“แก้วิปลาส”...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 22 เมษายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    “แก้วิปลาส”...



    พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสีได้นิพนธ์หนังสือเล่มเล็กเรื่อง โมกขุบายวิธี มีความตอนว่า
    ด้วย “แก้วิปลาส” อย่างน่าพิจารณายิ่ง


    “อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌาณแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐
    จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌาณแล้วอุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้น
    สำหรับนิสัยของคนบางคน แต่บางคนไม่มีเลย”
    พร้อมกันนี้ พระอาจารย์เทสก์ได้เสนอแนะวิธีให้อย่างละเอียด ดังต่อไปนี้…
    เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้วพึงทำความรู้เท่าทัน

    นี่อุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญาและอุปกิเลสนี้เกิดจากฌาณหาใช่อริยมรรคไม่

    ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ เบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงแท้
    พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของสังขารเท่านั้น
    พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาณ
    ฌาณก็เป็นโลกียะ อุปกิเลสก็เป็นโลกียะ โลกียะ ทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง
    ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา
    เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี
    เมื่อรู้เท่าทันแลเห็นโทษอย่างนั้น....

    จงคอยระวังจิต อย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้
    และอย่ายึดอารมณ์ใด ๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ


    แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำ
    เพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นมาแล้ว
    จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่าง ๆ นานา
    มีทิฐิดื้อรั้นไม่ยอมฟังเสียงใคร ๆ ทั้งหมด
    เมื่อเข้าถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์
    หรือเคยผ่านเช่นนี้มาก่อนแล้วก็ยากที่จะแก้เขาได้
    ฉะนั้น จึงควรใช้วิธีสุดท้ายคือ ใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัว หรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี
    แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำให้เข้าใจกันใหม่
    วิธีสุดท้ายนี้โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ
    ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิตมีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส
    ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก



    [​IMG]

    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี

    วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

    ที่มา
    : เรื่องหลวงปู่เทสก์ โดย นามกาย

    หมายเหตุ
    - พระราชวรมุนี(ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ให้นิยามความหมายของ “วิปลาส” ไว้ในหน้า ๒๗๖ หนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ว่า

    “กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริงความเห็นหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง”

    และในพุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ(๒๕๒๙) ว่า...


    คือความรู้คลาดเคลื่อน ความรู้ที่ผันแปรผิดพลาดจากความเป็นจริง หมายถึงความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง วางใจวางท่าทีประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต่อโลก ต่อชีวิตต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางบังตาไม่ให้มองเห็นสัจจะภาวะ


    ---------
    ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล:เครือข่ายธรรมะศรัทธา
    http://www.igetweb.com/www/dhammasatta/index.php?mo=3&art=217073
     
  2. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175
    โมทนา สาธุการ....... ธรรม เป็น ธรรม..... มิใช่ ธรรม....ที่ มิใช่ธรรม....


    แม้ เราตถาคต จะรู้ถึงปานนี้ ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.....แต่ ก็หาได้ยึดติดในความรู้เหล่านั้น ไม่......และ เพราะไม่ยึดติด จิต จึงหลุดพ้น.....และแม้กระทั่ง พระนิพพาน... เราตถาคต ก็หาได้ยึดติดไม่......

    (จาก พรหมชาลสูตร พระไตรปิฎก)



    ผู้สนใจในธรรมระดับพื้นฐานนั้น......ย่อมพิจารณาอยู่ว่า เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา....เราไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายไม่ใช่เรา....จนเห็นแจ้ง ในสภาวะธรรมตามความเป็นจริง.....จะ มีบัญญัติ หรือ ไม่มี ก็ได้....ไม่เป็นปัญหา


    ผู้สนใจในธรรมระดับสูง......ย่อมพิจารณาอยู่ว่า ธรรมไม่ใช่ของเรา ตัวเราก็ไม่มี .... จิต ย่อมวางจากความคิดปรุงแต่งทั้งปวง.....จึงหมดปัญหาทั้งปวง......จะ มีบัญญัติ หรือ ไม่มี ก็ได้.....ไม่เป็นปัญหา เช่นกัน....



    อนึ่ง วิปัสสนูปกิเลส นั้น.......เกิดขึ้นเฉพาะ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาแบบไม่สมดุลแก่จิต เท่านั้น.......ส่วน มิจฉาทิฏฐิ นั้น.....ย่อมเกิดขึ้นกับ ปุถุชนทั่วไป นั้นเอง.....ส่วน พระอริยเจ้าทั้งหลาย นั้น......ย่อมมี ธรรมเป็นเครื่องอยู่ ที่สมควรแก่จิตในทุกๆ ระดับ.....ไม่มีความขัดข้องเลย.....แบ่งเป็น พระเสขะ ที่ยังต้องทำการศึกษาอยู่......กับ......พระอเสขะ ที่จบกิจแล้ว เท่านั้น....จะมีกี่ประเภท หรือ กี่ระดับนั้น....ย่อมเป็น ปัจจัตตัง คือ รู้ได้เฉพาะตน นั้นเอง.....หากมิได้รับการพยากรณ์จาก พระพุทธเจ้า หรือ พระอรหันต์ที่ทรงอภิญญา แล้ว......จะสำรวมตนเองมาก และ มีแต่ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นที่ตั้ง.......ยกเว้น พระอรหันต์ ที่ออกมาประกาศพระศาสนา จึงต้องทำการ บันลือสีหนาท.....เพื่อ แสดงสัจจธรรม ให้ปรากฏแก่โลก เท่านั้น.....



    อนึ่ง การบัญญัติซึ่งพระธรรมใดๆ นั้น.......ย่อมควรแก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงพระองค์เดียว.......นอกนั้น ไม่ควรแอบอ้างเลย....เพราะ ไม่เกินพระธรรมของพระพุทธเจ้า ไปได้.....ไม่ว่าในส่วนของ สมมติ หรือ วิมุติ.....ก็ล้วนมาจาก พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งสิ้น.....สาวก จึงได้ชื่อว่า สาวก.....เพราะเป็นเพียง ผู้รับฟัง ผู้รับถ่ายทอด แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติตาม เท่านั้น....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2009
  3. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446
    หุหุ ตัวเราก็มีข้อเสียอยู่มาก กำลังปฎิบัติ อิๆ






    อืม เเละถ้าเรากำจัดกิเลศ ก่อนที่จะไปฝึกอะไรต่างๆละ????
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2009
  4. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175


    ก็ยิ่งดีใหญ่เลย.......เพราะ อัตตา อุปาทาน มันไม่มีแล้ว ย่อมเรียนรู้ได้ทุกอย่าง.....เมื่อ ความยึดถือในตัวตน มันไม่มีแล้ว......จะเรียนรู้อะไร ก็ง่าย......


    ว่าแต่ว่า.....ถ้า กิเลส มันหมดไปแล้ว......จะเอา ความอยากที่ไหน ไปอยากเรียนอะไร อีกละครับ.......เหลือๆ กิเลสไว้หน่อย ก็ดีนะ.......เอาไว้สร้างความดีกันเยอะๆ.......ดู พ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านออกมาช่วยโลก และ เมตตาต่อสานุศิษย์ สิ......ท่านทำอะไร ทำเพื่อตัวของท่านเองบ้างไหม.....ดูท่านเป็นแบบอย่างสิ.....แล้วจะรู้.........



    คนที่รู้ว่า ตนเองยังมี ความเลว อยู่นั้น.......คนนั้น ก็ย่อมมีโอกาสที่จะ ดี ได้ครับ..........สาธุ ด้วย....
     
  5. supakotcha

    supakotcha สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +1
    ข้อความของหลวงปู่เข้าใจจริงๆ
     
  6. trirut

    trirut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,420
    ค่าพลัง:
    +1,499
    [​IMG]ครับ
     
  7. minidog

    minidog Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    266
    ค่าพลัง:
    +91
    "อืม เเละถ้าเรากำจัดกิเลศ ก่อนที่จะไปฝึกอะไรต่างๆละ"

    ความที่เราอยากกำจัดกิเลส มันก็เป็นกิเลสด้วย หรือไม่
     
  8. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175


    เป็น ฉันทะ ครับ......หนึ่งใน อิทธิบาทธรรม จัดว่า เป็น ธรรม .........หรือจะว่า เอากิเลส ไปละกิเลส ก็ได้ครับ......เมื่อหมดกิเลส......ความอยาก หรือ ฉันทะ นั้น ก็หมดไปด้วย.....แต่จัดเป็นฝ่าย กุศลธรรม แน่นอน......เพราะ สวนทาง กับกิเลส ครับ.......กิเลส มีแต่ ความอยากที่จะสะสม........ธรรมะ นั้น มีแต่จะต้องละ ต้องปล่อยวาง ครับ.......ละความยึดถือ ละความอยากมี อยากเป็น.....ปล่อยวางหมดสิ้น เหลือแต่ทำตามหน้าที่ของตน ด้วยเมตตาธรรมล้วนๆ ครับ......ไม่มุ่งหวัง หรือ คาดหวังอะไรเลย......แต่ก็ เจริญธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลต่างๆ ได้อยู่ ตามปรกติครับ เรียกว่า เป็นเครื่องอยู่ หรือ วิหารธรรม โดยที่ ไม่มีความยึดติดใดๆ เลย......
     
  9. Chay 4

    Chay 4 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    292
    ค่าพลัง:
    +94
    ยึดติดในกิเลส ทั้ง ตัว โทสะ กามราคะ จะแก้ด้วยการนั่งสมาธิ หรือวิธีใดดีครับ ตอนนี้ตั้งสัจจะ1เดือน ว่าจะละกามกิจ เพราะเดือนนี้จะครบรอบวันเกิด และจะเตรียมตัวจะบวชในปีนี้ครับ ก็อยากฝึกจิตก่อน กลัวไปบวชแล้วจะเป็นบาปมากกว่าบุญ

    ขอความคิดเห็นของผู้มีธรรมโปรดชี้นำทางแห่งบุญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...