GNR : เทคโนโลยีแห่งอนาคต !?!?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 16 พฤษภาคม 2018.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    GNR : เทคโนโลยีแห่งอนาคต !?!?
    บทความของ รศ.ทนพ. สุรพล ศรีบุญทรง

    104351-1526460773-8c372c1785c5b77a613aec1c16211f84.jpg
    ***โปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน***

    เทคโนโลยีใหม่ 3 ประเภท (GNR) อันได้แก่
    • พันธุวิศวกรรม (G: Genetic Engineering)
    • นาโนเทคโนโลยี(N: Nanotechnology)
    • หุ่นยนต์ศาสตร์ (R: Robotics)
    นั้นอาจจะเป็นหนทางในการบรรลุเป้าหมาย ชีวิตในเชิงอุดมคติของมนุษยชาติจนเทียบได้กับการใช้ชีวิตในโลกพระศรีอาริย์ที่เต็มไปด้วยอุดมสุขตามคตินิยมทาง ศาสนา เช่น การมีอายุยืนยาวจนเข้าใกล้อมตะโดยอาศัยชิ้นส่วนอวัยวะเทียมจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์และนาโนเทคโนโลยี , การตัดแต่งเอาพันธุกรรมแย่ๆ ทิ้งไป , การปลอดจากการติดเชื้อโรคติดต่อใดๆ โดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมมาผลิตยาสำหรับกำจัดเชื้อโรค, การมีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์เพียงพอที่จะเลี้ยงดูมนุษย์ได้ทั้งโลกโดยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ซึ่งเลือกคัดเฉพาะสายพันธุ์ของธัญพืชที่เติบโตได้ดีในทุกภาวะอากาศ และทนต่อแมลงมาปลูก ฯลฯ แต่สุดยอดเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์ ก็อาจจะนำมหันตภัย อันจะนำไปสู่การนับถอยหลังสู่การสูญสิ้นเผ่าพันธุ์มาสู่ มวลมนุษยชาติได้ หากมิได้มีการวางแผนควบคุมการพัฒนาไว้ให้ดี เพราะทั้งสามอย่างนี้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว (Amplifying factor) มีโอกาสที่อาจจะเติบโตขยายปริมาณขึ้นมาได้ด้วยตัวของมันเอง (Self-replicate) และถ้าไม่ ระมัดระวังให้ดี ผลผลิตจากเทคโนโลยีเหล่านั้นอาจจะเติบโตขึ้นมากจนเกินกว่ากำลังความสามารถของมนุษย์ที่จะควบคุม (Out of control) ได้อย่างง่ายดาย

    เทคโนโลยีสมัยใหม่อื่นๆ อย่างคอมพิวเตอร์นั้น แม้ว่าจะมีคุณสมบัติที่น่ากลัวทั้งสามอย่างเช่นกัน แต่สิ่งที่ เกิดขึ้นและเพิ่มปริมาณได้เองจนยากจะควบคุมภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นอย่าง มากก็เป็นแค่การรับ/ส่งข้อมูลไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งน่าจะก่อให้เกิด ความวิตกรำคาญเฉยๆ อย่างการส่ง อีเมล์ขยะ การทำให้การสื่อสารของเซิร์ฟเวอร์ เกิดคับคั่งจนกระทั่งทำให้ระบบสื่อสารข้อมูลดาวน์ การแฮ็คข้อมูลบัตรเครดิต หรือ การวางยาด้วยไวรัส ฯลฯ ไม่ใช่ภยันตรายที่ร้ายกาจรุนแรงถึงขนาดที่จะทำให้มนุษย์ สูญพันธุ์ได้เหมือนเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2018
  2. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220


    220px-Richard_Feynman_Nobel.jpg
    โลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของ นาโนเทคโนโลยี เป็นครั้งแรก จากปาฐกถาครั้งประวัติศาสตร์ “There’s a plenty of room at the bottom” ของนักฟิสิกส์ระดับ รางวัลโนเบล “ ริชาร์ด เฟนย์แมน” ในปี ค.ศ. 1958

    “นาโนเทคโนโลยี” ศาสตร์แห่งศตวรรษใหม่

    ก่อนอื่น อยากอธิบายให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเสียก่อนว่า สิ่งที่เรียกว่า เทคโนโลยีจีเอ็นอาร์ ในที่นี้หมายถึงอะไร

    อักษร "G" ตัวแรกนั้นมาจากคำว่า Genetic Engineering หรือมีชื่อเป็นไทยว่า พันธุวิศวกรรม ซึ่งเน้นไปในเรื่องการดัดแปลงแก้ไข สารพันธุกรรม และผู้คนทั่วไปก็เริ่มจะรู้จักมักคุ้นกับคำคำนี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีทั้ง ภาพยนต์เรื่องดังอย่างจูราสสิก พาร์ก ช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นความรู้ทางวิชาการเข้าใจ ยากให้อยู่รูปง่ายๆ สนุกสนาน และมีผลผลิตของจริงให้เห็นในข่าวอย่างเรื่องพืชตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) ให้ได้รับฟังกันอยู่ เรื่อยๆ ส่วนเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์ตัวที่สามที่ใช้
    upload_2018-5-16_16-22-47.jpeg

    อักษร "R" เป็นอักษรตัวแรกนั้นก็คือ Robotics หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องหุ่นยนต์ อันนี้ก็แทบจะไม่ต้องอธิบายอีกเช่นกัน เพราะรถยนต์ที่เราขับขี่กันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ก็ใช้ระบบหุ่นยนต์ในการ ผลิต มีหุ่นยนต์ที่ใช้ขุดอุโมงใต้ดิน ตลอดจนมีหุ่นยนต์ไซบอร์กในภาพยนต์หลายเรื่อง และมีให้เห็นในข่าวบ่อยๆ
    104346-1525319043-144114a51b4bee07fd5901a1ca604be0.png
    แต่ที่พิเศษหน่อยก็คือ Nanotechnology ที่ใช้อักษร "N" เป็นตัวนำ อันเป็นเรื่องของเทคโนโลยีของการ ควบคุม ผลิตและพัฒนาสสารในระดับอะตอมระดับโมเลกุลที่มีขนาดเล็กลงไปจากพวกแบคทีเรียและเชื้อราอีกเป็นพันเท่า หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกกันว่าเล็กระดับเป็นนาโนเมตร (หนึ่งในพันล้านเมตร) เล็กขนาดที่มองด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไม่เห็น เทียบได้ประหนึ่งว่าเรานำเอาแบคทีเรียซึ่งเล็กอยู่แล้วมาบดให้ละเอียดจนเป็นจุณมหา จุณลงไป
    104352-1526462428-d924a4289b7c1b293e07f6a533394d23.jpg

    มีข้อสังเกตุว่า ปัจจุบันนี้ความรู้บนโลกเราได้พัฒนาไปอย่างมาก จนบางครั้งค่อนข้างยากที่สื่อให้เข้าใจกันได้ ง่ายๆ ให้เห็นภาพ เพราะพัฒนาการของความรู้บนโลกนั้นก็มิได้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งแต่เป็นไปในทุกด้าน มีทั้งที่ ขยายใหญ่ขึ้นไปมากๆ จากที่เคยรู้จักเงินล้านก็ต้องพูดถึงตัวหนี้ของประเทศไทยที่มียอดเป็นล้านล้าน เคยรู้จักแค่ประเทศ เพื่อนบ้านก็ต้องรู้จักกับแกแล็กซีที่ห่างออกไปเป็นล้านปีแสง ซึ่งถ้าหากถามว่าจะเดินทางไปยังแกแล็กซี่ที่ว่าจะต้องใช้เวลา เท่าไร นักวิทยาศาสตร์ก็คงพอจะคำนวณเวลาออกมาได้แต่คงบอกกับชาวบ้านได้แค่ว่าชั่วกัปชั่วกัลป์ ในทางกลับกัน ความรู้ ก็ยังดั้นด้นลงลึกลงไปในรายละเอียดที่สิ่งที่เล็กมากขึ้นเรื่อย จากเดิมที่เคยพูดถึงการรักษาโรคโดยมองตัวคนทั้งตัว หรืออวัยวะ ทั้งระบบ ก็เปลี่ยนไปเป็นระดับเนื้อเยื่อของอวัยวะ ระดับเซลล์

    จนท้ายที่สุดก็เริ่มจะมีผู้พูดถึงการรักษาโรคระดับโมเลกุลกัน บ้างแล้ว ในขณะที่เวลาก็ถูกศึกษาซอยย่อยลงไปจนเป็นเสี้ยวของเสี้ยวของเสี้ยววินาที ในการที่จะพยายามให้งานประมวลผล ทุกอย่างดำเนินไปเสมือนหนึ่งว่าเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน (Real time,multiprocessing)
     
  3. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    images?q=tbn:ANd9GcRIgCaR8hv4WBvrilU-Dwc1BMtTxGbrqhjjGtz9U8q7tQWHXIlivQ.jpg

    สำหรับนาโนเทคโนโลยีนั้นมีที่มา จากการที่มีนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้น ได้นำมาซึ่งวิธีการผลิตแบบใหม่ การผลิตซึ่งมีต้นทุนต่ำมาก ผลผลิตของคอมพิวเตอร์คือข้อมูล และไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลยใน กระบวนการผลิต เพราะใช้วิธีเอาข้อมูลแต่ละบิทมาเรียงเข้าด้วยกัน อยากได้ตัวอักษรก็เอาบิทมาเรียง อยากได้ภาพกราฟฟิกก็ บิทมาเรียง อยากได้เสียงเพลงก็เอาบิทมาเรียง ฯลฯ เรียกว่าทุกอย่างที่ได้มาจากคอมพิวเตอร์นั้นล้วนมาจากบิท แล้วทำไม เราไม่เอาแนวคิดของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในกระบวนการผลิต ในกระบวนการอุตสาหกรรมทั้งหลายบ้างล่ะ จะได้ไม่ ต้องมานั่งกังวลกับขยะหรือของเสียที่จะติดตามมา นั่นคือ จะผลิตสิ่งของอะไรก็ให้มีแผนการไว้เสร็จเลยว่าสิ่งนั้นจะมี รูปลักษณ์อย่างไร จากนั้นก็เริ่มสร้างผลผลิตที่ต้องการขึ้นมาจากการเรียงอะตอมแต่ละอะตอม โมเลกุลแต่ละโมเลกุลเลย 2ii ยกตัวอย่าง เช่นโรงงานผลิตรองเท้านั้นแต่ก่อนก็จะต้องผลิตวัสดุสำหรับด้านหน้า ด้านบน และพื้นรองเท้า ออกมาเป็นผืนใหญ่ๆ เวลาจะประกอบก็ต้องตัดวัสดุเหล่านั้นออกมาเป็นชิ้นๆ ตามแนวที่ดีไซน์เนอร์พัฒนาไว้เป็นรองเท้า ต้นแบบ ซึ่งไม่ว่าจะออกแบบมาดีเพียงไรก็จะมีเศษวัสดุเหลือใช้ต้องทิ้งไปไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซนต์เสมอ และขยะเหล่านี้ก็ จะต้องตกเป็นภาระให้กับกระบวนการกำจัดขยะที่จะติดตามมา ฉนั้น จะเป็นการดีกว่าไหมหากเราสามารถผลิตสสารต่างๆ ขึ้นมาให้มีรูปร่างและลักษณะต่างๆ ตามที่ต้องการได้เลยด้วยการเรียงอะตอมหรือเรียงโมเลกุลขึ้นมา ซึ่งถ้าทำได้จริง สิ่งที่เป็น ความใฝ่ฝันหลายอย่างของมนุษย์ก็จะเกิดขึ้นได้ด้วยนาโนเทคโนโลยี เช่น อยากจะได้ตัวยาที่ออกฤทธิ์อย่างไรก็นาโน เทคโนโลยี อยากให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กแค่ไหน เร็วแค่ไหนก็นาโนเทคโนโลยีอยากจะออกแบบยานอวกาศขนาด สองที่นั่งสำหรับขับขึ้นไปดื่มน้ำผึ้งใกล้ๆ พระจันทร์จริงๆ ก็นาโนเทคโนโลยีฯลฯ คำถามที่ตามมาคือ เราจะทำให้สิ่งที่ดูเหมือนความเพ้อฝันนี้เป็นจริงขึ้นมาได้อย่างไร

    นักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่าต้องเอาความรู้ด้านเคมี และวิศวกรรมเข้ามาผสมผสาน มานั่งศึกษาวิธีการสังเคราะห์สารเคมี แล้วพัฒนาเครื่องจักรขนาดไม่กี่นาโนเมตรขึ้นมาทำหน้าที่จัดเรียงอะตอม (assembler) หรือทำหน้าที่แกะเอาอะตอมที่ไม่ต้องการออกทิ้งไป (Dissembler) และเนื่องจากตัวเครื่องจักรนาโนเมตรพวกนี้ก็อาจถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการจัดเรียงอะตอมเช่นที่ว่านี้ได้เช่นกัน เทคโนโลยี ที่ว่านี้จึงมีลักษณะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนา และเพิ่มปริมาณของมันขึ้นมาได้ด้วยตนเอง (Self-assembling & Self replicating) ซึ่งเมื่อพูดถึงการเพิ่มจำนวนตัวเองได้นี้หลายคนอาจจะประหลาดใจ แต่ถ้าคุ้นเคยกับกระบวนการเพิ่มจำนวน ของไวรัสแล้ว ก็ย่อมจะเห็นถึงความเป็นไปได้ของ "นาโนเทคโนโลยี"



    ประโยชน์จากของการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีที่เห็นได้ชัด ได้แก่การเอาชนะอุปสรรคในการพัฒนาชิป ไอซีเพื่อให้เป็นไปตามกฎของมัวร์ (Moore’s Law) ที่ระบุว่าประสิทธิภาพของชิปไมโครโพรเซสเซอร์นั้นจะเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว เสมอในช่วงระยะเวลา 24 เดือน ซึ่งเริ่มจะถูกตั้งข้อสงสัยว่าอาจจะไม่เป็นความจริงอีกต่อไป เพราะเมื่อไมโครชิปถูกพัฒนา ไปได้สักระยะ มันก็จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางกายภาพบนตัวไมโครชิปเอง จนส่งผลให้ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นไป ด้วยการเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ พร้อมกับลดขนาดของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บนตัวชิปไอซีลงไปเรื่อยๆ เพราะต้องเผขิญกับ ภาวะที่ไม่สามารถลดขนาดสายสัญญาณลงไปได้อีก (ลดขนาดสายสัญญาณลงไปถึงระดับที่ความต้านทานของสายสัญญาณสูง เกินกว่าจะคงความถูกต้องของตัวสัญญาณไว้ได้)

    เมื่อพัฒนาการของเทคโนโลยีไอซีตามทฤษฎีของมัวร์เริ่มประสบกับทางตัน เพราะไม่สามารถจะลดระยะห่าง ระหว่างทรานซิสเตอร์ลงไปกว่าเดิมได้อีก (ช่วงที่นาโนเทคโนโลยีได้รับการแนะนำช่องห่างทรานซิสเตอร์อยู่ที่ประมาณ 0.18 ไมครอน) ก็พอดีกับนาโนเทคโนโลยีเข้ามาเป็นทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวได้อย่างพอดิบพอดี เพราะหากผู้ผลิตไอซีสามารถ นำอะตอมของสสารมาจัดเรียงกันเพื่อสร้างชิปไอซีแต่ละตัวได้ (หลายคนเรียกเทคโนโลยีไอซีลักษณะนี้ว่าเป็น "อิเล็กทรอนิกส์ ระดับโมเลกุล" หรือ "Molecular electronics") อุตสาหกรรมไอซีก็จะหมดกังวลกับปัญหาข้อจำกัดทางกายภาพของตัวไอซีไป ได้อีกไม่น้อยกว่า 30 ปี นั่นคือ อัตราการพัฒนาประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ และชิปไอซีก็จะดำเนินไปตามกฏของมัวร์ ต่อไปอีกจนถึงปี ค.ศ. 2030 เป็นอย่างน้อย หรือถ้าเทียบเป็นประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มากขึ้น ก็อาจจะ ประมาณว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 2030 มีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้สักหนึ่งล้านเท่าตัว
     
  4. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    upload_2018-5-16_16-36-28.jpeg
    “หุ่นยนต์” ศาสตร์ว่าด้วยการเลียนแบบ"


    พัฒนาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว และมนุษย์เราก็กำลังพัฒนาตัวเอง ไปสู่การเป็นหุ่นยนต์ หรือกำลังผสานร่างกายของตนเข้ากับเครื่องจักรเครื่องกลจนมีสภาพเป็นกึ่งๆ หุ่นยนต์ จนเป็นไปได้ว่า ในอนาคตนั้น หุ่นยนต์จะมีจิตสำนึก (Sentient Robot) ได้ เหมือนเช่นที่ปรากฏอยู่ในนิยายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีหุ่นยนต์ จะนำมาซึ่งประโยชน์มหาศาลแก่มวลมนุษยชาติ เช่น อาจจะทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวจนเกือบจะเหมือนเป็นอมตะ และ ทำให้โลกในอนาคตมีลักษณะเหมือนโลกพระศรีอาริย์ (Utopia) ซึ่งมีผลผลิตอันเป็นปัจจัย 4 เพียงพอแก่ประชากรทุกคนบน ผืนพิภพ ความเหลือเฟือนั้นมีมากไปจนถึงปัจจัยที่ 5 อันได้แก่การเดินทาง การสื่อสาร และการโทรคมนาคม ที่ เจริญก้าวหน้า จนมนุษย์สามารถแจ้งเตือนและป้องกันภัยใดๆ อันอาจจะมีมาได้เสมอ
    upload_2018-5-16_16-43-20.jpeg

    ในขณะเดียวกัน ชีวิตในอนาคตก็ ย่อมเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย จากบรรดาเครื่องจักรเครื่องกลทั้งหลายที่มีประสิทธิภาพ และความเฉลียวฉลาดมาดขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการทุกอย่างของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งนักวิทยาศาสตร์ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า หากเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์มีความฉลาดมากขึ้น จริง ๆ จะมีเหตุผลความจำเป็นเพียงไร ที่มันต้องมาคอยตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และมีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่ หุ่นยนต์จะพัฒนาความต้องการของตนเองขึ้นมา เช่นที่มนุษย์เคยวิวัฒน์สิ่งต่างๆ เหล่านี้มาแล้ว (หากเราเชื่อในทฤษฎี วิวัฒนาการ) และมีโอกาสความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร ที่มนุษย์จะพลาดท่าให้กับ "หุ่นยนต์" อันเป็นเทคโนโลยีที่ตนเองสร้างขึ้น แต่มีวิวัฒนาการได้รวดเร็วกว่า สามารถปรับตัวในสภาวะแวดล้อมสมัยใหม่ได้ดีกว่า จนอาจจะส่งผลให้ มนุษย์ต้อง สูญพันธุ์ หรือลดบทบาทตนเอง มาเป็นเพียงสัตว์เลี้ยง หรือผู้รับใช้ของเครื่องจักรแทน

    เพราะถ้ามนุษย์พัฒนาเครื่องจักรที่มีความชาญฉลาดสูง (AI, Artificial Intelligence) สามารถทำงานทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ดีกว่ามนุษย์ขึ้นมาได้จริงๆ ในอนาคต งานทั้งหลายทั้งปวงบนโลกย่อมจะถูกส่งผ่านไปให้สู่กระบวนการของ เครื่องจักรกลล้วนๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เครื่องจักรสามารถครอบครองอำนาจ การตัดสินใจทุกอย่างไว้ได้หมด ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลควบคุมใดๆ จากมนุษย์ หรือหากมนุษย์ยังคงมีอำนาจตัดสินใจ อยู่บ้างในกระบวนการ ก็คงน้อยมาก และอยู่ในขอบเขตที่จำกัด จนสุดท้ายมนุษย์เราจะไม่มีทางคาดเดาได้เลยว่าผลลัพธ์ที่ได้ จากการคำนวนการคาดคะเนของเครื่องจักรสมองกลนั้นจะให้ผลออกมาเป็นเช่นไร คงได้แต่ปล่อยให้ชะตากรรมของตนนั้น ขึ้นอยู่กับความเมตตา (ซึ่งไม่น่าจะมี) ของเครื่องจักร
    images?q=tbn:ANd9GcT0rgte5_IuBWjefRhPLvzRvBh6eds2CvxF27cHQFquf7Ekse6x.jpg

    หลายคนอาจจะแย้งว่ามนุษย์เราคงไม่โง่พอที่จะปล่อยให้ อำนาจตัดสินใจทั้งหมดไปตกอยู่ในมือของเครื่องจักรกล แต่การสูญเสีย อำนาจตัดสินใจของมนุษย์ให้กับเครื่องจักรนั้นอาจจะไม่ได้อยู่ที่โง่หรือไม่โง่ และไม่ได้เกิดจากการที่อยู่ๆ มีเครื่องจักรสมองกลฉลาดๆ ลุกขึ้นมายึด อำนาจไปเสียจากมนุษย์ แต่น่าจะเป็นผลมาจากการที่เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เองค่อยๆ ปรับตัวไปอาศัยพึ่งพิงตนเองกับวัตถุและเครื่องจักรมากขึ้น เรื่อยๆ (ตัวอย่างเรื่องการพึ่งพาเครื่องจักรมากเกินไปที่ผู้เขียนพบกับ ตัวเอง คือ ระยะหลังๆ นี้ ผู้เขียนพบว่ากระดาษคำตอบของนักศึกษา มักจะมีผลการคำนวณที่ผิดพลาดอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น 6 หาร 1 ได้ 0.5 ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการกดเครื่องคิดเลขผิด แล้วตัว นักศึกษาเองก็ไม่มีสามัญสำนึกพอที่จะเตือนตัวเองได้ว่าผลลัพธ์นั้นไม่ถูกต้อง)

    จนในที่สุด แม้มนุษย์จะไม่เต็มใจพึ่งพาเครื่องจักรในการตัดสินใจก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะสังคมมนุษย์ จะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ปัญหาต่างๆ ที่มนุษย์ต้องเผชิญก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวกันบรรดาเครื่องจักรสมองกลทั้งหลายก็จะได้รับการพัฒนาให้มีความฉลาดมากขึ้นทุกปีๆ ในอัตราที่ก้าวกระโดด สุดท้าย เมื่อปัญหาที่มนุษย์เผชิญนั้น ซับซ้อนมากๆ เข้า มนุษย์ก็ต้องปล่อยให้เครื่องจักรสมองกลเป็นตัวแก้ไข และตัดสินปัญหาแทนตนในที่สุดด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่า เครื่องจักรสมองกลสามารถตัดสินใจได้ดีกว่ามนุษย์ และหลังจากนั้นไปอีกสักพัก ความซับซ้อนของปัญหาก็จะไปไกลถึง ขนาดว่า การตัดสินใจให้ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินการหรือไม่ดำเนินการก็ยากเกินกว่าสติปัญญาของมนุษย์จะเข้าไปจัดการได้ ต้องอาศัยผลการตัดสินใจของเครื่องจักรสมองกลอีกทีหนึ่ง ตรงนี้แหล่ะที่จะนำปัญหามาสู่มนุษย์ เพราะมนุษย์จะเข้าสู่ภาวะ ไร้อ านาจการควบคุมเครื่องจักรอย่างสิ้นเชิง แม้แต่จะสั่งให้เครื่องจักรปิดกระแสไฟฟ้าที่เข้าไปเลี้ยงเครื่องก็ยังกระทำไม่ได้ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการสั่งให้มันฆ่าตัวตาย (ทุกวันนี้ เราก็เริ่มมีปัญหาในการลบโปรแกรมบางโปรแกรมออกจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แล้ว)
    images?q=tbn:ANd9GcQipBs8cfobXx71T6li7QUtxHTPhmlSwPsh6x4Qw6hTFF2ayi19hA.jpg
    หรือในกรณีที่มนุษย์อาจจะยังคงกุมอำนาจในการตัดสินใจบางอย่างไว้ได้ มันก็มีความเป็นไปได้ว่าอำนาจ เช่นว่านั้นจะตกอยู่ในมือของคนกลุ่มเล็กๆ เฉพาะชนชั้นสูง ชนชั้นปกครอง ชาวบ้านสามัญธรรมดาส่วนใหญ่อาจจะมีโอกาส ควบคุมเครื่องจักรเครื่องกลได้เฉพาะพวกเครื่องเล็กน้อย และเครื่องจักรกลที่ไม่มีความสลักสำคัญใดๆ ในสังคมอย่างรถยนต์ ส่วนบุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรืออุปกรณ์สื่อสารมือถือ ในขณะที่ธุรกิจเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายการ สื่อสาร และเครือข่ายสาธารณูปโภคที่จะรองรับรถยนต์ และอุปกรณ์สื่อสารตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของธุรกิจไม่กี่คน ที่ชนะการแข่งขันแบบเสรี

    ที่อาจจะเลวร้ายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เมื่อเจ้าของทุนเจ้าของธุรกิจได้ครอบครองอำนาจจากการควบคุมระบบ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไว้เรียบร้อยแล้ว สิ่งจะติดตามมาก็คือการนำเอาเครื่องจักรกลเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ครั้งมโหฬาร จนอาจนำไปสู่ภาวะที่แรงงานมนุษย์กลายเป็นสิ่งเหลือเฟือที่ไร้ประโยชน์ เมื่อผนวกเข้ากับแนวคิดรังเกียจคนจนของคนรวย บางประเภท วันหนึ่งก็อาจจะมีคนรวยสติเฟื่องบางคนลุกขึ้นมาเสนอไอเดียให้กำจัดสิ่งเหลือเฟือไร้ประโยชน์เหล่านี้ไปเสีย หรืออย่างเบาะๆ ก็อาจจะหาทางควบคุมไม่ให้มีจำนวนประชากรระดับล่างมากเกินไป โดยอาจจะใช้วิธีโหมโฆษณาชวนเชื่อ ล่อลวงให้เชื่อด้วยกลไกทางจิตวิทยา หรือแม้กระทั่งการสังเคราะห์เชื้อโรค หรือสารเคมีชีวภาพขึ้นมาเพื่อควบคุมอัตราการ เกิดของประชากรให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

    และหนักเข้าหนักเข้า ตัวมนุษย์ก็เลยเสี่ยงกับภาวะสูญพันธ์ในยามที่มีโรค ระบาดร้ายแรง ทุพภิกขภัยหรือสงครามโลกขึ้นมาอีกสักครั้งหนึ่ง จนในที่สุดก็อาจจะเหลือมนุษย์อยู่แค่เพียงพวกที่มีทุนทรัพย์ เหลือเฟือเพียงพอที่จะปกป้องตนเองจากทุพภิกขภัยเหล่านั้นได้ เรียกว่าสมใจของพวกคนรวยไร้ศีลธรรมเหล่านั้นไปจนได้ หรือหากจะมองโลกในแง่ดีกว่านั้นขึ้นมาสักนิด คนรวยที่มีทั้งเงินทุน อำนาจปกครอง และเทคโนโลยี อาจจะเป็นพวกเสรีนิยมจิตใจอ่อนโยน มีเมตตาต่อประชากรส่วนใหญ่ที่ด้อยฐานะด้อยโอกาสกว่าตน และพยายามทุกวิถีทาง ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ทำให้ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความสุข ความสะดวกสบาย ปลอดจากความ ทุกข์หรือข้อยุ่งยากในการดำรงชีวิต และหากมีใครยังมีข้อคับข้องใจอยู่อีกก็ใช้วิธีส่งเข้าคอร์สบำบัดเป็นรายๆ ไป ฟังเผินๆ เหมือนกับว่านี่แหล่ะคือโลกพระศรีอาริย์ในอุดมคติ (แต่คำถามที่ตามมาว่ามนุษย์สามารถกำจัดกิเลศความยากมีอยากได้ที่ไม่ รู้จักพอของตนได้จริงๆ ล่ะหรือ โดยเฉพาะกิเลศในเรื่อง "อำนาจ" ที่ทำให้โลกวุ่นวายมาโดยตลอดชั่วประวัติศาสตร์ของ มนุษย์) แน่นอน ชีวิตที่อยู่สบายไปวันๆ นั้นดูจะไร้ความหมายจนอาจต้องใช้เทคนิคชีววิศวกรรม (Biological engineer) หรือจิตวิศวกรรม (Psychological engineer) มาบ าบัดให้มนุษย์ไม่มีความปรารถนาในอ านาจอีกต่อไป (อาจจะใช้ วิธีเปลี่ยนอารมณ์รุนแรงไปเป็นการระบายออกที่สังคมยอมรับ อย่างการเล่นกีฬา หรือดนตรี ฯลฯ อย่างที่บ้านเรานิยมกัน) ซึ่งก็จะเกิดค าถามต่อไปอย่างไม่สิ้นสุข เช่นว่าชีวิตแบบนั้นจะมีความหมายอะไร ? ภาวะเช่นนั้นเป็นความสุขเป็นความเสรีจริง หรือ ? ถ้าจริง ทำไมมนุษย์ต้องถูกบังคับให้อยู่แต่ในกรอบให้มีความคิดได้แต่เฉพาะที่ผู้บริหารต้องการ ? และคำถามที่หนัก หน่วงมากๆ ก็คือ ภาวะเช่นนั้น มนุษย์จะมีความแตกต่างอะไรกับสัตว์เลี้ยงในฟาร์มของคนรวย ?
     
  5. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    images?q=tbn:ANd9GcSVX1qt0i16Ct1x-FmJhkRXldKqxUb8gch056zNFy40OEj1BGtRaQ.jpg
    มนุษย์ vs หุ่นยนต์

    ความรู้ด้านวิวัฒนาการได้สอนให้เราได้รับรู้ถึงกฏธรรมชาติอย่างหนึ่ง นั่นคือ "สิ่งมีชีวิตสายพันธ์ที่อ่อนแอนั้น แทบ จะไม่เคยดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเองไว้ได้ในสภาพที่มีต้องมีการแข่งขันกับสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นที่แข็งแกร่งกว่าได้เลย"

    CiHZjUdJ5HPNXJ92GP9RBHGhXCB53uCYv6.jpg

    เช่น ทวีป อเมริกาเหนือและใต้ที่เคยถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยทะเลทางแถบช่องแคบปานามา เคยมีหลักฐานว่าทางแถบอเมริกาใต้ นั้นมีสิ่งมีชีวิตประเภทมาซูเพียล (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้้ำนม มีกระเป๋าหน้าท้องคล้ายจิงโจ้) อยู่ชุกชุมมาก แต่หลังจากเปลือก โลกมีการเปลี่ยนแปลง ผืนพิภพใต้สมุทรถูกดันขึ้นเหนือน้ าจนท าให้ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ถูกเชื่อมเข้าด้วย ผลกลับ กลายเป็นว่าพวกมาซูเพียลทางใต้ต้องสูญพันธ์ไปจนหมดสิ้น เพราะไม่สามารถหากินแข่งกับบรรดาเสือ สิงห์ กระทิง แรด จาก ภาคเหนือที่มีความว่องไวกว่า มีระบบประสาทที่เจริญกว่า และมีความสามารถในการสืบพันธุ์ที่ดีกว่าได้ กระนั้น กฏแห่งวิวัฒนาการและการอยู่รอดตามธรรมชาตินี้มักจะบิดผันไป เมื่อมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมนุษย์มักจะคัดเลือกสายพันธุ์ที่ตนเองนิยมชมชอบมากกว่าสายพันธุ์ที่ดีกว่าตามธรรมชาติ
    upload_2018-5-16_17-3-35.jpeg
    ยกตัวอย่างเช่น สุนัขพันธุ์ ปักกิ่งที่รวบรวมเอาความด้อยทุกอย่างเข้ามาไว้ในตัว ไม่ว่าจะเป็นตาปูดโปนที่ชิดจนมองอะไรไม่ค่อยชัด จมูกที่สั้นจนน่าเป็น ห่วงว่าอาจจะเสียความสามารถในการดมกลิ่นอันเป็นคุณสมบัติเด่นของสุนัขไป นอกจากนั้น โพรงจมูกที่สั้นเต่อยังส่งผลให้ มันติดเขื้อหวัดได้ค่อนข้างง่าย เมื่อผนวกเข้ากับการที่มันมีขนยาว และขี้ร้อนก็ยิ่งเอื้อให้ติดหวัดได้ง่ายขึ้นไปอีก ที่สำคัญ หลายคนที่เคยเลี้ยงเจ้าพวกนี้มาก่อนยังยืนยันว่ามันมีอุปนิสัยที่ไม่น่ารักเอามากๆ อีกด้วย คือจองหอง ไม่รู้จักประจบเอาใจเจ้านาย และเอาใจยาก ซึ่งเท่าที่ผ่านมานั้น มนุษย์ไม่ค่อยจะให้ความสนใจเกี่ยวกับกฏการแข่งขันตามธรรมชาติกันสักเท่าใดนัก เพราะถึงยังไงมนุษย์ก็ยังคงเป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดเหนือกว่าบรรดาสรรพสัตว์ทั้งปวง แต่เมื่อเครื่องจักรสมองกลที่มนุษย์ ประดิษฐ์ขึ้นมาเริ่มจะมีความฉลาดแซงหน้ามนุษย์ไปบ้างนี่แหล่ะ ที่ทำให้มนุษย์หลายๆ คนเริ่มกลับมากังวลสนใจว่าตัวเอง กำลังจะเป็นเหมือนมาซูเพียลในทวีปอเมริกาใต้ที่ต้องสูญพันธุ์ไปเพราะแข่งขันกับหุ่นยนต์ไม่ได้หรือเปล่า ?

    คำถามที่มนุษย์เราควรจะถามตัวเองก็คือ ทุกวันนี้ใครมีความสามารถในการต่อสู้แข่งขันมากกว่ากันระหว่าง หุ่นยนต์กับมนุษย์ หากคำตอบคือมนุษย์ก็อาจจะต้องถามตัวเองต่อไปว่า ที่ว่าเหนือกว่านั้นเป็นเพราะสภาพกติกาการ แข่งขันที่มนุษย์เป็นกำหนดหรือเปล่า หากแม้นว่าคำตอบคือการแข่งขันนั้นเสรีจริงๆก็พอจะใจชื้นได้บ้างว่ามนุษย์ยังคง เหนือกว่าหุ่นยนต์เครื่องจักรจริงๆ แต่มันก็เป็นความชื้นใจระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะ ต้องไม่ลืมว่ากว่ามนุษย์จะ วิวัฒนาการมาได้ถึงขนาดนี้ ต้องอาศัยเวลาร่วมหมื่นปี ในขณะที่หุ่นยนต์ซึ่งเริ่มจะ ขึ้นมาแข่งกับเรานั้น เพิ่งมี วิวัฒนาการมาได้ไม่ถึง ศตวรรษเลย (เมื่อพูดถึงการ แข่งขันเสรีกับการสูญพันธุ์ ทำให้อดเปรียบเทียบกับ สภาพเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ มันเหมือนกันกับตลาดการค้า เสรีที่ไทยเราชื่นชมกันนักหนา ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แล้ว ก็ทำให้ธุรกิจการค้าในมือคนไทยพากันสูญพันธุ์ไปตามๆ กัน เมื่อธุรกิจ และทุนต่างชาติที่แกร่งกว่า เทคโนโลยีสูงกว่าขยับเข้า มา) ดังนั้น หากเราใช้สมการทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ คำนวนเปรียบเทียบอัตราเร็วในการพัฒนาคุณภาพระหว่าง มนุษย์กับหุ่นยนต์ เราก็จะพบว่ามนุษย์เราน่าจะถูกแซงไปโดยหุ่นยนต์ได้ในชั่วระยะเวลาอีกไม่นานนัก ยิ่งเมื่อพิจารณาจาก สภาพการแข่งขันระหว่างบรรดาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ด้วยแล้ว เราก็จะพบว่าวิวัฒนาการของหุ่นยนต์นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว พอๆ กับวิวัฒนาการในแวดวงอุตสหกรรมคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เพราะยิ่งหุ่นยนต์ได้รับการพัฒนามากขึ้นเท่าไร มันก็หมายถึงต้นทุนดำเนินการของธุรกิจที่ลดลง ทั้งในแง่วัตถุดิบ พลังงาน และพื้นที่ประกอบการ เมื่อไรที่หุ่นยนต์ได้รับการ พัฒนาไปจนถึงขั้นทำงานแทนมนุษย์ได้ทีละมากๆ และในทุกสายงาน วันนั้น ก็อาจจะมีนายทุนบางคนลุกขึ้นมาบอกว่าจะจ้าง คนไปทำไมในเมื่อจ้างหุ่นยนต์ประหยัดกว่าตั้งไม่รู้กี่เท่า (ว่ากันตามจริง ทุกวันนี้ก็มีสภาพเช่นนี้อยู่แล้วเพียงแต่หุ่นยนต์ยังคง ถูกจำกัดให้ทำงานแทนมนุษย์ได้เฉพาะบางงาน และมนุษย์ก็ยังคงได้รับประโยชน์จากสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นของหุ่นยนต์ จน อาจเรียกว่ามนุษย์เสวยสุขจากแรงงานส่วนเกินของหุ่นยนต์ก็ว่าได้)

    “แล้วมนุษย์เราจะถูกหุ่นยนต์วิวัฒนาการแซงหน้าไปเมื่อไรแน่ ?” คำตอบคงตอบให้ชัดเป็นตัวปี พ.ศ. เลย ไม่ได้ แต่พอจะคาดการณ์ได้ว่าในคริสตศตวรรษที่ 21 นั้น งานหลักๆ ของมนุษย์จะยังได้รับความร่วมมือช่วยเหลือเป็นอย่าง ดีจากหุ่นยนต์ เพียงแต่อาจจะต้องมีกฏบัตรกฏหมายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนว่าหุ่นยนต์ทำอะไรได้ และทำอะไร ไม่ได้บ้าง คล้ายๆ กับกฏของหุ่นยนต์ 3 ข้อ ที่เคยปรากฏอยู่ในงานเขียนของ ไอแซ็ค อาซิมอฟ มาก่อน ตลอดจนต้องมีการ กำหนดออกมาด้วยว่าการทำอันตรายแก่มนุษย์นั้นหมายถึงการกระทำลักษณะใดบ้าง สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือจุดที่หุ่นยนต์มี การพัฒนาไปสู่ภาวะ "หุ่นยนต์ฉลาดล้ำซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุม " เพราะเมื่อไรที่ถึงจุดนั้น มนุษย์ก็เตรียมเผชิญหน้ากับ การสูญพันธุ์ จากการทีไม่สามารถเอาตัวรอดจากกฎเกณฑ์ของวิวัฒนาการที่ว่า "มีแต่ผู้ที่แข็งแรงหรือฉลาดกว่าเท่านั้น จึงจะ อยู่รอดได้"

    จากการลองประมาณการคร่าวๆ พบว่าหุ่นยนต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในยุคสมัยสามสิบปีข้างหน้าจะมี ประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิมถึงล้านเท่า ถึงแม้ว่าประดิษฐกรรมเหล่านั้นล้วนเปราะบาง และไม่มีอะไรที่น่าจะเรียกว่าเป็นความฉลาดได้ (ด้วยพื้นฐานความคิดว่า คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์นั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ไม่ใช่ ถูกสร้างมาเพื่อให้คิด หรือมีความฉลาด สิ่งที่ฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์เหล่านั้นทำได้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มนุษย์โปรแกรมให้ มันทำเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่พวกมันจะรู้จักคิดรู้จักสร้างได้เองเลย ) แต่ก็น่าสงสัยว่ามนุษย์เราอาจจะตีค่าความฉลาดของตัวเอง ไว้สูงเกินไปหรือไม่ ?? และจะเป็นการดีกว่าไหม หากเราจะตริตรองอย่างรอบคอบก่อนที่จะเริ่มคิดค้นวิจัยอะไรต่อไป ??
     
  6. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    upload_2018-5-16_17-25-49.jpeg
    “พันธุวิศวกรรม” เมื่อมนุษย์ทำหน้าที่ของพระเจ้า


    หากลองใคร่ครวญให้ดี ก็จะพบว่าโลกเราที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ได้รับการหล่อหลอมมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป การที่จะมีหรือไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดล้วนเป็นผลมาจากการคัดเลือก และทดสอบอย่างพิถีพิถันจากธรรมชาติ (หรือที่พวกคริสเตียนว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า) มนุษย์จึงไม่ควรจะใช้ความรู้ที่มีแต่ความฉลาด (อาจไม่มีความเฉลียว) เข้าไปดัดแปลง แก้ไขมันตามอำเภอใจ

    44279-1294980614-860845a8af898e70b23690947c6f579b.gif

    อีกอย่าง เราต้องไม่ลืมว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าพืชนี้มีปรากฏบนพื้นโลกมาก่อนการกำเนิดของมนุษย์ นับเป็นล้านๆ ปี ดังที่นักวิทยาศาสตร์หลายๆ สำนักได้ประมาณการกันว่ามีพืชพรรณบนพื้นพิภพมานานราวๆ พันแปดร้อย ล้านปีแล้ว บรรดาพืชพรรณที่มีอยู่บนผืนโลกนี้ล้วนค่อยๆ วิวัฒนาการ และค่อยๆ ปรับตัวตนของมันให้สอดคล้องกับ กฏเกณฑ์ตามธรรมชาติที่ นั่นคือ จะต้องมีความทนทรหดพอสมควร ไม่งั้นคงไม่สามารถรอดพ้นจากวิกฤตการณ์สารพัดมา ได้ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะน้ำท่วมโลก การพุ่งชนของอุกกาบาต แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปรกติ ของสัตว์กินพืช และสัตว์ที่พืชจะใช้เป็นพาหะในการสืบพันธุ์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพืชจะสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตใหญ่ๆ ของโลกมาได้โดยตลอด แต่ไม่อาจปรับตัวให้อยู่รอดจากการคุกคามของสิ่งมีชีวิต ที่เรียกว่ามนุษย์ได้ ทั้งๆ ที่ การเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์จากการอยู่ในถ้ำและ ไล่ล่าหาเนื้อสัตว์มาบริโภค มาเป็นการทำไร่ไถนาและปลูกเรือนอยู่ นับไปนับมา ก็เพิ่งได้ระยะเวลาราวๆหนึ่งหมื่นปีเท่านั้นเอง แต่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้กับพืชพรรณบนโลกที่ผ่านวิวัฒนาการมานานานับล้านปีได้อย่างมหาศาล

    พันธุ์ พืชจำนวนมากมายต้องสูญพันธุ์ลงไปเพราะการคุกคามของสังคมมนุษย์ทั้งโดย เจตนา และความสัพเพร่ามนุษย์ได้เข้าไปบงการและกำหนดคุณค่าของพันธุ์พืช เสียใหม่ตามแต่รสนิยม และความต้องการบริโภคของตนเอง โดยแทบไม่เคยได้ใส่ใจเลยว่าธรรมชาติมีเหตุผลเช่นไรในการกำหนดให้พืชชนิดหนึ่งมีมาก ชนิดหนึ่งมีน้อย หรือพืชแต่ละชนิดควรจะปรากฏอยู่บน ตำแหน่งใดของพื้นผิวโลก ฯลฯ กว่าที่มนุษย์จะเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศน์วิทยา และความหลากหลายทาง ชีวภาพก็ออกจะเริ่มจะสายไปเสียแล้ว การศึกษาด้านชีววิทยา และเกษตรกรรมของมนุษย์นั้น ดูจะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ที่ให้ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่าจะเป็นไปเพื่อการศึกษาหาความรู้จากมัน ซึ่งเมื่อใช้หลักเกณฑ์เรื่องความคุ้มค่าในเชิง เศรษฐกิจมาจับเสียเช่นนี้แล้ว การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ก็จึงเป็นไปเพื่อการตอบสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าวเสียหมดเวลาคัดเลือกพันธุ์พืชก็ไม่ได้มองว่ามันเหมาะสม (fittess) กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน แต่จะมองเพียงว่ามันให้ผลผลิต ที่อุดมสมบูรณ์ (fattess) พอจะทำกำไรได้มากน้อยขนาดไหน และเมื่อความคิดที่มองเห็นแต่เงินตราและวัตถุเป็นเป้าหมาย ของการพัฒนาหนักข้อขึ้น เทคโนโลยีการเกษตรก็เลยข้ามจากจุดที่ต้องการพืชซึ่งให้ผลผลิตมากพอเลี้ยงประชากรทั้งโลก ไป ถึงขั้นที่จะพัฒนาพืชซึ่งสามารถจดสิทธิบัตร และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ (Patentable) จนท้ายที่สุด ก็ยากจะคาดการณ์ ได้ว่าความเห็นแก่ได้และความฉลาดแกมโกงของมนุษย์จะนำพาอนาคตของพืชพรรณต่างๆ ไปยังจุดใดกันแน่ จะเหลือพืชแค่ ไม่กี่สายพันธุ์เท่าที่ความรู้อันน้อยนิดของมนุษย์จะเชื่อว่ามันเหมาะกับการบริโภค หรือจะเหลือแค่พันธุ์พืชที่องค์กรธุรกิจขนาด ใหญ่สามารถครอบครองลิขสิทธิในการผลิตเพื่อจำหน่ายได้เท่านั้น

    images?q=tbn:ANd9GcRaPT3kJ5OQ2ZmYIGBSUITnqjaD9zKUrSj6Fk85Qrlots8ageZ2zQ.jpg

    ว่ากันว่ากว่าครึ่งหนึ่งของถั่วเหลืองที่บริโภคกันอยู่ทั่วโลกปัจจุบันนี้เป็นถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดต่อสาร พันธุกรรม ในขณะที่สัดส่วนของข้าวโพดตัดต่อสารพันธุกรรมอาจจะมีน้อยกว่าเล็กน้อย คือมีอยู่แค่ราวๆ 30 % ของผลผลิต ข้าวโพดทั่วโลก จึงมีความเป็นไปได้ว่าท่านผู้อ่านอาจจะได้เคยลิ้มรสอาหารแฟรงเก้นสไตน์เหล่านี้กันไปบ้างแล้วโดยไม่รู้ตัว เพราะพืชพรรณที่ถูกดัดแปลงสารพันธุกรรมเหล่านี้มักจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย พอให้มีลิขสิทธิ์ที่ไม่ซ้ำซ้อนกับของ คนอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็จะต้องให้มีรูปลักษณ์ไม่ต่างไปจากสภาพของพืชพรรณธัญญาหารปรกติที่ชาวบ้านชาวช่องเขา คุ้นเคยกัน ซึ่งก็เป็นเหตุผลให้รัฐบาลประเทศกลุ่มยุโรปออกมารณรงค์ให้มีการติดฉลากแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคทราบว่า ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายอยู่แต่ละชนิดนั้นมีส่วนผสมที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุกรรมบ้างหรือไม่ (บางคนมองว่า การ กำหนดให้ติดฉลาก GMOs เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการกีดกันทางการค้า) เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์พืชโดยอาศัยการดัดแปลงสารพันธุกรรมได้ก่อให้เกิดการแตกแยกทางความคิดครั้ง สำคัญในหมู่นักวิทยาศาสตร์ มีทั้งกลุ่มที่ต่อต้านและกลุ่มสนับสนุน กลุ่มสนับสนุนพืชดัดแปลงสารพันธุกรรมมักจะอ้าง เหตุผลว่ามันช่วยตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกที่ยังคงมีประชากรนับเป็นล้านๆ คนต้องอยู่ในสภาวะทุพ โภชนาการ และยังมีผู้คนในอีกหลายๆ ประเทศที่ต้องอยู่ในสภาพแร้นแค้นขาดแคลนซึ่งอาหารจะบริโภค การออกแบบพืช พรรณให้มีผลผลิตมากๆ และทนต่อสภาพแวดล้อม/หรือศัตรูพืชน่าจะเข้ามาตอบสนองความต้องการของโลกได้เป็นอย่างดี ในขณะที่กลุ่มต่อต้านก็มีเหตุผลที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่ากัน โดยระบุว่าสาเหตุของการขาดแคลนอาหารใน โลกนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผลมาจากการผลิตอาหารได้ไม่พอ แต่มักจะเป็นผลมาจากการกระจายทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม มากกว่า เพราะยังคงมีประชากรบางประเทศบริโภคอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย กินทิ้งกินขว้าง
    upload_2018-5-16_17-36-6.jpeg
    ยกตัวอย่างเช่นประเทศ สหรัฐอเมริกานั้นมีการบริโภคทรัพยากรไปมากถึง 20 % ของอัตราการบริโภคทั่วทั้งโลก อีกทั้งเป้าหมายของการพัฒนา ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทั้งหลายนั้นดูจะมุ่งไปที่ความมั่งคั่งด้านการเงินของผู้ผลิตมากกว่าจะให้ความสำคัญกับปากท้องของคนยาก คนจน ดังจะสังเกตุได้จากการพยายามทำให้สินค้าพืชพรรณจีเอ็มโอของตนมีสภาพที่ไม่เหมาะจะนำไปผลิตซ้ำ เพื่อกันการ ละเมิดลิขสิทธิ และบังคับให้เกษตรกรต้องซื้อหาพันธุ์พืชจากบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงอย่างเดียว

    ที่ร้าย คือ กลุ่มนักวิจัยที่พัฒนาชีวิตกลายพันธุ์เหล่านี้อาจจะสนุกสนานเพลิดเพลินกับจินตนาการของตน จนค่อนข้างจะเกินเลยไปมากเมื่อเทียบกับการผสมข้ามพันธุ์ หรือการกลายพันธุ์ทางธรรมชาติ มีการเที่ยวเอาสารพันธุกรรม จากสัตว์ไปใส่ในพืช จากในพืชไปใส่ในแบคทีเรีย เพียงเพราะอยากจะได้สิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ที่คุณสมบัติตามความต้องการของตนเท่านั้น เช่นเอายีนส์ทนอากาศหนาวของปลาไปใส่ให้กับต้นสตรอเบอร์รี่ โดยการเอายีนส์ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปเที่ยวปะ เข้ากับโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งนั้น ผู้วิจัยแทบไม่เคยศึกษาทำความเข้าใจเลยว่ายีนส์แต่ละอย่างภายในโครโมโซม นั้นมีความสัมพันธ์อย่างไรระหว่างกันบ้าง
    %B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2.jpg

    นอกจากนั้น หากจะตีความกันจริงๆ แล้ว การเรียกเทคนิคการตัดต่อยีนส์ดังกล่าวว่า Genetic Engineering หรือ พันธุวิศวกรรม นั้นออกจะเป็นการเรียกชื่อที่คลาดเคลื่อนไปมิใช่น้อย เพราะสิ่งที่ถูกย้ายไปมานั้นแท้จริงแล้วเป็นแค่ ยีนส์ (Gene) ไม่ใช่พันธุกรรม (Genetics) ในขณะที่การใช้คำว่าวิศวกรรม (Engineering) นั้นควรจะหมายถึงศาสตร์ที่ผ่าน การศึกษาถึงกลไกต่างๆ จนทะลุปรุโปร่ง ก่อนที่จะเริ่มตัดสินใจออกแบบกระบวนการดัดแปลงสารพันธุกรรมเพื่อให้เป็นไป ตามประสงค์ ไม่ใช่แค่อยากได้ยีนส์ตัวไหนก็ไปตัดมาปะใส่ในโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่ง ที่มันเป็นแค่งานตัดๆ ปะๆ (patchwork) เหมือนงานช่างบัดกรีมากกว่าที่จะเป็นงานของวิศวกร และเนื่องจากการตัดต่อยีนส์ส่วนใหญ่นั้นแทบจะไม่ได้มีการศึกษาถึงความสัมพันธุ์ระหว่างยีนส์แต่ละตัว ผล ลบที่ไม่เด่นชัดอันสืบเนื่องมาจากการวางยีนส์ใหม่เข้าไปผิดที่ผิดทางจึงไม่ค่อยจะได้รับความสนใจ และผลร้ายในระยะยาวก็ อาจจะไปปรากฏหลังจากการทดลองเกิดขึ้นไปแล้วนานนับเป็นปีๆ ตามแต่ว่าสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงยีนส์นั้นจะมีช่วงอายุยืน ยาวมากน้อยขนาดไหน หรือบางครั้งหากไม่ออกฤทธิ์ในช่วงอายุของมัน ก็ให้สงสัยว่าจะไปออกฤทธิ์ในชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่ง บางครั้งก็นานจนสายเกินที่จะแก้ไขเยียวยาภัยแอบแฝงเหล่านี้ไปแล้วก็เป็นได้

    ยกตัวอย่างเช่น ยีนส์ที่ทนต่อยาฆ่าวัชพืชที่เติม เข้าไปในต้นฝ้าย ด้วยเจตนาเพื่อให้สามารถปลูกไว้ในแปลงที่มีการฉีดยาฆ่าวัชชพืชไว้ได้นั้น หากถูกผสมข้ามพันธุ์ไปสู่ วัชชพืชบางประเภท มันก็อาจจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของวัชชพืชดื้อยาติดตามมาอย่างมหาศาล การแข่งขันกันพัฒนาสิ่งมีชีวิตชนิดฝืนธรรมชาติต่างๆ นานาออกมาของบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ทำให้ เป็นเรื่องน่ากังวลว่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่พิสดารและอาจจะสร้างผลกระทบในเชิงลบกับสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติประเภทอื่นๆ หลุด ออกมาเพ่นพ่านบ้างหรือไม่ เพราะเมื่อนักวิจัยพากันเร่งรัดกระบวนการทำงานของตนเพียงเพื่อจะได้ชื่อว่าทำได้ก่อนใครในโลก
    images?q=tbn:ANd9GcQv3OatysE_1b1Vh-BSZY8zvPSG8Y45xg0uiU8F8ktTyMbZOeoLuQ.jpg

    ก็อาจจะหลงละเลยประเด็นผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น แต่นั่นยังถือเป็นการมองโลกในแง่ที่ดีมาก เพราะต้องไม่ลืม ว่าจิตใจมนุษย์อันหยาบหนาและเต็มไปด้วยกิเลสนั้นยากที่จะหยั่งได้ ดังจะเห็นได้จากประวัติศาสตร์ซึ่งสอนเรามาโดยตลอด ว่า อัจฉริยะโรคจิตนั้นมีกำเนิดขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย และมันคงเป็นโศกนาฏกรรมอันใหญ่หลวง หากมีอัจฉริยะโรคจิตเลือกใช้ วิธีเผยแพร่เชื้อโรคตัดต่อสารพันธุกรรมเพื่อทำลายล้างชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง แทนที่จะเป็นแค่การกระจายไวรัส คอมพิวเตอร์ การวางระเบิดสถานที่สาธารณะ หรือการปล่อยแก๊สพิษในสถานีรถไฟใต้ดิน ฯลฯ อย่างเราได้เคยหวาดผวากัน มาแล้วในอดีต
     
  7. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    %E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A3.jpg

    ดาบสองคมของเทคโนโลยี

    มนุษย์ยุคปัจจุบันนั้นดูจะไม่ค่อยวิตกกังวลถึงผลด้านลบของเทคโนโลยี ทัศนคติที่มนุษย์สมัยนี้มีต่อสิ่งของที่ เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ดูจะเป็นไปในเชิงบวกเสมอ และมักจะพร้อมยอมรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายๆ โดยไม่ค่อยจะมีการตั้งคำถามกับตัวเองเสียด้วยว่าทำไมถึงต้องใช้ไอ้ของใหม่ๆ เหล่านี้ เรียกว่า รู้สึกโก้เก๋หากจะมีใครชื่นชมว่าเป็นคนรุ่นใหม่ คนทันสมัย จนกลัวจะเสียหน้าถ้าต้องถามถึงเหตุผล (อย่างใกล้ตัวเรานี้ก็ได้แก่ การที่ พลเมืองไทยพร้อมจะเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา ทั้งที่เครื่องเก่าก็ยังคงใช้งานได้ดี หรือการเทคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองที่ใช้สโลแกน “คิดใหม่ ทำใหม่” มาเป็นรัฐบาล และพร้อมจะยอมรับแนวคิด และนโยบาย ที่ดูเหมือนเป็นของใหม่ๆ ซึ่งรัฐบาล นำเสนอออกมาให้ด้วยความชื่นชม) อย่างไรก็ตาม ตัวเทคโนโลยีเองก็เป็นเพียงวัตถุธรรมที่จะนำไปสู่เป้าหมายเท่านั้น เปรียบเหมือนดาบที่มีทั้ง สองคม หากใช้ถูกใช้ดี ก็จะนำไปสู่โลกอุดมสุข แต่หากมัวเมา ใช้ไม่ระวัง ก็บาดมือผู้ใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างของข้อผิดพลาดอันไม่ตั้งใจของมนุษย์นั้นได้แก่ การโหมใช้ยาปฏิชีวนะกันอย่างบ้าคลั่งไร้การควบคุม จนสุดท้ายได้ก่อให้เกิด ปัญหาที่หนักนากว่าปัญหาโรคติดต่อเดิมๆ ที่มนุษย์ต้องเผชิญ นั่นคือ การดื้อยาอย่างมโหฬารของประดาเชื้อโรค และการ ก่อกำเนิดของเชื้อโรคชนิดใหม่ที่อันตรายยิ่งขึ้นกว่าเดิม (วิวัฒนาการของ เอดส์ ซาร์ส หรือไวรัสไข้หวัดนก ฯลฯ นั้น ก็คงไม่มีใครกล้ายืนยันได้ว่า ไม่มีเรื่องของเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้อง) หรืออย่างการโหมใช้ดีดีทีเพื่อกำจัดยุงที่เป็นพาหะของเชื้อ มาเลเรียนั้นก็นำมาซึ่งยุงที่เดื้อต่อดีดีที และตัวเชื้อมาเลเรียที่เดื้อต่อยาฆ่าเชื้อสารพัดชนิด (เมื่อแรกที่ ดีดีที และยาทาลิโดไมน์ ถูกคิดค้นขึ้นได้นั้น โลกรับรู้และรู้จักพวกมันแต่ในแง่ของคุณประโยชน์ กว่าจะตระหนักถึงผลร้ายอันเหมือนดาบคมที่ หันใส่ชาวโลก ก็ต้องใช้เวลาร่วมทศวรรษ)

    ประสบการณ์ของมนุษยชาติคือสิ่งที่บอกให้เรารู้ได้อย่างชัดเจนว่า ผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์ซึ่งมนุษย์เองไม่ เคยได้คาดการณ์ไปถึงเหล่านั้น มักมีสาเหตุมาจากกลไกทางธรรมชาติอันสลับซับซ้อน เกี่ยวพันถึงปฏิกิริยาระหว่าง องค์ประกอบต่างๆ จำนวนมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการมันย่อมส่งผลกระทบ และมี ผลตอบสนองมาจากองค์ประกอบอื่นๆ ติดตาม ยิ่งกลไกมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งจะคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ ของการเปลี่ยนแปลงได้ยากเย็นมากขึ้นเท่านั้น และจะยิ่งคาดเดาผลลัพธ์แทบไม่ได้เลยหากในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวมีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย (พูดง่ายๆ ว่าเมื่อไรมีคนเข้ายุ่งด้วย มันก็จะคนกันจนยุ่ง จนไม่รู้ว่าจะได้ผลออกมายังไง นั่นแหล่ะ)
    male-in-lab-looking-through-microscope.jpg
    อย่างในศตวรรษที่แล้วนั้น (คริสตศวรรษที่ 20) มนุษย์เองก็เคยต้องวิตกกังวลกับประดาอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ มีขีดความสามารถในการทำลายชีวิตมนุษย์ทีละมากๆ (WMD: Weapons of Mass Destructive) อย่างเทคโนโลยีนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี ซึ่งในตอนแรกผู้ค้นคว้ามักจะอ้างว่าพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ ต่อมาเมื่อต้อง ประดิษฐ์ขึ้นมาในรูปอาวุธก็อ้างว่ามีเจตนาเพื่อขู่และป้องกันไม่ให้เกิดสงครามมากกว่าจะหวังใช้งานจริงๆ แต่ในที่สุดก็มีการ ใช้ระเบิดปรมาณูของจริงที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ส่วนอาวุธเคมีและชีวภาพนั้นก็มีข่าวที่ไม่ยืนยันว่าถูกนำมาใช้จริงในหลายๆ สมรภูมิ (เรื่องฮิโรชิมา และนางาวากินี้ติดใจผู้เขียนมานาน ด้วยเคยสงสัยว่าหากสหรัฐอเมริกาจะใช้วิธีทิ้งระเบิดลงไปบน เกาะร้างข้างญี่ปุ่นเพื่อขู่จะได้ผลเหมือนกันไหม หรือถ้าคิดว่าจำเป็นต้องทิ้งใส่ผู้คนจริงๆ ทำไมแค่ฮิโรชิมาไม่พอ ทำไมต้อง เอาชีวิตผู้คนตาดำๆ ในนางาซากิมาสังเวยด้วย และถ้าหากในขณะนั้นสหรัฐก้าวหน้าพอที่จะพัฒนาอาวุธชีวภาพที่ฆ่าคนผิว เหลืองตาตี่ๆ อย่างญี่ปุ่นได้ทั้งโลก ทีมงานวิจัยของสหรัฐฯ จะนำออกมาใช้ไหม ?) อย่างไรก็ตาม ความกังวลของในเรื่องสงครามเย็น อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมีนั้นยังเป็น เรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากต้องใช้ทุนทรัพย์สูง ต้องใช้วัตถุดิบเฉพาะซี่งอยู่ภายใต้การควบคุม หลายชั้นไม่ใช่ใครต่อใครจะมีไว้ครอบครองได้โดยง่าย มีแต่หน่วยงานขนาดใหญ่ของรัฐเท่านั้นที่จะมีสิทธิครอบครอง เพราะมี ทั้งรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลประเทศ (หรือรัฐบาลสหพันธรัฐ) และตำรวจโลกคอยถือไม้เรียวกำชับอยู่ถึงสามชั้น อีกทั้งยังต้องใช้ แรงงานเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตจำนวนมากอีกด้วย

    จนอาจกล่าวได้ว่ามหันตภัยแห่งศตวรรษที่ 20 (WMD) นั้นเป็น เรื่องของรัฐต่อรัฐ หากจะมีการนำมาใช้จริงก็จะต้องเป็นข้อผิดพลาดที่ค่อนข้างวิกฤตจริงๆ (อย่างกรณีอินเดีย-ปากีสถานนั้น เข้าใจว่าคงจะยังไม่วิกฤตจริง เพราะได้แต่ฮึ่มๆ ขู่กันไปขู่กันมา )ผิิดกับมหันตภัยยุคใหม่อย่างเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์ ซึ่งห้องแล็บดีๆ สักห้องก็อาจจะมีไว้ครอบครองได้ใน อนาคต เพราะของพวกนี้อาศัยการขวนขวายหาความรู้เป็นกระบวนการผลิต ไม่จำเป็นต้องไปสั่งซื้อหรือนำเข้าวัตถุอันตราย อะไรมาให้เป็นที่ผิดสังเกตุของรัฐ เผลอแผล็บเดียวโลกเราก็อาจจะมีสิ่งประดิษฐ์จากเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์อยู่ทั่วไปในทุกห้องแล็บ

    และเมื่อวันนั้นมาถึง ใครจะเชื่อได้ว่าไม่มีคนสัพเพร่า หรืออัจฉริยะเพี้ยนอยู่ในห้องแล็บใดห้องแล็บหนึ่งทำการพัฒนา ผลิตผลที่สามารถพัฒนาตัวเอง (self-assembling) เพิ่มปริมาณได้เอง (Self Replicating) จนกระทั่งกลายมาเป็นอาวุธมหา ประลัยที่พร้อมจะล้างมนุษย์ให้สิ้นเผ่าพันธุ์ลงไปได้เสียในทีเดียว เป็นอาวุธประลัยกัลป์ที่เกิดมาจากความแสนรู้ (KMD : Knowledge-enabled mass destruction) แต่ไม่เป็นผู้รู้ของมนุษย์เอง ฉนั้น หากมนุษย์ยังคงติด นิสัยการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ปัญหาใหม่ๆ (technofix) เช่นที่เกิดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เช่นนี้แล้วล่ะก็ ความกังวลเรื่องการสูญพันธ์จากความแสนรู้ของมนุษย์เอง ก็คงมี โอกาสปรากฏเป็นจริงขึ้นมาได้ในเร็วนี้ !!!! (คำว่า Technofix นี้แปลเป็นไทยแบบง่ายๆ น่าจะเทียบได้กับคำว่า "การแก้ปัญหาแบบ นักเทคโน" ซึ่งเป็นคำที่ใช้พูดประชดประชัน ประดานักเทคโนโลยีทั้งหลาย ในทำนองว่า พวกนี้ถนัดที่จะนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มา แก้ปัญหาเพียงเพื่อจะให้เกิดปัญหาใหม่ที่ หนักหนาสาหัสกว่าเดิมขึ้นมาแทน เพราะ นักเทคโนส่วนใหญ่มักจะมีความรู้ลึกซึ้ง เฉพาะด้าน (พูดให้ชัดคือ รู้ลึกแต่แคบ) จึงมองปัญหาได้ไม่ครอบคลุม มุ่งแต่จะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เผชิญอยู่โดยไม่ คำนึงถึงผลกระทบด้านอื่นๆ (หรือคำนึงถึง บ้างก็ไม่เข้าใจ เพราะความรู้ที่คับแคบของ ตนเองไม่เอื้อให้เข้าใจ) เช่น ถ้าเดินสายไฟ สายโทรศัพท์ไปเจอต้นไม้ใหญ่อายุหลายร้อยปี พวกนักเทคโนก็พร้อมจะตัดต้นไม้ที่ ขวางทางทิ้งเพื่อประหยัดต้นทุนในการเดินสายมากที่สุด โดยไม่ได้สนใจถึงผลกระทบอื่นๆ ที่จะติดตามมาไม่ว่าจะเป็นคุณค่าของต้นไม้ใหญ่ในเชิงนิเวศวิทยา เชิงสังคม หรือเชิงวัฒนธรรม และหากมองให้ไกลออกไปจากตัวอย่างที่ยกขึ้นมา เราก็จะ เห็นวิธีการแก้ปัญหาแบบนักเทคโนนี้อยู่กลาดเกลื่อนทั่วไป



    ยกตัวอย่างเช่นการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำจนนำไปสู่ภาวะ น้ำท่วมในหลายๆ ท้องที่ในเมืองไทย และ การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่สามเขื่อน ในประเทศจีน เพื่อกักเก็บน้ำจืดอันถือเป็น ทรัพยากรที่กำลังจะมีค่ามากที่สุดในโลก จนนำไปสู่ปัญหาน้ำแห้งขอดในแม่น้ำโขงส่วนที่ผ่านไทย และลาว ส่วนปัญหาที่ ซับซ้อนและน่าสงสัยคือ เหตุการณ์วิบัติภัยทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นถี่ยิบในรอบหลายปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นวิบัติภัย ทซึนามิ แผ่นดินไหว พายุหิมะ ไฟป่าที่รุนแรงผิดปรกติ หรือ พายุถล่มชายฝั่ง ฯลฯ นั้น มิได้มีผลสืบเนื่องจาก ประดาเทคโนโลยี สมัยใหม่ทั้งหลาย ที่มนุษย์ระดมโถมใส่โลกที่ตนเองอาศัยอยู่
     
  8. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    iStock-499257168.jpg

    อหังการของนักวิทยาศาสตร์

    ความอหังการของมนุษย์ที่นำไปสู่ความเสียหายระดับที่อาจล้างโลกได้นี้ มิใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยมาก่อน เป็นสิ่งที่โลกเคยรับรู้มาแล้วทั้งสิ้น แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ก็มัวเมาเสียจนไม่เคยคิดที่จะศึกษาอดีต
    istock-470309868-1492797983.jpg

    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเห็น จะเป็นเรื่องของการพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ (Atomic Bomb) แล้วส่งผลให้มนุษย์เราต้องแข่งขันกันพัฒนาและสะสมอาวุธกัน ขนานใหญ่ เพียงเพื่อจะได้มาซึ่งฝันร้ายที่คอยหลอนหลอกเรามาตลอดทั้งศตวรรษ นับแต่ครั้งที่ระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกถูก พัฒนาขึ้นโดยอัจฉริยะด้านฟิสิกส์ เจ รอเบิร์ต ออพเพนไฮมม์เมอร์ ผู้ซึ่งไม่เคยได้มีความสนใจเรื่องราวการเมืองมาก่อนเลยใน ชีวิต จนกระทั่งถูกคุกคามจากอาณาจักรไรซ์ที่สามของรัฐบาลนาซี ต้องระหกระเหินมาอาศัยชายคาของสหรัฐที่เมือง ลอส อลาโมส เป็นที่หลบตาย ด้วยความกลัวว่าหากฮิตเลอร์มีระเบิดนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองจะเท่ากับพยัคฆ์ติดปีก ทำให้ ออพเพนไฮมม์ เมอร์ ระดมสติปัญญาทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ในเชิงฟิสิกส์ หรือความเป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญในการชักจูงใจคน โหม เร่งพัฒนาลูกระเบิดมหาประลัยของโลกออกมาจนสำเร็จได้ภายในชั่วระยะเวลาที่สั้นมาก จนเป็นเรื่องน่าคิดว่า หากไม่มี สถานการณ์สงครามโลกมาบีบบังคับ อัจริยะด้านฟิสิกส์คนนี้จะสามารถคิดค้นและพัฒนาอาวุธทำลายโลกชนิดนี้ออกมาได้เร็ว ขนาดนี้หรือเปล่า ?

    และที่น่าคิดมากยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ หลังจากที่อาณาจักรไรซ์ที่สามพ่ายแพ้แก่สัมพันธมิตรในวันเผด็จศึก (VE day) ซึ่งก็เท่ากับภาวะคุกคามที่มีต่อจิตใจของออพเพนไฮมม์และทีมงานวิจัยได้ถูกถอดถอนออกไปแล้ว ทำไมทีมงาน นักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ยังคงขมักเขม้นกับการผลิตลูกระเบิดมหาประลัยกันต่อไป ??

    มีเรื่องเล่ากันว่ามีนักฟิสิกส์บางคนในทีมเสนอให้หยุดโครงการลง แต่ตัวหัวหน้าทีมคือ ออพเพนไฮมม์เมอร์ เสนอว่าควรจะดำเนินการวิจัยต่อ โดยให้เหตุผลว่าฝ่ายสหประชาชาติควรจะได้มีความรู้เรื่องระเบิดนิวเคลียร์ก้าวหน้ากว่าฝ่าย ตรงข้าม อีกทั้งทีมงานยังได้ดำเนินการทดลองมาจนใกล้จะได้เห็นผลงานออกมาเป็นรูปร่างแล้ว หากจะหยุดยั้งเสียกลางคัน ก็ คงน่าเสียดายเป็นอย่างมาก

    พวกเขาจึงได้ทดลองต่อไปจนสามารถนำไประเบิดนิวเคลียร์ไปทดลองประสิทธิภาพได้เป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อโครงการทรีนิตี้ (Trinity) แต่โครงการทรีนิตี้เกือบจะไม่มีโอกาสได้เกิดเมื่อ เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ ทดลองค านวนดู ผลลัพธุ์ของระเบิดไว้ล่วงหน้าได้ผลว่ามันอาจจะส่งผลให้บรรยากาศของโลกบางส่วนถูกทำลายลง และจะก่อให้เกิดผลเสีย อย่างมหาศาลจนไม่คุ้มกับการทดลอง ต่อมาเมื่อทีมงานลองคำนวนซ้ำอีกครั้ง กลับปรากฏว่าโอกาสที่ระเบิดนิวเคลียร์จะมี ผลกระทบต่อโลกนั้นถูกลดลงไปเหลือแค่น้อยนิด กระนั้นเพื่อความปลอดภัยของประชาชน ออพเพนไฮมม์ได้เสนอให้รัฐบาล อพยพเคลื่อนย้ายประชาชนออกจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐนิวเม็กซิโก ก่อนที่จะได้ดำเนินการทดลอง

    หลังจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่ทรีนิตี้ได้เพียงหนึ่งเดือน รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ตกลงใจจะใช้ระเบิด นิวเคลียร์กับญี่ปุ่นที่เมือง ฮิโรชิมา และนางาซากิ ทั้งๆ ที่มีนักวิจัยบางคนเสนอให้แค่สาธิตประสิทธิภาพความรุนแรงของ ระเบิดให้กับญี่ปุ่นก็น่าจะเพียงพอที่ขู่ให้ญี่ปุ่นหยุดยั้งการบุกยึดครองเอเชีย และแปซิฟิคลงไปได้แล้ว แต่เพราะความแค้นเคือง ที่มีต่อเหตุการณ์โจมตีฐานทัพเพิร์ล ฮาเบอร์ที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ยังคงระอุอยู่ในใจของพลเมืองสหรัฐฯ ในขณะนั้น ทำให้รัฐบาลกรุงวอชิงตันต้องหาทางทำอะไรสักอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ลงคะแนนเสียงของตน

    เมื่อบวกกับเหตุผล อีกข้อว่าสหรัฐฯ ต้องการจะหยุดสงครามและความเสียหายที่เผชิญอยู่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ก็ทำให้ลูกระเบิดนิวเคลียร์ถูก นำไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา แต่คำถามที่ยังมีต่อไปอีกก็คือ ทำไมหลังจากฆ่าพลเมืองตาดำๆ ของญี่ปุ่นไปนับหมื่นที่ฮิโรชิมาแล้ว ทำไมสหรัฐฯ ยังต้องฆ่าเพิ่มที่นางาซากิอีก คำถามนี้ดูเหมือนจะไม่มีคำตอบ นอกจากคำให้การในภายหลังของ ฟรีแมน ได สัน ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานสร้างอาวุธมหาประลัยที่ระบุว่า "เหตุผลที่ระเบิดถูกทิ้งลงไปนั้นเป็นเพียงเพราะว่าไม่มีใครมีความกล้า หรือมองการณ์ไกลเพียงพอที่จะบอกได้ว่า "อย่า""
    fat-man-atomic-bomb-replica-P.jpg

    การทิ้งระเบิดปรมาณูเมืองฮิโรชิมาในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 นั้น ได้ สร้างความตื่นตะลึงกับบรรดานักฟิสิกส์ที่ร่วมผลิตอาวุธมหาประลัยดังกล่าวเป็นอย่าง มาก ความรู้สึกแรกคือความภูมิใจที่โครงการซึ่งเพียรพยายามทำมานานสามารถ ทำงานได้ผลจริง แต่ต่อมากลับกลายเป็นความสลดหดหู่เมื่อตระหนักว่ามีประชาชน พลเมืองจำนวนมากต้องถูกสังเวยให้กับความสำเร็จดังกล่าว พวกเขาตกลงกันว่าไม่ ควรจะมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์อีก แต่หลังจากนั้นเพียงสามวัน ระเบิดปรมาณูอีก ลูกก็ถูกทิ้งลงที่เมืองนางาซากิโดยไม่มีใครให้คำอธิบายว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ขึ้นได้

    ด้วยความไร้เหตุไร้ผลดังกล่าว ทำให้สาธารณรัฐโซเวียตรัสเซียซึ่งเป็นอีก มหาอำนาจหลักของโลกยุคสงครามเย็น ต้องเร่งพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของตนเองขึ้นมา บ้าง จนประสบความสำเร็จในสามปีถัดมา

    maxresdefault.jpg

    และเมื่อถึงปี ค.ศ. 1955 ทั้งสองยักษ์ ใหญ่คือ สหรัฐฯ และโซเวียตฯ ต่างก็พร้อมจะทดสอบอาวุธชนิดใหม่ที่เรียกว่าระเบิดไฮโดรเจน มหันตภัยลูกย่อมๆ ที่สะดวก พร้อมสำหรับการขนไปทิ้งที่ไหนก็ได้ตามอัธยาศัย และนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาโลกเราก็ไม่เคยหยุดอกสั่นขวัญหายกับอาวุธ มหาประลัยชนิดนี้อีกเลย ด้วยความตระหนักในการคุกคามจากภัยนิวเคลียร์ ทำให้กองบรรณาธิการวารสาร The Bulletin of Atomic Scientists ได้แสดงภาพนาฬิกาที่นับถอยหลังสู่วันโลกาวินาศ (Doomsday Clock) ไว้บนหน้าปกวารสารของตนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 นับจากวันนั้น เข็มนาฬิกาโลกาวินาศถูกขยับเดินไปทั้งหมด 16 ครั้งตามจำนวนเหตุการณ์เผชิญหน้าระหว่าง มหาอำนาจนิวเคลียร์ซึ่งสัมพัทธ์กับอันตรายที่มนุษยชาติต้องเผชิญ ปัจจุบัน ตัวเข็มนาฬิกาถูกปรับให้เลื่อนเข้าใกล้ตัวเลข 12 นาฬิกาที่ถือกันว่าเป็นเวลาโลกาวินาศเข้าไปเรื่อยๆ (เข็มขยับเดินครั้งล่าๆ ในปี ค.ศ. 1998 เมื่อมีภาวะขัดแย้งเรื่องดินแดน แคชเมียร์ระหว่างอินเดียและปากีสถาน แต่ล่าสุดนี้ คือเมื่อประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มีการแสดงออกในลักษณะข่มขู่เด็ก ดื้ออย่างเกาหลีเหนือ)

    อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อหายนะโลกที่ว่านี้พิจารณาจากภาวะคุกคามด้านนิวเคลียร์เท่านั้น ยัง ไม่ได้นำเอาภาวะคุกคามอื่นๆ อย่างเรื่องโลกร้อน อุกาบาตชนโลก (อมาเก็ดดอน) หรือโรคระบาดสายพันธุ์ใหม่เข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วย หากคิดเอาเรื่องราวทุกอย่าง (รวมทั้งเรื่องเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์ หากมนุษย์ใช้งานมันอย่างขาดความระมัดระวัง) ก็น่า ใจหายว่ามนุษย์เราช่างใช้ความรู้ในทางทำลายตนเองได้อย่างมหัศจรรย์
     
  9. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    Cover132.jpg
    ราคาของความรู้และกรรมของสังคม


    ขณะที่การเติบโตของเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์ และเทคโนโลยี สมัยใหม่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ฯลฯ ต่างล้วนเป็นไปในอัตราก้าวกระโดด (เอ็กซโปเนนเชี่ยล) จนยากที่ ความสามารถในรับรู้ทำความเข้าใจของมนุษย์แต่ละคน จะติดตามทันได้ มันสมองของมนุษย์สมัยใหม่กับมันสมองของมนุษย์ยุคพุทธกาลเมื่อกว่าสอง พันปีที่แล้วก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ถูกพัฒนาให้แตกต่างไปจากเดิมสักเท่าใด เลย (ใครจะกล้ากล่าวอ้างได้เต็มปากว่าตนเองมีมันสมองที่เฉลียวฉลาดกว่า พระพุทธเจ้า พระเยซู พระโมฮาหมัด ขงจื้อ หรือ เล่าจื้อบ้าง) จนอาจกล่าวได้ว่า สภาพสังคมที่สับสนวุ่นวายในยุคปัจจุบันนี้เป็นเพราะมนุษย์ไม่รู้จะรับมือกับเทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่ถาโถมเข้ามาอยู่ตลอดเวลาให้ถูกต้องและเหมาะสมได้อย่างไร จนบางครั้งก็น่าสงสัยว่ามนุษย์กำลังใช้เทคโนโลยี หรือ ถูกเทคโนโลยีใช้กันแน่จริงอยู่

    การพัฒนาด้านวัตถุและเทคโนโลยีอาจจะทำให้ชีวิตมนุษย์มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย และยืืนยาวขึ้นกว่าเดิม แต่ถามจริงๆ เถอะว่ามนุษย์นั้นมีความสุขมากขึ้นหรือลดลงกว่าเดิม หากมนุษย์มีความสุขมากขึ้นทำไมจึง มีคนจนเข็ญใจอยู่ทั่วไปหมดทั้งแผ่นดิน แถมดูเหมือนช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยจะถูกถ่างออกไปจากเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งคนรวยที่เพียบพร้อมไปด้วยทรัพย์ศฤงคารเองก็ใช่จะมีความสุข เพราะยังต้องลำบากแสวงหาสิ่งกล่อม ต่างๆ มาช่วยทำให้ชีวิตหมดสิ้นไปเป็นวันๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล้า บุหรี่ ยาอี ยาม้า ฯลฯ

    อีกทั้งอัตราการฆ่าตัวตายของประชากร ในประเทศที่ว่ากันว่าพัฒนาแล้วก็ยังเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ทางเดียวที่พอจะปกป้องโลกจากการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปใช้ ในทางที่ผิดก็คือ การปลุกจิตสำนึกของบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ให้ตระหนักถึงคุณค่าทางคุณธรรมและจริยธรรมของ มนุษย์ไว้ให้มาก เพื่อจะได้คอยกำกับสติเวลาที่มีการประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา ไม่ใช่คิดแต่ว่าตนเอง จะทำอะไรได้บ้าง ต้องคิดว่าควรทำหรือไม่ด้วย นักวิทยาศาสตร์อาจจะต้องมีการปฏิญานตนในเรื่องจริยธรรมในลักษณะที่ชัดเจนคล้ายๆ กับที่แพทย์มีการ รักษาจรรยาบรรณแพทย์ (Hippocratic oath) ทั้งควรจะหันมาแสวงหาคุณค่าเดิมๆ ในชีวิตที่บรรพบุรุษเคยค้นพบและสั่ง สอนไว้ในอดีต โดยเฉพาะในแง่ของปรัชญาและศาสนา เพราะในขณะที่ความรู้ในเชิงเทคโนโลยีนั้นแค่เพียงพ้นปีก็ล้าสมัย แต่หัวใจของศาสนานั้นยังคงทันสมัยอยู่เสมอแม้เวลาจะล่วงมานับเป็นพันๆ ปี (พูดแบบภาษาพระก็ต้องว่า ศาสนาที่ถูกต้อง นั้นเป็น "อกาลิโก")

    อย่างไรก็ตาม การชี้ให้เห็นภัยแอบแฝงที่อาจจะเกิดตามมากับการพัฒนาเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์นั้น มิได้ หมายความว่าเราควรจะปฏิเสธการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ เพราะความใฝ่รู้คือคุณค่า พื้นฐานของมนุษย์ ดังที่อริสโตเติ้ลได้เคยกล่าวไว้ว่า "มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีความใฝ่รู้ (All men by nature desire to know)"

    ซึ่งตอกย้ำด้วยคำสอนของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) "ที่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐนั้นเป็นการ อวดอ้างลอยๆ ไม่เป็นความจริง ที่ถูกควรจะพูดว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐเพราะมีการเรียนรู้ได้ หากไม่มีการเรียนรู้มนุษย์ก็ ไม่ได้ประเสริฐไปกว่าสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ เลย" เพราะมนุษย์เมื่อแรกเกิดนั้นด้อยกว่าสัตว์ทุกประเภท ด้วยไม่สามารถปกป้องตนเองได้เลยหากไปทิ้งไว้ที่ ไหนก็คงจะตาย ไม่รู้จักช่วยตนเอง ไม่สามารถหาอาหารกินเอง ต้องอาศัยพ่อแม่คอยฟูมฟักเอาใจใส่ให้การศึกษา สอนให้เดิน และพูด สอนให้รู้จักกับภาษา และการทำมาหากิน จนกระทั่งแน่ใจว่าลูกหลานของตนเองสามารถเลี้ยงตัวได้ จึงปล่อยให้ ออกไปสร้างครอบครัวใหม่ กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นกว่าบรรพบุรุษของตนเอง

    โดยทั้งหมดที่กล่าวมา นี้มิได้หมายความว่าลูกหลานของมนุษย์จะประเสริฐหรือฉลาดกว่าบรรพบุรุษของตนเองจริงๆ แต่เป็นผลจากมรดกทาง ความรู้หรือทุนทางสังคมที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ไม่ต้องไปลองผิดลองถูกหรือประดิษฐ์คิดค้นความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วยตนเอง ซึ่งในเรื่องการศึกษาวิจัยให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ๆ นี้ เป็นเรื่องที่มีข้อถกเถียงกันอยู่ในหมู่ของ นักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษา นั่นคือ มักจะมีผู้ตั้งคำถามขึ้นมาเสมอถึงต้นทุนที่ถูกใช้ไปเพื่อการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะความรู้ที่เมื่อแรกนั้นยากจะประเมินถึงความคุ้มค่า เช่น โครงการอวกาศของนาซ่า โครงการกล้องโทรทรรศน์ ฮับเบิ้ล หรือการค้นหาอนุภาคใหม่ๆ ด้วยการสร้างเครื่องยิงอนุภาคขนาดมโหฬารขึ้นมา ฯลฯ ซึ่งบางครั้งหลังจากได้องค์ ความรู้ใหม่ๆ ตรงกับความอยากรู้อยากเห็นของผู้วิจัยแล้ว ก็อาจจะต้องหาทางวิจัยต่อไปอีกว่าจะนำเอาความรู้ใหม่ที่ว่านั้นไป ใช้ประโยชน์อะไรได้ ทำให้เกิดเป็นความพยายามจำแนกระหว่างงานวิจัยบริสุทธิ์ (pure research) ที่มุ่งไปที่การแสวงหา ความรู้ใหม่ๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า ในทำนองว่ารู้เพื่อรู้ กับงานวิจัยประยุกต์ (Applied research) ที่มุ่งไปที่การใช้ ประโยชน์จากองค์ความรู้ใหม่

    แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ บางครั้งก็ยากมากที่จะให้คำจำกัดความงานวิจัยบางอย่างว่าเป็นงานวิจัยบริสุทธิ์ หรือ งานวิจัยประยุกต์ คล้ายๆ กับที่เคยถกเถียงกันอยู่ในอดีตเกี่ยวกับเรื่องศิลปะ ในทำนองว่าศิลปะที่ถูกต้องควรจะเป็นศิลปะเพื่อศิลปะ ไม่ใช่ศิลปะเพื่อการพาณิชย์ ศิลปะเพื่อชีวิต หรือศิลปะเพื่อมวลชน ฯลฯ และงานศิลปะบางชิ้นก็อาจจะถูกจัดกลุ่ม ไปอยู่ในประเภทเพื่อมวลชนทั้งๆ ที่เจ้าตัวผู้ผลิตชิ้นงานเองอาจจะไม่ได้คิดมากถึงขนาดว่างานของตนเองจะเป็นศิลปะประเภทใดเสียด้วยซ้ำ

    ดังนั้น หากจะมานั่งตีความกันเรื่องความรู้ หรือศิลปะแล้วก็คงไม่จบลงง่ายๆ เพราะมีแต่ผู้สร้างงานเท่านั้น จึงจะรู้ชัดว่าตนเองมีเหตุผลเช่นไรในการวิจัยหรือสร้างงานแต่ละชิ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบางครั้งผู้ริเริ่มศึกษาองค์ความรู้ใหม่แต่ละอย่างอาจจะมีเจตนาบริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อความรู้อันเป็นผลที่ได้จากการศึกษานั้นปรากฏสู่สายตาสาธารณชนแล้ว ความรู้ดังกล่าวก็แทบจะพ้นไปจากการควบคุม ของผู้สร้างความรู้ไปอย่างเด็ดขาด

    คล้ายๆ กับกรณีของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่หลังจากเผยแพร่แนวทฤษฎีสัมพัทธภาพ (E = mc2 ) ออกสู่สาธารณชนแล้ว ก็หมดอ านาจควบคุมทิศทางการพัฒนาองค์ความรู้นี้ไปโดยปริยาย หากจะมีใครนำไปพัฒนา เป็นระเบิดนิวเคลียร์สักกี่ร้อยกี่พันลูก ไอน์สไตน์ ก็ไม่มีสิทธิ์จะไปห้ามได้ (เช่นเดียวกับที่ ออพเพนไฮมเมอร์ คิดระเบิด ปรมาณูขึ้นมาได้แล้ว ก็หมดสิทธิ์ที่จะห้ามไม่ให้ผู้ก่อการร้ายนำไปสังหารผู้บริสุทธิ์)

    ดังนั้น การวางแผนควบคุมการใช้ความรู้และเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์จึงไม่ใช่ขั้นตอนหลังจากที่ความรู้ถูก เผยแพร่ออกไป แต่จะต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการค้นคว้าวิจัยอันเป็นช่วงเวลาที่ผู้คิดค้นยังมีโอกาสควบคุมและกำหนดทิศ ทางการพัฒนาความรู้ของตนได้อยู่ เปรียบเสมือนการเลี้ยงดูบุตรหลานของตน พ่อแม่ก็มีหน้าที่ต้องอบรมเลี้ยงดูให้ลูกหลาน ของตนเติบโตไปในทิศทางที่จะสร้างความเจริญให้กับทั้งตนเองและสังคม ไม่ใช่สร้างอัจฉริยะโรคจิตออกไปสู่สังคม เพราะ เมื่อลูกโตเป็นผู้ใหญ่มีความคิดเป็นของตนเองแล้ว พ่อแม่ก็คงหมดสิทธ์ที่จะไปชี้น าได้อีก และเมื่อนั้นแหล่ะที่กรรมจากการไม่ ทำหน้าที่บุพการีให้ดีก็จะตามมาสนองให้พ่อแม่ต้องทนทุกข์ไปตลอดช่วงชีวิตที่เหลือ

    ถึงตรงนี้ อยากจะตั้งข้อสังเกตุว่า ผู้คนมักจะตีความเรื่องบาปกรรมในทางพุทธศาสนากันอย่างผิดๆ ในเรื่อง "กัมมุนา วัตตะตีโลโก ที่ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หรือ กรรมใดใครก่อ กรรมก็จะตอบสนองกับผู้นั้น" ทำให้หลายคน นึกแค้นใจว่า ทำไมคนบางคนทำชั่วมาสารพัดสารพันแต่ก็ไม่เคยถูกกรรมตามสนอง ในขณะที่ คนทำดีมาตลอดชีวิตกลับถูก กระหน่ำซ้ าเติมจากมรสุมชีวิตที่รุนแรง จนทำให้หลายคนตีความไปว่าเป็นผลจากบาปกรรมที่ทำมาแต่ชาติปางก่อน แล้วเลย ต้องไปเสียเงินเสียทองให้กับผู้ที่อวดอ้างว่าสามารถตัดรอนกรรมเวรในอดีตชาติได้ เรื่องนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ป ยุตโต) ได้เคยอธิบายว่ากรรมนั้นไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวบุคคลแต่อย่างเดียว แต่อาจจะเป็นกรรมของส่วนรวมคือสังคมและชุมชน ได้ด้วย เพราะเมื่อเราปล่อยให้สังคมหรือชุมชนดำเนินไปอย่างผิดพลาดงมงาย เราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ย่อม จะต้องพลอยได้รับผลกรรมไปกับสังคมด้วย เช่น หากปล่อยให้มีนักการเมืองที่ขาดความรับผิดชอบ เข้ามาบริหารประเทศไป อย่างคึกคะนอง ขาดการตรวจสอบจากสภาฯ (ไม่ว่าจะเป็นสภาระดับตำบล ระดับมหาวิทยาลัย ระดับชาติ หรือระดับโลก) เราก็ต้องพลอยชดใช้หนี้สินจากเงินกู้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไปด้วย หรือ การปล่อยให้นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีความรับผิดชอบ ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นโดยปราศจากการตระหนักถึงผลกระทบด้านลบที่จะติดตามมา สังคมโดยรวมก็ต้องทนทุกข์จากภัยที่มาจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ภัยน้ำท่วมจากการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ การตัดไม้ทำลายป่า ภัยจากอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ อุบัติภัยทางธรรมชาติจากการที่สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย และล่าสุด ที่อาจจะมาถึงในเร็ววันก็คือ การสูญสิ้นเผ่าพันธุ์มนุษย์ด้วยผลผลิตจากเทคโนโลยีจีเอ็นอาร์
     
  10. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    125.jpg
    พุทธศาสตร์ต้านกระแสวัตถุนิยม


    จากที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้น จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เป็นภัยคุกคามของมนุษยชาติจริงๆ นั้นมิใช่ตัวเทคโนโลยี แต่ เป็นจิตใจของมนุษย์เอง จิตใจที่ใฝ่แต่ด้านวัตถุ มุ่งแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาเพื่อการตอบสนอง ความต้องการด้านวัตถุของตัวมนุษย์เองเป็นหลัก จนบางครั้งลืมนึกไปถึงผลลัพธุ์ที่จะติดตามมาในระยะยาว เช่น

    ความก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นเมื่อดูผิวเผินอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องดี เพราะทำให้มนุษย์มีชีวิตความ เป็นอยู่สะดวกสบาย มีความสุขมากขึ้น และมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อมองลงไปให้ลึก กลับจะพบว่ามนุษย์ มีความทุกข์มากขึ้น จากสภาพที่ต้องถูกกระตุ้นให้มีการบริโภควัตถุอย่างเกินขีดพอดีจากสภาพสังคมรอบด้าน มนุษย์บริโภคมากเสียจนกระทั่งไปรบกวนสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดเป็นภัยพิบัติ ตัวอย่าง เอลนิญโญ เอล นินา แผ่นดินไหว และ ทซึนามิติดตามมา เท่านั้นยังไม่พอ ความต้องการบริโภคของมนุษย์มีมากเสียจนต้องไปเบียดบังเอาจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งถ้าเบียดบังกันหนักๆ ก็อาจจะนำไปสู่สงคราม และภัยคุกคามด้านอาวุธ ในขณะที่การเบียดบัง กันแบบเบาะๆ ค่อยเป็นค่อยไปก็จะกลายเป็นล่าอาณานิคมซึ่งคลี่คลายไปเป็นการโจมตีค่าเงิน การเข้าครอบคลุมสภาพ เศรษฐกิจในประเทศหนึ่งโดยนักธุรกิจกลุ่มเล็กๆ จากอีกประเทศ มีการแย่งชิงทรัพยากรจากคนพันล้านคนทั่วโลกไปอยู่ใน มือของคนที่มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจระดับสูงกว่าเพียงไม่ถึงแสนคน มีคนเพียงไม่กี่ล้านที่ได้รับอนิสงค์จากความเจริญ ทางด้านวัตถุ ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่มนุษย์ที่เหลืออีกนับเป็นพันล้านทั่วโลกกลับต้องเผชิญกับความทุกข์ยากจากการ แบ่งสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม และของเสียที่หลงเหลือจากการเร่ง กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม

    ล่าสุด แม้ว่าโลกเราจะพัฒนาจากระบบการผลิตแบบ อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติมากๆ มีของเสียเยอะๆ ไปสู่ ระบบการผลิตที่มิตรกับธรรมชาติ หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) จนกระทั่งอุตสาหกรรมที่เน้นในเรื่องสารสนเทศและ ความรู้ล้วนๆ อย่างอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ หรือธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ที่ แทบจะไม่ได้มีการนำเอาทรัพยากรจากธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการ ผลิต หรือไม่มีการระบายของเสียจากกระบวนการผลิตออกสู่ธรรมชาติ เลยก็ตาม สภาพความเหลื่อมล้ าในสังคมมนุษย์ก็ยังคงดำรงอยู่ เผลอๆ จะยิ่งมากขึ้นกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะชนชั้นล่าง ของสังคมยังคงมีโอกาสเข้าถึงความรู้ หรือสารสนเทศได้น้อยกว่าเช่นเดิม

    ที่หนักหนาสาหัสกว่านั้นก็คือ แม้กระทั่งตัวนักวิทยาศาสตร์ ครูบาอาจารย์ หรือชนชั้นนำของสังคมที่มี โอกาสได้เข้าถึงทรัพยากรสำคัญของโลกคือ "ความรู้และสารสนเทศ" ได้มากกว่าหรือรวดเร็วกว่าผู้คนกลุ่มอื่นๆ ก็ยังต้องทน ทุกข์อยู่กับกองกิเลศและความอยากได้ที่ไม่สิ้นสุดของตนอยู่ดี เพราะทุกวันนี้มีข้อมูลความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายในอัตราเร็ว แบบก้าวกระโดดเช่นเดียวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อื่นๆ ส่งผลให้โลกเรายิ่งสลับซับซ้อนยากทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อบวกกับระบบการศึกษาสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นให้มนุษย์แต่ละคนมีความรู้ความชำนาญที่ลึกและจำเพาะด้านลงไปเรื่อยๆ มนุษย์ก็ยิ่งคับแคบและตื้นเขินขึ้นเรื่อยๆ

    ดังจะสังเกตุได้จากวิธีการแก้ปัญหาของมนุษย์สมัยใหม่ที่มักจะมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะ หน้าที่ตนเองเผชิญอยู่ เพียงเพื่อจะนำมาซึ่งปัญหาใหม่ๆ ที่สลับซับซ้อนและแก้ยากขึ้นกว่าเดิมไปเรื่อยๆ ทางออกของมนุษย์จึงไม่ใช่การพยายามเรียนรู้และก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่แต่เพียงอย่างเดียว เพราะถึงจะก้าวให้เร็วเพียงไหนก็คงไม่ทัน (อย่าลืมว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ทุกอย่างล้วนพัฒนาไปในอัตราก้าวกระโดด ในขณะที่ สมองมนุษย์แทบจะไม่ต่างไปจากสมองของมนุษย์ยุคพุทธกาลเลย)

    ทางออกที่ดีสำหรับมนุษย์ คือจะต้องหันกลับมาศึกษา ตนเอง กลับมาศึกษาถึงตัวตนและความเป็นมนุษย์ เหมือนกับยุคที่พระสิทธัตถะพุทธเจ้า พระโมฮาหมัด พระเยชู เล่าจื้อ ขงจื้อ อริสโตเติ้ล เดสการต์ ฯลฯ เคยศึกษา ค้นพบ และถ่ายทอดให้กับสานุศิษย์กันมาก่อนแล้ว โดยเฉพาะคำสอนขององค์ สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะมีความเป็นอกาลิโก และตอบคำถามในโลกสมัยใหม่ที่วุ่นวายสับสนได้เป็นอย่างดี

    เอกสารอ้างอิง
    1. สุรพล ศรีบุญทรง “GNR : Episode 1 "2001 นับถอยหลังสู่การสูญพันธุ์ของมนุษย์"” IT Soft Vol 8, No 99, 155 – 164
    2. สุรพล ศรีบุญทรง “เควิน วอร์วิค มนุษย์คอมพิวเตอร์ปี2000” IT Soft Vol 8, No 98, 145 – 153
    3. Bill Joy “Why the future doesn’t need us.” WIRED, APRIL 2000, 238 – 262
    4. Crandall, B.C. and James Lewis “Nanotechnology: Research and Perspectives”, MIT Press, 1992 : 269
    5. Amory B. Lovins and L. Hunter Lovins “A Tale of Two Botanies” .” WIRED, APRIL 2000, 247
    6. Clarke, Arthur C. “President, Experts, and Asteroids” Science , June 5, 1998

     
  11. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,089
    ค่าพลัง:
    +3,394
    ได้สาระดีครับ ขอบคุณครับ
     
  12. Suryar

    Suryar ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    2,033
    ค่าพลัง:
    +695
    ค่ะ เขาใช้การ transplant ยืดอายุมนุษย์และการ download ข้อมูลในสมองเข้าเมมโมรี่การ์ด ถ่ายเข้าโรบอท แล้วซ่อมแซมส่วนสึกหรอด้วยพันธุวิศวกรรมระดับสูง มีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวคนได้แล้วที่อิตาลี ค่ะท่านวสุธรรม

    แต่ส่วนที่ restore ไม่ได้ในโรบอทคือ สำนึกผิดชอบชั่วดี พวก human instinct ต่างๆ จึงมีการจำลอง AI Artificial Intelligent ให้ครบทุกรูปแบบเช่น สีหน้า แววตา ของความกตัญญูเป็นอย่างไร แล้วมาจำลองให้โรบ้อทเรียนรู้ โดยโรบ้อทสำนึกเองไม่ได้ เป็นต้น เขาใช้โรบ้อทเพื่อป้องกันความผิดพลาดของมนุษย์ ในการตัดสินใจทำงานใหญ่ไปที่เป็นความลับ เช่น แลปอาวุธชีวภาพและอาวุธสงคราม หากใช้มนุษย์ที่มีมโนธรรม การใหญ่รั่วไหลและสูญเสียมหาศาลได้ ส่วนในคนรวยคนสำคัญต่างๆ หลายดวงจิตที่ตื่นขึ้นมาในร่างโรบ้อท โดยจำไม่ได้ว่า ก่อนตายตัวเองหรือคนใกล้ชิดลงทุนยื้อความตายให้ ด้วยร่างโรบอท หัวมนุษย์ค่ะ

    ขอบคุณรายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆ นะคะ กระทู้นี้มีประโยชน์มากค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มิถุนายน 2018
  13. Suryar

    Suryar ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    2,033
    ค่าพลัง:
    +695
    ในการเก็บความทรงจำหรือเมมโมรี่มีหลายวิธี เช่น การบอกเล่า การถ่ายวิดีโอ การจดบันทึกรายวันรายชั่วโมงว่าวันๆ ทำอะไร ก่อนตัดสินใจเข้าโปรแกรมยืดอายุ นี่คือสมัยโบราณ
    จากนั้น หากเป็นสมัยนาซีจะฉีดเชื้อไวรัสเข้าไปเพื่อยับยั้งการทำงานของ growth hormone ต่างๆ แต่ต้องทำการถ่ายเลือดเป็นประจำ เพื่อไม่ให้อ็อกซิเจนในเลือดหมด เพราะเชื้อไวรัสตัวนี้จะไม่นำพาออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการล้างเผ่าพันธุ์หนึ่งขึ้น

    ปัจจุบันเทคโนโลยีสูงขึ้นก็ทำการ transplant ยืดอายุอวัยวะใช้ robot เก็บความทรงจำแทนไดอารี่ และใช้การช้อตไฟฟ้าเพื่อลบความทรงจำในสมองบางส่วนหลังถ่ายให้ โรบอท เพราะสมองเต็มค่ะ จากนั้นเพิ่มเนื้อสมองใหม่ ปลูกเซลล์สมองใหม่ เป็นวิธี ทำให้ความคิดกลับมาวัยรุ่นอีกครั้งนะคะ rejuvenation อ่ะค่ะ
     
  14. MUSAFA

    MUSAFA MUFASA AL-AMYADH

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +164


    HUMANOID
    เมื่อเทคโนโลยีถึงขั้น
    การทำร่างAndroid (David Prometheus) โดยใช้ ชิปเก็บวิญญาณคนตาย (Superman Man of Steel)
    #แตกต่างจากCybrogและหุ่นAndroid
    #Unlockedโดยอนาคต
    #Succesedfullโดยมนุษย์ต่างมิติ(เอกภพในพหุภพร่วม)
    #ไม่ใช่มนุษย์ต่างดาวหรือโดยต่างดาว
    จำลองการอธิบายคร่าวๆ
    David

    Superman
     

แชร์หน้านี้

Loading...