เรื่องเด่น “ ให้หยุดความคิด”

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 6 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,295
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    “ ให้หยุดความคิด”
    FB_IMG_1517922187736.jpg
    การปฏิบัติมันไม่ใช่ปฏิบัติเฉพาะเวลานั่งอย่างเดียว มันต้องปฏิบัติตลอดเวลา หมายถึงสติ ถ้าไม่มีสติตลอดเวลา เวลามานั่งนี้มันจะไม่นิ่ง ต้องให้มันคอยควบคุมมันตั้งแต่ก่อนที่เราจะมานั่ง ท่านจึงสอนให้มีสติอยู่กับทุกอิริยาบถของการเคลื่อนไหว หรือไม่อย่างนั้นก็ให้มีพุทโธอยู่ทุกขณะของการเคลื่อนไหว ก็เป็นการฝึกสติที่ต่างกัน แบบต่างกันแต่การฝึกสติเหมือนกัน ถ้ามีพุทโธ พุทโธนี้เราก็จะกำกับใจไม่ให้ลอยไปกับความคิดต่างๆ ไม่ให้ไปคิดถึงอดีต ไม่ให้ไปถึงอนาคต ให้อยู่ในปัจจุบัน ให้อยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้าเราอยู่กับการเคลื่อนไหวได้ เราก็ไม่ต้องใช้พุทโธก็ได้ ถ้าใจไม่ไปคิดถึงอดีต ไม่ไปคิดถึงอนาคต อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับการกระทำต่างๆของร่างกาย
    ข้อสำคัญก็คือไม่ให้คิด ให้รู้แต่ไม่ให้คิดให้รู้ว่ากำลังทำอะไร แต่ไม่ให้คิดถึงอดีต คิดถึงอนาคต ถ้าจะคิดก็คิดกับเฉพาะเรื่องที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ว่าจะทำอะไร จะตักข้าวเข้าปาก จะเคี้ยว จะกลืนอย่างนี้ ก็ให้ทำเท่าที่จำเป็นจะต้องทำคิดเท่าที่จำเป็นจะต้องคิดกับการกระทำ ถ้าไม่คิดได้ก็ดี อย่าไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ หรือเรื่องนั้นเรื่องนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้
    ถ้าเวลาปฏิบัติจริงๆแล้ว มันตัด ให้ตัดหมดเลย เพราะว่ามันไม่มีความสำคัญอะไรความสำคัญของผู้ปฏิบัติก็คือ การไม่คิด การหยุดความคิด เพราะถ้าหยุดได้ เวลานั่งเฉยๆ นั่งดูลมหายใจเข้าออก มันก็จะสงบได้ สงบแล้วมันก็จะเกิดผลที่มหัศจรรย์ใจ คือความสุขที่เกิดจากความสงบ ไม่มีความสุขใดเหมือนกับความสุขที่ได้จากความสงบ เป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งปวง นัตถิ สันติ ปรมัง สุขัง สุขอื่นที่เหนือกว่าความสงบไม่มี อันนี้แหละคือเป้าหมายของการปฎิบัติ ขั้นแรกคือขั้นสมาธิ ต้องการที่จะให้ใจได้สัมผัสกับความสงบ ได้พบกับความสุขอันยิ่งใหญ่ ที่มีอยู่ในตัวเรา ได้ความสุขนี้ได้ความสงบนี้ ถือว่าดีกว่าได้เพชรมากำมือหนึ่ง ได้เพชรกำมือหนึ่งใจไม่สงบ ใจก็ตื่นเต้น ตกใจ วิตกกังวลขึ้นมา อุ๊ย จะเอาไปไว้ที่ไหนดี จะเก็บไว้ที่ไหนดี ใจสุขแบบร้อน สุขแบบกังวล วิตก ห่วงใย แต่ถ้าสุขแบบความสงบนี้ สุขเย็น สุขสบาย สุขเบาอกเบาใจ ไม่หนักอกหนักใจ แต่ถ้าสุขแบบได้สิ่งนั้นสิ่งนี้มา มันหนักอกหนักใจ ได้มาแล้วมันก็ต้องหวง ต้องห่วง เวลาเสียไป จากไป ก็เสียอกเสียใจ แต่ความสงบที่เราได้มานี้ พอเราได้มาแล้วเราก็รักษาได้ เราเก็บไว้ได้ ไม่มีใครมาแย่งจากเราไปได้ แม้แต่ร่างกาย ความตายก็แย่งความสงบนี้ ไปไม่ได้.

    สนทนาธรรมบนเขา
    วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐
    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
     

แชร์หน้านี้

Loading...