สภาพทั่วไป
วัดกำแพงตั้งอยู่เลขที่ ๒๙๙ ซอยเพชรเกษม ๒๐ ถนนเพชรเกษม แขวงบางจาก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ริมคลองบางหลวงหรือเรียกว่าคลองบางกอกใหญ่ตอนใน ช่วงที่เรียกกันว่าคลองชักพระ โดยตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของฝั่งคลองบริเวณหัวมุมปากคลองบางจาก ซึ่งเป็นคลองแยกจากคลองชักพระเข้าไปทางทิศใต้
คลองชักพระหรืออีกชื่อหนึ่งว่าแม่น้ำอ้อมเป็นสายของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลจากคลองบางกอกน้อยไปออกคลองบางกอกใหญ่ และที่เรียกว่า ชักพระเพราะสมัยก่อนมีประเพณีชักพระจากวัดนางชี(ดูรายละเอียดของประเพณีได้จากกระทู้งานประเพณีชักพระวัดนางชี นะ) ซึ่งอยู่บริเวณปากน้ำภาษีเจริญโดยใช้เรือพายลากเชือกจูงเรือใหญ่ไปตามลำคลองสายนี้สู่ทิศเหนือเป็นทักษิณาวัตรพระนคร ซึ่งจะทำเป็นประเพณีในวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๒ ขบวนแห่ชักพระจะแห่อ้อมไปออกทางปากคลองบางกอกน้อยแล้วเลี้ยวขวาไปเข้าคลองบางกอกใหญ่แล้วกลับวัดนางชี (น.ณ ปากน้ำ,ศิลปกรรมในบางกอก(พระนคร: โรงพิมพ์เฟื่องนคร, ๒๕๑๔), ๑๐๙.)
78.ไหว้พระ ๙ วัด ฝั่งธนบุรี
ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 19 มิถุนายน 2015.
หน้า 8 ของ 10
-
-
ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของวัดไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าคงมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมา และคงได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่หลายครั้ง แม้แต่ชื่อวัดก็ไม่ทราบชื่อเดิม ชื่อที่ใช้ในปัจจุบันก็เป็นชื่อเรียกกันในหมู่ชาวบ้านและเรียกกันมาเรื่อยๆ แต่หลักฐานที่เหลืออยู่ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เจดีย์บรรจุอัฐิทรงกลมทางทิศใต้ของพระอุโบสถ ที่ส่วนฐานมีแผ่นศิลาจำหลักข้อความซึ่งสรุปได้ว่า เจดีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกและใช้บรรจุอัฐิของ “พระพิศาลผลพานิช” ภายหลังจากที่ได้จัดการฌาปนกิจศพที่วัดจักรวรรดิราชาวาส และเมื่อได้ไปค้นคว้าในเอกสารสารบาญชี ส่วนที่ ๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (สารบาญชีส่วนที่ ๑ คือ ตำแหน่งราชการ) ทำให้ทราบว่า พระพิศาลผลพานิช เดิมชื่อ จีนสือ เป็นขุนนางเชื้อสายจีนซึ่งรับราชการตำแหน่งสำคัญในกรมท่าซ้าย และตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาฝั่งทิศตะวันตก(ฝั่งธนบุรี) หรือบริเวณศาลเจ้าโรงฟอกหนังปัจจุบัน จากตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์องค์นี้พอจะสันนิษฐานได้ว่าพระพิศาลผลพานิชน่าจะมีความสำคัญต่อวัดกำแพงนี้เป็นอย่างมาก เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ในการซ่อมแซมวัด ประกอบกับข้อมูลจากท่านเจ้าอาวาสพบว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานพระกฐินต้นเป็นการส่วนพระองค์ที่วัดนี้ และได้พระราชทานแจกันกังไสไว้ ๑ คู่โดยลงพระปรมาภิไธยกำกับไว้ ซึ่งท่านเจ้าอาวาสได้เคยเก็บรักษาไว้ แต่ถูกขโมยไปเมื่อ ๑๐ กว่าปีมาแล้ว
-
ก่อนที่จะเดินเข้าไปบริเวณลานพระอุโบสถต้องผ่าน กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วเป็นกำแพงทึบก่ออิฐถือปูนหนาประมาณ ๑ เมตร ขณะนี้เหลือให้เห็นเพียงส่วนบน ประตูทางเข้ามี ๓ แห่ง แห่งแรกเป็นช่องประตูทางเข้าตรงกลางด้านหน้าพระอุโบสถระหว่างศาลาแฝด อีกสองแห่งเป็นซุ้มประตูอยู่ด้านข้าง ก่ออิฐถือปูนมียอดบนเป็นปรางค์ด้านล่างเจาะประตูเป็นรูปโค้งแหลมและมีบานประตูไม้ ปัจจุบันเหลือแค่ซุ้มประตูเดียวที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนอีกซุ้มหนึ่งยอดบนได้ชำรุดหมดแล้ว -
-
เมื่อเดินเข้าไปทางด้านหน้าทางเข้าลานพระอุโบสถจะพบกับศาลาแฝดเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาทรงจั่วลด ๑ ชั้น หน้าบันจำหลักลายพันธุ์พฤกษาประดับกระจกสี สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นไม้ทั้งหลังและสร้างใหม่ขึ้นในคราวเดียวกับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓
ด้านซ้ายและด้านขวามีพระวิหารหลังเล็กอยู่ข้างละหลัง พระวิหาร ๒ หลังนี้ขนาบอยู่ด้านข้างพระอุโบสถตรงมุมกำแพงด้านหน้าพระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนยกฐานสูง ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีเฉลียงเปิดโล่งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาทรงจั่วลด ๑ ชั้น ๒ ตับ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาสีส้ม ด้านหน้ามีเสาหานรับหลังคามุขลักษณะสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองประดับหัวเสาด้วยบัวแวงไม่มีสาหร่ายรวงผึ้ง หน้าจั่วตกแต่งด้วยเครื่องลำยอง ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นของเดิมที่ยังไม่ได้ซ่อมแซม หน้าบันเป็นไม้จำหลักลวดลายพันธุ์พฤกษาประดับกระจกสี กรอบประตูและหน้าต่างมีลายปูนปั้น ลายฝ้าเพดานและฝ้าชายคาภายนอกภายในทำด้วยไม้ทาสีแดง
-
-
พระวิหารด้านขวามือก่อนเป็นพระวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อบ้านแหลมจำลอง
ด้านในพระวิหารยังมีหลวงพ่อโสธรจำลองกับรูปเหมือนเจ้าอาวาสองค์ก่อนด้วย -
-
พระวิหารด้านซ้ายมือ ในกระทู้ก่อนเคยลงและเข้าใจว่าน่าจะเป็นกุฏิสงฆ์ แต่มาคราวนี้ พระวิหารด้านซ้ายได้เปิดออก มีพระพุทธรูปโบราณอยู่จำนวนมาก โดยสภาพเริ่มชำรุด บางองค์ก็เศียรหักพังลงมาไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระอุโบสถ
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกฐานสูงเป็นฐานสิงห์ หลังคาทรงจั่วลด ๒ ชั้น ๓ ตับ มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสีส้ม มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า มีประตูทางเข้าออก ๒ ด้านๆ ละ ๒ บาน มีหน้าต่างด้านข้างด้านละ ๕ บาน ลักษณะด้านหน้าพระอุโบสถเป็นแบบหน้าจั่วเปิดชนิดมีสาหร่ายรวงผึ้งซึ่งเป็นงานประดับอันวิจิตรมีที่มาจากแผงกันแดดของอาคารซึ่งทำกันมานานในสมัยอยุธยา ตรงบริเวณมุขจะมีเสาหานรับหลังคามุข เป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองประดับหัวเสาด้วยบัวแวงประดับกระจกสีเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย หน้าบันทำด้วยแผงไม้กระดานจำหลักลวดลายพันธุ์พฤกษาและประดับกระจกสี ใต้กระจังประด้วยรวงผึ้ง ข้างเสาหานประดับด้วยลายสาหร่ายรวงผึ้งจำหลักลวดลายที่มีปลายเป็นรูปกนกนาค ซุ้มประตูและหน้าต่างภายในอาคาร ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกรอบอลูมิเนียมตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นลายพันธุ์พฤกษาที่มีความงดงามแต่ก็เสียหายไปมากแล้ว จากลักษณะโดยรวมพระอุโบสถเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่วัสดุที่ได้ประดับส่วนต่างๆ เช่น ระเบียง หน้าบัน ลวดลายปูนปั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปะจีนเป็นแนวพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ -
-
พระประธานในพระอุโบสถ
หลวงพ่อบุษราคัม พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พุทธลักษณะเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสืบทอดศิลปะจากสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานชุกชีมีลักษณะใกล้เคียงกับวัดสุวรรณาราม จากข้อสังเกตที่พระพาหาและนิ้วพระหัตถ์ดูใหญ่ผิดส่วนอาจเป็นไปได้ว่าเคยได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาแล้ว -
-
-
หน้า 8 ของ 10