“วิปัสสนานุบาล” หลักการฝึกวิปัสสนาเบื้องต้น โดย ดังตฤณ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย apichai53, 12 มกราคม 2010.

  1. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    บทที่ ๑ วิปัสสนาคืออะไร?


    ถ้าจะเอาเป็นคำแปล วิปัสสนาแปลได้หลายแบบ แต่ถ้าถามว่าวิปัสสนาคืออะไร เอาคำตอบชนิดสื่อใจถึงใจ ก็ต้องว่าวิปัสสนาคือ ‘เห็นตามจริง’ ลองนึกดู คำว่า ‘เห็นตามจริง’ ทำให้คุณมีปฏิกิริยาทางความรู้สึกเป็นอย่างไร? คุณนึกถึงอะไรจากการอ่านคำว่า ‘เห็นตามจริง’ บ้าง? หนังสือเล่มนี้เขียนเป็นภาษาไทย คุณอ่านภาษาไทยออก นี่คือข้อเท็จจริงที่ใครก็ปฏิเสธไม่ได้

    ฉะนั้นถ้าบอกว่าคุณกำลัง ‘คิดเป็นภาษาไทย’ ก็ย่อมถูกต้องตามจริง ใครเข้าใจว่าตัวเองกำลังคิดเป็นภาษาไทย ก็ขอแสดงความยินดีด้วย คุณเข้าใจถูกแล้ว คุณกำลังเห็นตามจริงแล้ว แต่ถ้าถามว่า ‘คุณเป็นคนไทยหรือเปล่า?’


    ตรงนี้อาจเริ่มยากกว่าคำถามข้อก่อน เพราะมันขึ้นอยู่กับมุมมองว่าคุณถือตัวเองเป็นคนชาติไหน ถ้ามีใครบังคับให้คุณยอมรับว่าเป็นไทย ในขณะที่ใจอยากคิดว่าเป็นคนจีนหรือมีเชื้อสายจีนเข้มข้นกว่า อย่างนี้แปลว่าต้องนั่งเถียงกันแล้ว และไม่ว่าใครจะงัดเอาเหตุผลหรือหลักฐานสนับสนุนความคิดตัวเองมายันกันยกใหญ่ปานใด ก็สรุปที่จุดเดียวคือเชื่ออย่างไรก็มีความจริงอยู่อย่างนั้น


    คำถามคือ ในเมื่อความจริงผูกอยู่กับความเชื่อ อย่างนี้การเห็นตามจริงที่แท้ก็ไม่มีน่ะซี? นี่มิแปลว่าเรากำลังอยู่กับความจริงที่สร้างขึ้นเองมาตลอดหรอกหรือ? ต่างคนต่างอยู่ในโลกความจริงเฉพาะเขตของตัวเองโดยไม่อาจล้ำเส้นกันอยู่อย่างนั้นการเถียงกันว่าอะไรจริงอะไรเท็จจะไม่ได้ข้อยุติหากปราศจากจุดมุ่งหมาย เพราะฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงการเพียรพยายามประพฤติตนเพื่อเห็นความจริง ก็ต้องถามต่อด้วยว่า ‘เห็นไปเพื่ออะไร?’

    บางความจริงเช่นเรื่องเชื้อชาติอาจมีความหมายแค่ทำให้รู้สึกว่า ‘ฉันเป็นคนละพวกกับเธอ’ หรือ ‘ข้ามันคนละชั้นกับเอ็ง’ หนักกว่านั้นอาจลามล้ำไปถึงขั้นต้องพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือเบาะๆคือมีความคิดเหยียดผิวอยากทำร้ายกันอยู่ในปัจจุบันจุดหมายของวิปัสสนานั้น คือเห็นตามจริงเพื่อเป็นอิสระจากอุปาทานลวงใจทั้งปวง เป็นไทแก่ตัวไม่ถูกครอบงำด้วยอำนาจมืดของความหลงผิด เราจะไม่ตระหนักว่าอันตรายของความหลงผิดมีมากมายปานใดจนกว่าจะต้องทุรนทุรายทรมานกับผลลัพธ์บางอย่างที่สร้างขึ้นมาเอง จ

    ะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถไปถึงความจริงของชีวิต เช่น เราไม่จำเป็นต้องรบกันเพราะความเชื่อ หรือ เราไม่ต้องทุกข์เพราะความคิดก็ได้และย่อยมาถึงเรื่องดาษๆประจำวันเช่น แค่ทิ้งงานไว้ที่ออฟฟิศก็ไม่ต้องคิดเครียดมาถึงบ้านแล้ว เอาล่ะ! เป็นอันว่าพอรู้คร่าวๆแล้วว่าวิปัสสนาคือเห็นตามจริงเพื่อหลุดจากอุปาทาน และหลุดจากอุปาทานได้ก็ไม่ต้องทนทุกข์เพราะเรื่องไม่เป็นเรื่อง


    ทีนี้มาถึงคำถามสำคัญว่าการเห็นตามจริงนั้น จะเอาอะไรเป็นเป้าหมายในการเห็น? คงทำนองเดียวกับเรารู้แล้วว่ากำลังจะรบทัพจับศึกเพื่อพ้นจากการเป็นทาส แต่ศัตรูคือใครล่ะ? พวกเขาอยู่ที่ไหนล่ะ? เราจะเจอได้เมื่อไหร่ล่ะ?คำตอบสำหรับผู้ใคร่คิดทำวิปัสสนาที่บ้าน

    เป้าหมายของการดูให้เห็นตามจริงก็คือทุกสิ่งที่ทำให้เราหลงไปยึดมั่นถือมั่นโดยไม่จำเป็น อะไรบ้างที่ไม่จำเป็น แต่กลับทำร้ายเราได้ราวกับศัตรู?ลองถามตัวเองว่าเคยมีประสบการณ์ทำนองนี้บ้างหรือไม่ เคยไหมที่เราเสียท่าใครให้เขาโกงเงินไม่กี่บาท แต่ต้องเก็บมาคิดหนักไม่เลิก เรียกว่าถูกคนอื่นโกงเงินไม่พอ ยังโดนความคิดของตัวเองปล้นความสุขไปอีก?

    เคยไหมที่ตกลงเลิกรักเลิกเป็นแฟนกันแล้ว แต่อุตส่าห์คิดหึงหวงคนรักเก่า คิดถึงอดีตด้วยความเสียดาย คิดพะวงไปว่าเขาจะมีความสุขกับใครอื่นอย่างไรบ้าง? เคยไหมที่เชียร์ฝ่ายหนึ่ง แต่อีกฝ่ายดันชนะ ซึ่งเท่ากับผลักให้เรากลายเป็นผู้แพ้ไปด้วย ทั้งที่คิดดีๆแล้วเราไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับฝ่ายปราชัยเลยแม้แต่น้อย?คำถามข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่อาจแสดงให้ตระหนักว่าคนเรายึดมั่นกับเรื่องไม่เป็นเรื่องจนทุกข์หนักได้อย่างเหลือเชื่อเพียงใด


    แต่ความจริงอันน่าตระหนกก็คือแต่ละวันเราอาจยึดมั่นสิ่งที่ไม่จำเป็นไว้ถึง ๙ เรื่องจากทั้งหมด ๑๐ เรื่อง บางครั้งบางคราวคุณอาจยอมรับกับตนเองหรือบ่นกับใครๆว่าโง่เหลือเกินที่ย้ำคิดย้ำกลุ้มกับเรื่องเหลวไหลไร้สาระหรือเรื่องขี้ปะติ๋ว แต่รู้ทั้งรู้ว่าโง่ก็หยุดคิดไม่ได้ เอามันไม่อยู่ กู่สติไม่กลับ ขอเพียงรู้จักวิปัสสนาอย่างแท้จริง

    การรู้จักนิยามของวิปัสสนาอย่างแท้จริงคือก้าวแรก และก้าวแรกก็คือการยอมรับตามจริงผ่านการใคร่ครวญด้วยความคิดธรรมดาๆ ว่าสิ่งใดควบคุมให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ สิ่งนั้นย่อมไม่ชื่อว่าเป็นของเรา ยกตัวอย่างเช่นเมื่อยอมรับว่าความคิดไม่ใช่ของเรา เราจะรู้สึกตัวเหมือนถอนออกมาจากทุกข์ร้อนเพราะความคิดกว่าครึ่ง และส่งผลให้ความคิดอ่อนกำลังลงทันทีเหมือนเส้นผมบังภูเขา และเหมือนเรื่องน่าขบขันที่พวกเราอ่านไม่ออก ตามเกมไม่ทัน พอตามไม่ทันก็กลายเป็นเหยื่ออันโอชะของโลกนี้


    ผู้คนทั้งหลายหายใจเข้าออกเพื่อรับใช้กิเลสอันก่อเหตุให้ทุกข์มากทุกข์น้อย และอาจจะตายตาไม่หลับไปพร้อมกับทุกข์ที่กัดกินหัวใจมาตลอดชีวิต ต่อเมื่อรู้จักนิยามของวิปัสสนา และเห็นว่าเพียงเปลี่ยนมุมมองชีวิตเสียใหม่ตามหลักวิปัสสนา ก็ไม่ต้องย้ายร่างไปที่ไหน ไม่ต้องทำพิธีรีตองอันใด ความสุขก็ปรากฏขึ้นแทนที่แล้วขณะยังมีลมหายใจ ก่อนจะตายไปพร้อมกับความไม่รู้และต้นเหตุทุกข์ครั้งใหม่ๆ


    สรุป
    <O:p</O:p
    วิปัสสนาคือการเห็นตามจริง ว่าทุกสิ่งทั้งข้างนอกและข้างในเราไม่เที่ยง บังคับควบคุมให้เป็นไปตามอยากไม่ได้ เพื่อปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่นผิดๆ พ้นจากอุปาทานครอบงำให้ทุกข์ใจกับเรื่องที่ไม่ควรเป็นธุระของเรา หน้าที่ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาคือแค่เปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ จากนักเรียกร้อง นักต่อสู้บูชาตัณหา และนักสำคัญตัวผิด มาเป็นคนดู คนรู้คนต่อสู้เพื่อบูชาความจริงตามสิ่งที่ปรากฏแสดงเสียแทน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  2. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    บทที่ ๒ เขาเริ่มทำวิปัสสนากันอย่างไร?

    นักวิปัสสนาที่ดีจะเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าถ้าใครอ่านบทที่ ๑ ไปแล้ว และตอนนี้คุณตอบได้ว่าวิปัสสนาคืออะไรเหมือนที่สรุปไว้ตอนท้ายของบท ก็ถือว่าคุณออกเดินก้าวแรกแล้วเรียบร้อยคนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าการทำวิปัสสนาคือการนั่งหลับตาปั้นหน้าขรึม

    หรือการเดินจงกรมที่ข้างกำแพงวัด อันนั้นเป็นเพียงภาพส่วนย่อยที่อาจจะเด่นหน่อย ไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด วิปัสสนาที่แท้จริงของผู้ช่ำชองนั้น อาจทำกันขณะกำลังนั่งเอาตะเกียบพุ้ยข้าวเข้าปากก็ได้หรือหลังจากเพิ่งแหกปากหัวเราะท้องคัดท้องแข็งเสร็จก็ได้หรือกระทั่งน้ำตาอาจจะยังไม่ขาดสายก็ได้เมื่อใดมีสติรู้ตามจริงขึ้นมาว่าสิ่งที่กำลังปรากฏมีความไม่เที่ยง เป็นของที่บังคับดังใจไม่ได้ เมื่อนั้นเองที่เรากำลังอยู่ในวิปัสสนาม

    ลองนึกถึงคำว่า ‘ได้สติ’ ดู คำนี้ทำให้คุณนึกถึงอะไร? ขอให้เอาตัวอย่างจากชีวิตประจำวันของตัวเอง บางคนอาจนึกถึงการเหม่อลอยขณะขับรถ ก่อนจะเหม่อจนพารถตกถนนก็เกิดสติว่ากำลังขับรถเลิกวาดวิมานในอากาศหรือหมกมุ่นครุ่นคิดถึงเรื่องนอกถนนเสียได้ เป็นต้น ที่บรรทัดนี้ของหนังสือเล่มนี้ขอให้คุณนึกให้ออกว่าการ ‘ได้สติ’ สำหรับคุณหมายถึงสิ่งใด

    มันอาจหมายถึงการรู้สึกตัวว่าขณะนี้คุณกำลังอ่านหนังสือ และตั้งคำถามถามตนเองอยู่ก็ได้แต่ในขณะที่คุณได้สติรู้สึกว่ากำลังขับรถ หรือได้สติรู้สึกว่ากำลังถูกถามให้ย้อนคิด คุณยังไม่รู้ว่าจะดูตรงไหน จึงจะเห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง ของควบคุมไม่ได้ อย่างนั้นเรามาดูสาธิตกันเดี๋ยวนี้เลย เอาความรู้สึกว่าไม่รู้จะดูตรงไหนนั่นแหละมาใช้ ถ้าหากคุณรู้สึกงงๆ สงสัย ตั้งคำถาม หรือคิดควานหาคำตอบอยู่ล่ะก็ ขอแสดงความยินดีด้วย เพราะความรู้สึกนั้นแหละที่เราต้องการสภาพงงๆ ตื้อๆตันๆ ไม่รู้จะดูอะไร สงสัยว่าทำกันท่าไหนนี้ทางวิปัสสนาเรียกว่าเป็นเครื่องขวางความก้าวหน้าหรือ ‘นิวรณ์’ ชนิดหนึ่ง แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ให้หลักวิธีจัดการไว้คือให้มีสติรู้ตามจริงว่าจิตของเรากำลังตกอยู่ในสภาพถูกครอบงำด้วยความสงสัย

    ขณะของการรู้ว่ากำลังสงสัยนั่นเองเรียกว่าเกิดสติรู้ตามจริงขึ้นมานิดหนึ่งแล้ว คือรู้ว่ามีภาวะชนิดหนึ่งปรากฏอยู่แต่ที่จะเห็นจริงแบบหลุดจากการครอบงำของความสงสัยได้นั้น ไม่ใช่แค่เห็นลักษณะความสงสัยตั้งอยู่เท่านั้น คุณต้องเห็นลักษณะการหายตัวไปของความสงสัยด้วยคำถามคือทำอย่างไรสภาวะสงสัยจึงหายไป คำตอบคือให้หายใจทีหนึ่ง ทันทีที่คุณบอกตัวเองได้ว่าคุณกำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก แปลว่าวินาทีนั้นความสงสัยหายไปแล้ว และถูกแทนที่ด้วยสติรู้ว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก เมื่อสติหลุดจากความรับรู้ลมหายใจ ความสงสัยหรือใคร่รู้ก็จะกลับมาอีก

    ตรงนี้คือจุดให้สังเกตความต่างระหว่างภาวะสงสัยกับไม่สงสัยได้ ณ วินาทีที่คุณบอกตัวเองว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกได้นั้นเอง ให้สำรวจดูเถิด ภาวะเดิมคือความสงสัยที่กระเดียดไปในทางอึดอัดเป็นทุกข์จะแปรเป็นภาวะใหม่คือความหมดพะวงอันกระเดียดไปในทางปลอดโปร่งเป็นสุข เพียงเมื่อเห็นว่าภาวะที่กำลังสงสัย กับภาวะหายสงสัยชั่วคราวแตกต่างกันอย่างไร ก็เรียกว่ามีสติแบบวิปัสสนาอย่างอ่อนๆแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากความรู้สึกว่าเมื่อกี้จิตเป็นอย่างหนึ่ง ตอนนี้จิตเป็นอีกอย่างหนึ่ง ก็คือการเห็นจิตในอดีตผ่านล่วงไปแล้ว จบไปแล้วแปรปรวนไปแล้ว ไม่ใช่ปัจจุบันแล้ว

    ซึ่งตามธรรมชาตินั้น เมื่อจิตเห็นสิ่งใดหายไป ย่อมไม่สำคัญว่าสิ่งนั้นเป็นตนตรงนี้น่าสนใจ คือน่าสังเกตว่าแล้วจิตเห็นสิ่งใดเป็นตน? คำตอบก็คือสภาพที่กำลังเป็นปัจจุบัน กำลังปรากฏเฉพาะหน้าอยู่นี่เอง อย่างเช่นเมื่อเปรียบเทียบภาวะสงสัยกับภาวะไร้ความสงสัย ก็จะเห็นอาการที่จิตเลิกเกี่ยวข้องพะวงกับความสงสัยอันเป็นอดีตไปแล้ว แต่กลับมายึดมั่นความไม่สงสัยในปัจจุบันเป็นตัวเป็นตนแทนถ้าเข้าใจตรงนี้ชัดเจน รวมทั้งสังเกตออกว่าอะไรคือภาวะในปัจจุบันที่เรากำลัง ‘เข้าใจผิด’ หรือ‘มองไม่เห็นตามจริง’ ก็ถือว่าคุณเข้าใจหลักพื้นฐานของวิปัสสนาชัดเจนพอสมควรแล้วลำดับต่อไปที่ต้องรู้ก็คือ มีอะไรในตัวเราให้ดูบ้าง?

    คำตอบคือทั้งหมดที่เป็นส่วนของกาย และทั้งหมดที่เป็นภาวะทางใจ ล้วนแล้วแต่ถูกรู้ด้วยสติแบบวิปัสสนาได้ทั้งสิ้นแต่บอกแค่นี้ก็จะงงอีก คืองงว่าจะดูกายใจทั้งหมดได้อย่างไร เหมารวมทีเดียวเลยหรือ? คำตอบคือให้แยกดูเป็นส่วนๆก่อน เพราะการเห็นทั้งหมดในคราวเดียวไม่มี และเป็นไปไม่ได้จึงควรดูเท่าที่จะสามารถดูได้เท่านั้นพอคราวนี้อาจเป็นคำถามสำคัญที่สุด คือจะดูส่วนไหนก่อนดี? พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ดูลมหายใจมากที่สุด เพราะลมหายใจเป็นที่พึ่งได้เป็นตัวฉุดสติได้ เป็นตัวเลี้ยงสติได้อีกทั้งเป็นตัวทำให้เกิดสติเห็นความไม่เที่ยงตามจริงได้ด้วยอย่างที่เคยกล่าวไว้ก่อน

    คือแค่เรารู้ธรรมดาๆว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก ตรงนั้นเรียกว่ามีสติเมื่อใดมีสติเมื่อนั้นความสงสัยและความฟุ้งซ่านย่อมถูกแทนที่ได้ชั่วคราว ดังนั้นจึงน่าปลูกฝังความพอใจในการรู้ทันว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกให้มาก เพื่อแย่งพื้นที่ของจิตเอามาให้กับสติมากกว่าการปล่อยให้ความสงสัยและความฟุ้งซ่านครอบครองไป เมื่อใดใจฝักใฝ่อยู่กับลมหายใจ คุณจะรู้สึกว่าอาการ ‘หลุดหายไปจากโลก’ นั้นกินเวลาสั้นลและจิตอยู่ในสภาพพร้อมจะไปรู้รายละเอียดส่วนอื่นๆของกายใจมากขึ้นเรื่อยๆปัญหาสำหรับคนส่วนใหญ่คือไม่สามารถปลูกฝังความพอใจ หรือกระทั่งเตือนสติให้ตนเองเข้ามารู้ลมหายใจหรือรายละเอียดอื่นๆในกายใจได้ง่ายดายนัก บทต่อไปจะเสนออาวุธที่จะใช้ในการขจัดอุปสรรคข้อนี้

    สรุป
    <O:p</O:p
    การเริ่มลงมือทำวิปัสสนานั้นไม่ใช่เรื่องยาก แค่ทันทีที่เข้าใจว่าจะให้กำหนดจิตดูอะไร ขณะนั้นก็ถือว่าใช่แล้ว เช่นเปรียบเทียบให้เห็นภาวะต่างระหว่างความสงสัยกับความไม่สงสัยเป็นต้น เครื่องทุ่นแรงที่จะเอาคุณออกจากจุดเริ่มต้นได้คือลมหายใจ ขอเพียงมีสติรู้ลมหายใจแค่ทีเดียว ก็เปรียบเหมือนผนังกั้นแบ่งภาวะสงสัยกับภาวะไม่สงสัยแยกเป็นต่างหากจากกันให้รู้ได้ง่ายแล้ว บทต่อๆไปจะกล่าวถึงอุบายเบื้องต้นเพื่อทำวิปัสสนาให้ได้ต่อเนื่อง และเราจะฝึกกันระหว่า่งอ่านหนังสือนี่เลยทีเดียว!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  3. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    บทที่ ๓ การฝึกหายใจเพื่อยกระดับสติ

    บทนี้เรามายกระดับสติขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ด้วยวิธีสังเกตลมหายใจที่ต่างไปนั่นเอง คุณไม่ต้องลำบากลำบนฝึกดัดตัวแบบโยคะให้ยุ่งยาก เพียงแค่ทราบว่าจะสังเกตลมหายใจอย่างไรก็พอเอาเดี๋ยวนี้เลยก็แล้วกัน ถ้าให้ถามตัวเองว่าลมหายใจสุดท้ายที่ผ่านมาเป็นสั้นหรือยาว หากตอบไม่ถูกแปลว่าสติของคุณไม่อยู่ที่ลมหายใจ และมีความโน้มเอียงว่าจะเป็นลมสั้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากสติของคุณใช้ไปในการตามอ่านข้อความบนหน้าหนังสือนั่นเองแต่มาถึงตรงนี้จะเห็นว่าทันทีที่มีข้อความสะกิดให้สังเกต ลมหายใจของคุณจะยาวขึ้นทันที ทั้งที่ยังไม่ได้ละสายตาไปจากหน้าหนังสือ

    ทั้งนี้เพราะเมื่อมีอะไรมากระตุ้นให้เกิดสติระลึกถึงลมหายใจ สตินั้นจะปรุงแต่งลมให้ยาวขึ้นโดยอัตโนมัติตรงนี้ขอให้สังเกตด้วยว่าในทางกลับกัน คนเราจะมีสติรู้ลมหายใจก็ต่อเมื่อลมยาวเท่านั้น แต่ลมสั้นไม่ค่อยรู้หรือไม่รู้เอาเลยระหว่างที่อ่านบรรทัดนี้คุณหายใจเข้ายาวหรือว่าสั้น? ยาวคือรู้สึกบอกตัวเองว่ามันลากยาว อาจจะเท่ากับหรือมากกว่าเมื่อครู่ส่วนสั้นคือรู้สึกว่าหดลงจนสังเกตยาก หากถูกถามแล้วลากลมหายใจเข้าลึกขึ้นกว่าปกติก็ไม่เป็นไร แต่เอาแค่ทีเดียว อย่าพยายามหายใจลึกๆติดกันหลายๆที เพราะการฝืนหายใจลึกๆหรือถี่ๆไม่ใช่การยกระดับสติแต่เป็นการกดคุณภาพสติให้ตกต่ำลง

    เมื่อทราบว่าย่อหน้าที่แล้วหายใจยาวหรือสั้น ลองถามตัวเองอีกทีว่าระหว่างอ่านย่อหน้านี้ยังยาวอยู่หรือไม่อย่าเสียใจถ้าสั้นลง อย่าดีใจถ้ายาวขึ้น เพราะแนวปฏิบัตินี้ไม่มีอะไรผิดหรือถูก มีแต่เห็นว่ากำลังปรากฏอะไรให้สังเกตรู้ตามจริงเท่านั้นจะเห็นว่าคุณอาจพักการอ่านชั่วแวบเล็กๆเพื่อรู้ลมหายใจได้โดยสายตาแทบไม่ต้องละไปจากหน้ากระดาษแต่อย่างใด กล่าวคือเมื่อรู้ลมหายใจ สติอาจขาดไปจากตัวหนังสือและความหมายที่มากับตัวหนังสือชั่วระยะเวลาสั้นๆ แต่พอรู้ลมเสร็จสายตาก็กลับมาจดจ่อกับข้อความต่อได้อีก และสามารถรู้เนื้อความในหนังสือสืบเนื่องกันเป็นสายน้ำด้วยการระลึกรู้ลมหายใจเป็นพักๆไม่ได้รบกวนงานที่ทำอยู่ตรงหน้า มิใช่ทำงานสองอย่างพร้อมกันให้ขาดสติ

    เพราะแม้ทำงานโดยไม่ระลึกรู้ลมหายใจ สติของคนทั่วไปก็ขาดตอนเป็นประจำอยู่แล้ว หากคุณฝึกที่จะถามตัวเองด้วยสติธรรมดาๆ เช่นขณะอ่านหนังสือย่อหน้าหนึ่งๆนั้น คุณหายใจยาวหรือสั้น ก็อาจกลายเป็นตัวอย่างของสติระหว่างการทำงาน และวิธีเดียวกันนี้ช่วยให้การทำงานของคุณได้รับการยกระดับขึ้นกว่าเคยหลายเท่าด้วยซ้ำ

    ถึงย่อหน้านี้คุณควรเริ่มรู้สึกถึงความสงบ และมีจิตใจฝักใฝ่ที่จะรับรู้ลมหายใจมากขึ้นโดยเฉพาะถ้าเป็นลมหายใจยาวจะทราบชัดเป็นพิเศษ และเมื่อทราบชัดเป็นพิเศษก็พลอยให้กายดึงลมยาวขึ้นกว่าปกตินี่คือธรรมชาติการทำงานของจิต ขอเพียงมีเป้าให้ปักใจลงไป เป้านั้นจะเริ่มชัดขึ้นตามลำดับ เพราะใจฝักใฝ่กับสิ่งใด ย่อมรู้เข้าไปในสิ่งนั้นลึกซึ้งและกว้างขวางตามเวลาที่ผ่านไป พอสติดีขึ้นก็ปรุงกายให้มีคุณภาพดีตาม อย่างเช่นที่เห็นได้จากลมหายใจยาวกว่าธรรมดานี่เอง

    เมื่อมาถึงย่อหน้านี้หากลมหายใจของคุณสั้นลงแล้วยังสามารถรู้ได้ชัดว่าลมหายใจกำลังอยู่ในช่วงสั้น แปลว่าจิตของคุณเกิดภาวะผู้รู้ ผู้เฝ้าดูลมหายใจทั้งปวงแล้ว กล่าวคือหายใจออกก็มีสติรู้ว่าหายใจออก หายใจเข้าก็มีสติรู้ว่าหายใจเข้า หายใจยาวก็มีสติรู้ว่าหายใจยาว หายใจสั้นก็มีสติรู้ว่าหายใจสั้น คุณจะเห็นสภาพจิตตัวเองแปลกไป คือในขณะหายใจ จะเหมือนรับรู้เข้ามาในขอบเขตทางกายได้ชัดขึ้นกว่าเดิม ครอบคลุมกว้างขวางกว่าเดิมณ จุดนี้ขอให้สังเกตว่าถ้าขณะหายใจเข้าคุณพองหน้าท้องออกนิดหนึ่ง

    สติที่กำลังดีจะทำให้เกิดความรู้ขึ้นเองว่าหายใจยาวด้วยอาการพองหน้าท้องอย่างไรจึงสบาย ปล่อยลมออกจากอกอย่างไรจึงยังคงรักษาความสบายไว้ได้ในระดับเดิมอยู่อีก ที่ย่อหน้านี้ขอให้สังเกตดูว่าความสบายนั้นมีอายุขัยสั้นยาวเพียงใด บางคนอาจสบายแค่ช่วงหายใจเข้า บางคนอาจสบายแค่ช่วงหายใจออก บางคนสบายได้ตลอดตั้งแต่เริ่มเข้าและจนออกสุด อย่าไปให้ความสำคัญว่ามันยาวแค่ไหน ขอให้รู้แน่ๆตามจริงก็แล้วกัน การเข้าไปรู้ถึงความสบายหรือความอึดอัดตามจริงนั้น เรียกว่าคุณได้ทราบชัดในสิ่งที่ละเอียดกว่าลมหายใจแล้ว นี่เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของวิปัสสนา คือมีสติรู้ไล่จากสิ่งหยาบไปหาสิ่งละเอียดเพื่อความตระหนักยิ่งๆขึ้นว่าทั้งภาวะหยาบและละเอียดนั้น ต่างก็เป็นสิ่งมีอายุขัยทั้งสิ้น ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นทั้งสิ้น ควรอาศัยเป็นเครื่องระลึกรู้เท่านั้น

    หากสายตาละจากหนังสือแล้วคุณยังรู้สึกว่าสติไม่ไปไหน ยังคงปักหลักอยู่กับการรู้ว่าลมหายใจเข้าหรือลมหายใจออก รวมทั้งทราบด้วยว่าความสบายเกิดขึ้นนานเพียงใด วัดได้ด้วยจำนวนลมหายใจกี่ครั้ง ตรงนี้เรียกว่าระดับสติพัฒนาจากการเห็นรูปธรรมตามจริง เลื่อนขั้นขึ้นมาเห็นนามธรรมตามจริงด้วยแล้วการทำวิปัสสนานั้น สำคัญมากที่เราจะต้องเห็นทั้งรูปและนาม เพราะถ้าเห็นรูปอย่างเดียวก็จะรู้ตามจริงส่วนหนึ่ง แล้วยังไม่รู้จริงอีกส่วนหนึ่ง ในทางกลับกันหากเห็นนามอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ ต้องเห็นรูปด้วย จึงจะเรียกว่าเห็นตามจริงได้ครบถ้วน

    วิปัสสนาที่ดีและมีคุณภาพนั้น ควรเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ พูดง่ายๆว่าให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แต่ไม่ควรตั้งใจบังคับให้เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะสำหรับมือใหม่เพราะนั่นอาจเป็นการฆ่าตัวตายบนเส้นทางวิปัสสนาเสียตั้งแต่แรกเริ่ม การรู้เหมือนทำเล่นยามว่าง แต่ทำบ่อยเหมือนงานอดิเรกชิ้นโปรดที่สุดในชีวิต จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความคืบหน้าไปเรื่อยๆ

    คุณจะพบว่าตัวเองเริ่มฝักใฝ่ลมหายใจ และมีความสังเกตสังกาเกี่ยวกับความสบายกายสบายใจมากขึ้น เพราะเห็นด้วยสติรู้ตามจริงว่าการเข้ามากำหนดดูอยู่ในขอบเขตกายใจนั้นมีแต่ด้านที่เป็นคุณ มีแต่ทำให้นิสัยทำร้ายตนเองและทำร้ายคนอื่นลดลงทุกทีตอนยังไม่เริ่มลงมือจะมองไม่ออกเลยว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไรแต่ขอให้ทดลองเถิด เพียงไม่กี่วันจะทราบด้วยตนเองว่าวิปัสสนามีค่ากับชีวิตอย่างมหาศาลปานใดภาวะรู้ชัดว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่นั้นไม่มีความน่าเบื่อ ไม่มีความรู้สึกอึดอัด หากฝึกระหว่างอ่านบทนี้แล้วเบื่อหน่ายหรือรู้สึกอึดอัด ขอให้ใช้ย่อหน้านี้เป็นหลักตั้งต้นใหม่นับหนึ่งใหม่โดยการสังเกตว่าคุณตั้งใจหรือคาดหวังมากเกิน ‘รู้เล่นๆสบายๆ’ หรือเปล่า?

    สติที่พอดีกับการรู้ลมหายใจปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการกำหนดว่าจะ ‘รู้ได้เท่าที่รู้’ ถ้าหากอยากรู้เกินกว่าจะรู้ได้ ผลคือความอึดอัด รู้สึกเคร่งเครียด และไม่อยากพากเพียรทำต่อไปให้มากกว่านี้อีกในทางตรงข้าม หากค่อยๆรู้ขึ้นมาจากระดับที่พอดีกับสติของตัวเอง จะเกิดความสบาย สงบหรือกระทั่งสว่างสดใส รู้สึกสนุก จะกลายเป็นกำลังใจให้อยากมุมานะเพื่อความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปอีก แม้วางหนังสือลงแล้วก็ยังไม่อยากเลิก

    สรุป
    บทนี้เราใช้ข้อความในหน้าหนังสือเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้คุณเกิดสติรู้ลมหายใจขึ้นมาตรงๆ และการรู้ลมหายใจตามหลักวิปัสสนานั้น ไม่ใช่แค่รู้ทื่อๆว่ากำลังหายใจ แต่ให้รู้ด้วยว่าหายใจออกหรือหายใจเข้า หายใจยาวหรือหายใจสั้น คนเราจะรู้แค่ลมหายใจยาว ส่วนลมหายใจสั้นไม่รู้บทนี้ช่วยชี้ให้คุณดูว่าหากรู้แม้กำลังหายใจสั้น ก็จะทำให้เกิดสภาพสติสัมปชัญญะระดับใหม่ขึ้นมา สติสัมปชัญญะที่สามารถรู้ครอบคลุมกว้างขวางทั้งภาวะยาว สั้น หยาบ ละเอียด ได้อย่างต่อเนื่องนี้เอง ที่เราต้องการอย่างยิ่งยวดในงานวิปัสสนาขั้นสูงขึ้นต่อๆไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  4. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    บทที่ ๔ เครื่องทุ่นแรงให้เกิดความต่อเนื่อง

    การทำวิปัสสนาให้ต่อเนื่องนั้น พระพุทธเจ้าแนะนำให้รู้ลมหายใจบ่อยๆ เพราะลมหายใจเป็นของที่ต้องเกิดขึ้นตลอด ๒๔ ชั่วโมง และเป็นของไม่มีมลทิน ยิ่งรู้มากจึงยิ่งมีสติมากบทที่แล้วคุณได้ฝึกหายใจกันแบบสดๆ อ่านหนังสือไปด้วยรู้ลมหายใจไปด้วย ซึ่งคุณก็จะพบว่าเป็นเรื่องง่าย เพราะมีข้อความกระตุ้นให้ย้อนเข้ามารู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

    ปัญหาคือหลังจากละสายตาจากหนังสือไป ก็จะไม่มีข้อความกระตุ้นเตือนใดๆอีก คุณต้องมีกำลังใจมากพอจะเตือนตนเอง จึงจะอยู่รอดปลอดภัยบนเส้นทางวิปัสสนาได้อีกปัญหาของมือใหม่ คือถ้าพยายามไปรู้ลมหายใจมากๆแล้วจะเครียด อึดอัด หรือกระทั่งปวดหัวไปเลย สำหรับบทนี้จะเป็นอุบายเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะเริ่มฝึกรู้ลมหายใจได้อย่างง่ายดายเป็นธรรมชาติที่สุด กับทั้งปิดกั้นช่องทางที่จะทำให้เกิความเครียด สับสน ท้อแท้ลงเสีย

    นั่นคือเราจะฝึกรู้ลมหายใจแบบไม่ต่อเนื่อง นานๆทีรู้ทีอาศัยนาฬิกาปลุก (สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ภายในเว็บ) เทคโนโลยียุคเราถ้าใช้ดีๆก็มีคุณทุกอย่างไป ไม่เว้นแม้กระทั่งการทำวิปัสสนา ขอให้ซื้อนาฬิกาข้อมือ หรือนาฬิกาดิจิตอลแบบพกพาไปไหนมาไหนได้ไว้สักเรือน หรืออาจเป็นโปรแกรมนาฬิกาในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ระหว่างเวลาทำงานก็ได้ ตั้งเวลาปลุกทุก ๒ นาทีไว้ เมื่อเสียงดังครั้งหนึ่ง ให้ถามตัวเองว่าขณะนั้นกำลังหายใจเข้า หายใจออก หรือว่าหยุดหายใจอยู่ ให้ดูตามจริง ปลุกครั้งหนึ่งรู้ลมหายใจทีเดียว อย่าพยายามรู้มากกว่านั้น

    สติของมือใหม่มีความไม่สม่ำเสมอเป็นธรรมดา แต่นาฬิกาปลุกมีความสม่ำเสมอที่แน่นอน สองนาทีเป็นระยะเวลาที่ถี่พอจะทำให้เกิดสติอัตโนมัติได้ แต่ห่างพอที่จะทำให้ไม่เกิดความเครียด เมื่อทำไปเพียงไม่นาน คุณจะสังเกตว่าตัวเองรู้ลมหายใจอย่างเป็นธรรมชาติขึ้นมา โดยไม่มีการเพ่งหรือคาดคั้นเอาความสงบจากลมหายใจเป็นพิเศษ ผลคือจะรู้ตามจริงว่าขณะนั้นลมหายใจเป็นอย่างไรอยู่นอกจากรู้ว่ากำลังหายใจเข้า ออก หรือหยุดแล้ว คุณควรสังเกตด้วยว่าขณะนั้นกำลังสุข กำลังทุกข์ รวมทั้งระดับความมากน้อยของสุขทุกข์ว่ามากขึ้นหรือน้อยลงกว่าการหายใจเมื่อสองนาทีก่อน

    การรู้ความต่างระหว่างสุขทุกข์ในสองช่วงเวลาจะทำให้สติคุณค่อยๆทำงานแบบวิปัสสนาไปเองสัญญากับตัวเองไว้ด้วยว่าจะไม่มีการแก้ไข ปรับแต่ง หรือทำให้อะไรดีกว่าที่ปรากฏแสดงอยู่ตามจริง ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจหรือระดับสุขทุกข์ ถ้าเครียดก็ยอมรับว่าเครียด ถ้าสบายก็ทราบตามจริงว่าสบาย ย้ำกับตัวเองไว้ วิปัสสนาคือรู้ตามจริง เพื่อเห็นว่าไม่เที่ยง หาใช่การรู้ตามอยากเอาดีเข้าตัว
    เอาชั่วทิ้งน้ำ

    นาฬิกาปลุกจะช่วยยกระดับสติของคุณให้ปรากฏสม่ำเสมอ และออกตัวจากจุดเริ่มได้เร็วอย่างเหลือเชื่อ คือวันเดียวคุณจะกลายเป็นคนเลิกหมกมุ่นครุ่นคิดกับสิ่งไร้สาระ หันมาเริ่มสนใจสิ่งที่ปราศจากมลทินในตนเอง การเริ่มจากสองนาทีรู้ครั้งเดียวจะไม่ก่อให้เกิดความเครียดใดๆขึ้นได้ มีแต่จะเกิดสติยิ่งๆขึ้นขอให้สังเกตว่ายิ่งคุณมีสติรู้ลมหายใจได้สม่ำเสมอขึ้นเท่าไหร่ ลมหายใจก็จะยาว ละเอียด และทำให้เป็นสุขสงบมากขึ้นเท่านั้น

    หากเห็นว่าเริ่มเคยชินดีแล้ว ให้ลองปรับเวลาจากปลุกทุกสองนาทีมาเป็นทุกหนึ่งนาทีดู เมื่อรู้ทีละครั้งทุกนาทีได้ต่อเนื่องสักครึ่งชั่วโมง คุณอาจรู้สึกเหมือนโลกแตกต่างไปมาก และเหมือนนาฬิกาเป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป นั่นเพราะสติคุณเริ่มเป็นอัตโนมัติเองแล้วอาศัยป้ายบอกให้เขียนใส่กระดาษเล็กๆว่า ‘รู้ลมหายใจ’ แปะไว้หลายๆจุดในห้องนอนของคุณ อย่างน้อยสองจุดขึ้นไป เลือกจุดที่คุณมักมองบ่อยๆโดยไม่ตั้งใจจะดีมาก

    คุณจะพบว่าข้อความเช่น ‘รู้ลมหายใจ’ มีอิทธิพลต่อจิตของคุณอย่างสูง ข้อความไม่เพียงทำให้คุณอ่านแล้วเกิดความเข้าใจ แต่ยังเป็นเหมือนคำสั่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการระลึกรู้ลมหายใจอย่างสำคัญอีกด้วยอย่าลืมถามตัวเองว่าขณะรู้ลมหายใจนั้น กำลังสบายหรืออึดอัด ถ้าสบายก็รู้ว่าเป็นสุข ถ้าอึดอัดก็รู้ว่าเป็นทุกข์ ขอให้เปรียบเทียบความต่างระหว่างเห็นป้ายแต่ละครั้ง คุณจะพบว่าห้องนอนของคุณกลายเป็นเครื่องผลิตสติแหล่งใหญ่ขึ้นมาได้ง่ายๆภายในเวลาไม่กี่วันเท่านั้น

    อาศัยอิริยาบถ ข้อนี้อาจยากกว่าข้อก่อนๆนิดหนึ่ง เพราะไม่มีเครื่องช่วยนอกกาย แต่ข้อดีคืออิริยาบถเป็นของติดตัว ไม่จำเป็นต้องซื้อหาจากไหน หลักง่ายๆคือ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจากท่าหนึ่งไปเป็นอีกท่าหนึ่ง ให้หายใจแรงขึ้นกว่าปกตินิดหนึ่ง และกำหนดรู้ว่าหายใจเข้ายาวเป็นอย่างนี้ หายใจออกยาวเป็นอย่างนี้ เอาแค่ครั้งเดียว และอย่าพยายามรู้ให้มากไปกว่านั้น

    สำหรับคำว่า ‘เปลี่ยนอิริยาบถ’ จะหมายถึงการสลับเปลี่ยนระหว่างท่านั่ง ยืน เดิน นอน รวมทั้งการพลิกตัวหรือเอนตัวในท่าหนึ่งๆ สำหรับผู้เริ่มต้น การเคลื่อนไหวปลีกย่อยกว่านั้นเช่นการขยับแขนขา มือเท้า หรือศีรษะ ถือว่าไม่เกี่ยว เพราะอาจเป็นการถี่เกินไป เมื่อรู้ลมหายใจแล้วก็ถามตัวเองต่อว่า ความรู้สึกทางกายโดยรวมทั้งหมดในขณะนั้น มีความสบายหรืออึดอัด

    สำรวจแค่นั้น ถ้าหากรู้สึกเฉยๆก็ให้เหมารวมว่ากำลังสบาย ถ้าหากรู้สึกเฉื่อยชาก็ให้เหมารวมว่ากำลังอึดอัด ขอให้เปรียบเทียบดูว่าการเปลี่ยนอิริยาบถที่มีลมหายใจสบายกับการเปลี่ยนอิริยาบถที่มีลมหายใจอึดอัดนั้นแตกต่างกันอย่างไร ผลของการระลึกอย่างนี้จนชินจะทำให้เกิดความเห็นกาย มีกายเป็นที่ฝาก ที่อาศัยของจิตมากขึ้นเรื่อยๆ

    อาศัยปฏิกิริยาทางอารมณ์แรงๆ ในที่นี้มุ่งเน้นเอาความโกรธ ความขัดเคืองไม่พอใจ ซึ่งคนทั่วไปเกิดกันบ่อยวันละหลายหน แต่ก็อาจจะเหมารวมถึงปฏิกิริยาอื่นๆเช่นความเครียด ความคิดมาก ตลอดจนความมีราคะกล้าในจังหวะที่ไม่<O:p</O:p>
    ควรจะมีด้วย เมื่อใจมีปฏิกิริยาต่อสิ่งกระทบทางตา ทางหู ก่อนอื่นขอให้ยอมรับตามจริงว่ามีปฏิกิริยาหนึ่งๆขึ้น อย่าพยายามกำจัดทิ้งเป็นอันขาด

    จากนั้นให้ใช้ลมหายใจเป็นตัวนับ ว่าต้องหายใจกี่ครั้ง ปฏิกิริยาทางใจนั้นๆจึงสงบลงตอนแรกๆคุณจะรู้สึกค้างคา หงุดหงิด เบื่อหน่ายเหมือนไม่ค่อยมีแก่ใจอยากจะมานั่งนับลม ว่ากี่ลมผ่านไปอารมณ์ทางใจถึงสงบระงับเสียได้ แต่พอทำได้หนหนึ่ง คุณจะเห็นว่าหนต่อๆมานั้นง่ายขึ้นเรื่อยๆ

    พอมีปฏิกิริยาทางใจแรงๆจะเริ่มนับลมโดยอัตโนมัติ เมื่อถึงจุดนั้นคุณจะพบว่าตัวเองเริ่มฝักใฝ่สนใจลมเข้าออกมากขึ้นไปด้วย แม้ขณะกำลังว่างๆที่ยังไม่มีปฏิกิริยาทางใจใดๆปรากฏก็ตาม

    สรุป
    อุบายอันเป็นเครื่องทุ่นแรงช่วยงัดเอาสติออกมาจากหล่มลึกในจิตใจเรานั้น มีได้มากมายสารพัด บทนี้แนะนำเพียงสิ่งที่คนส่วนใหญ่สามารถนำไปใช้ได้จริงและจะเห็นผลรวดเร็ว ชนิดใช้เครื่องทุ่นแรง

    เพียงไม่กี่วัน สติจะเกิดถี่ขึ้นจนคุณแปลกใจว่าของมันง่ายขนาดนี้ทีเดียวหรือคุณจะพบว่าเพียงมีสติระลึกรู้ลมหายใจได้บ่อยๆ ไม่ว่าถูกลากพามาจากอุบายแบบใด ชีวิตคุณจะเปลี่ยนแปลงออกมาจากภายใน มีผลกับความรู้สึกนึกคิดทั้งหมด และเป็นฐานอันมั่นคงให้สามารถต่อยอดเป็นวิปัสสนาขั้นสูงๆขึ้นได้โดยปราศจากความยากลำบากด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  5. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    บทที่ ๕ เปลี่ยนปมปัญหาเป็นเครื่องมือ

    เกือบทุกคนมีปมปัญหาที่แก้ไม่ตก ในที่นี้จะไม่มุ่งปมปัญหาภายนอกอันได้แก่เรื่องราวต้นสายปลายเหตุของความทุกข์ใจ แต่จะพูดถึง ‘นิสัยทางจิต’ อันเป็นปมปัญหาภายใน ซึ่งหากแก้ได้แม้ปมปัญหาภายนอกจะรุมเร้ารุนแรงสักแค่ไหน ก็ทำให้ทุกข์ใจได้ไม่มาก หรือถึงแม้ทำให้ทุกข์ใจได้มากก็ไม่ขาดสติขนาดทำเรื่องเลวร้ายเยี่ยงคนจำนนจนตรอกทั้งหลาย

    นิสัยทางจิตที่ทำให้ทุกข์แรง รวมทั้งบั่นทอนสุขภาพกายสุขภาพจิตขนาดที่ควรจัดเป็น ‘โรคทางใจ’ มีอยู่ ๕ ข้อ เรียงตามระดับความเป็นอันตรายอันเริ่มเข้าขั้นวิกฤติในโลกปัจจุบันได้ดังนี้

    ) โรคบ้ากาม หมกมุ่นขนาดขาดความยับยั้งชั่งใจก่ออาชญากรรมทางเพศได้

    ) โรคอาฆาต คั่งแค้นจุกอกจนวูบเผลอก่อคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญได้

    ) โรคช่างท้อ หดหู่เซื่องซึมจนเข้าขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ

    ) โรคคิดมาก เคร่งเครียดกระทั่งหลุดโลกจนเป็นบ้าได้

    ) โรคขี้ลังเล จับจดจับฉ่ายจนทำอะไรไม่ประสพความสำเร็จสักอย่างถ้าใครมีข้อใดข้อหนึ่งเป็นโรคประจำตัว จะเห็นอยู่กับตนเองว่าแม้ยังไม่เกิดโทษรุนแรงขั้นสูงสุดดังกล่าวแต่ละข้อ อย่างน้อยก็ก่อทุกข์ก่อโศกให้คุณม<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เว้นแต่ละวัน หรือกระทั่งแต่ละขณะจิต นิสัยหรือพฤติกรรมทางจิตผิดๆที่เกิดขึ้นเป็นประจำนั้น

    ไม่เคยมีแบ่งว่าทำร้ายเราทางโลกหรือทางธรรม ตราบใดนิสัยทางจิตยังเป็นไปในทางลบ ตราบนั้นชีวิตทางโลกจะตกต่ำดำดิ่งลงไปเรื่อยๆ และชีวิตทางธรรมจะไม่อาจก้าวหน้าไปไหนรอดด้วยหากคุณทดลองตามรู้ลมหายใจให้สม่ำเสมอดังที่กล่าวไว้แล้วในบทก่อนๆจนเกิดความเป็นอัตโนมัติขึ้นมาระดับหนึ่ง ก็จะพบความน่าอัศจรรย์ที่โรคทางใจต่างๆลดลงโดยไม่ต้องพึ่งยา ไม่ต้องหาหมอ ไม่ต้องรอให้เรื่องนอกตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับคนเมืองแล้ว มีโรคชนิดหนึ่งที่แก้ให้หายขาดได้ยาก นั่นคือโรคคิดมากเคร่งเครียด ไม่อาจขจัดพายุความฟุ้งซ่านออกจากหัวสำเร็จ เพราะคนเมืองต้องทำงาน และงานในปัจจุบันก็เต็มไปด้วยมรสุมนานาชนิด

    หากวิธีคิดขณะทำงานของคุณผิดพลาด คุณจะไม่มีวันหยุดฟุ้งซ่านได้ด้วยอุบายใดๆเลย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคุณจะใช้ไปเพื่อก่อเหตุแห่งความฟุ้งดังกล่าวแล้วว่าบทนี้จะมองนิสัยทางจิตผิดๆเป็นปมปัญหา คราวนี้มาพูดถึงการใช้วิปัสสนามาเยียวยาความเครียดหรือโรคคิดมากกัน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ โดยหลักการอาจดูว่าง่ายจนเกินเชื่อว่าทำได้จริง แต่ในทางปฏิบัติอาจเห็นว่ายากจนเหลือที่จะฝืน

    ฉะนั้นขอให้ทำใจเป็นกลาง และทดลองดูหลายๆครั้ง จะพบด้วยตนเองว่าไม่ต้องเรียนรู้วิชาการให้ซับซ้อนเท่าจิตแพทย์คุณก็สามารถแก้โรคเครียด โรคคิดมากด้วยตนเองได้ ก่อนอื่นต้องสำรวจตนเองจริงจัง ว่าความคิดในรูปแบบที่คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="เป็นอยู่นั้น นำไปสู่ความเครียด">เป็นอยู่นั้น นำไปสู่ความเครียด</st1:personName> หรือพูดง่ายๆว่าเป็นคน ‘คิดแล้วเครียด’ หรือไม่ขอให้ลองตอบคำถามเหล่านี้ดู

    ) รู้สึกอึดอัดขณะกำลังคิด เหมือนยิ่งคิดยิ่งเพิ่มแรงกดดัน

    ) คิดเรื่องใดเสร็จแต่รู้สึกเหมือนยังคิดไม่เสร็จ

    ) เมื่อตั้งใจพักผ่อน กลับย้ำคิดวกวนไม่รู้จบ

    ) แม้มีเรื่องเล็กน้อยให้คิดก็หน้านิ่วคิ้วขมวดหรืออย่างน้อยก็เกร็งตัว

    ) มีใจเร่งร้อนเกินกาล หรือทุ่มกำลังในการคิดมากเกินเหตุเสมอ

    สำรวจดูตัวเองแล้ว ยิ่งตรงกับสิ่งที่คุณเป็นอยู่มากเท่าไหร่ยิ่งแปลว่าคุณมีความเครียดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะมากหรือน้อยไม่สำคัญ ที่สำคัญคือคุณได้รู้ตัวว่ายังเป็นคนคิดแล้วเครียด หรืออีกนัยหนึ่งคือมีลักษณะคิดจากพื้นนิสัยเคร่งเครียดจริงๆ

    หลักวิปัสสนาเพื่อแก้นิสัยคิดเครียด

    ) ก่อนอื่นต้องสลัดความเชื่อเดิมๆทิ้งไป ที่เคยนึกว่าความเครียดมาจากสิ่งกระทบภายนอก เช่นความบีบคั้นในที่ทำงานหรือที่บ้าน ขอให้ตั้งมุมมองใหม่ปักใจเชื่อว่าความเครียดมาจากวิธีคิดเท่านั้น เพื่อให้ขอบเขตในการจัดการแก้ปัญหาแคบลงมากที่สุด คือแก้กันที่ลักษณะการคิดอย่างเดียว

    ) ขณะคิดเรื่องใด สำรวจดูว่ากำลังเครียดหรือไม่ คือมีความรู้สึกแข็งๆอยู่ในหัว คิ้วขมวด หน้าผากตึง อึดอัดอยู่ในอก มือเกร็งเท้างอ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดรวมกันหรือเปล่า ถ้ามีอยู่ ขอให้หยุดคิดชั่วคราว หันความสนใจมาสำเหนียกรู้สึกถึงลักษณะเครียดที่เกิดขึ้นในร่างกายตรงจุดที่เรารับรู้ได้เด่นชัดที่สุด พิจารณาว่านั่นเป็น ‘ส่วนเกิน’ ต่างหากจากความคิด อย่าทำอะไรมากกว่าเห็นส่วนเกินนั้น ให้เฝ้าดูเฉยๆ แล้วจะพบว่าส่วนเกินนั้นละลายหายไปเอง อาจช้าหรือเร็ว แต่มันจะหายไป ขอให้ลองดูจริงๆก็แล้วกัน

    ) เมื่อเห็นภาวะเครียดหายไป จะเกิดความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งเบาขึ้นแทน ณ จุดเดิมนั้นๆ กับทั้งมีความรู้สึกในอิริยาบถปัจจุบัน เช่นนั่งหรือยืน ขอให้ทำความรู้สึกอยู่กับสภาพเบากายครู่หนึ่งเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความต่างระหว่างสภาพหนักเมื่อครู่ก่อนกับสภาพเบาในปัจจุบัน การกำหนดรู้ถึงความแตกต่างระหว่างหนักกับเบาจะมีส่วนสำคัญยิ่ง เพราะสภาพหนักกับสภาพเบาเป็นสิ่งที่จิตจดจำได้

    ดังนั้นเมื่อลองสังเกตให้เห็นจนเกิดความหมายรู้สามารถแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างสองสภาพ สิ่งที่ตามมาคือปัญญาเห็นตามจริง คือหนักก็แค่ภาวะหนึ่งของกายกับจิต เบาก็แค่ภาวะหนึ่งของกายกับจิต ไม่ใช่มีภาวะใดภาวะหนึ่งเป็นตัวคุณอย่างถาวรเลย ยิ่งเห็นภาวะต่างบ่อยขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งเกิดปัญญาเห็นทุกภาวะไม่ใช่ตัวตนของคุณมากขึ้นเท่านั้นด้วยหลักการง่ายๆ ๓ ข้อข้างต้นเพียงเท่านี้เมื่อกลับไปคิดถึงภาระหน้าที่การงานอีกครั้งด้วยกายที่สบายและใจที่ปลอดโปร่งกว่าเดิม

    คุณจะพบว่าที่ผ่านมาคุณทำตัวเองให้เครียดไปโดยเปล่าประโยชน์แท้ๆ เพราะเราจะทำงาน หรือแบกภาระปัญหาได้ดีที่สุดขณะกายกับใจมีความสงบนิ่ง ปลอดโปร่ง เหมือนเตรียมถนนว่างๆให้พรักพร้อมรับการแล่นฉิวของขบวนความคิดนับสิบนับร้อยระลอกเพื่อเป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้นที่สามารถทดลองทำได้ขณะกำลังอ่านหนังสืออยู่นี้ขอให้ลองทำตามเป็นข้อๆข้างล่างดู

    ) สังเกตนิสัยทางการอ่านหนังสือของตัวเอง ว่ามีอาการเพ่งหรืออาการรู้สบายๆ ถ้าเพ่งจะเห็นตัวหนังสือแคบจำกัด แต่ถ้ารู้สบายๆ หัวคิ้วไม่ขมวด หน้าผากผ่อนคลาย หลังตั้งคอตรง คุณจะทอดตามองเห็นได้กว้างขึ้น หากรู้ตัวว่ามีนิสัยทางการอ่านแบบเพ่ง แรกๆให้สังเกตอาการขึงตา หรืออาการเกร็งตัว

    และให้ทราบว่านั่นเป็นเครื่องสะท้อนว่าใจกำลังเพ่งหนักโดยไม่จำเป็น ขอให้หยุดอ่านเพื่อสังเกตความแข็งตัวติดค้างทางจิต เพียงสองสามวินาทีจะรู้สึกว่างโล่งขึ้นนิดหนึ่ง ให้จำภาวะนั้นไว้ใช้อ่านหนังสือต่อไป ติดความเครียดอีกก็หยุดอ่านอีก ทำบ่อยๆจะค่อยๆกลายเป็นนิสัยใหม่ถาวร แต่อาจไม่ใช่ในชั่วข้ามคืนหรือข้ามอาทิตย์นิสัยการอ่านแบบสบายอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและทำได้ทันทีเพราะวินาทีนี้คุณก็กำลังอ่านอยู่!

    ) เดินไปในที่ที่มีต้นไม้ใบหญ้าและอากาศที่ปลอดโปร่ง หากเป็นเวลาที่ฟ้าใสด้วยจะเหมาะมากถ้าเดินเท้าเปล่าเหยียบผืนหญ้านุ่มได้ยิ่งดีใหญ่แล้วสังเกตว่าขณะตามองดอกไม้ ขณะที่หูฟังเสียงนกร้องขณะที่ฝ่าเท้ารับสัมผัสใบหญ้า ใจคุณกำลังคิดถึงอะไร

    หากไม่เกี่ยวกับดอกไม้ที่ตาเห็น ไม่เกี่ยวกับเสียงนกที่ได้ยิน ไม่เกี่ยวกับใบหญ้าที่สัมผัส ขอให้ถือว่านั่นเป็น ‘ราก’ ของความเครียดทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ความอยากให้คนที่เรารักมาชมสวนด้วยกัน แต่หากความคิดของคุณวนเวียนอยู่กับความสังเกตสังกา สีสันและรูปทรงสัณฐานของมวลไม้ขอให้ถือเป็นตัวอย่างการว่างจากความเครียด

    <O:p
    ) เมื่ออยู่ระหว่างวัน ไม่ว่าจะเจอใคร คุยกันเรื่องอะไร หรืออยู่คนเดียวแล้วครุ่นคิดถึงสิ่งใด ขอให้สังเกต สังเกต และสังเกต ว่าขณะหนึ่งๆเครียดแล้วคิด คิดแล้วเครียดยิ่งขึ้นอีก หรือว่างจากเครียด แล้วค่อยคิด เพียงเมื่อเปรียบเทียบได้บ่อยๆจนเห็นว่าเครียดก็แค่ภาวะหนึ่งที่ปรากฏให้รู้ สบายก็แค่อีกภาวะหนึ่งที่ปรากฏให้รู้เช่นเดียวกัน

    ไม่มีภาวะใดภาวะหนึ่งเป็นตัวคุณ คุณไม่ต้องจมปลักอยู่กับภาวะนั้นๆตลอดไป เท่านี้ก็เรียกว่าเป็นวิปัสสนาขั้นต้นได้แล้ว<O:p></O:p>
    หลังจากฝึกไปสักสองสามวัน ขอให้ลองประเมินผลด้วยการสำรวจตนเองดูหากสิ่งเหล่านี้ ปรากฏ ‘บ่อยขึ้นเรื่อยๆ’ หรือกระทั่ง ‘เป็นประจำทุกครั้ง’ แปลว่าคุณว่างจากความเครียดก่อนคิดแล้ว

    ) รู้สึกผ่อนคลายขณะกำลังคิด เหมือนยิ่งคิดยิ่งมีสติรู้ชัด

    ) คิดเรื่องใดเสร็จแต่รู้สึกว่าโล่งอก งานจบไม่ตกค้าง

    ) เมื่อตั้งใจพักผ่อน รู้สึกปลอดโปร่งสบายยิ่ง

    ) แม้มีเรื่องหนักหนาให้คิดก็มีสีหน้าผ่อนคลายสบายทั้งตัว

    ) ใจเย็นรอผลสมเหตุตามควรแก่เวลา และใช้กำลังในการคิดนิดเดียวแต่ได้เหตุได้ผลสมบูรณ์แบบ

    หากประเมินดูแล้วพบว่าคุณมีคุณสมบัติครบทั้ง ๕ ข้อ ขอให้สังเกตความเครียดหรือความเกร็งที่เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยขณะเผลอตัว กับทั้งกำหนดพิจารณาว่าริ้วรอยความเครียดที่แทรกตัวเข้ามาท่ามกลางความสบายกายใจนั้น มีความไม่เที่ยง เมื่อถูกรู้แล้วต้องคลายลงเป็นธรรมดา แต่คลายแล้วก็ควบคุมให้หายไปตลอดกาลไม่ได้ เพราะความเครียดไม่ใช่ตัวคุณ และตัวคุณไม่ใช่ความเครียด

    สรุป
    บทนี้พูดถึงปัญหาใหญ่หลวงของคนยุคปัจจุบัน คือโรคเครียด ที่ความจริงแล้วแก้ได้ง่ายนิดเดียวไม่จำเป็นต้องไปเข้าคอร์สอบรมหรือขอยาจากไหนเลย แค่คิดให้เป็น คิดจากอาการสบายให้คล่องเท่านั้นไม่กี่วันก้อนแข็งๆที่เลวร้ายในโพรงกะโหลกและในโพรงอกก็จะละลายไปจนหมด สำคัญคือคนไม่รู้วิธีคิด

    จากความสบายกันเอง เลยซ้ำเติมความเครียดเข้าไปไม่หยุดหย่อน วันหนึ่งก็ระเบิดโพละออกมา ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่มีวิปัสสนา และหลักวิปัสสนาก็ช่วยให้พ้นจากความเครียดได้ง่ายแสนง่ายด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  6. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    บทที่ ๖ ปฏิกิริยาทางใจ

    อยู่ในเมือง คนมีอาชีพหาเงินทองเลี้ยงปากเลี้ยงท้องครองชีวิตปกติธรรมดานั้น ที่จะไม่เกิดเรื่องกระทบใจเลย เป็นอันว่าหมดหวังแต่การที่จำเป็นต้องมีเรื่องกระทบใจนั้นเอง ทำให้เราหวังใหม่ได้ว่าจะใช้มันเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือวิปัสสนา เพราะหลักการหนึ่งของวิปัสสนานั้น คือให้ดูว่าปฏิกิริยาทางใจเป็นของเกิดขึ้นชั่วคราว เกิดแล้วต้องดับลงเป็นธรรมดา บังคับบัญชาให้อยู่หรือไปทันใจไม่ได้

    เพราะมันไม่ใช่สมบัติของเรา ต่างจากหลอดไฟที่กดปุ่มก็สว่างขึ้นหรือมืดลงตามปรารถนาถ้าไม่มีเรื่องกระทบใจให้เกิดปฏิกิริยาทางใจ ก็แปลว่าขาดเครื่องมือเจริญวิปัสสนาในส่วนนี้ไป

    ฉะนั้นแทนที่จะหน้าหม่นทนรับเรื่องกระทบ ก็ขอให้ดีใจในความเป็นชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่งที่ได้เครื่องมือแบบนี้มา
    ตามหลักวิปัสสนา คุณต้องทราบว่าปฏิกิริยาทางใจไม่ใช่ของเกิดขึ้นลอยๆ เพราะมันไม่มีตัวตนอยู่ก่อน แต่เป็นผลที่เกิดจากการกระทบกันระหว่างใจกับ ‘อะไรอย่างหนึ่ง’ ที่เป็นต่างหากจากใจ

    อย่างเช่นอักษรบรรทัดปัจจุบันนี้จัดเป็นเครื่องกระทบใจชนิดหนึ่ง ตราบใดที่สายตาคุณยังกวาดไปเรื่อย และรู้เห็นว่าหนังสือพูดอะไรกับคุณคุณจะเข้าใจคำว่า ‘อะไรอย่างหนึ่ง’ ที่เป็นต่างหากจากใจนั้นได้ชัดขึ้น ถ้าทราบว่า แม้แต่ระลอกความคิดหนึ่งๆก็ถือเป็นสิ่งกระทบใจ นี่คือความจริง ความคิดเป็นต่างหากจากใจ

    ถูกใจรู้ได้ว่าเมื่อใดสงบจากความคิด เมื่อใดคลื่นความคิดกระเพื่อมขึ้นมาฉะนั้นถึงแม้ว่าปลีกตัวออกมาจากที่ทำงาน ห่างหน้าจากคู่รักคู่แค้นทั้งหลายมาห่างโขแล้ว ก็อย่าเพิ่งนึกว่าจะไม่มีเครื่องกระทบใจให้เกิดปฏิกิริยา ความคิดที่ติดตามคุณไปทุกหนทุกแห่งนั่นแหละเข้ากระทบในทางดีร้ายกับใจของคุณมากที่สุด

    เพราะฉะนั้นถ้าดักสังเกตกันที่ปฏิกิริยาอันเกิดจากความคิดกระทบใจได้ก็เท่ากับคุณได้ทำวิปัสสนาบ่อยที่สุดบทนี้จะขอให้คุณสังเกต เฉพาะปฏิกิริยาทางใจเด่นๆ อันเกิดจากการที่ตาถูกรูปทรงสีสันเข้ากระทบ หูถูกส่ำเสียงสำเนียงใดเข้ากระทบ จมูกถูกกลิ่นอายเข้ากระทบ ลิ้นถูกรสชาติอาหารเครื่องดื่มเข้ากระทบ กายถูกของกระด้างของอ่อนนุ่มเข้ากระทบ และใจถูกความคิดหนักเบาเข้ากระทบ

    คำว่า ‘ปฏิกิริยาทางใจเด่นๆ’ นั้น ย่นย่อลงแล้วก็เหลือให้ระลึกเข้าใจง่ายๆคือ ‘ชอบ’ กับ‘ชัง’ แค่นั้นเอง ขอให้สังเกตเถิดว่าเรารู้สึกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ แปลความหมายทางใจออกมาเป็นคำพูดก็ได้เพียงชอบกับชังเท่านี้แหละ

    หากสังเกตละเอียดลงไป ก็อาจเห็นลึกซึ้งลงไป ว่าชอบกับชังเท่านี้อาจจำแนกเป็นกิเลสได้พิสดารพันลึก กล่าวคือความชอบใจนั้นจะมีกระแสดึงดูดอยากได้มาเป็นของเรา กระแสใจนี้เป็นฝ่ายเดียวกับราคะหรือความโลภอยากได้ส่วนความมีใจชังนั้นจะก่อกระแสผลักไสอยากขับไล่ให้พ้นหน้าเราไป

    กระแสใจนี้เป็นฝ่ายเดียวกับโทสะหรือการคิดทำลายทั้งชอบทั้งชังนั้น เหมารวมได้เป็นก้อนเดียวกันคือความหลง ใจคนเราถูกห่อหุ้มด้วยความหลงกันมาแต่เกิดโดยไม่รู้ตัว ก็เพราะถูกความชอบกับความชังนี้แหละรุมเร้าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

    ฉะนั้นหากเฝ้าจดจ่อรอดูความชอบและความชังดับไปตามธรรมชาติใจก็จะคลายจากอาการลุ่มหลงมัวเมาต่างๆจนหายขาดในที่สุดยกตัวอย่างเช่น บางคนสะดุ้งตื่นขึ้นกลางดึกเพราะเสียงหมาเห่า หากมีแต่ความชังในเสียงกระทบหูก็จะนอนเครียดไม่หลับลงได้เป็นชั่วโมงเพราะแค้นแน่นจุกอก แต่หากเอาเสียงหมาเห่าเป็นเครื่องเจริญสติตั้งมุมมองไว้ว่าสักแต่เป็นเสียงกระทบแก้วหู แต่ไม่กระทบตัวเรา ลองสังเกตดูใจจะพบว่าปฏิกิริยาโต้ตอบเป็นชิงชังนั้นลดลง

    ยิ่งเวลาผ่านไปใจจะยิ่งเฉยมากขึ้นเรื่อยๆ แม้เสียงหมาเห่าจะยังดังเท่าเดิมก็ตาม เมื่อสติเกิดเต็มที่แล้ว จะเห็นว่าความเฉยเกิดขึ้นเป็นปกติแม้ในคืนต่อๆมาจะมีเสียงหมาเห่า สติที่อบรมไว้แล้วก็จะทำให้ใจไม่สะดุ้งตื่นขึ้นเพราะเสียงหมา อาจจะรู้สึกตัวขึ้นเพียงนิดเดียวก็จะมีอาการวางเฉยในเสียงปรากฏแทนความรำคาญ และความวางเฉยนั้นจะทำให้กลับหลับลงต่อได้อย่างดี

    นี่คือผลดีที่เห็นได้ชัดของการสังเกตปฏิกิริยาทางใจจนวางเฉยเสียได้เบื้องต้นในชั้นอนุบาลฝึกหัด ขอให้ลองเป็นนักรู้อายุขัยของปฏิกิริยาทางใจ เล็งไว้เลยว่าปฏิกิริยาทางใจทุกชนิดมีอายุของตัวเอง อาศัยจำนวนลมหายใจเข้าออกเป็นตัวนับ กล่าวคือพอชอบหรือชังอะไรขึ้นมา ก็เริ่มนับไปเลยว่าปฏิกิริยาทางใจนั้นเกิดกับลมหายใจที่หนึ่ง ดูไปๆว่ามันจะหมดอายุหมดสภาพแสดงตัวตรงลมหายใจที่เท่าไหร่

    เมื่อฝึกแรกๆคุณอาจพบว่าพอรู้ลมหายใจปั๊บ ความชอบความชังก็ดับไปทันทีแปรเป็นความอึดอัดเพราะบังคับใจให้รู้ลมเข้าออกแทน แต่เมื่อทำเหมือนเรื่อยๆเล่นๆหลายครั้งเข้า ก็จะเริ่มชิน และพบว่าความชอบความชังนั้นเป็นอาการทางใจ เป็นของภายใน ต้องเห็นจากใจเท่านั้น ส่วนการรู้ลมหายใจเป็นของภายนอก รู้ผ่านผัสสะทางกายพอสติสัมปชัญญะของคุณรู้แบบแยกชั้น ก็จะไม่รบกวนกัน

    ปฏิกิริยาทางใจเกิดขึ้นในภายในก็แสดงตัวอยู่ข้างใน ลมหายใจเกิดขึ้นที่ภายนอกก็แสดงตัวอยู่ภายนอก ถึงตรงนี้คุณจะรู้โดยไม่อึดอัด และที่สำคัญคุณจะไม่ผลีผลามพูดหรือทำอะไรตามความชอบชังบันดาลในขณะนั้นคนธรรมดาทั่วไปไม่สามารถเห็นความชอบความชังในใจ เพราะชอบหรือชังแล้วก็กลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่สืบเนื่องให้เกิดคำพูดหรือการกระทำตามอยากทันที

    ต่อเมื่อหัดใช้ลมหายใจช่วยเป็นตัววัดว่าอายุขัยมากน้อยเพียงใด คุณก็จะเริ่มดูความชอบความชังเป็น และเมื่อดูเป็นจนชำนาญ คราวนี้คุณไม่ต้องอาศัยลมหายใจเข้ามาช่วยแล้ว แต่สามารถดูความเกิดดับของความชอบความชังได้ตรงๆทีเดียว

    สรุป
    ถึงตรงนี้จะเห็นว่าเมื่อเข้าใจวิปัสสนาอย่างแท้จริงล่ะก็คุณอาจปฏิบัติได้ตลอดเวลา แม้ขณะที่คนอื่นเขานึกว่าคุณกำลังนั่งเล่นทอดหุ่ยดูลมชมดาว หรือแม้กระทั่งขณะที่คุณกำลังพูดคุยเฮฮาอยู่กับเขาไม่ใช่จะต้องไปปฏิบัติวิปัสสนากันที่วัดหรือในห้องพระที่บ้านเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010
  7. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    บทที่ ๗ เกณฑ์วัดว่าคุณเป็นนักวิปัสสนาหรือยัง

    หนังสือวิปัสสนานุบาลเล่มนี้ ชี้ให้เห็นว่าวิปัสสนาที่ดีนั้น เริ่มต้นต้องสร้างพื้นฐานอันมั่นคงให้กับสติเสียก่อน คือเอาสติไปผูกอยู่กับลมหายใจที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่เรากลับหลงไม่รู้อยู่ชั่วนาตาปีนี่เอง จากนั้นชี้ให้เห็นว่าวิปัสสนาที่ได้ผล และทำให้เกิดกำลังใจเป็นอันดีนั้น ควรแก้ปัญหาให้คุณได้

    เช่นถ้าเป็นโรคเครียด คิดมาก ฟุ้งซ่านไม่หยุด ก็จะสบายขึ้น คิดน้อยลง ยุติความฟุ้งซ่านได้ตามปรารถนา ไม่เห็นเหตุผลใดๆว่าจะต้องหวงความคิดไว้หรือกักขังให้ความคิดคงค้างอยู่ในหัวอย่างเปล่าประโยชน์ทำไมแล้วลงเอยคือชี้ให้เห็นว่าถ้าสามารถเห็นปฏิกิริยาทางใจทั้งปวงโดยความเป็นสภาวะเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วต้องดับลงเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตนน่ายึดมั่นถือมั่นสักอย่าง

    ความจริงอย่างที่สุดคือความว่างอย่างที่สุด เกิดแล้วหาย เกิดแล้วหาย เกิดแล้วหาย ทั้งหมดทั้งสิ้น เห็นได้อย่างนี้นับว่าคุณเริ่มทำวิปัสสนาเต็มขั้นแล้วบางคนอาจคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีไว้ให้นักเรียนอนุบาลทางวิปัสสนา เพราะฉะนั้นไม่มีทางทำวิปัสสนาเต็มขั้นได้

    แต่ขอบอกว่าแท้จริงคุณจะเป็นนักเรียนอนุบาลวิปัสสนา หรือเป็นนักวิปัสสนาเต็มขั้นนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณอ่านหนังสือเล่มนี้กี่รอบ หรือจะต้องไขว่คว้าหาอ่านหนังสือเล่มอื่นสักกี่เล่ม เกณฑ์ตัดสินอยู่ที่จิตของคุณเอง ว่าเห็นกายใจนี้ตามจริงหรือไม่หากเห็นเป็นขณะๆ อย่างต่อเนื่องว่าทุกสิ่งในกายใจนี้เกิดขึ้นแล้วต้องดับลงเป็นธรรมดาทั้งสิ้น

    คุณไม่ยึดมั่นถือมั่นส่วนใดส่วนหนึ่งทั้งฝ่ายรูปและฝ่ายนามว่าเป็นตัวตน อุปาทานน้อยลงเรื่อยๆว่านั่นของคุณ นี่ของคุณ นั่นแหละตัวชี้ชัดว่าคุณเป็นนักวิปัสสนาเต็มตัวแล้วอย่างไรก็ตาม ก่อนถึงจุดนั้นก็จะขอให้หลักเป็นข้อๆไว้สำรวจตนเอง ว่าพฤติกรรมของคุณจะพาไปสู่ความเป็นนักวิปัสสนาหรือไม่

    เพื่อความสะดวก และไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่าทำมาถูกหรือผิดทาง ก็ขอให้ใช้ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นเกณฑ์ประกันความมั่นใจ ยิ่ง ‘ใช่’ มากข้อเท่าไหร่ ก็เป็นอันว่าใกล้เคียงขึ้นเท่านั้น

    ) เมื่ออยู่ว่างๆ เช่นต้องรอใครนานเป็นชั่วโมง คุณไม่ปล่อยใจไปกับวิมานในอากาศ ไม่ย้อนนึกถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ไม่คำนึงนึกล่วงหน้าถึงเรื่องที่ยังรออีกไกล แต่นึกถึงลมหายใจ คุณฝักใฝ่กับลมหายใจเพราะมันทำให้คุณมีความสุขอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เพราะบังคับตัวเองให้ฝืนทำเพื่อจะได้เป็นนักวิปัสสนา

    ) เมื่อมีใครทำให้คุณโกรธ คุณรู้ตามจริงว่ากำลังโกรธ แต่แทนการมองหน้าเขาด้วยตาขุ่น กลับมองความโกรธในใจตัวเองด้วยความเป็นกลาง คือไม่คิดเรื่องถูกผิดของเขาหรือของเรา คิดถึงแต่ว่าใจเรามีความโกรธ เพื่อเห็นตามจริงว่าภาวะโกรธเหมือนไฟที่ลุกวาบขึ้นแสดงความแปรปรวนให้ดูเล่นอีกครั้งเท่านั้นเอง

    ) เมื่อเวลาผ่านไป คุณเริ่มพบว่าตัวเองเฝ้าตามรู้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกภาวะอารมณ์ เพื่อเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง บังคับบัญชาหรือสั่งคุมให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ แม้กระทั่งขณะขับถ่ายปัสสาวะ! ข้อสังเกตตัวเองหลักๆเหล่านี้พอบอกได้ว่าคุณเริ่มทำวิปัสสนาบ้างแล้ว ต่อไปนี้คือรายละเอียดที่ลึกลงไป ซึ่งคุณอาจพบว่าเกิดขึ้นเองหลังจากทำวิปัสสนาไปได้พักหนึ่ง

    ) เมื่อเงยหน้ามองเมฆหรือมองดาว แทนที่จะเกิดจินตนาการเพ้อฝันอ่อนหวาน คุณกลับเห็นแค่ความเบานิ่งสม่ำเสมอของใจ โดยปราศจากความติดใจไยดีรสสุขอันเกิดแต่ความเบานิ่งสม่ำเสมอนั้น

    ) เมื่อเกิดอัตตามานะถือเขาถือเรา เทียบศักดิ์เทียบชั้นแรงๆ แล้วคุณรู้สึกรังเกียจสิ่งที่เกิดขึ้นในใจตัวเอง เท่ากับที่คนตาดีเห็นเห็บหมัดสุนัขมากลุ้มรุมเกาะร่างของตนยุ่บยั่บ

    ) เมื่อคุณเห็นข้อเสียของตัวเองเกิดขึ้นจากการคิด การพูด หรือการกระทำใดๆ แล้วทราบชัดว่าจิตมีลักษณะเป็นอกุศล เช่นขุ่นเคือง รู้สึกหม่นมืด ในหัวฟุ้งแรง อกใจเร่าร้อน ฯลฯ แล้วเกิดสติสำนึกผิดแบบใหม่ คือไม่เศร้าโศกเสียใจหรือโทษตัวเอง แต่เห็นว่าบาปอกุศลเป็นแค่เงาดำเงาหนึ่งที่ปรากฏทาบจิต เพียงรู้ชัดว่าเงาดำนั้นไม่ใช่ตัวคุณ เกิดแล้วต้องสลายตัวเป็นธรรมดา คุณก็เกิดความรู้สึกว่างขึ้นแทนที่

    ) เมื่อเป็นนักวิปัสสนาไปเรื่อยๆ นับวันความว่างก็ขยายขอบเขตออกกว้างไกลขึ้นทุกที คือเห็นอาการใดในใจดับลง ใจก็เหมือนมีพื้นที่ว่างมากขึ้นเรื่อยๆ และพลอยมีความสุขที่แปลกประหลาดมากขึ้นเรื่อยๆ

    ) เมื่อเลิกนิสัยคิดว่าตัวเองรู้ดี รู้ว่าคนอื่นเป็นอย่างไร หันมาเห็นว่าตนเองไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองตามจริงสักเท่าไหร่จนในที่สุดนิสัยใหม่ค่อยๆถูกเพาะขึ้น คือสำรวจตนเองมากกว่าสอดส่องออกไปหาเรื่องของคนอื่นข้างนอก

    ) เมื่อเกิดความกลัว คุณเห็นว่าความกลัวเป็นเพียงอารมณ์อีกชนิดหนึ่งที่ล่อให้นึกว่า ‘มีคุณ’ ที่กำลังจะเป็นผู้เคราะห์ร้าย ต่อเมื่อส่องอย่างใกล้ชิดด้วยวิปัสสนาแล้ว กลับเห็นว่าเหลือแต่ความกลัว หาได้มีผู้เคราะห์ร้ายที่ตรงไหนไม่

    ) เมื่อตระหนักว่ายอดสุดแห่งข้อเสียคือความเหม่อลอยไร้สติ

    ) เมื่อรู้สึกว่าอดีตที่ผ่านมาเป็นแค่ความทรงจำ แล้วก็รู้สึกด้วยว่าความทรงจำเปรียบเสมือนแสงเทียนที่ค่อยๆหรี่ลงสู่ความดับเข้าไปเรื่อยๆด้วย

    ) เมื่อพบว่านิสัยบางอย่างเปลี่ยนไป เช่นจากที่เคยช่างคุยกับตัวเอง หรือกระทั่งรบกับเสียงในหัวของตัวเองอย่างหนัก มาพักอยู่กับความสงัดเงียบภายในใจแทน

    ๑๐) เมื่อมีคนบอกว่าคุณผ่องใส แล้วคุณรู้สึกว่าเขาพูดถึงภาวะผ่องใส ไม่ได้พูดถึงตัวคุณ

    ๑๑) เมื่อรู้ตามจริงว่าคุณแตกต่างจากคนรอบข้างที่ไม่ได้ภาวนา แต่ไม่เห็นตัวเองแปลกคนเพราะทุกคนเสมอกันด้วยความเป็นสิ่งที่ปรากฏแล้วต้องเสื่อมสลายลงทั้งสิ้น

    ๑๒) เมื่อมีใครแนะนำให้คนอื่นรู้จักว่าคุณเป็น "นักวิปัสสนาคนหนึ่ง" ใจคุณนึกปฏิเสธ ไม่รู้สึกภาคภูมิใจ ไม่นึกว่าเป็นเกียรติยศ และเห็นว่าแม้การ "เป็นนักวิปัสสนา" ก็ไม่ใช่คุณเอาเลย

    สรุป
    ธรรมะที่ดีที่สุดคือสิ่งที่กำลังปรากฏเด่นต่อสติอยู่เดี๋ยวนี้

    สิ่งใดแสดงให้เห็นว่าเกิดขึ้นแล้วต้องดับลงเป็นธรรมดา

    เห็นแล้วกระทำจิตให้คลายจากความยึดมั่นเสียได้

    สิ่งนั้นน่าสนใจดูยิ่งกว่าสิ่งมหัศจรรย์ทั้งหมดในโลกรวมกัน

    ************************************************

    <O:p</O:p
    ที่มา หนังสือวิปัสสนานุบาล โดย ดังตฤณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...