...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 19 มกราคม 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,776
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 สิงหาคม 2005
  2. khordsanth

    khordsanth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +98
    อุเบกขา ปล่อยวาง ช่างแม่งมัน นิ่งดูดาย 4 คำนี้ ต่างกันกันลิบลับ แต่น่าจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
    1. ความหมายที่ดี คือ อุเบกขา การวางตัวเป็นกลาง น่าจะหมายถึงความยุติธรรมมากกว่า ส่วนปล่อยวาง น่าจะหมายถึง การวางเฉยเฉพาะตัวของเราเอง ใครจะทำอะไรกับตัวเรา เราก็ไม่สนใจ
    2. ช่างแม่งมัน และ นิ่งดูดาย น่าจะหมายถึง ใครจะเป็นยังไง อะไรก็ช่าง เราไม่สนใจ น่าจะอยู่ในรูปของเห็นแก่ตัวน่ะครับ
    คือเราเข้าใจยังงี้แหละ ใครว่ายังไงมั่งครับ
     
  3. singhatonai

    singhatonai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +24
    อุเบกขา ปล่อยวางหลังจากการพิจารณา "ธรรม" ที่เกิดขึ้นกับท่านแล้ว หลังจากพิจารณาและน้อมเข้าหาตัวแล้ว ก็ไม่ยึดติด แต่หาก การวางอุเบกขา ได้พิจารณาธรรมที่เกิดแล้ว ก็จักเห็นปัญญา

    ปล่อยวาง ช่างแม่งมัน นิ่งดูดาย คือ การไม่มี และ ไม่ได้พิจาณา "ธรรม" ที่เกิดกับตัวเอง จึงไม่เห็นปญฺญา แต่แคอยู่ในอาการนิ่ง หรือ สงบ เท่านั้น หากแม้นผัสสะๆหนึ่งเกิดแล้วจักระงับอารมณ์นั้นไม่ได้

    ฉะนั้น "อุเบกขา" กับ "ปล่อยวาง ช่างแม่งมัน นิ่งดูดาย " แล้วจึงน่าจะแตกต่างกัน หากแต่บุคคลนั้นได้น้อมจิดเข้าพิจาณา "ธรรม" ที่เกิดขึ้นแล้ว คำสองคำจึงไม่ต่างกัน

    น้อมจิตพิจารณาสิ่งที่เกิด จักเห็นแสงสว่าง นำทางสู่ปญฺญา
    (ออกจะยากต่อการตีความหน่อยนะครับ เพราะไม่รู้จะบรรยายยังไง)
     
  4. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    895
    ค่าพลัง:
    +1,936
    ปล่อยวาง ช่างแม่งมัน นิ่งดูดาย

    คำเหล่านี้ มันก็เป็นเพียง คำที่ชาวโลก สุมมติขึ้นมาน่ะครับ
    ที่ผมเข้าใจ ความหมายแบบ หยาบๆ ถือว่า อยู่ฝั่งเดียวกัน
    คือ ไม่สนใจ วางเฉยในเรื่องนั้นๆ


    แต่ความหมายที่เกิดกับจิตใจ หรือ อารมณ์ปรมัตถ์ มันย่อมแตกต่างกันแน่นอน
    ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ต่างกัน ต่างกาล ต่างบุคคล ย่อมอาจจะเหมือนกันได้
    หรืออาจจะแตกต่างกัน

    ก็เป็นไปได้ทั้ง 2 แบบ
     
  5. R2D2

    R2D2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +133
    เขียนต่างกันแน่นอนครับ คุณเขมร
    (b-glass)
     
  6. khunsri1972

    khunsri1972 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +924
    เหมือนกันค่ะ
     
  7. R2D2

    R2D2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +133
    อุเบกขา
    ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง

    ดังนั้น อาการ ปล่อยวาง ช่างแม่งมัน นิ่งดูดาย อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือน อุเบกขา ก็ได้ แล้วแต่กรณี

    เช่น มีคนถูกรถชน เราเดินหนีดีกว่าไม่อยากไปเกี่ยวข้อง ก็ช่างแม่งมัน หรือยืนดูเป็นไทยมุง นิ่งดูดายไม่ช่วยเหลือ อันนี้ไม่เป็นอุเบกขา

    หรือมีเพื่อนเราไปโกงเงินบริษัท เราก็เตือนแล้วว่ามันผิดศึล ผิดกฎหมาย ไม่ดีนะ อย่าทำเลย มันไม่เชื่อ วันหนึงโดยเค้าจับได้จะเอาเข้าคุก มันจะขอให้เราเป็นพยานเท็จไปโกหกให้มันรอด เราคิดว่าเรื่องมึง ทำเองกูเตือนแล้ว รับกรรมไปเถอะ ให้กูช่วยอย่างอื่นดีกว่านะ อาจจะปล่อยวาง หรือ ช่างแม่ง แต่อันนี้เป็นอุเบกขา

    หรือตัวเราเองมีปัญหา แต่ไม่ขวนขวายหาวิธีแก้ปัญหา หนีดื้อๆ อันนี้ ช่างแม่งมัน ไม่เป็นอุเบกขา
    แต่ถ้าปัญหาเรา พยายามแก้เต็มที่แล้วไม่สำเร็จ ทำใจยิ้มรับผลที่เกิดขึ้น อันนี้เป็นอุเบกขา

    ทั้งหมดนี้ วิปัสนึก เอาเองคับ ตามความเข้าใจ ผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...