“11 อุทยานประวัติศาสตร์” ทั่วไทย ยลความงามจากโบราณกาลสู่ปัจจุบัน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    [​IMG]
    ในพื้นที่ประเทศไทย มีโบราณสถานอยู่มากมาย กระจายตัวอยู่ในทุกภาค แต่ละแห่งนั้นล้วนบ่งบอกถึงอดีตอันรุ่งเรืองที่เคยผ่านมา และปัจจุบันยังคงหลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้เข้าไปศึกษา

    เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานเหล่านั้นให้คงสภาพที่ดี และมีการบูรณะตกแต่งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยสภาพแวดล้อมภายนอกก็ดูร่มรื่นสวยงาม จึงมีการจัดตั้งเป็น “อุทยานประวัติศาสตร์” ขึ้นมา และในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอุทยานประวัติศาสตร์จำนวน 11 แห่ง ดังนี้

    [​IMG]

    [​IMG]
    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
    ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา ซึ่งเป็นอดีตราชธานีของไทยมากว่า 417 ปี ในปี พ.ศ.2534 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม จากยูเนสโก

    ภายในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ มีโบราณสถานเท่าที่สำรวจพบแล้วทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง จำนวนมากกว่า 425 แห่ง โดยมีโบราณสถานสำคัญ อาทิ “วัดพระศรีสรรเพชญ์” วัดหลวงประจำพระราชวังในอดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเจดีย์ทรงลังกาจำนวน 3 องค์ วางตัวเรียงยาวตลอดทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

    “วัดมหาธาตุ” เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมธาตุใจกลางพระนคร “พระราชวังโบราณ” เป็นศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในอดีต ปัจจุบันเหลือเพียงรากฐานของพระที่นั่งองค์ต่างๆ นอกจากนี้ ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ยังมีโบราณสถานสำคัญแห่งอื่นๆ อีก เช่น วัดพระราม วัดใหญ่ชัยมงคล วัดธรรมิกราช เป็นต้น

    b8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-4.jpg

    b8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-6.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย
    ตั้งอยู่ใน อ.เมืองสุโขทัย มีโบราณสถานทั้งในและนอกกำแพงเมืองรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 200 แห่ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” ตั้งแต่ปี 2534 (ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร)

    โดยมีไฮไลท์เด่นคือ “วัดมหาธาตุ” เป็นวัดขนาดใหญ่และสำคัญที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองสุโขทัย สิ่งสำคัญในวัดคือพระเจดีย์มหาธาตุรูปดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นเจดีย์ประธาน โดยเจดีย์รูปแบบนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปะสุโขทัยโดยแท้ นอกจากนั้นก็ยังมี “วัดศรีสวาย” ที่โดดเด่นด้วยพระปรางค์ 3 องค์ ศิลปะแบบลพบุรี “วัดสระศรี” งดงามด้วยเจดีย์ทรงลังกาซึ่งตั้งอยู่กลางสระตระพังตระกวน ส่วน “วัดศรีชุม” เป็นอีกหนึ่งวัดนอกกำแพงเมืองที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่

    b8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-8.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-10.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-12.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์
    เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานที่เดิมสร้างขึ้นในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15-18 ก่อสร้างด้วยคติจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง มีเส้นทางเดินสู่ตัวปราสาทที่ถูกออกแบบลดหลั่นกันไปตามภูมิประเทศ ไปตามเส้นทางที่มีเสานางเรียงตั้งอยู่เรียงราย ผ่านสะพานนาคซึ่งเป็นดังจุดเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์และสรวงสวรรค์ นำสู่องค์ปราสาทประธานที่เปรียบดังยอดเขาพระสุเมรุ

    สำหรับตัวอาคารปราสาทประธานก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพูอันงดงามสมส่วน ตามจุดต่างๆจะมีภาพสลักหินฝีมือวิจิตรประณีต นำโดย “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” และภาพ “ศิวนาฏราช” รวมไปถึงภาพจำหลักหินเป็นเรื่องราวต่างๆ ที่งดงามและค่อนข้างสมบูรณ์

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-14.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-16.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จ.เพชรบุรี
    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี หรือ “เขาวัง” ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นพระราชวังฤดูร้อนที่สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนัดว่าเป็นพระราชวังบนภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย

    ด้านบนเขาวัง จะเป็นภูเขาทั้งหมดสามยอด เริ่มจาก “ยอดเขาด้านตะวันตก” เป็นที่ตั้งของพระราชวัง ซึ่งมีพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆ มากมาย “ยอดกลาง” เป็นที่ตั้งของ “พระธาตุจอมเพชร” เป็นเจดีย์ทรงระฆังสีขาว ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทับเจดีย์เดิมสมัยอยุธยา “ยอดเขาด้านตะวันออก” เป็นที่ตั้งของ “วัดพระแก้ว” ซึ่งเป็นวัดประจำพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่เป็นวัดประจำพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-18.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-20.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
    ตั้งอยู่ใน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ในอดีตเป็นเมืองที่เกิดขึ้นก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะขึ้นครองกรุงสุโขทัย แต่ในระยะนั้นมีชื่อว่าเมืองเชลียง ก่อนจะกลายเป็นเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสวรรคโลกในที่สุด ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” ตั้งแต่ปี 2534 (ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-กำแพงเพชร)

    สิ่งที่ไม่ควรพลาดชมในอุทยานก็คือ “วัดช้างล้อม” ที่มีโบราณสถานสำคัญคือเจดีย์ประธานทรงลังกา มีช้างปูนปั้นเต็มตัวประดับโดยรอบฐานทั้ง 4 ด้าน รวม 39 เชือก “วัดเจดีย์เจ็ดแถว” โบราณสถานสำคัญคือเจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูม อีกทั้งยังมีเจดีย์ราย และอาคารขนาดเล็กแบบต่างๆ กันถึง 33 องค์ ส่วน “วัดนางพญา” ก็มีความโดดเด่นตรงลวดลายปูนปั้นอันงดงามรูปแบบศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-22.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-24.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-26.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
    ถือว่าเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมายคือ เป็นปราสาทที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นที่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งสันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ที่เข้ามาสู่เมืองพิมายทางทิศใต้

    สำหรับสิ่งชวนเที่ยวชมที่ปราสาทหินพิมายนั้นก็มีหลากหลายไล่ไปตั้งแต่ สะพานนาคราชทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท, ซุ้มประตูหรือโคปุระจากชั้นนอกสู่ชั้นใน, ปราสาทปรางค์ประธาน ที่ภายในเรือนธาตุเป็นห้องครรภคฤหะ (ห้องที่สำคัญที่สุด) ประดิษฐานพระพุทธรูปรางค์นาคปรก รูปเคารพสำคัญในศาสนาพุทธมหายาน

    ปรางค์หินแดงและปรางค์พรหมทัต (ที่ตั้งอยู่ขนาบข้างปรางค์ประธาน) ภายในปรางค์พรหมทัตประดิษฐานรูปเคารพของพระเจ้าชัยวันมันที่ 7 (ปัจจุบันคือองค์จำลอง องค์จริงถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ฯพิมาย) ซึ่งในอดีตชาวบ้านแถบนี้เชื่อกันว่าเป็นรูปเคารพของ “ท้าวพรหมทัต”

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-28.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-30.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี
    ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแควน้อย อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เมื่อพิจารณาจากสถาปัตยกรรมและประติมากรรม พบว่ามีความคล้ายคลึงกับสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม และยังมีศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา ที่กล่าวถึงเมืองศรีชัยสิงห์บุรี โดยมีการสันนิษฐานกันว่าคือปราสาทเมืองสิงห์แห่งนี้ แต่อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์บางส่วนให้ความเห็นว่าไม่น่าใช่ปราสาทเมืองสิงห์แห่งนี้ เพราะอยู่ห่างจากเส้นทางราชมรรคา ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

    ไฮไลท์ในพื้นที่ปราสาทเมืองสิงห์ก็คือ บริเวณโบราณสถานหมายเลข 1 เป็นปรางค์ประธาน ศูนย์กลางของที่นี่ ปรางค์เป็นองค์เดียวทรงสูงคล้ายฝักข้าวโพด มีระเบียงคดล้อมรอบ และมีโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่ระหว่างระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ส่วนภายในปรางค์ประธานมีรูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี และด้านหลังมีรูปเคารพของนางปรัชญาปารมิตาประดิษฐานอยู่ นอกจากนี้ ห่างจากตัวปรางค์ประธานออกไปอีกเล็กน้อย บริเวณริมแม่น้ำจะมีหลุมขุดค้นโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่มีอายุราว 2,000 ปี

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-32.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-34.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร กำแพงเพชร
    อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ใน อ.เมืองกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” ตั้งแต่ปี 2534 (ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย)

    โบราณสถานแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือโบราณสถานหรือกลุ่มวัดที่อยู่ในเมืองที่เรียกว่าคามวาสี และกลุ่มวัดที่อยู่นอกเมือง หรืออรัญวาสี มีหลายวัดที่น่าสนใจ อาทิ “วัดช้างรอบ” มีเจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ประดับรูปช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก “วัดพระสี่อิริยาบถ” โดดเด่นด้วยมณฑปขนาดใหญ่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระพุทธรูปลีลา พระพุทธรูปนอน พระพุทธรูปนั่ง และพระพุทธรูปยืน ซึ่งเหลืออยู่เพียงองค์เดียว

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-36.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-38.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี
    ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ที่นี่มีสภาพภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติผ่านกาลเวลามาหลายพันปี โครงสร้างส่วนใหญ่จะเป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่างๆ กัน นอกจากนั้นเกิดปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ กลุ่มก้อนหิน แท่งหิน รูปทรงประหลาด บนลานหินอันกว้างใหญ่ คนสมัยก่อนจึงได้นำมาผูกแต่งเป็นเรื่องราว “ตำนานรักนางอุษา-ท้าวบารส”

    มีไฮไลต์เช่น “หอนางอุษา” ที่มีลักษณะเป็นโขดหินคล้ายรูปเห็ดตั้งอยู่บนลาน เกิดจากการกัดกร่อนตามธรรมชาติ ซึ่งมีความเชื่อว่าในสมัยก่อนมีคนไปดัดแปลงโดยการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน ซึ่งใช้เป็นที่อยู่ของนางอุสา รวมทั้งมีใบเสมาหินขนาดกลางและขนาดใหญ่ปักล้อมรอบโขดหิน และหินทรายจำหลัก นอกจากนั้น ยังมีหินแปลกๆ หลายที่ให้ได้เดินชม อาทิ คอกม้าท้าวบารส หีบศพนางอุษา หีบศพท้าวบารส บ่อน้ำนางอุษา และวัดพ่อตา วัดลูกเขย เป็นต้น

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-40.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-42.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-44.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
    อยู่ใน อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพนั้นจะแบ่งออกเป็นเมืองใน และ เมืองนอก ในส่วนของ “เมืองใน” นั้นมีโบราณสถานขนาดใหญ่หลงเหลือให้ชมอยู่หลายแห่ง ได้แก่ “ปรางค์ศรีเทพ” สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ราวพุทธศตวรรษ 16-17 และได้รับการซ่อมแซมให้เป็นพุทธสถานแบบมหายานในราวต้นพุทธศตวรรษ 18 แต่ไม่แล้วเสร็จ “เขาคลังใน” ศาสนสถานในพุทธศาสนา ที่น่าสนใจคือบริเวณฐาน จะมีรูปปั้นนูนต่ำเป็นรูปคนแคระกำลังแบกเขาคลังในอยู่ โดยคนแคระนั้นจะมีศีรษะเป็นทั้งคนและสัตว์ต่างๆ

    “ปรางค์สองพี่น้อง” ปราสาทประธานก่อด้วยอิฐแบบศิลปะเขมร มีปราสาทขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศใต้ซึ่งสร้างขึ้นเพิ่มเติมอยู่บนฐานเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อปรางค์สองพี่น้อง โดยที่ปรางค์องค์น้องนี้ จะมีทับหลังรูปพระอิศวรอุ้มนางปารวตีประทับนั่งอยู่เหนือโคนนทิ ส่วนในปรางค์องค์พี่นั้นพบแท่นสำหรับตั้งศิวลึงค์ตั้งอยู่

    นอกจากนี้ภายในเมืองในยังพบโบราณสถานขนาดเล็กอีกหลายแห่ง รวมถึงสระน้ำและหนองน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่เมืองใน ส่วนที่ “เมืองนอก” ก็มีโบราณสถานสำคัญคือ เขาคลังนอก ปรางค์ฤาษี และ ถ้ำเขาถมอรัตน์

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-46.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-48.jpg

    8a2e0b8b2e0b899e0b89be0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b895e0b8a3e0b98c-49.jpg
    อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จ.สระแก้ว
    ตั้งอยู่ใน อ.โคกสูง จ.สระแก้ว เป็นปราสาทหินในวัฒนธรรมขอมซึ่งเป็นศาสนสถานเกี่ยวเนื่องกับศาสนาฮินดูแบบไศวนิกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก โดยคำว่า “สด๊กก๊อกธม” เป็นภาษาเขมร มีความหมายว่า “กกกอใหญ่” หรือ “บึงต้นกกใหญ่”

    ปราสาทแห่งนี้มีสิ่งก่อสร้างสำคัญได้แก่ ปราสาทประธาน มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดขึ้นลงทางด้านหน้า ในห้องครรภคฤหะของปราสาทมีฐานโยนีขนาดใหญ่สำหรับประดิษฐานศิวลึงค์ รูปเคารพแทนองค์พระศิวะ และนอกจากปราสาทประธานแล้ว ก็ยังมีโคปุระชั้นนอกและชั้นใน บรรณาลัย บาราย (บ่อน้ำ) ทางดำเนินและเสานางเรียงอีกด้วย

    ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่ยังมีการระบาดของโควิด-19 จึงทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวตามอุทยานประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ไม่สะดวก กรมศิลปากร ก็มีช่องทางการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศได้แบบเสมือนจริง ผ่านเว็บไซต์ http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th ที่มีภาพสวยงาม ข้อมูล และเสียงบรรยาย

    #########################################

    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9640000069929
     

แชร์หน้านี้

Loading...