Ancient astronauts กับพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย realreality, 4 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. realreality

    realreality สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +5
    Ancient astronauts คือทฤษฏีที่ว่ามนุษย์ต่างดาวเคยมาเยือนโลกและติดต่อกับมนุษย์ในยุคโบราณมาก่อน ทำให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาทางเทคโนโลยี,วัฒนธรรมและศาสนาอย่างก้าวกระโดด

    ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นักบินเครื่องบินรบชาวอเมริกันประสบเหตุตกในป่าฝนของประเทศบราซิล ซึ่งเขาถูกพบโดยชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว ด้วยความประทับใจกับอุปกรณ์ไฮเทคและการที่เขาตกมาจากท้องฟ้า คนป่าเหล่านี้ยกเขาขึ้นในฐานะพระเจ้าและสร้างความเชื่อเกี่ยวกับตัวเขาขึ้นมา ทุกวันนี้หลักฐานทางศาสนาของพวกเขาประกอบด้วยสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ห้อยบนกิ่งไม้ รวมถึงสิ่งของต่างๆ เช่น เครื่องยนต์ที่เสียหาย, ไฟแช็กที่หมดแล้ว, และมีดพกที่ขึ้นสนิม แต่ในสายตาผู้อ่านที่ได้รับการศึกษาย่อมรู้ว่าวัตถุเหล่านี้คือหลักฐานว่าจริงๆแล้ววัตถุต่างๆในศาสนาไม่ใช่ข้อพิสูจน์ในตัวศาสนาเอง แต่เป็นข้อพิสูจน์ของเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น (และมักถูกตีความผิดๆ) เหมือนกับที่อาร์เธอร์ ซี. คลาร์กเคยกล่าวว่า "เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเพียงพอใดๆก็ตามมักถูกเข้าใจว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์"

    [​IMG]

    อย่างในศาสนาพุทธก็กล่าวถึงการเหาะเหินเดินอากาศ หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นไปได้ไหมครับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ต่างดาวที่คนในสมัยโบราณไม่อาจเข้าใจได้ เลยคิดว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติเหมือนกับเรื่องของนักบินกับคนป่าที่ได้เล่าไป

    ลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการในศาสนาพุทธก็เช่นกันดูไม่คล้ายมนุษย์โดยทั่วไป เช่น

    ๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึงพระชาณุทั้งสอง ฯ (มือยาวถึงเข่า?)
    ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
    ๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ในพระกายได้ ฯ (ชุดอวกาศ?)
    ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม] ฯ
    ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ ,His head is like a royal turban (พระเศียรดูคล้ายผ้าโพกหัว?) (บาลี: u nahisiso)

    [​IMG]

    ถ้าอธิบายด้วยทฤษฏี Ancient Astronauts นี่คือเหตุผลที่ทำไมวิทยาศาสตร์กับศาสนาพุทธถึงได้สอดคล้องกันเป็นอย่างดี หรืออาจกล่าวได้ว่า "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าพบมาก่อน"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...