♣:ปัญญาเพิ่มพูนเกียรติคุณ:♣

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 20 มกราคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE borderColor=#990000 height=127 width=150 border=2><TBODY><TR><TD vAlign=top borderColor=#ffffff>
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    ปัญญาเพิ่มพูนเกียรติคุณ


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในขุททกนิกาย เตสกุณชาดก ว่า
    ปททา สุตวินิจฺฉินี ปททา สโลกวฑฺฒนี
    ปททาสหิโต นโร อิธ อปิ ทุกฺเขสุ สุขานิ วินฺทติ
    "ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยข้อความที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
    ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณและชื่อเสียง
    นรชนในโลกนี้ ประกอบด้วยปัญญาแล้ว
    ย่อมหาความสุขได้ แม้ในท่ามกลางความทุกข์ที่เกิดขึ้น" (เตสกุณชาดก)


    ในภาวะของโลกปัจจุบัน แต่ละประเทศมีการเปลี่ยนแปลงระบบหลายๆ อย่าง จนบางครั้งทำให้ผู้คนมากมาย ได้รับความสับสน แต่ละคนต่างก็ปรารถนาที่จะให้คนดีมีฝีมือเข้ามาแก้ไขปรับปรุง สถานการณ์บ้านเมือง เพื่อให้รอดพ้นภาวะวิกฤติในขณะนี้ ทุกคนต่างก็รอว่าใครจะเป็นผู้มีสติปัญญาสามารถที่จะนำพาประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรือง และช่วยโอบอุ้มคุ้มครองโลกให้สงบสุขร่มเย็น

    วีรบุรุษมักจะเกิดขึ้นเสมอ ในยามที่มีเหตุการณ์คับขัน ผู้มีปัญญาเท่านั้น จึงจะหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้ แม้จะมีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้นก็ไม่หวั่นไหว แต่สามารถเปลี่ยนแปลงเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้ด้วยจิตใจที่สุขุมเยือกเย็น เป็นสมาธิ เมื่อใจสงบจึงจะพบทางออกถึงจะมีปัญหาหนักมารุมเร้า แต่ก็สามารถทำใจให้เป็นปกติสุขได้ ราวกับไม่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเพราะดวงปัญญาในการแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง

    สมัยหนึ่ง นางสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้นั่งสนทนากันว่าการเสด็จอุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก การกลับได้อัตภาพมาเกิดเป็นมนุษย์ มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง เหมาะสมต่อการสร้างความดี ก็เป็นสิ่งที่หาได้ยากในโลก พวกเราแม้จะมีความถึง พร้อมด้วยสมบัติต่างๆ แต่ไม่มีโอกาสได้ไปวัดฟังธรรม เหมือนกับบุคคล ทั่วไป เพราะต้องคอยปรนนิบัติรับใช้พระราชา อีกทั้งต้องดูแลความเรียบร้อยภายในพระราชวังนางสนมจึงพากันไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบถึงความตั้งใจดีของตน ต่างก็ได้ทูลขอให้พระราชาทรงนิมนต์พระภิกษุมาแสดงธรรมภายในพระราชวัง เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ฟังธรรม เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป พระราชาทรงอนุโมทนาในกุศลเจตนาของพวกนาง แล้วได้ถามว่าอยากจะฟังธรรมจากภิกษุรูปใด

    พวกนางได้ปรึกษากัน แล้วกราบทูลขอฟังธรรมจากท่านพระอานนท์เถระ เนื่องจากท่านเป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต ทรงจำคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างยอดเยี่ยม พระราชาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อทูลนิมนต์ พระอานนท์ ให้มาแสดงธรรม พระอานนท์ท่านเคยเป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินมาก่อน จึงรู้ธรรมเนียมของคนในวังเป็นอย่างดี สามารถที่จะประคองศรัทธาของพระราชาและคนในวังได้ พระบรมศาสดาจึงทรงอนุญาต

    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านพระอานนท์ก็ได้ไปแสดงธรรมให้กับเหล่าอำมาตย์ข้าราชบริพาร รวมไปถึงนางสนม กำนัลทั้งหลายของพระราชา แต่ละวันก็จะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปฟังธรรม ท่านสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสม และแสดงธรรมได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่มีที่ติ จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาววัง มีอยู่วันหนึ่ง ดวงแก้วมณีของพระราชา ได้หายไป พระราชาจึงรับสั่งพวกอำมาตย์ให้ทำการสืบสวนหาคนขโมยให้ได้ พวกอำมาตย์ได้เที่ยวค้นหาจนทั่วพระราชวัง ก็ไม่พบ จึงคาดคั้นเอาความจากผู้ที่เข้าไปฟังธรรม แต่ก็ไม่มีใครยอมรับว่าเป็นผู้ขโมยไป แม้พระราชาจะมีที่ปรึกษา ข้าราชการแผ่นดิน ผู้มีฝีมือเยี่ยมมากมายมาช่วยกัน แต่ก็ไม่มีใครสามารถนำแก้วมณีกลับคืนมาได้

    ในวันนั้น พระอานนท์เถระเจ้าเข้าสู่พระราชวัง เพื่อแสดงธรรมตามปกติ ท่านสังเกตเห็นว่าทุกคนไม่ค่อยยิ้ม แย้มแจ่มใสเหมือนวันก่อนๆ และไม่ค่อยตั้งใจฟังธรรมเหมือนเช่นเคย จึงไต่ถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น เมื่อทราบเรื่อง ก็ได้ปลอบใจทุกคนว่าอย่าได้วิตกไปเลย อีกไม่นานก็จะได้แก้วมณีกลับคืนมา

    ท่านพระอานนท์ได้สอบถามเรื่องที่เกิดขึ้นกับพระราชา ว่าจริงหรือที่แก้วมณีของพระราชาได้หายไป พระราชารับสั่งว่า "พระคุณเจ้าผู้เจริญ แก้วมณีได้หายไป ข้าพระองค์ได้สั่งให้สอบสวนทุกคนที่เข้ามาภายในพระราชวัง แม้จะขู่เข็ญ บังคับอย่างไรก็ไม่มีใครยอมรับสารภาพ จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีใครเอาแก้วมณีมาคืนเลย ขอพระคุณเจ้าช่วยแนะนำวิธีท ี่จะได้แก้วมณีกลับคืนมาด้วยเถิด"

    พระเถระได้แนะนำวิธีหาขโมยว่า "อุบายที่จะได้ตัวขโมย โดยไม่ต้องให้มหาชนลำบากนั้นยังพอมีอยู่ ถ้าหากพระราชามีความสงสัยใคร ก็ให้นำคนเหล่านั้นมา แล้วให้ฟ่อนฟางไปคนละฟ่อน บอกพวกเขาว่า ในเวลาใกล้รุ่งให้นำฟ่อนฟางมาโยนไว้ที่หน้าประตูวัง ถ้าผู้ใดเป็นคนเอาไป เขาก็จะซุกแก้วมณีไว้ ในฟ่อนฟาง ด้วยวิธีการนี้ก็จะได้แก้วมณีกลับคืนมา"

    พระราชาได้รับสั่งให้ทำตามที่พระเถระแนะนำไว้ทุกประการ แต่ก็ยังไม่มีใครนำแก้วมณีมาคืน พระเถระจึงแนะวิธีต่อไปว่า ขอให้พระราชารับสั่งให้ตั้งตุ่มใหญ่ ไว้ในที่กำบังในท้องพระโรง ให้ตักน้ำใส่ให้เต็ม แล้วกั้นม่านกำบังไว้ จากนั้นจงรับสั่งให้คนที่เป็นผู้ต้องสงสัยเข้าไปในม่านทีละคน ให้ล้างมือในตุ่มน้ำแล้วจึงเดินออกมา พระราชาก็รับสั่งให้ทำตามกุศโลบายของพระเถระ

    ต่อมา คนที่ขโมยแก้วมณีไปได้คิดว่า "พระเถระเจ้าเป็นผู้มีเมตตาและฉลาดในการหาขโมยโดยสันติวิธี ไม่ปรารถนาจะเพ่งโทษหรือประทุษร้ายใครให้ได้รับความเดือดร้อน ถ้าหากเราไม่รีเอาแก้วมณีมาคืน ไม่ช้าก็จะต้องถูกพระราชาจับได้แน่" เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้ว จึงได้เอาแก้วมณีหย่อนลงในตุ่มในขณะที่กำลังล้างมือ

    เมื่อทุกคนเกินออกจากม่านหมดแล้ว พวกราชบุรุษได้นำน้ำในตุ่มไปเททิ้ง จึงได้พบแก้วมณี แล้วนำมาถวายแด่ พระราชา พระราชาทรงชื่นชมพระเถระว่า เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฉลาดทั้งทางโลกและทางธรรม สามารถนำแก้วมณีกลับคืนมาได้ โดยมิต้องให้มหาชนลำบาก แม้ผู้ถูกกล่าวหาก็พากันยินดีว่า ได้อาศัยพระเถระเจ้าจึงพ้น จากคำครหา

    เกียรติคุณของพระเถระ ได้ฟุ้งขจรไปทั่วพระนคร มหาชนต่างพากันเลื่อมใสและยกย่องท่านว่า เป็นผู้ที่
    ฉลาดในการ ตัดสิน คดีความด้วยสันติวิธี ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับความกระทบกระเทือนเดือดร้อนนับเป็น
    สุดยอด วิธีในการแก้ไขปัญหา ด้วยสติปัญญา แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงสรรเสริญพระอานนท์ว่าเป็น
    ยอดพหูสูต ผู้มีปัญญาลึกล้ำ นอกจากจะทรงจำคำสอนของพระองค์แล้ว ยังมีปฏิภาณไหวพริบในการนำคำสอน นั้นมาใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะท่านรู้จักนำวามรู้ที่ได้ยินได้ฟังมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง พระพุทธองค์จึงตรัสว่า


    "ยามคับขันย่อมต้องการคนกล้า ยามประชุมปรึกษา ย่อมต้องการคนหนักแน่น ยามมีข้าวน้ำบริบูรณ์ย่อมปรารถนาผู้เป็นที่รัก ยามมีปัญหาย่อมปรารถนาบัณฑิตผู้มีปัญญา"

    ตรัยรัตนะ

    -----------------------
    ที่มาของข้อมูล : ธรรมะจากพระไตรปิฎก
    http://www.geocities.com/buddhistworld/page0203.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...