“ใส่บาตรหนังสือ” นศ.ชวนถวาย “ปัญญาบุญ” แด่พระสงฆ์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“ใส่บาตรหนังสือ” นศ.ชวนถวาย “ปัญญาบุญ” แด่พระสงฆ์
    Campus - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>23 กุมภาพันธ์ 2553 05:48 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับบวรพุทธศาสนาแล้ว พระภิกษุสงฆ์คือผู้ที่สละทางโลกเข้าศึกษาด้านธรรม ปฏิบัติตนในกรอบศีล 227 ข้อ ถือครองวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด งดงามตามคำสอนแห่งตถาคต มีหน้าที่สืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเป็นเนื้อนาบุญแห่งโลก เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มีส่วนร่วมในบุญอันเกษมนี้ด้วย อาทิการได้ทำบุญใส่บาตรอาหารเพื่อให้พระสงฆ์ได้ฉันและมีกำลังที่จะศึกษา สืบทอด และเผยแผ่พระศาสนา

    แต่ใช่ว่ามีแต่เฉพาะภัตตาหารมื้อเช้า มื้อเพล ข้าวสารอาหารแห้ง และอัฐบริขารเครื่องใช้ทั่วไปแต่เพียงเท่านั้นที่เป็นสิ่งเหมาะควรที่พุทธศาสนิกชนจะถวายแด่พระสงฆ์ เพราะอีกสิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไป แต่เป็นประโยชน์มากที่ควรถวายแด่พระสงฆ์ด้วย นั่นก็คือ “หนังสือ”

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>“อู๊ด” - วันชัย รัตนภรณ์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พระครูโอภาสปริยัติกิจ หรือที่รู้จักกันในนาม “หลวงพ่อโอภาสี” พระนักเทศน์ชื่อดัง แห่งวัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า การใส่บาตรหนังสือ เปรียบได้กับการสร้างประโยชน์ให้กับตัวอักษรหรือคำหนึ่งคำในหนังสือแต่ละเล่มที่พระภิกษุสงฆ์สามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้ได้ และตามที่หลายคนเข้าใจว่า หนังสือที่จะนำมาถวายพระได้ ต้องเป็นหนังสือธรรมะหรือหนังสือสวดมนต์เท่านั้น ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้องนัก เพราะหลวงพ่อโอภาสีได้ให้ความกระจ่างว่า จริงๆ แล้วก็ยังมีหนังสืออีกหลายประเภทที่พระภิกษุสงฆ์ต้องการศึกษาเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนต่อไป

    “อาตมาต้องบอกก่อนว่า พระภิกษุสงฆ์แต่ละรูปนั้น ต่างมีพื้นฐานความรู้ที่ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ก่อนที่จะปฏิบัติธรรมเทศนาให้พุทธศาสนิกชนฟัง เราจึงจำเป็นจะต้องศึกษาเรื่องราวทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป รวมไปถึงเทคนิคใหม่ๆที่สามารถสื่อสารสำหรับคนในแต่ละวัยได้”

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลวงพ่อนักเทศน์กล่าวต่อไปอีกว่า อย่างเวลาเทศน์ให้กับเด็กอนุบาลฟัง ก็ต้องทำการบ้านด้วยการอ่านหนังสือจำพวกนิทานที่มีคำสอน หรือมีคติประจำใจให้เด็กได้เข้าใจ ด้วยวิธีง่ายๆ จึงต้องรู้จักวิธีการสอนที่แฝงเรื่องราวที่สนุกๆ แต่เมื่อต้องเทศนาเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อยอย่าง นักเรียน นักศึกษา ก็จะต้องอ่านหนังสือที่สอนแนวคิดความรู้คู่คุณธรรมที่สามารถนำไปประกอบวิชาชีพในอนาคต รวมไปถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี ในขณะที่ผู้ใหญ่วัยทำงานจะต้องเน้นหนักในเรื่องของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและบุคคลรอบข้าง

    “ดังนั้นหากใครที่มีหนังสือดีที่มีประโยชน์อยู่บนหิ้ง แล้วไม่ได้อ่าน ก็สามารถนำมาทำบุญในรูปแบบการใส่บาตรหนังสือให้พระภิกษุและสามเณร ให้พระภิกษุสามเณรเหล่านั้นได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หนังสือที่จะนำมาใส่บาตรนั้น ขอให้เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเหมาะสม และสามารถถวายได้ทุกแนวที่มีประโยชน์ตั้งแต่แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของครูบาอาจารย์ ไปจนถึงความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต”

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>“อิ๋ว”- อาทิตยา มากระจันทร์ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ด้าน “อู๊ด” - วันชัย รัตนภรณ์ นักศึกษาชั้นปี 3 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประธานชมรมพระพุทธศาสนา กล่าวว่ารู้สึกภูมิใจถ้าครั้งหนึ่งในชีวิตได้ทำบุญด้วยวิธีการถวายหนังสือ

    “ผมถือว่าการใส่บาตรหนังสือเป็นการทำบุญที่ควรทำอย่างยิ่งไม่แพ้การใส่บาตรอาหาร เพราะในฐานะของพุทธศาสนิกชนคนไทย เราควรที่จะส่งเสริมพระพุทธศาสนา ด้วยการทำบุญใส่บาตร และประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี รวมไปถึงการส่งเสริมภิกษุ-สามเณร ให้มีร่างกายแข็งแรงพอที่จะศึกษาพระธรรมและปฏิบัติวัตรตามกิจของสงฆ์ด้วยการถวายสิ่งภัตตาหารและสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของท่านแล้ว เราก็ควรจะถวายอาหารทางปัญญาให้ท่านด้วย เพราะการที่ท่านจะต้องเทศนาสั่งสอนเหล่าฆารวาส ท่านก็จำเป็นจะต้องทราบถึงความเป็นไปของโลก สถานการณ์ปัจจุบัน สภาพสังคม รวมถึงความรู้เชิงวิชาการที่ถูกพัฒนาไปเรื่อยๆ อย่างไม่เคยหยุดนิ่ง”

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อู๊ดผู้ซึ่งมีประสบการณ์การใส่บาตรหนังสือแล้วเชื่อว่า การทำบุญด้วยการใส่บาตรหนังสือจะเป็นจุดแปลกและจุดเปลี่ยนสำหรับใครหลายคนที่ชอบทำบุญ และจะเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ ในการถวายสิ่งดีๆ แด่พระวงฆ์อีกด้วย

    “การทำบุญเช่นนี้ เป็นผลดีต่อผู้รับและผู้ให้ เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์แล้ว พระภิกษุสงฆ์ยังสามารถผสมผสานความรู้ทางโลกและทางธรรม เพื่อส่งผ่านการเทศนาธรรมในหัวข้อต่างๆ ให้พวกเราได้นำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันด้วย”

    เช่นเดียว “อิ๋ว”- อาทิตยา มากระจันทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาเทคโนโลยี พระจอมเกล้ากระนครเหนือ บอกว่า ปกติชอบทำบุญถวายสังฆทาน เพราะเป็นคนนอนดึกตื่นสาย ไม่ทันใส่บาตรตอนเช้า

    “ชอบเข้าวัด เพราะรู้สึกว่าทุกครั้งเข้าวัดทำบุญ จะตนเองมีจิตใจผ่องใส ไม่เครียด หรือเวลาที่คิดว่าช่วงนี้ตนเองพบเป็นเรื่องแย่ๆก็จะชวนครอบครัวหรือไม่ก็เพื่อนเข้าวัด ทำบุญให้หลวงพ่อรดน้ำมนต์บ้าง”

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมื่อถามถึงการใส่บาตรหนังสือนั้น อิ๋วบอกว่า เธอไม่เคยรู้ว่ามีวิธีการทำบุญแบบนี้ แต่เคยคิดว่าจะบริจาคหนังสือ เพื่อเอาไปสร้างเป็นห้องสมุดให้กับพระภิกษุสงฆ์

    “เวลาที่เราอยากทำบุญสร้างกุศลจะต้องทำให้เป็นประโยชน์ให้กับผู้อื่นด้วย อย่างจะทำอะไร หรือให้อะไรใคร เราจะดูก่อนว่า สิ่งเหล่านั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และใครเป็นผู้รับประโยชน์ในสิ่งที่เราให้ไป ไม่ใช่นึกอยากจะให้ก็ให้ เพราะสุดท้ายของที่เรากลับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ที่คิดอยากเอาหนังสือไปบริจาคทำห้องสมุดให้พระเพราะเชื่อว่าหนังสือเป็นบ่อเกิดของปัญญา ถือว่าเราถวายปัญญาแด่ท่าน ก็ต้องเลือกหนังสือดีๆ ที่มีประโยชน์ มีเนื้อหาเหมาะสม แต่เมื่อรู้ว่าสามารถนำหนังสือมาใส่บาตรได้ด้วย ก็จะไม่รอบริจาคแต่จะใส่บาตรหนังสือทุกครั้งที่มีโอกาสทำบุญ” อิ๋วทิ้งท้าย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...