“อาจารย์ มจร” แนะนำพุทธจิตวิทยา ใช้ชีวิตสู้ภัยโควิค-19 อย่างมีความสุขแบบ New Normal

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 2 พฤษภาคม 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8a2e0b98c-e0b8a1e0b888e0b8a3-e0b981e0b899e0b8b0e0b899e0b8b3e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b888e0b8b4.jpg

    ช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย การตั้งรับเหตุการณ์วิธีการพลิกปัญหาให้เป็นปัญญาเป็นอย่างไร ผศ.ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้แนะนำว่า หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา นำมาใช้ในวิกฤตินี้ได้ดีทีเดียว เราจะทำใจเราให้เย็นลง อดทนต่อความสูญเสียอย่างไร เราต้องมาฝึกใจยอมรับความจริงของชีวิต เข้าใจว่าเราอยู่ในกระแสโลก โลกธรรม 8 เป็นหลักธรรมสำคัญข้อหนึ่ง ที่เรานำมาปรับใช้ได้ทุกสถานการณ์ เมื่อมีลาภ เสื่อมลาภมียศเสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา มีสุข มีทุกข์ หลักความจริงนี้ที่มนุษย์ปุถุชนต้องประสบกันทุกคน เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์ตามกฎของธรรมชาติ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม

    ฝึกใจยอมรับความจริงเมื่อใจไม่ยอมรับความจริงของชีวิต และความเป็นไปของโลก เราจะเกิดทุกข์ ไม่สมปรารถนา ตามความคาดหวังก็เป็นทุกข์ เป็นเรื่องปกติสามัญของมนุษย์ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา มีหลักดำเนินชีวิตที่จะให้เราข้ามผ่านความทุกข์ทั้งปวงได้ คือ การฝึกฝนใจของตัวเอง ต้นตอการเรียนรู้ความจริงของชีวิต คือ ใจของเรา ทำอย่างไรให้เราฝึกใจให้ไม่อ่อนไหวกับความจริง ความทุกข์ใจที่มาบีบคั้นตลอดเวลา อยู่กับความจริงที่เกิดขึ้นให้ได้เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เราฝึกใจยอมรับว่า เราแสวงหาความสุขนอกกายจากการเสพความสุขบริโภควัตถุภายนอกมาตอบสนองความสุขภายในมากแล้ว ถึงเวลาที่เราต้องมาแสวงหาความสุขภายในกันแล้วดังพุทธพจน์ที่ว่า “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ” การฝึกให้ใจ

    สร้างต้นทุนทางใจด้วยสติวิธีคิดง่ายๆ คือ ทำบ้านให้ร่มเย็น คือ การกลับมาอยู่กับลมหายใจตัวเอง ทำใจที่ไร้บ้าน คือ การวิตกกังวล ความเครียด ต่างๆ ให้สงบลง อยู่กับปัจจุบัน ถ้าเคยฝึกมาบ้าง สติก็จะกลับมารวดเร็ว ถ้าคนไม่เคยฝึกอบรมใจ ใจก็จะกระเพื่อมขึ้นลงไปตามกระแสความเปลี่ยนไปของโลกภายนอก ถ้าเราเริ่มจะการฝึกจิตใจให้เข้มแข็งมาก่อน เราก็จะเรียกสติ กลับมาเร็วมากกว่าคนที่ไม่เคยฝึก เมื่อมีสติเกิดขึ้น ใจ โปร่ง โล่ง สบาย เราก็จะคิดแก้ปัญหาทุกอย่างได้ ข้อสำคัญ อย่าให้ความกลัวเข้ามาครอบงำจิตใจ จนขาดสติสัมปชัญญะ

    วิธีคิดด้วยปัญญา การคิดแบบโยนิโสมนสิการ ทำให้เราเรียนรู้ที่จะเอาประโยชน์จากทุกปัญหา พลิกปัญหาให้เป็นปัญญาให้ได้ เราสามารถรู้เท่าทันกับสิ่งต่างๆที่มากระทบ ฝึกสืบสาว สาเหตุ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ฝึกมองชีวิตว่า ไม่ว่าทุกข์หรือสุขเป็นสิ่งชั่วคราว เข้ามาอยู่อาศัยชั่วคราว ทุกอย่างเกิดขึ้นไม่นาน แล้วมันก็ผ่านไป ทุกชีวิตจะต้องเจอกับสภาวะที่บีบคั้น เพียงแต่จะมาในรูปแบบไหน อย่างไรแต่ถ้าเราปรับตัว ปรับใจต่อสถานการณ์ด้วยการใช้สติพิจารณาเราฝึกคิดแบบเร้ากุศลให้เรามีพลังใจที่จะดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ดีงามอย่างไรตั้งคำถามให้กับตัวเองบ่อยๆเราจะอยู่กับความทุกข์ ให้มีความสุขได้อย่างไร

    การตั้งจิตไว้ดีการกำหนดจิต คิดบวกให้กับตัวเอง คิดให้มีพลัง มองเหตุการณ์ที่เข้ามา เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต กำหนดจิต Mindset ฝึกมโนกรรมคิดดีกับตัวเองเสียก่อน แสดงออกต่อผู้อื่นด้วยใจเมตตา ไม่เบียดเบียนให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ โดยเฉพาะตอนนี้ เราจำเป็นต้องรักษาศีลในการอยู่ร่วมกัน สร้างสัมพันธที่ดีในการอยู่ร่วมกัน มีจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกันในสังคมและสิ่งแวดล้อม ถือว่า เราได้ตั้งจิตไว้ดี มีความเมตตา ตั้งจิตเป็นกุศลต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม

    ภาวนา 4 คือ เครื่องมือพัฒนาชีวิต เครื่องมือนำทางสำหรับการใช้ชีวิตแบบ New Normalยุคสถานการณ์โควิคCovid-19 ภายใต้กรอบแนวคิดภาวนา 4 ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางปัญญา เป็นเครื่องมือที่วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตนำไปสู่ความสุขได้ ผู้เขียนเสนอวิธีคิดและแนวปฏิบัติในการประเมินตนเองเบื้องต้น ว่าเราได้ปฏิบัติมากน้อยเพียงไร

    1) เราสร้างสุขภาวะทางกายให้ดีได้อย่างไร คือ ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองให้แข็งแรง รู้จักรักษาสุขอนามัยตัวเอง ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้มีความสะอาด เรียบร้อยอย่างไร มีสติการรับรู้ในการกิน อยู่ ฟัง เป็น มีใจคอยกำกับ ระลึกรู้คอยเตือนใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

    2) เราสร้างสุขภาวะทางสังคมที่ดีได้อย่างไร คือ มีสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น ต่อสังคมอย่างไร ปฏิบัติตัวอย่างไร ไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เบียดเบียนสังคม สร้างจิตสำนึกร่วมกันในสังคมอย่างไร รักษากฎกติกา มีวินัย รับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน แบ่งปัน เกื้อกูล ช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจผู้ที่อยู่ในภาวะคับข้องใจ หรืออยู่ในภาวะสูญเสียอย่างไร

    3) เราสร้างสุขภาวะทางจิตใจได้อย่างไรคือ การฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง อดทนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีจิตใจตั้งมั่น จัดการภาวะอารมณ์ได้ สร้างภูมิคุ้มกันทางทางใจให้มีพลังต่อสู้กับปัญหา อุปสรรคที่เข้ามาในชีวิตได้ เชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองต่อการตั้งรับกับสถานการณ์ที่เข้ามาในชีวิตได้ ฝึกใจให้สงบ ปลอดโปร่ง เสริมสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง สร้างแรงบันดาลใจด้านบวกให้ตัวเอง เมื่อใจเข้มแข็งก็จะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นได้ดี

    4) เราสร้างสุขภาวะทางปัญญาได้อย่างไร คือเราฝึกพิจารณารู้เท่าทันปัญหา เหตุการณ์ที่มากระทบไม่ว่าดีหรือร้าย เรารู้จักพิจารณาแยกแยะเห็นโทษ เอาเห็นประโยชน์กับสิ่งนั้นอย่างไร ใช้เหตุผลพิจารณามองให้รอบด้าน พลิกปัญหาให้เป็นปัญญาในแต่ละปัญหาอย่างไร ฝึกใจให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตและโลก ฝึกจิตไม่ให้หวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่มากระทบ การใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท หลีกเลี่ยงการทำบาปทางกายและใจต่ออื่น เสาะแสวงหาข้อคิดหรือหลักธรรมมาเป็นเครื่องมือชี้นำทางให้การดำเนินชีวิต ลงมือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อพิสูจน์สัจธรรมด้วยตนเอง

    วิธีคิดที่นำเสนอข้างต้นเป็นทัศนะของผู้เขียนในการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต ผู้อ่านสามารถลงมือปฏิบัติ ทดลองพิสูจน์ด้วยตนเอง ผลของการปฏิบัติเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล รู้ได้เฉพาะตน ต้องลงมือปฏิบัติถึงจะรู้ผลได้ด้วยตนเองเนื่องจากศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ มีหลักธรรมให้เลือกปฏิบัติหลายระดับที่สามารถนำมาเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/education/190759
     

แชร์หน้านี้

Loading...