●◐:อุปราคาปีพ.ศ.๒๕๕๒:◑●

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 31 มกราคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    [​IMG]

    ในปีพศ.2552 จะมีปรากฏการณ์เกี่ยวอุปราคา 6 ครั้งบนโลก คือ สุริยุปราคา 2 ครั้ง และ จันทรุปราคา 4 ครั้ง ซึ่งจะมีบางปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ในประเทศไทย ผู้เขียนจะเพียงกล่าวถึงเท่านั้นเพื่อเป็นความรู้ อุปราคาทั้ง 6 ครั้งได้แก่
    1) สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) วันที่ 26 มกราคม 2552 เกิดที่ประเทศอินโดนิเซีย แต่สามารถมองเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนได้ในประเทศไทย
    2) จันทรุปราคาในเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552

    3) จันทรุปราคาในเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) วันที่ 7 กรกฏาคม 2552 มองไม่เห็นในประเทศไทย
    4) สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) ท
    ี่ประเทศจีน วันที่ 22 กรกฏาคม 2552 แต่ประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน
    5) จันทรุปราคาในเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) วันที่ 6 สิงหาคม 2552
    มองไม่เห็น
    6) จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) วันที่ 31 ธันวาคม 2552 สามารถเห็นได้จากประเทศไทย


    สำหรับความรู้เกี่ยวกับอุปราคาแต่ละแบบเกิดขึ้นได้อย่างไร
    <click>
    สุริยุปราคาวงแหวน วันที่ 26 มกราคม พศ. 2552

    ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน เนื่องจากโลกพึ่งจะผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 4 มค. และประกอบกับวันที่ 22 มค.ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลจากโลกที่สุด ทำให้ขนาดเชิงมุมของดวงอาทิตย์ (32 arcmin) ใหญ่กว่าขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ (30 arcmin) ทำให้เกิดการบังกันไม่หมด ปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนในครั้งนี้เริ่มต้นทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติค พาดข้ามมหาสมุทรอินเดีย มาขึ้นฝั่งทางทิศตะวันตกของประเทศอินโดนิเซีย รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 14,500 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่เวลา 06.02UT สิ้นสุดที่เวลา 09.54UT และอยู่ในช่วงเป็นวงแหวนอยู่นาน 7 นาที 54 วินาที ที่บริเวณศูนย์กลางของอุปราคาทางตอนกลางของมหาสมุทรอินเดีย และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 50 ของการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส(Saros)
    ลำดับที่ 131
    [​IMG]
    ภาพจากนาซ่า


    <TABLE id=table6 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD width=180>[​IMG]</TD><TD vAlign=top> ภาพตัวอย่าง ของสุริยุปราคาวงแหวน
    เกิดขึ้นจากขนาดความกว้างเชิงมุมของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ไม่เท่ากันพอดี ทำให้มีส่วนสว่างของดวงอาทิตย์เหลืออยู่ การสังเกตจะไม่สามารถมองโดยตรงได้ จะต้องมองผ่านฟิลเตอร์กรองแสงที่ได้มาตรฐานเท่านั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    สำหรับประเทศไทยซึ่งอยู่บริเวณตอนบนของประเทศอินโดนิเซีย อยู่ในแถบเงามัวของดวงจันทร์ทำให้สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาบางส่วนมองเห็นได้ทั่วทั้งประเทศ โดยที่ทางภาคใต้จะมีส่วนที่มืดมากกว่าทางตอนบนของประเทศ ที่กรุงเทพมหานครจะเริ่มเห็นสัมผัสแรกเวลา 15.54 น. สูงสุดเวลา 17.06 น. จะเห็นดวงอาทิตย์เข้าคราสหายไปประมาณ 30% และสิ้นสุดเวลา 17.59 น.ซึ่งดวงอาทิตย์ในวันนั้นที่กรุงเทพฯจะตกเวลา 18.13 น. ทำให้ที่กรุงเทพมหานครฯ สามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ตลอดช่วงก่อนอาทิตย์ตกดิน
    สำหรับทางภาคใต้ ใต้สุดที่ จ.นราธิวาส ละติจูดประมาณ 5 องศาเหนือ จะเริ่มสัมผัสแรกเร็วกว่านิดหน่อยประมาณ 15.37น. เข้าคราสสูงสุดเวลา 16.49น. กินไปมากสุดประมาณ 45% สิ้นสุดเวลา 18.01 น.
    ทางภาคเหนือ ตอนเหนือสุดที่ จ.เชียงราย ละติจูดประมาณ 20 องศาเหนือ จะเริ่มสัมผัสแรกเวลา 16.09 น. เข้าคราสสูงสุดเวลา 17.06น. เกิดส่วนมืดบนดวงอาทิตย์ประมาณ 20% แล้วสิ้นสุดเวลา 17.52 น.
    จะเห็นว่าแต่ละส่วนของประเทศจะเห็นในช่วงเวลาต่างกันเล็กน้อย แต่ปริมาณส่วนมืดจะต่างกัน

    สุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 22 กรกฏาคม พศ. 2552

    หลังจากเดือนมกราคมมา 6 เดือน โลกก็มาอยู่ที่ตำแหน่งไกลจากดวงอาทิตย์ ทำให้ขนาดเชิงมุมของดวงอาทิตย์เล็กลงเหลือ 31 arcmin แต่ขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ใหญ่กว่า (34 arcmin) ทำให้เกิดการบังกันได้สนิทเกิดเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงขึ้น และเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่น่าสนใจที่สุดในรอบ 20 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่สุริยุปราคาเต็มดวงที่แม็กซิโกเมื่อ ปี พศ.2534 เพราะมีช่วงเวลาการเข้าคราสเต็มดวงนานถึง 6 นาที 38.9 วินาที ที่บริเวณศูนย์กลางของอุปราคาทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น (ปี พศ.2534 นาน 6 นาที 53.2 วินาที สำหรับปี พศ.2538 ที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่ประเทศไทย กินเวลานานเพียง 2 นาที 9.6 วินาที)
    แนวศูนย์กลางการพาดผ่านของเงามืดนี้เริ่มต้นที่บริเวณประเทศอินเดียเวลา 00.53 UT เป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์พึ่งจะอยู่ใกล้โลกที่สุดผ่านมาไม่กี่ชั่วโมงทำให้แถบเงามืดของดวงจันทร์นี้ค่อนข้างกว้าง แนวนี้จะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในภูฐาน แล้วเข้าประเทศจีนเวลา 01.05UT แล้วไปสิ้นสุดที่ตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิกฟิค เวลา 04.18UT มีความกว้างของเงามืด 258 กิโลเมตร แนวการเคลื่อนที่ผ่านยาว 15,200 กิโลเมตร เป็นการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส(Saros) ลำดับที่ 136 ครั้งที่ 37


    [​IMG]
    ภาพจากนาซ่า


    <TABLE id=table7 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=251>[​IMG]</TD><TD vAlign=top> ภาพตัวอย่าง สุริยุปราคาบางส่วน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พศ.2550 ถ่ายโดยผู้เขียน ที่ เจ็ดคต จ.สระบุรี </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    สำหรับประเทศไทยอยู่ทางตอนใต้ของแนวพาดผ่านของเงามืดดวงจันทร์ ทำให้เห็นปรากฏการณ์นี้เป็นสุริยุปราคาบางส่วนมองเห็นได้ทั่วประเทศเช่นกัน ซึ่งทางตอนเหนือของประเทศจะเห็นส่วนมืดของดวงอาทิตย์มากที่สุด(ตรงข้ามกับเมื่อเกิดสุริยุปราคาบางส่วนวันที่ 26 มค.52)
    ที่กรุงเทพมหานครฯ สัมผัสแรกจะเริ่มขึ้นช่วงเช้า เวลา 7.07 น. เข้าคราสสูงสุดเวลา 7.58 น.เห็นส่วนมืดของดวงอาทิตย์ประมาณ 30% และสิ้นสุดเวลา 9.09 น.
    สำหรับส่วนอื่นๆของประเทศไทยที่ไม่ใช่กรุงเทพมหานครฯ จะเห็นส่วนมืดของดวงอาทิตย์และสัมผัสแรกของเงามืดแตกต่างกันเล็กน้อยคือ
    ภาคใต้ ทางตอนใต้สุดของประเทศไทย ที่ จ.นราธิวาส จะเริ่มเห็นสัมผัสแรกเวลา 7.20น. เข้าคราสสูงสุด เวลา 7.53น. ทำให้เกิดส่วนมืดประมาณ 20% แล้วสิ้นสุดที่เวลา 8.54 น.
    ภาคเหนือ ทางตอนเหนือสุดของประเทศที่ จ.เชียงราย เริ่มเห็นสัมผัสแรกเวลา 7.03 น. เข้าคราสสูงสุดเวลา 7.55 น. ทำให้เกิดส่วนมืดสูงสุดประมาณ 65% และสิ้นสุดเวลา 9.16 น.

    หมายเหตุ: การสังเกตสุริยุปราคาบางส่วน และ สุริยุปราคาวงแหวน ห้ามมองดวงอาทิตย์หรือถ่ายภาพจากดวงอาทิตย์โดยตรงเด็ดขาด เพราะยังมีส่วนที่สว่างของดวงอาทิตย์อยู่ ต้องดูผ่านฟิลเตอร์ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น อ่านความรู้เกี่ยวกับอุปราคา

    ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ปีพศ. 2552

    Skywatcher: รายงาน
    -----------------------------------


    ข้อมูลจาก http://sunearth.gsfc.nasa.gov/eclipse/eclipse.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...