7 เทคนิคจิตวิทยา ที่ทำให้คุณเข้าใจตัวเองมากขึ้น

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย araji, 10 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. araji

    araji สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2019
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    “ไม่ต้องบอกฉัน ในสิ่งที่คนอื่นบอกว่าเธอเป็นยังไง เล่าเรื่องของตัวเธอเองให้ฉันฟังสิ”

    นี่เป็นประโยคยอดฮิตที่ “เอลีนอร์ ลองเด็น” (Eleanor Longden) ได้เคยกล่าวไว้บนเวทีระดับโลกอย่าง TED TALK

    เชื่อว่าน่าจะทำให้ใครหลายคนฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า นานแค่ไหนแล้ว ที่เราหลงลืมความเป็นตัวเองไป

    นานแค่ไหนแล้ว ที่เราพยายามเข้าใจคนอื่น จนลืมไปว่าตัวเองก็ต้องการคนเข้าใจเหมือนกัน

    แต่อย่ามัวกังวลกับคำถามนั้นจนเกินไปค่ะ เพราะ Learning Hub มี 7 เทคนิคทางจิตวิทยามาฝาก ที่ไม่แน่ว่า 1 ใน 7 เทคนิคนี้ จะทำให้คุณเข้าใจตัวเองมากขึ้น แบบไม่ต้องเสียเวลามาก แต่คุ้มมากกับผลลัพธ์ที่จะได้รับกลับมา

    1. คุยกับตัวเองหน้ากระจก
    ผลวิจัยของ อาจารย์ Gary Lupyan and Daniel Swignley ที่ถูกเผยแพร่ทางนิตยสาร TIME ระบุว่า “คนที่พูดคุยกับตัวเองหน้ากระจก ไม่ใช่เรื่องบ้าหรือน่าอายอะไร แต่เป็นวิธีที่สามารถเรียกความมั่นใจ ทำให้กลายเป็นคนที่กล้าพูดกล้าคุยมากขึ้น ยิ่งกระจกบานใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งเห็นผลลัพธ์ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น และมีแนวโน้มทำให้การรับรู้ของสมองดีขึ้นอีกด้วย”

    ถ้าคุณยังไม่รู้จะเริ่มต้นพูดคุยกับตัวเองอย่างไร? แนะนำให้ยืนอยู่หน้ากระจกสักพักค่ะ ค่อยๆ ยิ้มกับตัวเองช้าๆ จนเริ่มรู้สึกว่าฉันกำลังยืนอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ก่อนจะเริ่มต้นคำถามง่ายๆ อย่างที่เราใช้ทักทายกับคนอื่น เช่น วันนี้รู้สึกยังไง, เครียดมั้ย, คิดอะไรอยู่

    การฝึกพูดคุยกับตัวเอง จะช่วยให้คุณได้ระบาย สิ่งที่อัดอั้นอยู่ในใจออกมา รวมทั้งเป็นการป้อนข้อมูลให้กับจิตใจคุณด้วยค่ะ ที่สำคัญอย่าลืมเลือกประโยคที่สร้างพลังให้ตัวเอง อย่างเช่น ฉันทำได้,ฉันเก่ง, ฉันผ่านเรื่องแย่ๆ ไปได้อยู่แล้ว ถ้อยคำเหล่านี้ล้วนสร้างแรงบันดาลใจ เพิ่มพลังในด้านบวกให้คุณทั้งสิ้น โดยที่ไม่ต้องรอฟังจากใครเลยค่ะ

    2. ให้ความสงบกับตัวเอง
    งานวิจัยระบุว่า การเข้าสังคมบางครั้งทำให้คนเราเครียดยิ่งกว่าเดิม แม้แต่เฟซบุ๊กยังมีผลการวิจัยยืนยันว่ายิ่งคุณมีเพื่อนมากเท่าไหร่ ความเครียดยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น เพราะเวลาจะพิมพ์หรือโพสอะไรลงไป คุณจะชะงักและหยุดคิดมากขึ้น เนื่องจากคุณแคร์ว่าเพื่อนในโลกออนไลน์ จะไม่พอใจหรือรู้สึกไม่ดีต่อคุณนั่นเองค่ะ

    เคล็ดลับการให้ความสงบกับตัวเอง จึงเหมาะสำหรับคนยุคโซเชียลอย่างแท้จริงแค่เริ่มต้นด้วยการวางโทรศัพท์มือถือ เลิกเสพข่าวออนไลน์ อย่างน้อยวันละ 5-10 นาที นั่งอยู่ในที่สงบเงียบสักพัก ฟังเสียงหัวใจเต้นดู ไม่แน่นะคะเสียงหัวใจที่ค่อยๆ ดังขึ้น ดังขึ้นจะทำให้คุณเข้าใจได้ว่าจริงๆ แล้ว ตัวเองต้องการอะไร ?

    “’ริชาร์ด เกียร์’” ดาราดังระดับฮอลลีวูด ก็เลือกใช้วิธีนีค่ะ ใครจะรู้ว่าดาราดังระดับโลกจะมีเวลาทำสมาธิได้? แต่ตรงกันข้ามเลย เพราะ “’ริชาร์ด เกียร์’” มักจะหาเวลาปลีกวิเวกและศึกษาธรรมะที่ทิเบตอยู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่อายุ 24 ปี จนเขาตั้งเป้าหมายในการทำสมาธิไว้ว่า “เราทำสมาธิเพื่อที่เราจะได้มีความสุขมากขึ้น มันเป็นแนวทางปฏิบัติที่จะพาพวกเราผ่านพ้นความทุกข์ มุ่งหน้าสู่ความสุข แต่เป็นเพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ชีวิตจึงดูวุ่นวายสับสนทุกครั้งไป”

    ถ้าวันนี้คุณกำลังรู้สึกสับสนอยู่ แค่วางโทรศัพท์ลง มองโลกตรงหน้า แล้วยิ้มให้มันดูสักครั้ง รับรองว่าความรู้สึกที่ตัวคุณได้รับจะเปลี่ยนไป

    3. ใช้เวลาไปกับสิ่งที่ชอบ
    ถ้าไม่นับชีวิตประจำวัน กิน นอน เล่นเกมส์ จับโทรศัพท์มือถือ กิจกรรมอื่นๆ ที่คุณชอบทำนอกเหนือจากนี้คืออะไรคะ ? เมื่อพบแล้ว ลองให้เวลากับตัวเองได้ทำสิ่งเหล่านั้นดูบ้าง เพราะช่วงเวลาที่คุณใช้ไปโดยไม่สนใจว่าตอนนี้กี่โมงแล้วนี้ล่ะ จะทำให้คุณค้นพบและรู้จักตัวเองมากขึ้นอีกด้าน ได้รู้ว่าอะไรที่ตัวเองชอบทำและอะไรที่ไม่ชอบเลย?

    สิ่งที่ชอบกับเวลาที่ใช้ไป จะเป็นกระจกสะท้อนตัวคุณเอง โดยที่ไม่ต้องรอให้คนอื่นมาบอก ซึ่งคุณเองก็สามารถใช้เคล็ดลับนี้สำรวจตัวเองได้ด้วย อย่างเช่น ถ้าคุณชอบปลูกต้นไม้ ก็มีแนวโน้มว่าคุณจะเป็นคนใจเย็น รักธรรมชาติ ไม่ชอบความวุ่นวาย รักสงบ
    FUN88
    การที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรไม่ชอบอะไร อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดก็ได้นะคะ เพราะคนดังระดับโลกหลายคนก็ค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านสิ่งที่ตัวเองชอบ อาทิ สตีฟ จอบส์ (ผู้ก่อตั้ง Apple), บิล เกตส์ (เจ้าพ่อวงการไมโครซอฟ) ก็ล้วนสำเร็จจากการค้นพบสิ่งที่ตัวเองชอบทั้งนั้น

    4. หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
    “คนที่ให้คุณค่าตัวเราได้ คือตัวเราเอง” นี่คือเคล็ดไม่ลับอับดันต้นๆ เลยค่ะ ที่จะทำให้คุณหันมารักตัวเองมากขึ้น เห็นคุณค่าตัวเองมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกเลยคือ “หยุดพฤติกรรมเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น” ว่าเค้าดีแบบนั้น เราไม่ดีแบบนี้ เรามีไม่เท่าเค้า เค้ามีดีกว่า

    เพราะสิ่งที่เราคิดนี่ล่ะค่ะ จะทำให้จินตนาการทำงานมากกว่าปกติ คิดบวกได้บวก คิดลบได้ลบ ถึงขนาดว่ามีผลวิจัยจากสถาบันสาธารณสุข มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมายืนยันแล้วว่า ผู้ที่มีความคิดด้านลบทั้งต่อตัวเอง ต่อโลก มักสมองเสื่อมเร็วกว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบคิดบวก

    หากคุณกำลังเป็นคนหนึ่งที่คิดมาก ขี้กังวลจนรู้สึกนอยด์บ่อยๆ ลองนำเคล็ดลับนี้ ไปใช้ดูนะคะ แล้วหันมาหาข้อดีของตัวเองดูแบบจริงๆ จังๆ สักครั้ง การตอบคำถามคนอื่นได้ชัดถ้อยชัดคำ ว่าตัวคุณเองทำอะไรได้ดี หรือบอกได้ว่าตัวคุณเองชอบอะไร? จะทำให้คุณเข้าใจตัวเองมากขึ้น และเครียดกับข้อเสียของตัวเองน้อยลง นั่นเพราะคุณรู้สึกภูมิใจในตัวเองนั่นเองค่ะ

    5. สังเกตคนรอบตัว
    “คนแบบเดียวกัน มักดึงดูดคนแบบเดียวกัน” นี่คือสิ่งที่เรียกว่า กฎแห่งแรงดึงดูด (Law of Attraction) ที่อธิบายได้ง่ายๆ ว่าสิ่งที่เหมือนกันจะมีแรงดึงดูดเข้าหากัน ดังนั้นถ้าคุณมองไม่เห็นตัวเอง การมองไปยังคนรอบๆ ตัวคุณ เพื่อนที่คุณคบ แฟนที่คุณมี เจ้านายในบริษัทก็น่าจะเป็นกระจกชั้นดีที่สะท้อนความเป็นตัวตนคุณออกมาได้ ไม่มากก็น้อย

    เมื่อเห็นว่าคนรอบข้างเป็นเช่นไร คุณเองก็อาจเป็นเช่นนั้นค่ะ นั่นเพราะทัศนคติที่ไปในทิศทางเดียวกันทำให้พวกคุณและคนรอบตัว มาอยู่ใกล้ๆ กัน เป็นหลักการสังเกตและเข้าใจตัวเองได้ง่ายๆ ที่น่าลองดู

    หลักการนี้ วาทยกรชาวไทยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกอย่าง “คุณบัณฑิต อึ้งรังษี” ก็นำไปใช้ในชีวิตจริงจนประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งด้านการงาน การเงิน ครอบครัว นั่นเพราะเค้าเลือกจะนำพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางคนเก่งๆ ระดับโลก ใช้การซ้อมอย่างหนักหน่วงกับคนมีฝีมือ ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นว่าถนัดอะไรแล้วมุ่งมั่นพัฒนา จนเค้ากลายเป็นคนไทย 1 ใน 9 คนจากทั่วโลก ที่ได้รับเชิญไปศึกษาที่ Carnegie Hall ในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

    ผู้คนรอบตัวคุณวันนี้ล่ะคะ? เป็นในแบบที่ตัวคุณเองอยากจะเป็น หรือยัง?

    6. เขียน เขียนและเขียนออกมา
    การเขียนเป็นการระบายสิ่งที่อยู่ในใจได้ดีอีกวิธีหนึ่ง อาจฟังดูตลกสำหรับคนที่ไม่เคยจับปากกามาเขียนเรื่องราวของตัวเอง แต่นักจิตวิทยากลับพบว่า การเขียนช่วยให้คนเรารู้สึกโล่งมากขึ้น แถมยังช่วยระบายความเครียดได้ดี

    แต่แทนที่คุณจะเขียนระบายความในใจ ลองเปลี่ยนมาเขียนสิ่งที่ตัวเองต้องการในอนาคต เขียนข้อดีที่คุณมี เขียนข้อเสียที่คนอื่นเคยติติงไว้ เขียนสิ่งที่ชอบทำและไม่ชอบทำ

    เมื่อเสร็จแล้วลองนำกลับมาอ่านทบทวนดูอีกครั้งนะคะ เสมือนคุณได้อ่านคู่มืออธิบายความเป็นตัวเองฉบับย่อๆ นั่นเพราะคนที่เขียนไม่ใช่ใครแต่เป็นตัวคุณเองค่ะ

    ถ้าอยากพัฒนาทักษะการเขียนให้เก่งๆ แนะนำให้ลองศึกษาเทคนิคการเขียนจากเพจ โค้ชนักเขียนมือโปร by เรือรบ ค่ะ

    7. ฟังเพลงที่ชอบ ซ้ำไปซ้ำมา
    ศาสตราจารย์ เอเดรียน นอร์ท (Adrian North) ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีจิตวิทยา ได้ทำการศึกษาพบว่า แนวดนตรีที่คนเราชอบฟัง สามารถแสดงถึงอุปนิสัยและความคิดได้ อาทิ คนที่ชอบฟังเพลงคลาสสิค จะมีความเคารพตนเองสูง มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นคนเก็บตัว

    คนที่ชอบฟังเพลงแนวอินดี้ จะมีความคิดสร้างสรรค์ แต่มีความเคารพในตัวเองต่ำ ไม่มีความขยัน, ชอบฟังเพลงฮิตติดชาร์ต เป็นคนมีความเคารพในตัวเองสูง ขยัน เข้ากับคนอื่นได้ง่ายแต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และค่อนข้างปิดตัวเอง

    ว่าแล้วก็ลองเปิดเพลงที่ตัวเองชอบฟังดูสักหน่อยสิคะ ก่อนกลับมาย้อนดูผลวิจัยว่าแม่นยำตรงกับความเป็นคุณมากน้อยแค่ไหน? ข้อดีไหนรู้แล้วก็นำไปต่อยอดได้

    ส่วนข้อบกพร่องก็หาวิธีเติมเต็มเข้าไป หรือจะลองเปลี่ยนไปฟังเพลงแนวอื่นดูบ้าง เผื่อจะเจอตัวเองอีกด้าน ก็ไม่ได้เสียหายอะไร จริงมั้ยคะ?

    มีประโยคนึงของ “ซุนวู” กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” แต่ก่อนจะไปรู้เขา วันนี้ต้องลองถามตัวเองดูบ้างล่ะค่ะว่า เรารู้จักและเข้าใจตัวเองดีพอรึยัง?
     

แชร์หน้านี้

Loading...