★ ผลของบุญและบาป เรื่องสำคัญที่พระโพธิสัตว์ต้องศึกษา

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย plaspirit, 9 กันยายน 2016.

  1. plaspirit

    plaspirit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2008
    โพสต์:
    367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,118
    [​IMG]

    ถาม: ค่ะ ต้องขอบพระคุณอาจารย์คะ ทีนี้เราคงได้ทราบนะคะว่าเจตนานั้นเป็นเครื่องที่จะทำให้เราเกิดอกุศลจิตหรือกุศลจิต
    ถ้าใครศึกษาอภิธรรมจะเข้าใจว่าเจตนาเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเรามีเจตนาอย่างไร ก็เป็นเหตุปัจจัยให้เรากระทำตามนั้น

    ถาม: ถ้าเราตั้งเจตนาไว้ดีแล้ว แต่กระทำกับบุคคลต่างประเภทกันจะให้ผลเหมือนกันหรือไม่คะ

    อาจารย์: ผลของกรรมใดๆ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จะรุนแรงแค่ไหนขึ้นอยู่กับภาวะสัมพัทธ์ของหกปัจจัยคือ

    1.เจตนาของผู้กระทำ
    2.ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกระทำ
    3.ภาวะที่กระทำ
    4.เครื่องมือในการกระทำ
    5.วิธีการกระทำ
    6.ผลต่อเนื่องจากการกระทำนั้น


    เจตนาของผู้กระทำ หมายความว่า แม้กระทำการเดียวกันแต่ถ้าเราตั้งเจตนาต่างกันก็นำไปสู่ผลที่ต่างกัน ดังกล่าวแล้ว เช่น

    ทำบุญเพราะจำใจ ได้ผลน้อยสุด
    ทำบุญเพราะเกรงใจ ได้ผลน้อย
    ทำบุญตามๆ กันตามประเพณี ได้ผลปานกลาง
    ทำบุญเพราะสบายใจที่จะทำ ได้ผลมาก
    ทำบุญเพื่อปล่อยวาง ได้ผลมากที่สุด
    หรือ ทำบาปเพราะจำใจ ได้ผลน้อย
    ทำบาปเพราะเกรงใจ ได้ผลมาก
    ทำบาปตามๆ กันตามประเพณี ได้ผลมากนัก
    ทำบาปเพราะสะใจที่จะทำ ได้ผลมากอย่างยิ่ง
    ทำบาปเพราะหลงผิดได้ผลมากที่สุด

    ประการที่สองขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกระทำ
    ถ้าผู้ถูกกระทำบริสุทธิ์มากเท่าไหร่ก็มีผลสะท้อนกลับรุนแรงเท่านั้น
    ถ้าผู้ถูกกระทำบริสุทธิ์น้อยก็มีผลสะท้อนกลับน้อยด้วยเช่นกัน
    ใครบ้างที่บริสุทธิ์

    ผู้บริสุทธิ์มีสามประเภทคือ ผู้มีใจบริสุทธิ์หนึ่ง(เช่น พระพุทธเจ้า,พระอรหันต์เป็นต้น)
    ผู้บริสุทธิ์ใจหนึ่ง(เช่น พ่อ แม่ และสังฆะคือสังคมทั้งหลายยิ่งเป็นสังคมผู้บริสุทธิ์คือสังคมอริยะ ยิ่งแรง)
    และผู้ที่ไม่มีความผิดนั้นๆ อีกหนึ่ง การทำกรรมใดๆกับบุคคลเช่นนี้
    ดีก็ตามชัวก็ตาม ผลสะท้อนกลับจะแรงมาก

    ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราควรเรียนรู้ท่านผู้บริสุทธิ์เหล่านั้นที่กล่าวมา
    ล้วนเป็นผู้ไม่ถือสาพร้อมให้อภัย แต่การทำกับบุคคลเช่นนี้ผลกรรม
    กลับแรงกว่าทำกับคนอื่น ทั้งบุญและบาป

    ภาวะที่กระทำ หมายความว่า เราทำกรรมในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
    ผลย่อมแตกต่างกัน เช่น ถ้าเราตักบาตรพระที่เพิ่งออกจากนิโรธเป็นคนแรก
    จะรวยในเจ็ดวัน แต่ถ้าไม่ใช่คนแรก เป็นคนต่อๆ มาระยะเวลาที่จะรวยก็ล่าออกไป

    ดังนั้นการช่วยใครนั้น ช่วยในขณะที่เขาต้องการจะได้อานิสงส์ที่สุด
    ถ้าเราไปทำบุญในวัดที่เหลือเฟือใช้ทิ้งใช้ขว้างอานิสงส์จะน้อยกว่า
    ทำบุญในวัดที่ขาดแคลน ในทำนองเดียวกันช่วยคนยามยาก อานิสงส์
    อานิสงส์จะมากกว่าตอนที่เขาร่ำรวยและสบาย แต่คนโง่ทั้งหลายไม่เข้าใจ
    ชอบไปช่วยคนรวย ดูหมิ่นคนจน ทำอย่างนั้นจะได้อานิสงส์น้อยมาก
    และจริงๆ แล้วการช่วยคนที่รวยกว่าหากช่วยเพราะหวังผลอื่นๆ ก็จะเป็น
    เจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ ได้ผลน้อยมากลงไปอีก

    เครื่องมือในการกระทำ หมายความว่า อุปกรณ์ที่เราใช้ในการกระทำนั้นๆ
    เช่นทรัพย์ที่เราให้คนอื่น ถ้าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบ อานิสงส์เต็มที่
    ถ้าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่ชอบ อานิสงส์ก็จะลดลง

    หรือให้สิ่งของที่ไม่เหมาะสมกับผู้รับ ไม่ว่าจะดีเกินไป แย่เกินไป
    มากเกินไป น้อยเกินไป ผลก็น้อย ถ้าเหมาะสมกับผู้รับก็มาก ในการกระทำอื่นๆ ก็เช่นกัน

    วิธีการกระทำ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผลออกมาดีหรือเลวแรงหรือเบา
    เคยเห็นไหมคนหวังดีต่อกัน พอมาอยู่ด้วยกัน กลับไปกันไม่ได้
    ไม่เข้าใจกัน บางทีทะเลาะเบาะแว้งแตกแยกกันไปเลย
    ดูซี มีพ่อแม่คนไหนหวังร้ายต่อลูกบ้าง แต่มีลูกสักกี่คนที่เข้าใจความหวังดีของพ่อแม่ และดีได้ดังที่พ่อแม่หวัง บางทีทั้งๆ
    ที่พ่อแม่แสนดีลูกเสียคนไปเลยก็มี นั่นเป็นเพราะวิธีการกระทำดีต่อกันมันไม่ดี ผลจึงออกมาไม่ดี

    ดังนั้นวิธีการที่ดีและมีความเหมาะสมสำคัญพอๆ กับเจตนาดี
    โดยทั่วไป การกระทำอะไรต่อกันก็ตามพึงกระทำด้วยความเคารพ
    และเพื่อการเรียนรู้ฝึกฝนซึ่งกันและกัน

    ผลต่อเนื่องจากการกระทำนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อกรรมที่ทำคือผลต่อเนื่อง การกระทำใดที่มีผลต่อเนื่องกว้างไกลไปในสังคมและสภาพแวดล้อม
    มิติต่างๆ มาก ผลก็มาก ทั้งดีและชั่วก็เช่นเดียวกัน

    ดังนั้น ผลการกระทำใดๆ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จะแรงแค่ไหน
    ให้ผลนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกระทำ
    ภาวะที่กระทำ เครื่องมือที่ใช้ในการกระทำ วิธีการกระทำ และผลต่อเนื่องจาก
    การกระทำนั้น

    ที่มา : หนังสือมหาสติ การปฏิบัติธรรมสำหรับผู้นำและผู้บริหาร (อัคร ศุภเศรษฐ์) หน้า 217-220
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...