○วิธีการเจริญภาวนา○

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 7 กันยายน 2013.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วิธีการเจริญภาวนา... โดย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

    ๑. เริ่มต้นที่อิริยาบทสบาย
    ----- ยืน ,เดิน ,นั่ง ,นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และรู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร หรือรู้ "ตัว" อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม

    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไปคิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง

    เมื่อรู้สึกตัวแล้ว ให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับ ที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่า… มีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้นค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้ อยู่กับที่ต่อไป

    ครั้นพลั้งเผลอ รักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้วก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนักก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน “พฤติแห่งจิต” โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

    ***** ข้อห้ามในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ ***** อย่าทำ !!! เพราะไม่มีประโยชน์ และทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

    ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า “พุทโธ” หรือคำอะไรก็ได้ ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า… คำที่นึกนั้นชัดที่สุดตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่าฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันก็อยู่อีกที่หนึ่ง ฐานแห่งจิตที่คำนึกพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่

    แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นว่า… ฐานนี้ จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่า… ได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว เมื่อกำหนดถูกและ
    พุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้

    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดจะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง

    ***** ข้อควรจำ ***** ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ เจตจำนงนี้คือ ตัว "ศีล"

    การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนง ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้ง ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

    ดังนั้นในการนึก "พุทโธ" การเพ่งเล็งส่องถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของ "พุทโธ" จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคยเปรียบไว้ว่า………

    "มีลักษณาการเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง จดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบ ที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจะจดจ้องคอยทีว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบลี้ประการใดจึงจะพ้นอันตราย"

    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อยๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอกก็ค่อยๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธก็จะขาดไปเอง

    เมื่อคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ “พฤติแห่งจิต” ที่ฐานนั้นๆ

    "บริกรรมเพื่อรวมจิตเป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครบริกรรมพุทโธ"

    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว
    ----- ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่ออารมณ์อะไรเกิดขึ้นก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใด ๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้ แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือกิเลสปรุงจิต)

    "ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ"

    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก ----- กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไป ก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน)

    "ระวังจิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทาง อายตนะ ๖"
    แสดงกระทู้ - ○วิธีการเจริญภาวนา○ • ลานธรรมจักร
     

แชร์หน้านี้

Loading...