2.พยาบาท. เหตุเกิด.เหตุละ.ธรรมสำหรับละพยาบาท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 21 ตุลาคม 2005.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    เหตุเกิดพยาบาท

    ส่วนพยาบาท ย่อมเกิด เพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต.

    ปฏิฆะ(ความขุ่นใจ) ก็ดี
    อารมณ์อันช่วยให้เกิดปฏิฆะก็ดี ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต

    ในคำว่าปฏิฆนิมิต เป็นต้นนั้น. อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน ในธรรมทั้งปวง.

    เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ใน (ปฏิฆะ) นิมิตนั้น
    พยาบาทย่อมเกิด.

    เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่
    การไม่ทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด
    หรือเพื่อทำให้พยาบาทที่เกิดแล้ว กำเริบเสิบสานขึ้นดังนี้.


    เหตุละพยาบาท

    แต่พยาบาทนั้น จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโตวิมุตติ.
    ในคำว่า เมตตาเจโตวิมุตินั้น เมื่อพูดกันถึงเมตตา ย่อมควรทั้งอัปปนาทั้งอุปจาระ.

    บทว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะ ดังกล่าวแล้ว.

    เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ ในเมตตาเจโตวิมุตติ
    นั้น ย่อมละพยาบาทได้.

    เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ (ในสังยุตนิกายมหาวารวรรค) ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่
    การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิด
    หรือเพื่อละพยาบาทที่เกิดแล้วดังนี้.


    ธรรมสำหรับละพยาบาท

    อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไป เพื่อละพยาบาท คือ

    ๑. การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์
    ๒. การประกอบเนือง ๆ ซึ่งเมตตาภาวนา
    ๓. การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน
    ๔. การทำให้มากซึ่งการพิจารณา
    ๕. ความมีกัลยาณมิตร
    ๖. การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.


    ๑--จริงอยู่ แม้เมื่อภิกษุกำหนดเมตตากัมมัฏฐาน ด้วยการแผ่เมตตาไปทั่ว
    ทิศโดยเจาะจงหรือไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้.

    ๒--เมื่อภิกษุเจริญเมตตา โดยแผ่ไปทั่วทิศโดยเจาะจง ไม่เจาะจงก็ดี
    ๓--เมื่อพิจารณาถึงความที่ตนและคนอื่นมีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านโกรธคนนั้น จะทำอะไรเขาได้ ท่านอาจจักทำศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือ ท่านมาแล้วด้วยกรรมของตน จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแล ขึ้นชื่อว่าการโกรธผู้อื่น ก็เป็นเช่นเดียวกับผู้ปรารถนาจะจับถ่านไฟที่คุโชน ซี่เหล็กอันร้อนจัดและอุจจาระเป็นต้นประหารผู้อื่นฉะนั้น

    หรือถึงคนนั้นโกรธท่าน จักทำอะไรได้ เขาจักอาจทำศีลเป็นต้นของท่านให้พินาศได้หรือ เขามาด้วยกรรมของตนก็จักไปตามกรรมของเขานั่นแหละ

    ความโกรธนั้นจักตกลงบนกระหม่อมของเขานั่นเอง เหมือนประหารผู้ไม่ประหารตอบ และเหมือนนำธุลีซัดไปในที่ทวนลมฉะนั้นดังนี้ก็ดี

    ๔--เมื่อพิจารณากัมมัสสกตาทั้งสองหยุดอยู่ในการพิจารณาก็ดี

    ๕--คบกัลยาณมิตรผู้ยินดีในการเจริญเมตตา เช่น ท่านพระอัสสคุตตเถระก็ดี

    ย่อมละพยาบาทได้.

    ๖--แม้ด้วยการเจรจาเรื่องที่เป็นที่สบายซึ่งอาศัยเมตตา ในอิริยาบถทั้งหลายมียืน นั่ง เป็นต้นก็ละพยาบาทได้.


    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาทดังนี้.

    ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า ก็พยาบาทที่ละได้แล้วด้วยธรรม ๖ประการนี้ ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.

    ที่มา

    http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=1400104
    http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=1400106


    พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์

    http://www.dhammalife.com/dhamma/vocab/


    โยนิโสมนสิการ

    การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี


    อโยนิโสมนสิการ
    การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ; เทียบ โยนิโสมนสิการ


    <!-- / message --><!-- sig -->

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...