภิกษุ 5 รูป เป็นสงฆ์กรณีพิเศษ ใช้อุปสมบทภิกษุในพื้นที่ห่างไกลซึ่งหาภิกษุได้ยากแทนที่จะเป็นสงฆ์จำนวนภิกษุ 10 รูปขึ้นไป)

    จะเห็นได้ว่า คำว่า สงฆ์ เริ่มใช้แสดงจำนวนภิกษุในสังฆกรรมต่างๆ

    คำว่า “สังฆกรรม” ก็คือ กิจของภิกษุในประเภทต่างๆ ซึ่งใช้ภิกษุเป็นองค์ประชุมจำนวนต่างๆกัน

    สังฆกรรมแต่ละอย่างนั้น ถ้ามีภิกษุจำนวนไม่ครบองค์ประชุม ก็ใช้ไม่ได้ คือไม่เป็นสังฆกรรม (แต่ก็ทำเป็น “คณกรรม” ได้) แต่พระพุทธเจ้ามุ่งให้สังฆกรรมทำโดยสงฆ์ คือให้มีความพร้อมเพรียงกันทำ

    โดยเฉพาะในวัด (หรือในอาวาส) หนึ่งๆ นั้นสงฆ์ต้องทำอุโบสถสังฆกรรม (ฟังสวดปาติโมกข์) ในที่แห่งเดียวกัน จะแยกกันทำคนละที่ หรือมีโบสถ์ 2 หลัง ไม่ได้

    นั่นคือ “สังฆเภท”

    สังฆเภท คือ สงฆ์แตกแยกกันเป็นฝักฝ่าย เป็นที่มาของคำว่ “ไม่ร่วมสังฆกรรมกัน”

    พระพุทธเจ้าหรือ ศาสดาทั้งหลายในสมัยพุทธกาลอยู่ภายใต้การปกครองของราชาทั้งสิ้น การปกครองในสมัยนั้นมีระบอบเดียว ไม่มีระบอบประชาธิปไตยและไม่มีระบอบอื่นใดๆ ให้เลือก มีร่องรอยของการปกครองในคำสอนของสาสดา (ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า “ครู” หรือ “สัตถุ-สัตถา”)

    คำว่า ครู (สัตถุ-สัตถา) ตรงกับคำว่า “ศาสตราจารย์” ในภาษาสันสกฤติ ต่อมา โลกทางตะวันตกหือฝรั่งพาเรียกครูทั้งหลายเหล่านั้นว่าเป็น ศาสดา และเรียกลัทธิคำสอนต่างๆ ว่า (ศาสนา) ทั้งๆ ที่ทุกลัทธิคำสอนมาจากครูต่างๆ

    ฝรั่งพาเราแบ่งแยกกันเป็นส่วนๆ ในหลายเรื่องแม้แต่แผ่นดินใหญ่(หรือ “เกาะ” ใหญ่ อย่างชมพูทวีป) ที่เคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน ก็แยกเป็นแคว้นหรือเป็นรัฐ หรือเป็นประเทศต่างๆ

    และการปกครองก็แยกกันเป็น “ระบอบ” ต่างๆ ตามทฤษฎีของโลกตะวันตก

    การปกครองโดยราชาองค์เดียว เรียกว่า “ระบอบราชาธิปไตย” การปกครองโดยราชาหลายองค์เรียกว่า “ระบอบคณาธิปไตย” ฯลฯ บ้างก็เรียกว่า “ระบอบสาธารณรัฐ” หรือเรียกเป็นระบอบ”สามัคคีธรรม” ก็มี เป็นการจัดเข้าระบอบตามทฤษฎีของโลกตะวันตก

    พระพุทธเจ้าก็มาจาก “ราชา” ในแคว้นสักกะ (หรือ “ศากยะ”) แต่ท่านก็ไม่จัดระบบการปกครองภิกษุหรือสาวกของท่านตามอย่างบ้านเมือง

    ถ้าจะจัดเป็นระบบการปกครอง พระพุทธเจ้าก็ไม่ตั้งตนเป็นราชาของภิกษุทั้งหลาย แม้จะมีภิกษุมากขึ้นตามลำดับพระพุทธเจ้าก็ไม่แบ่งแยกการปกครองซ้อนอยู่ในแคว้นของราชา

    เมื่อจำนวนภิกษุมากขึ้น ก็ทรงเรียกภิกษุว่า “สงฆ์” หรือ “สังฆะ” จัดรูปการปกครองด้วยระเบียบวินัยหรือสิกขาบท ให้สงฆ์อยู่กับชาวบ้านชาวเมืองได้ พระพุทธเจ้าไม่ให้สงฆ์แทรกแซงกิจการของราชาทางโลก

    แม้แต่การเข้าไปพักกับกองทัพของราชา ก็ทรงวางระเบียบให้ภิกษุสำรวมระวัง ไม่ให้เป็นที่รบกวนการปกครองของทางโลกได้

    พระพุทธเจ้ามุ่งให้สงฆ์เป็นฝ่ายพัฒนาด้านจิตใจของคนและตนเอง จึงไม่ปกครองสงฆ์ตามอย่างบ้านเมือง

    การปกครองสงฆ์ของพระพุทธเจ้า จึงไม่เป็นระบอบการปกครองชนิดใดๆ ตามทฤษฎีแบบตะวันตก

    จะเรียกว่า “ระบอบธรรมธิปไตย” เห็นจะไม่ได้

    การที่จะรู้ว่า การปกครองสงฆ์ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไรควรศักษาจากพระวินัยปิฎก ซึ่งแจกแจงสิกขาบท (เทียบได้กับตัวบทกฎหมาย) ไว้ 2 ส่วน คือ สิกขาบทใหญ่ (เรียกว่า “พรหมจาริกาสิกขา”) หรือสิกขาบทที่สงฆ์สวดทบทวนสู่กันฟัง (จำนวน 227 ข้อ) ที่เรียกว่า “สวดปาติโมกข์” ทุก 14-15 วัน และสิกขาบทย่อย (เรียกว่า ” อภิสมาจารสิกขา) ซึ่งมีจำนวนมากมาย

    การบัญญัติสิกขาบทของพระพุทธเจ้าใช้วิธี “ชี้ตาม” คือ บัญญัติขึ้นตามเรื่องที่เกิด ไม่ใช้วิธี” ชี้นำ” หรือ คิดล่วงหน้าก่อนเกิดเรื่อง

    ส่วนวิธีแบบ “ธรรมธิปไตย” ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร?

    ขอขอบคุณที่มา
    https://siamrath.co.th/n/60756
     

แชร์หน้านี้

Loading...