“Enjoy TV with Your Children”

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 17 ตุลาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,123
    กระทู้เรื่องเด่น:
    348
    ค่าพลัง:
    +64,476
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>Enjoy TV with Your Children




    </TD><TD vAlign=top width=155></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>รายงานโดย :รัชชพร เหล่าวานิช:

    </TD><TD>วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    [​IMG]


    การตายของ โยชิโดะ อุสุอิ ผู้เขียนการ์ตูนเรื่องชินจัง กลายมาเป็นประเด็นพูดคุยในรายการวิทยุ พูดกันทั่วบ้านทั่วเมืองในประเด็นที่ว่า การ์ตูนญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กอย่างไร

    เพราะชินจังเมื่อมาฉายในบ้านเราเมื่อหลายปีก่อน ถูกวิจารณ์ในเรื่องมุขตลก การโชว์ช้างน้อย ท่ามนุษย์ต่างดาวครึ่งก้น และการเอากางเกงในมาครอบหัวสมมติว่าเป็นหน้ากาก รวมไปถึงการพูดจาก้อร่อก้อติกกับหญิงสาว พ่อแม่หลายคนรับไม่ได้เพราะกลัวลูกหลานจะเลียนแบบ

    [​IMG]

    แต่ในทัศนะของนพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ชอบอ่านการ์ตูนมาตั้งแต่เด็กๆ คิดว่า การนำเรื่องทางเพศมานำเสนอเป็นมุขตลกจะช่วยให้การเรียนรู้เรื่องเพศง่ายขึ้น เป็นการปลดปล่อยเรื่องเพศออกมา ให้เด็กค่อยเรียนรู้ และเข้าใจว่า ช้างน้อย คืออะไร
    และจะว่าไปแล้ว ชินจังก็เหมือนเด็กๆ ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ใช่เด็กที่ไร้ข้อตำหนิ
    หากมองกันในแง่บวก การนำเสนอพฤติกรรมไม่ดีก็มีเจตนาที่จะสอนให้เด็กรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งไม่ดี

    [​IMG]

    และตัวละครที่เราเห็นกัน การ์ตูนมีทั้งที่เป็นตัวแทนของผู้ทำความดี และตัวแทนของผู้กระทำสิ่งไม่ดี ซึ่งเด็กสามารถเปรียบเทียบการกระทำของตัวเองกับตัวละคร เป็นการเรียนรู้ โดยเด็กไม่รู้ว่าตนเองกำลังถูกสั่งสอน
    สำหรับการ์ตูนนอกจากพฤติกรรมด้านเพศ สิ่งไม่ดีที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คือภาพความรุนแรง
    มองจากมุมเดียวกัน ภาพความรุนแรงที่นำเสนอมีเจตนาจะสอนถึงผลเสียของความรุนแรง
    และการศึกษาเกี่ยวกับการนำเสนอภาพความรุนแรงในการ์ตูนญี่ปุ่น พบว่า ภาพความรุนแรงช่วยให้ผู้ชมได้ระบายความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงออกไป และมีความรู้สึกไม่ชอบความรุนแรง ไม่อยากเลียนแบบ ด้วยเหตุผลที่ว่า ในการ์ตูน (และในหนังในละครหลายเรื่อง) คนที่ถูกทำร้ายมักจะเป็นคนดี ภาพคนดีที่ต้องเจ็บปวดทรมานจากความรุนแรง ทำให้ผู้ชมสงสาร เห็นใจ จนไม่มีความรู้สึกอยากจะเลียนแบบ


    [​IMG]

    แต่ก็มีผลการศึกษาพบว่าภาพความรุนแรงมีผลต่อการเลียนแบบของเด็กบางคน ซึ่งมักจะเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านการปรับตัวให้เข้ากับสังคม และพบว่าภาพความรุนแรงทำให้เด็กบางคนหวาดกลัว ฝันร้าย
    แต่ที่แน่ๆ เด็กเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ จากโทรทัศน์ได้ โดยจะเลียนแบบพฤติกรรมบางอย่างในบางสถานการณ์
    ส่วนเด็กจะทำหรือไม่ทำอะไร นักวิชาการ ด้านเด็กบอกว่ามีตัวแปรหลายประการ อย่างเช่น การอบรมของพ่อแม่ นิสัยประจำตัวของเด็ก ความสามารถในการเห็นผลจากการกระทำของเด็กบางคน และที่สำคัญโอกาสหรือจังหวะในการเลียนแบบ
    และหากมองกันด้วยใจเป็นธรรมสิ่งที่ควรเอาอย่างที่สอดแทรกไว้ในการ์ตูน โดยเฉพาะการ์ตูนญี่ปุ่น ก็คือความรับผิดชอบ การร่วมมือร่วมใจทำงานกับคนอื่นๆ ความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์ ความมานะพยายาม ความขยัน ความรักชาติ การเคารพผู้ใหญ่ และการเสียสละ
    แต่ปัญหาก็คือ แทนที่จะลอกเลียนพฤติกรรมดีๆ กลับไปลอกเลียนพฤติกรรมไม่ดี ที่ลอกเลียนก็เพราะเด็กยังไม่มีวิจารณญาณ มากพอที่จะแยกแยะได้
    หากกังวลว่าลูกจะลอกเลียนพฤติกรรมไม่ดีจากการ์ตูน พ่อแม่จะต้องชี้แนะว่าสิ่งใดดีควรเอาอย่าง สิ่งใดไม่ดีไม่ควรเอาอย่าง
    จะทำอย่างนี้ได้ ก็ต่อเมื่อพ่อแม่นั่งดูโทรทัศน์กับลูกคะคุณที่รัก

    [​IMG]



    --------------
    [​IMG]
    http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=71731
     

แชร์หน้านี้

Loading...