12345678910 คลายเครียดเนื้อพระแก้วยุคใหม่อย่างถูกวิธี glass annealing process

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 ธันวาคม 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    มีท่านที่สนใจโทรเข้ามามากในเรื่องสร้างพระแก้วทุกสีทุกขนาด แต่ส่วนมากไม่เข้าใจวิธีการอบลดอุณหภูมิ หรือถ้าเรียกให้เต็มคือ ขบวนการอบลดอุณหภูมิ ภาษาอังกฤษว่า glass annealing process

    ผมจะได้ค่อยๆอธิบายไปนะครับ พระแก้วสร้างไม่ยากหากเข้าใจการอบลดอุณหภูมิ แต่ต้องเข้าใจในธรรมชาติของเขานะครับ

    กราบขออภัยสำหรับพระภิกษุ สามเณร แม่ชีและนักบวชทุกท่านที่ผมไม่ได้ใช้ศัพท์โดยเฉพาะนะครับ สำหรับพระภิกษุรูปแรกที่ถามเรื่องนี้อย่างจริงจังได้แก่ พระ อ. ตุ้ย วัดพุทธบารมี จ. สุรินทร์ ผมจึงถือโอกาสอธิบายไว้ในกระทู้นี้เพื่อทุกๆท่านที่มีจิตเป็นกุศลที่จะสร้างพระแก้วยุคใหม่ต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2019
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำรองพื้นที่
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำรองพื้นที่
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    แก้วทุกชนิด มีความไม่เหมือนกับโลหะอื่นๆตรงที่ ถ้าเป็นโลหะเช่นทองเหลือง เมื่อหลอมเสร็จ เรามักทิ้งให้เย็นเอง ซึ่งนั่นจะถูกต้องหรือไม่ ? ผมไม่ทราบ เพราะผมเองก็ไม่ได้รู้เรื่องงานหล่อโลหะ

    แต่ในแก้ว โดยเฉพาะชิ้นงานแก้วที่มีความหนา ต้องผ่านขบวนการอบลดอุณหภูมิให้ถูกต้อง ชิ้นงานนั้นจึงจะไม่มี stress หรือความเครียดหลงเหลืออยู่ในเนื้อแก้ว
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ยกเว้นแก้วแท่งเป่าแก๊สที่มีความหนาไม่มาก (งานเป่าแก้วด้วยแก๊สศูนย์ศิลปาชีพบางไทร) ที่ไม่ต้องอบลดอุณหภูมิ ที่ไม่ต้องอบลดอุณหภูมิในงานชนิดนี้ เพราะมีปัจจัยเข้าไปช่วยคือ แท่งแก้วโบโรซิลิเกตุที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรเลือกใช้นั้น เป็นแก้วที่มีโบรอนและอลูมีเนียมผสมอยู่ในอัตราส่วนที่มาก ทำให้แก้วชนิดนี้แทบจะไม่ต้องอบลดอุณหภูมิในความหนาที่ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร (ถ้าหนาเกิน 5 มิลลิเมตรก็ยังต้องอบลดอุณหภูมิอยู่ดี)

    แต่ถ้าเป็นแก้วชนิดอื่นๆแล้ว ความหนาแม้แต่ 1 มิลลิเมตรก็ต้องผ่านการอบลดอุณหภูมิครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    Glass Annealing Process หรือ Glass Forming Relaxation หรือ Reheat Process หรืออื่นๆ ในความหมายคือการที่แก้วต้องการการอบลดอุณหภูมิอย่างถูกต้อง จึงจะไม่มีความเครียดในเนื้อแก้วหลงเหลืออยู่ ต่อไปในกระทู้นี้ หากผมใช้คำว่า Annealing หรือ Forming หรือ Relax หรือ Reheat ผมกำลังหมายถึงขบวนการอบลดอุณหภูมิของแก้วนะครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำศัพท์ที่สำคัญคือ คูลลิ่งเรท cooling rate ซึ่งหมายถึงอัตราการลดอุณหภูมิ ส่วนมากมักหมายถึง การลดลงของอุณหภูมิโดยมีช่วงเวลาเป็นตัวกำหนด

    สมมุติว่า 1 ชั่วโมง อัตราการลดลงของอุณหภูมิอยู่ที่ 60 องศาเซลเซียส (นี่สมมุตินะครับ) ความหมายก็คือ การทำให้อุณหภูมิลดลงนาทีละ 1 เซลเซียส อย่างนี้เป็นต้น อัตราแบบนี้ก็จะเรียกว่า 1 ต่อ 1 คือ 1 นาทีต่อ 1 C [ 1M : 1C ] แต่จะเรียกแบบอื่นก็ได้ เช่นเรียกว่า 1 ชั่วโมงต่อ 60 C [ 1H : 60C ] ซึ่งการเรียกหรือการใช้คำศัพท์ไม่จำเป็นต้องตายตัว เพียงมีไว้เพื่อสื่อสารกันให้เข้าใจกันทั้งทีมก่อน ก่อนที่จะลงมือทำงาน เพราะเมื่อเริ่มขบวนการอบลดอุณหภูมิจริงๆในที่ทำงานจริง อาจมีเวลาไม่เพียงพอที่จะมาทำความเข้าใจกันครับ เพราะหากเกิดมีปัญหาขึ้นมานาทีใด ต้องแก้ไขให้ทันต่อเวลาซึ่งนับกันเป็นนาทีหรือบางครั้งอาจสำคัญในระดับวินาทีก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับความหนาของแก้ว ขึ้นอยู่กับเครื่องมือ ขึ้นอยู่กับวิธีการ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของหัวหน้าทีม ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไปครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในกรณีชิ้นงานมีขนาดใหญ่และผิดพลาดไม่ได้เลย ผิดเวลาส่งมอบก็ไม่ได้ ดังนั้น ต้องไม่มีอะไรผิดพลาดเลย แม้แต่ไฟฟ้าดับ หรือปัญหาอื่นใดก็ตาม

    ผู้ร่วมงานซึ่งในที่นี้มักหมายถึง หัวหน้าทีมที่ต้องมีคนเดียวในแต่ละกะ เช่นกะที่ 1 ช่วง 08.01-17.00 น. กะที่ 2 ช่วง 17.01-24.00 น. กะที่ 3 ช่วง 00.01-08.00 น. ทั้ง 3 กะจะมีหัวหน้าทีมของแต่ละกะคนเดียวกับลูกทีม 1-4 คน ส่วนหัวหน้าทีมของแต่ละกะยังต้องฟังคำสั่งจากหัวหน้าที่แท้จริงที่อาจไม่ต้องเข้ากะเลย คือเป็นหัวหน้าของหัวหน้ากะอีกทีหนึ่ง หัวหน้ากะทั้ง 3 กะต้องฟังหัวหน้าใหญ่ ซึ่งมักเป็นช่างที่มีประสบการณ์สูงที่สุด

    ลูกมือนายช่างเฝ้าเตาอบ ส่วนมากเป็นนายช่างและช่างผู้หญิงที่มีความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่ง โดยนายช่างมักเป็นคนที่มีกำลังกายมากและทนร้อนได้ดี แต่ช่างผู้หญิงมักเป็นคนละเอียด มีไหวพริบ แต่ไม่มีกำลังกาย และทนร้อนสู้นายช่างไม่ได้ แต่เมื่อทำงานด้วยกัน นั่นคือความสำเร็จที่คนหนึ่งหัวสมองไว แต่อีกคนหนึ่งกำลังกายถึงและทนร้อนได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2019
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในกรณีตรงข้าม คือถ้างานช้าได้ พลาดได้ กำหนดการส่งมอบไม่สำคัญ ทำใหม่ได้ ในกรณีแบบหลังนี่ บางครั้งเขาปล่อยให้เตาอบทำงานอัตโนมัติโดยไม่ต้องเฝ้า หากมาพบว่างานเสียไปไม่ว่ากรณีใดๆ เช่นไฟฟ้าดับนานมาก ก็ไปเริ่มต้นตั้งแต่สร้างหุ่นขี้ผึ้งใหม่เลย หมดเวลาไปอีกหลายวันหรือหลายสัปดาห์หรือบางครั้งหลายเดือน ก็แล้วแต่ช่างแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    ยุคหลังๆมานี้ งานมักเป็นแบบหลังนี้ คืออย่าไปกำหนดเวลาส่งมอบ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ขอยกตัวอย่างชิ้นงานที่ผมสมมุติเองนะครับ เช่น สร้างพระแก้วความหนา 10 นิ้ว ช่วงเวลาการอบลดอุณหภูมิอยู่ที่ 47 วัน (ประมาณเดือนครึ่ง) ถ้าไม่กำหนดส่งมอบงานเป็นดีที่สุด แต่ถ้าเขากำหนดว่า คุณต้องกำหนดให้ได้ จะไม่กำหนดวันส่งงานนั้นไม่ได้ ก็ต้องคูณ 4 คูณ 5 ไปเลย เป็นอย่างต่ำ 6 เดือน หรือ 8 เดือน เพราะเหตุใด เพราะหากล้มเหลวลงแต่ละครั้ง เริ่มต้นใหม่แต่ละครั้งต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าอีก 1 เดือนครึ่งนั่นเอง จึงต้องกำหนดการล้มเหลวไว้ถึง 4 - 5 ครั้ง เพราะไม่มีใครรู้หรอกครับว่า จะเกิดอะไรขึ้น และกี่ครั้ง

    แต่ถ้างานสร้างพระแก้วที่หนา 10 นิ้ว ไม่กำหนด เราไม่ต้องกลัวความผิดใดๆ เราก็ทำงานของเราไปเรื่อยๆ สบายๆ บางทีสำเร็จตั้งแต่เดือนครึ่งแรกเลยก็เป็นไปได้ครับ การทำงานที่สบายๆนี่เอง อาจเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของงานด้วยซ้ำไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ธันวาคม 2019
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ตอนนี้ผมยังอยู่ธุระ เอาไว้กลับถึงบ้านถ้าไม่ดึกเกินไป อาจจะอธิบายครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    img_25621122_171629-jpg.jpg
    ใบนี้เป็นใบที่มีคนพิมพ์ส่งมาให้ผมพกติดตัวไว้หลายปีแล้ว บันทัดสุดท้ายที่แก้วความหนา 10 นิ้ว บันทัดนั้นได้หายไป ไม่เป็นไรครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    img_25621201_194619-jpg.jpg
    ใบนี้จึงเป็นใบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และมีการบอกถึงที่มาของความรู้นี้ว่า มาจาก Corning Museum of Glass ของอเมริกาซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความรู้ประชาชนอเมริกาในช่วงสิบกว่าปีหลังมานี้ ให้ประชาชนที่สนใจได้เข้ามาเป็นศิลปินแก้วกันมากขึ้น เพราะต้นทุนถูก ไม่ต้องมีความรู้มาก ไม่ต้องมีโรงงานหลอมแก้วแบบโบราณที่ต้องลงทุนสูง แต่กลับเป็นเพียงสตูดิโอเล็กๆก็ทำงานได้ ลงทุนแค่เครื่องมือไม่กี่ชิ้น เมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานหลอมแก้วในโบราณนั้น เทียบไม่ได้เลยครับ แต่ชิ้นงานกลับขายได้ราคาดีกว่า เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะของเขา
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เราเริ่มต้นที่บันทัดสุดท้ายด้านล่างนะครับ บันทัดที่ 21 ความหนาที่ 10.0 นิ้วหรือ 254 mm. (25.4 cm.)

    ช่องซ้ายสุด Thickness inches mm
    เขียนว่า 10.0 in 254 mm

    ช่องที่ 2 Anneal Soak Time @ 806F @430C
    เขียนว่า 40 hr

    ช่องที่ 3 Initial Cooling Rate F/Hr C/Hr
    เขียนว่า 0.29 0.16

    ช่องที่ 4 Initial Cooling Range F C
    เขียนว่า 806-608 430-320

    ช่องที่ 5 Second Cooling Rate F/Hr C/Hr
    เขียนว่า 0.58 0.32

    ช่องที่ 6 Second Cooling Range F C
    เขียนว่า 608-518 320-270

    ช่องที่ 7 Final Cooling Rate F/Hr C/Hr
    เขียนว่า 1.74 0.96

    ช่องที่ 8 Final Cooling Range F C
    เขียนว่า 518-70 270-21

    ช่องสุดท้ายขวามือ Total Elapsed Time
    เขียนว่า 47 days 15 hours
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    พรุ่งนี้ผมมาเขียนต่อครับ เริ่มเหนื่อย อย่าลืมเขียนเรื่องที่ได้คุยกับวิศวกรเรื่องการอบลดอุณหภูมิของงานต่างๆ รวมทั้งงานแก้วนี้ด้วย ยังมีอีกช่องหนึ่งที่ทางวิศวกรเขาท้วงมาว่า จุด strain point

    พรุ่งนี้เช้าคงได้เข้ามาเขียนครับ จุด strain point สำคัญอย่างไร ต้องใช้หรือไม่ ? มันคืออะไร ? โปรดติดตามพรุ่งนี้ครับ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ตามที่วิศวกรที่มีความรู้เรื่องการลดอุณหภูมิได้บอกผมไว้ว่า ถึงแม้ในตารางกำหนดการลดอุณหภูมินี้จะไม่ได้เขียนถึง Strain Point ไว้ แต่การขึ้นรูปงานแก้ว ยังไงก็ต้องผ่านจุด Strain Point คือจุดที่เมื่อเราหลอมละลายก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่ 780C แล้ว จะนานเท่าใดก็ตาม ตรงนี้คือจุด Melting Point เมื่อก้อนแก้วละลายกลายเป็นน้ำแก้วไหลลงสู่แม่พิมพ์จนเต็มแม่พิมพ์แล้ว เมื่อเราลดอุณหภูมิลงจาก 780C ก่อนที่จะถึง 430C นั้น จะต้องผ่านจุด Strain Point คือจุดเซ็ทตัวของน้ำแก้วที่กำลังจะเริ่ม Form ตัว ** อุณหภูมิของ Strain Point ประมาณช่วง 650-550C *** วิศวกรบอกว่า ตรงนี้ควรให้ช้านิดนึง เช่นว่าดึงไว้สัก 10 นาที ก็จะตกนาทีละ 10C (1M:10C)

    หมายเหตุ
    ** = ในงานขึ้นรูปชิ้นงานแก้วด้วยเทคนิคเป่าแก้วด้วยลมก็ดี หรือการกดปั๊มนั้น ถ้าไม่มีจุดการ Form ตัวนี้ แก้วจะไม่สามารถขึ้นรูปเป็นชิ้นงานได้ บางท่านอาจเรียกว่า การเซ็ทตัวของเนื้อแก้ว เรียกอย่างนั้นก็ถูก

    *** = ช่วงประมาณ 650-550C อาจเป็นช่วงเฉพาะของแก้วแต่ละชนิด ไม่เท่ากัน ในแก้วชนิดอื่นๆ ช่วงนี้อาจสูงกว่าหรือต่ำกว่านี้ได้
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ดังนั้น การตั้งเตาอบไฟฟ้า อย่าลืมตั้งค่าของช่วงนี้เข้าไปด้วยนะครับ น่าจะดีกว่าการปล่อยให้ผ่านไปเฉย นี่คือตามที่วิศวกรท่านบอกเช่นนั้น
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,136
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    มาเรียนรู้กันต่อครับ ขณะนี้เราทำความเข้าใจกันใหม่หมดว่า นอกจากในใบตารางแล้ว ยังมีสิ่งที่เขาไม่ได้เขียนไว้ คือต้องเริ่มต้นอย่างไร ? ต้องหลอมอย่างไร ? หลังหลอมละลายแล้วยังมีจุดที่เขาไม่ได้เขียน ถ้าผ่านมาถึงจุด annealing จริงๆจึงเป็นตารางของเขาครับ ใบตารางที่ออกโดย Corning Museum of Glass องค์กรที่สร้างชิ้นงานแก้วอันดับโลก ตั้งแต่เลนส์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตรตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500 และเก่งขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งสร้างเลนส์เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตรให้กล้องฮับเบิ้ลและอื่นๆอีกมาก ผลงานของเขาเป็นที่พิสูจน์แล้วว่า ความรู้ของเขาไม่ใช่ได้มาง่ายๆแน่นอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...