เรื่องเด่น 10 ความเสี่ยงโลกในปี 2562

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 26 มกราคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    12347-1.jpg

    เกือบตลอดสัปดาห์มานี้ ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กลายเป็นศูนย์กลางที่ผู้บริหารระดับสูงทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคมรายสำคัญๆ จากทุกมุมโลกมารวมตัวกันในงานประชุมประจำปีของ World Economic Forum 2019 ในเวทีนี้ยังมีการโหมโรงด้วยการเปิดเผย รายงานความเสี่ยงประจำปี “Global Risk Report” ที่โลกเผชิญอยู่ร่วมกันอีกด้วย และนำข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นเหล่าผู้นำโลกมาจัดอันดับความเสี่ยงในปี 2562 ไว้ 10 อันดับ และที่น่าสนใจคือ การที่เสียงร่วมกันเห็นว่า “ภัยไซเบอร์ หรือ Cyber Security” คือ 1 ใน 10 ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดทั้งผลกระทบและการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้



    ปีนี้มีผู้นำระดับที่มีอำนาจในการตัดสินใจร่วมให้ข้อมูลเกือบ 1,000 คน มาจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาสังคม โดยองค์ประกอบในการพิจารณาครอบคลุมด้านหลักๆ ได้แก่ เทคโนโลยี เศรษฐกิจโลก ภูมิศาสตร์การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเรียงลำดับความร้ายกาจของความเสี่ยง “ในแง่ความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น” จากมากลงไปหาน้อยได้ ดังนี้

    1.อาวุธที่มีการทำลายล้างสูง 2.ความล้มเหลวจากการบรรเทาปัญหาสภาพภูมิอากาศ 3.สภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 4.วิกฤติการณ์น้ำ 5.ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 6.ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ระบบนิเวศเสื่อมโทรม 7. การโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่ 8.การจารกรรมข้อมูลและการจู่โจมโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งยวด 9.ภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ 10.การแพร่กระจายของเชื้อโรคติดต่อ


    ภัยไซเบอร์ยุคใหม่ (เหยื่อ)สูญทั้งเงินและข้อมูล

    บรรดาผู้นำทางความคิดและมีอำนาจการตัดสินใจที่ร่วมการสำรวจครั้งนี้ มีถึง 82% ที่มองว่า การโจมตีทางไซเบอร์ ที่ก่อความเสียหายทั้งการสูญเสียเงินทองและข้อมูลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกในปี 2562 ขณะที่ 80% หวั่นเกรงถึงผลกระทบที่จะทำให้การทำธุรกิจต้องหยุดชะงัก และเริ่มรู้สึกแล้วว่า โลกกำลังเกิดความไร้เสถียรภาพรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นผลของการที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาหลอมรวมอยู่ในชีวิตจริง

    ทางผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ ยอมรับว่า ความเสี่ยงที่มาจากเทคโนโลยีทวีความรุนแรงขึ้นจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการปริมาณข้อมูลส่วนตัวที่ถูกขโมยนับล้านๆ คน ขณะที่การจู่โจมทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ที่มุ่งเป้าต่อหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจก็ยังมีอยู่ต่อเนื่อง



    ทั้งนี้ มีรายงานจากฟอร์ติเน็ต หนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับองค์กร เปิดเผยว่า ในการประชุมเศรษฐกิจโลกปีที่ผ่านมา World Economic Forum 2018 มีการระบุถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ ว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการปฏิรูปดิจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก การโจมตีทางไซเบอร์ได้เพิ่มสูงขึ้นมากทั้งความซับซ้อนและปริมาณ

    ขณะที่องค์กรต่างๆ เริ่มมีการนำเอาอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือไอโอที (IoT) และเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ มาใช้มากขึ้น รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามามีบทบาทในการใช้งาน อาชญากรไซเบอร์ก็มีความรอบรู้ทางเทคนิคในการโจมตีโดยใช้เอไอในกิจกรรมของตนมากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นการขยายพื้นที่ของโอกาสที่จะถูกโจมตีแบบดิจิทัลมากขึ้น และขยายช่องโหว่กว้างยิ่งขึ้น สร้างภัยคุกคามต่อบุคคล บริษัท องค์กรและรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล”

    กลุ่มเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการบังคับใช้กฎหมายในการประชุมครั้งนั้น ยังคาดการณ์ด้วยว่า การรวมตัวของไอโอที และปัญญาประดิษฐ์ประเภท Offensive AI คลาวด์คอมพิวติ้ง ความปลอดภัยของข้อมูลและภัยคุกคามผ่านช่องทางออนไลน์ จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของภัยไซเบอร์ที่มีอัตราการเติบโตสูงในปี 2562 นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากธุรกิจการลงทุนได้ออกมาเตือนว่า ในขณะที่ภัยคุกคามมีมากขึ้น การสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยไซเบอร์และการวัดผลการป้องกันนั้นจะยากขึ้นและสำคัญยิ่งขึ้นเช่นกัน


    ผนึกกำลังสร้างศูนย์รักษาความปลอดภ้ยทางไซเบอร์

    ในการจัดการกับความท้าทายข้างต้น World Economic Forum (WEF) หรือสภาเศรษฐกิจโลก จึงได้สร้างศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Center for Cybersecurity) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการ ผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ศูนย์แห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระ ภายใต้การสนับสนุนของ WEF และมีเป้าหมายคือการสร้างแพลตฟอร์มระดับโลกครั้งแรกให้กับรัฐบาล ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ในการประสานทำงานร่วมกันในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์



    โดยการประชุมประจำปีครั้งแรกของศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งนี้ เพิ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 โดยมีการเรียกร้องให้ดำเนินการเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป และขอให้ก้าวข้ามความท้าทายสำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ การขาดความไว้วางใจ การขาดความร่วมมือ และสภาวะที่ขาดทักษะที่เพียงพอ อีกทั้งในการประชุมดังกล่าวยังได้ประกาศรายชื่อพันธมิตรสำคัญที่เป็นผู้ร่วมกันก่อตั้งศูนย์ฯ ได้แก่ แอ็กเซนเจอร์ (Accenture) ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) และสเบอร์แบงก์ (Sberbank) ซึ่งจะได้รับสิทธิ์เป็นกรรมการถาวรในคณะกรรมการของศูนย์ ทางด้านกรรมการอื่นๆ ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กร อุตสาหกรรมจากประเทศต่างๆ มีวาระการทำงานคนละ 2 ปี ตอกย้ำถึงการทำงานร่วมกันที่ว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมีความสำคัญมาก”


    ปิดช่องว่างทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

    ขณะที่ เวทีประชุมของปีนี้ ได้มีความต่อเนื่องการระดมไอเดียเพื่อสร้างแนวทางรับมือกับปัญหาช่องว่างของทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) ที่เหล่าประเทศสมาชิกเผชิญร่วมกัน เงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่งที่ทุกคนตระหนักร่วมกัน ก็คือ มีองค์กรจำนวนมากขึ้นๆ เข้าสู่การทำธุรกิจผ่านออนไลน์ และสิ่งที่เกิดขึ้นคู่ขนานกันไปก็คือ รอยเท้าดิจิทัล (digital footprint) หรือร่องรอยการเข้าไปทำกิจกรรมทางออนไลน์/เครือข่ายโซเชียลทุกครั้งของทุกคน เริ่มแผ่ขยายพื้นที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณกิจกรรมออนไลน์ที่สูงขึ้น และการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มความซับซ้อนยิ่งขึ้น



    ทั้งนี้ มีข้อมูลคาดการณ์ของการ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยด้านไอทีระดับโลกว่า ปีนี้จะมีการใช้จ่ายเพื่อลงทุนด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มเป็น 214 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกัน ก็มีตัวเลขจากบางแหล่งระบุว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์นับตั้งแต่ปี 2558 จะเพิ่มขึ้นแตะหลัก 2.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว หรือมีสัดส่วน 16 เท่าตัวของค่าใช้จ่ายที่ประมาณการไว้สำหรับปี 2562

    นอกจากนี้ อีกสิ่งที่เติบโตตามความเสี่ยงด้านไซเบอร์ก็คือ “ช่องว่าง” ของทักษะด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งทางบรรดาผู้บริหารในวงของ WEF กำลังวิตกว่าอยู่ในภาวะ “วิกฤติ” โดยมีการอ้างอิงผลสำรวจด้านการพัฒนาบุคคลว่า มีองค์กรจำนวน 59% ขาดแคลนบุคลากรตำแหน่งงานด้านนี้ โดยประเมินจากตัวเลขที่ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน จัดทำผลศึกษาไว้ว่า น่าจะมีความขาดแคลนคนในตำแหน่งงานด้านนี้ถึง 1.5 ล้านคน ภายในปี 2563



    ล่าสุด WEF ได้นำเสนอคำแนะนำเพื่อปิดช่องว่างของปัญหาทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ไว้ส่วนหนึ่ง ได้แก่ 1.ความจำเป็นในการจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะให้แก่แรงงานด้านไอทีในปัจจุบัน โดยติดอาวุธเพิ่มเติมด้านทักษะและความรู้ในเรื่องความมั่นคงปลอดภ้ยทางไซเบอร์ โดยอาจเป็นการทำงานร่วมกันกับมืออาชีพด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และ 2.การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับสาขานี้ให้ทันสมัยและก้าวตามทันเทคโนโลยีมากขึ้น ข้อนี้จะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต้องอาศัยการสนับสนุนทั้งจากองค์กรรัฐและเอกชน เพื่อจัดทำห้องปฏิบัติการเป็นพื้นที่ฝึกปรือทักษะนักศึกษา

    ขอบคุณที่มา
    http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/360303
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มกราคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...