.oO เรื่องสั้น ปั้นแต่ง Oo.

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    ถนนคนเดินวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg


    อุทยานสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg

    อุทยานสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เรื่องที่ ๓๗

    ซื้อของดอนหอยหลอด & ไหว้หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา



    ตอนแรกลังเลว่าจะแยกกระทู้ดีไหม คิดไปคิดมาไม่แยกดีกว่าเพราะเนื้อหาไม่เยอะและเป็นการเดินทางไปวันเดียวกันก็เลยเขียนรวมกันไว้เป็นหนึ่งกระทู้สองเรื่อง



    [​IMG]



    เมื่อวันก่อนโน้น วันไหนจำไม่ได้แล้ว (มัวแต่ปั่นกระทู้เที่ยวเหนืออยู่) ได้พาคุณพ่อกับคุณแม่ไปอัมพวาแล้วก็เลยมาดอนหอยหลอดอีกแล้ว มาสุมทรสงครามทีไรก็แวะดอนหอยหลอดทุกที เดินซื้อของ สิ่งที่เปลี่ยนไปและดูแปลกตาขึ้น สงสัยจะไม่ได้มานาน เพิงร้านค้าที่อยู่คนละฝั่งกับศาลเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ได้แปรสภาพเป็นตึกไปหมดแล้ว หลังจากทานอาหารในละแวกนั้นเสร็จก็เลยเดินดูของทะเลตรงร้านที่เขาสร้างใหม่ รู้สึกว่าแพงกว่าแต่ก่อน ก็เลยเดินไปเรื่อยๆ ต่อจากตึก ก็ยังมีเพิงร้านค้าเก่าๆ อยู่ แต่ต้องเดินมาไกลนิดนึง


    [​IMG]


    ตรงนี้คนไม่ค่อยเดิน แต่ถ้าครอบครัวของสร้อยฟ้ามาลามาซื้อของทะเลที่ดอนหอยหลอดทีไรจะเดินมาตรงบริเวณนี้ เพราะมีร้านประจำ ร้านแถวๆ นี้จะขายถูกกว่าร้านข้างหน้าๆ ร้านประจำนี้ชื่อว่าร้านป้าพร แต่วันนี้คนขายเป็นลุง(ชื่ออะไรไม่รู้ไม่ได้ถาม)


    [​IMG]
    (ใครผ่านไปช่วยอุดหนุนคุณลุงกันหน่อยนะจ๊ะ....)



    ลุงแกใจดี ขายของถูก ก็ถามลุงไปว่าขายดีไหม ลุงตอบว่าขายไม่ค่อยดีเพราะคนไม่ค่อยเดินมากัน จะขายได้ก็ลูกค้าเก่าๆ และลูกค้าประจำเท่านั้นเอง ฟังแล้วก็สงสาร เพราะร้านอยู่ไกลคนเลยไม่ค่อยเดิน แต่อย่างน้อยตอนนี้ก็ได้ครอบครัวของสร้อยฟ้าฯ เป็นลูกค้าประจำไปแล้วหล่ะ

    [​IMG]
    (ตรงแถวๆ นี้คนเดินมาไม่ค่อยถึง เงียบมาเลย ยิ่งวันนี้เป็นวันธรรมดายิ่งขายไม่ได้ก็เลยปิดร้านกันเป็นส่วนใหญ่)


    ก็ไม่มีอะไรมากที่ดอนหอยหลอด หลังจากเดินซื้อของเสร็จแล้ว ก็พากันไปกราบเสด็จเตี่ยที่ศาล(ไม่ขอนำภาพลงนะเพราะเคยตั้งกระทู้ไว้แล้ว).....


    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    จากนั้นสร้อยฟ้าฯ ก็หลอกคุณพ่อกับคุณแม่ไปไหวหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา เรื่องนี้สร้อยฟ้าฯ ไม่ทราบมาก่อนว่าหลวงพ่อทองกับหลวงพ่อวัดเขาตะเคราเป็นองค์เดียวกัน แต่จากถนนสายพระราม ๒กว่าจะถึงวัดเขาตะเครานี่ไกลพอดูเลย นึกว่าใกล้ๆ ก็ใช้ GPS นำทางไปสองข้างทางบางช่วงจะมีนาเกลือให้เห็น(ไม่ได้ถ่ายรูปมัวแต่ขับรถ)ใช้เวลาเดินทางประมาณไม่ถึงชั่วโมงก็มาถึงวัดเขาตะเครา พอมาถึงก็ งงเห็นภายในวัดมิเนินเขาชันๆ อยู่ลูกหนึง มีพระอุโบสถอยู่ตรงเชิงเขาและมีทางเดินขึ้นไปข้างบนอีกสูงนึกว่าหลวงพ่อทองหรือหลวงพ่อวัดเขาตะเคราจะอยู่บนเนินเขาลูกนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้นฉันแย่แน่ๆ เพราะเอ็นอักเสบจากการไปไหว้พระธาตุเมืองเหนือยังไม่หายเลยจนวันที่เขียนกระทู้นี้ก็ยังไม่หายดี ถ้าเดินมากๆ ยังปวดอยู่พอดีวันนี้รู้สึกว่าทางวัดเขาตะเครามีงานสะเดาะเคราห์ต่อดวงชะตา แต่สร้อยฟ้าฯไม่ได้เข้าร่วมด้วยก็ถามพระกำลังจัดงานอยู่แถวนั้นว่าจะไปไหวหลวงพ่อวัดเขาตะเครานี่ท่านอยู่ตรงไหนพระท่านก็ชี้นิ้วว่าให้เดินไปตรงโน้น อยู่ในศาลาตรงโน้น ค่อยยังชั่วนึกว่าต้องขึ้นไปบนเขาเสียแล้ว ก็เลยเดินไปยังศาลา เป็นศาลาชั้นเดียวไม่ยกพื้นมีแม่ชีคอยจัดดอกไม้ไว้ให้ ก็ถามแม่ชีว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเคราองค์ไหนท่านแม่ชีก็ชี้ให้ดูแล้วบอกว่าองค์นี้ ก็หันไปมองด้วยความที่ว่าไม่เคยเห็นเคยได้ยินได้อ่านแต่ในหนังสือหรือในการค้นคว้าในเรื่อง หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อบ้านแหลมหลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อทั้งสามองค์นี้ สร้อยฟ้าฯ ได้เคยไปกราบมาหมดแล้วซึ่งตำราบอกว่าเป็นพี่น้องกัน ก็หลวงพ่อแต่ละองค์ก็องค์ค่อนข้างใหญ่พอเห็นหลวงพ่อวัดเขาตะเคราก็เลยรู้สึกว่าไม่เหมือนกับที่คิดไว้และองค์เล็กกว่าทั้งสามองค์ที่กล่าวมาแต่ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร ตั้งใจมาไหว้หลวงพ่อ ตั้งใจมานานแล้ววันนี้ได้มาและก็ได้พาคุณพ่อคุณแม่มาไหว้ด้วย มาอ่านเรื่องหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครากันดีกว่า....


    "หลวงพ่อทอง"วัดเขาตะเคราอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี


    [​IMG]
    “หลวงพ่อทอง” วัดเขาตะเคราเป็นพระพุทธรูปแบบนั่งพระพุทธลักษณะปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ หล่อด้วยสำริดศิลปะเชียงแสนมีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว และสูง๒๙นิ้ว ปิดทองคำเปลวอร่ามทั้งองค์ไม่มีหลักฐานระบุสร้างปีใดใครเป็นผู้สร้างมีเพียงตำนานเอ่ยถึงโดยเรื่องที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดมีรายละเอียดดังนี้

    มีพระสงฆ์ ๒ รูป สามเณร ๑ รูปทั้งหมดเป็นพี่น้องกันและมีฤทธิ์เดชเวทมนต์แรงกล้ามากทั้ง ๓ ได้ทดลองวิชาโดยพระรูปแรกได้ทำน้ำมนต์ไว้และสั่งพระรูปที่ ๒ ว่า “เดี๋ยวจะกระโดดลงน้ำแล้วจะกลายเป็นพระพุทธรูปลอยขึ้นมาแล้วให้ใช้น้ำมนต์รดลงไปก็จะกลับเป็นพระสงฆ์ตามเดิม” แต่เมื่อพระรูปแรกกระโดดลงไปแล้วลอยขึ้นมาเป็นพระพุทธรูปพระรูปที่ ๒ก็ไม่รดน้ำมนต์ให้โดยบอกว่า“เมื่อพี่ทำได้เราก็ทำได้” และได้สั่งให้สามเณรรดน้ำมนต์ให้แล้วก็กระโดดลงน้ำกลายเป็นพระพุทธรูปลอยขึ้นมาอีกด้านสามเณร เมื่อเห็นว่าพระทั้ง ๒ รูปทำได้ เราก็ทำได้เหมือนกันจึงกระโดดลงน้ำแล้วกลายเป็นพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์โดยที่ไม่มีใครนำน้ำมนต์รดให้จึงกลายเป็นพระพุทธรูปลอยน้ำอยู่เช่นนั้น



    [​IMG]

    ต่อมาได้แสดงอภินิหารโดยลอยทวนน้ำไปขึ้นที่ ช.พัน ๒ทหารช่างอยุธยา ภายหลังเรียกว่า คุ้ง ๓ พระทวนปัจจุบันเรียกเพี้ยนไปเป็นสัมประทวนช่วงเวลาต่อมาได้ลอยน้ำโดยเอาเศียรวน ไปอยู่ที่ จังหวัดฉะเชิงเทราชาวบ้านเห็นและมีผู้นำสายสิญจน์ไปผูกพร้อมปลูกศาลเพียงตาอาราธนาอัญเชิญองค์กลางขึ้นไว้ได้๑ องค์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามมีชื่อเรียกว่า“หลวงพ่อโสธร” จังหวัดฉะเชิงเทรา

    เหลืออีก ๒ องค์ ลอยมาโผล่ที่ชายทะเลแถบ จงหวัดสมุทรสงครามชาวบ้านจึงได้ใช้เชือกจำนวน ๓เส้นผูกพระพุทธรูปเพื่อดึงขึ้นฝั่งแม้จะใช้คนจำนวนมากก็ไม่สามารถดึงขึ้นได้จนเชือกขาดทั้ง ๓ เส้นพระพุทธรูปจึงจมน้ำหายไปต่อมาชาวบ้านจึงได้เรียกบริเวณนั้นว่าสามเส้นและต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็นสามเสน



    [​IMG]

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๒สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุงต่อพม่าชาวบ้านแหลมจังหวีดเพชรบุรี ได้อพยพหนีพม่าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากคลองแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามใกล้กับวัดบ้านแหลมหรือวัดเพชรสมุทรวรวิหารซึ่งวัดนี้ในอดีตมีชื่อว่าวัดศรีจำปาระหว่างที่ชาวประมงได้ออกเรือหาปลาได้ลากอวนไปติดพระพุทธรูป ๒ องค์โดยองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบนั่ง และอีก ๑องค์เป็นพระพุทธรูปแบบยืนจึงได้ช่วยกันนำพระพุทธรูปปางยืน ไปประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลมต่อมาชาวบ้านได้เรียกชื่อพระพุทธรูปว่า“หลวงพ่อวัดบ้านแหลม”

    ส่วนพระพุทธรูปอีก ๑ องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิได้มอบให้ชาวบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีเนื่องจากเป็นพี่น้องในย่านน้ำเดียวกันชาวบางตะบูนจึงได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเคราและเรียกชื่อว่า“หลวงพ่อวัดเขาตะเครา”

    พระมงคลวชิราจารย์ (หลวงพ่อสุข)เจ้าอาวาสวัดเขาตะเคราได้เล่าถึงที่มาของชื่อหลวงพ่อทองแห่งวัดเขาตะเคราว่าเดิมชาวบ้านจะเรียกพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเคราเป็นที่เคารพบูชาของชาวประมงเป็นอย่างมากแต่ได้มาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “หลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา” หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์ปาฏิหาริย์ขึ้นเมื่อตอนกลางคืนของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ขณะที่อาตมาจำวัดได้ฝันว่ามีพระอายุมากรูปหนึ่งนำถุงบรรจุทองคำยื่นให้พร้อมกับพูดว่า ‘เอาไป’ หลังจากนั้นท่านก็หายไป

    ต่อมาเวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. เศษ ของวันศุกร์ ขึ้น ๔ค่ำ เดือน๑๑ ปีชวดซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ได้เกิดไฟลุกไหม้ท่วมองค์หลวงพ่อวัดเขาตะเคราขณะนั้นประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถขณะไฟลุกไหม้ทำให้ทองคำหลอมไหม้ไหลออกมาจากองค์หลวงพ่อทองเมื่อนำทองคำทั้งหมดมาชั่งน้ำหนักปรากฏว่าได้น้ำหนักถึง ๙ กิโลกรัม ๙ ขีดหลวงพ่อจึงได้นำเอาทองไปจัดทำเป็นลูกอมทองไหลหลวงพ่อทองแล้วแจกจ่ายให้พุทธศาสนิกชนนำไปติดตัวและบูชาได้ปัจจัยมาทั้งหมด ๑๑ ล้านบาท เพื่อนำมาสร้างมณฑปโรงเรียน และศาสนสถานอื่นๆ สำหรับลูกอมหลวงพ่อทองต่อมาได้เกิดปาฏิหาริย์มากมาย โดยเฉพาะทางด้านแคล้วคลาดทำให้ประชาชนเคารพศรัทธามากขึ้นและเรียกหลวงพ่อทองวัดเขาตะเคราตลอดมาถึงปัจจุบัน



    [​IMG]

    สำหรับวัดเขาตะเคราก็ไม่ปรากฏหลักฐานระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่เดิมพระอุโบสถอยู่บนยอดเขาต่อมาย้ายพระอุโบสถลงมาเชิงเขาเพื่อความสะดวกเวลาปฏิบัติศาสนกิจแล้วอัญเชิญองค์หลวงพ่อทองลงมาประดิษฐานที่ศาลาการเปรียญเพื่อให้พุทธศาสนิกชนกราบสักการะ


    หลวงพ่อทองวัดเขาตะเคราเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวทางจิตใจชาวเพชรบุรีและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศเล่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์เรื่องโชคลาภช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากผู้ที่สมัครเรียน สมัครงานฯลฯมักจะมาบนบานขอให้ได้ตามประสงค์ผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักมาบนบานขอให้หาย


    สำหรับคาถาบูชาหลวงพ่อทองวัดเขาตะเครา


    “นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ” (๓ จบ)
    “กาเยนะวาจายะมะยะเจตะสา มาระวิชะยัง สุวัณณะมานัง
    มะหาเตชัง มะหาลาภังพุทธะปะฏิมังเมตตาจิตตัง นะมามิหัง
    โอมะ ศรี ศรี ชัยยะ ชัยยะสัพพะทุกขา อุปัททะวาสัพพันตะรายา
    สัพพะโรคา วินาสสันติสะทาโสตถี ภะวันตุ เม” (แล้วอธิษฐาน)

    หากบนแล้วได้สัมฤทธิ์ตามที่ขอ จะต้องแก้บนโดยเป็นชายจะบนบวชพระแก้ถ้าเป็นหญิงจะบนบวชชีพราหมณ์บ้างจุดประทัดถวาย หรือไม่ก็เลี้ยงอาหารแก้บน
    โดยเฉพาะในวันหยุดหรือวันสำคัญต่างๆวัดเขาตะเคราจะคลาคล่ำไปด้วยพุทธศาสนิกชนที่หลั่งไหลมากราบสักการะ



    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดเขาตะเครา เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเทวฤทธิ์

    ....................................................................
    ท้ายสุดนี้ กุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์ เจ้านายพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย คุณแม่พระธรณี พระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ ภูมิเจ้าที่ พระยายมราช ตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงเบื้อบนพรหมมา เบื้องล่างตั้งแต่อเวจีจนถึงมนุษยโลก โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตจักรวาล เทวดารักษาตัวของข้าพเจ้า เจ้ากรรมนายเวร ดวงวิญญาณทุกดวงในสถานที่ที่ข้าพเจ้าได้ไปเยือน และขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่าน ด้วยกุศลนี้จงเป็นเหตุปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธเจ้าและศาสนาของพระองค์ในทุกๆ ชาติ จนถึงพระนิพพานเป็นที่สุด

    ....................................................................



    ที่มาของข้อมูล
    หนังสือไหว้พระประธาน ๗๖ จังหวัด
    กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน



    ................................................




    ภาพโดย สร้อยฟ้ามาลา
    เรื่องราวโดย สร้อยฟ้ามาลา



    .......................







    [​IMG]





    ..............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เรื่องที่ ๓๘

    ท่องตามตำนาน ไหว้พระธาตุเมืองเหนือ


    wel lcome_pink


    ไม่รู้เป็นอะไร พอได้ไปเที่ยวเหนือก็จะต้องมีเหตุให้ได้ไปติดๆ กัน นี่ก็เพิ่งขึ้นไปเที่ยวจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปลายปี ผ่านมา ๒ เดือน ได้ขึ้นไปเที่ยวเมืองเหนืออีกแล้ว ก่อนหน้าที่จะไปไหว้พระธาตุได้ปรึกษาพี่แอ๊ด วาสนา ว่าจะเขียนกระทู้แยกเป็นวันๆ วันละกระทู้แบบกระทู้ Pai Mini Stories แต่พอกลับจากไหว้พระธาตุมาแล้ว ปรากฎว่าจะเขียนแบบนั้นไม่ได้ เนื่องจากการไหว้พระธาตุส่วนใหญ่จะไหว้กันในวันแรก ส่วนวันที่สองกับวันที่สามจะเป็นการทำบุญผ้าป่ากับการอยู่บนรถเสียมากกว่าก็เลยแบ่งกระทู้ไม่ได้...

    ครั้งนี้เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เผอิญไปได้แผ่นประชาสัมพันธ์จากคณะเมตตาบารมี ขอเชิญผู้สนใจร่วมสร้างบารมีต้นปี โดยร่วมเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิด ๙ พระธาตุ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงตกลงใจชวนคุณพ่อคุณแม่ไปทำบุญ เพราะว่าลำพังขับรถไปกันเองจะนั่งกันเมื่อย รถเก๋งคันไม่กว้าง ยืดแข้งยืดขาไม่สะดวก ซึ่งพาหนะเดินทางในครั้งนี้เป็นรถบัส V.I.P สองชั้น จำนวน ๕ คัน แต่ละคันจะมีพระวิทยากรประจำรถ และมีรถตำรวจนำขบวน

    วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จุดนับพบอยู่ข้างโรงพยาบาลวชิระ ถนนสังคโลก สร้อยฟ้าฯ มาถึงเวลาประมาณเกือบสองทุ่ม โดยกำหนดการรถออกสามทุ่มให้ช้าได้ไม่เกิน ๑๕ นาที แต่พอถึงเวลาจริงๆ แล้ว ก็จะเกินเวลาไปตามระเบียบปฏิบัติ...

    เมื่อออกเดินทางได้สักพัก พระวิทยากรก็เริ่มบรรยายสถานที่ที่พวกเราจะไปกันและก็สวดมนต์ทำวัตรเย็น การเดินทางนี้ก็แวะปั๊มน้ำมันเป็นระยะๆ คงจะนึกภาพออกของความโกลาหลในการเข้าห้องน้ำ จอดรถทีเข้าห้องน้ำที ซื้อของที กว่าจะขึ้นรถกันครบก็ครั้งละเกือบครึ่งชั่วโมง จึงทำให้ต้องขับรถทำความเร็วกันบ้าง แต่ด้วยมีรถนำขบวนจึงค่อนข้างสะดวก รถที่วิ่งอยู่ข้างหน้าต้องหลบทางให้และติดไฟแดงไม่ค่อยเป็น... (เอ ดีหรือไม่ดีหล่ะเนี่ยะ เคยบ่นเรื่องนี้ไว้ในกระทู้ไหว้หลวงปู่ทวด วัดห้วยมงคล )

    เวลาหกโมงเช้าเศษๆของวันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ คณะของเราก็มาถึงจุดหมายแรกของการสร้างบุญบารมี สร้อยฟ้าฯ มาที่นี่ ๔ ครั้งแล้ว ก็คือ วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง ก็โม้ถึงประวัติของพระธาตุไปแล้วในกระทู้ก่อนๆ มาคราวนี้จะโม้เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับพระธาตุลำปางหลวงดีหล่ะนี่ ??? แต่ว่าหลวงพี่ พระวิทยากร ท่านเล่าถึงเรื่องตำนานของพระธาตุลำปางหลวง...

    ดีหล่ะ นำมาลงดีกว่า ก่อนอื่นที่จะเล่าตำนาน ก็ขอเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดก่อน...


    [​IMG]

    การไหว้พระธาตุประจำปีเกิดเป็นความเชื่อของชาวล้านนามาแต่โบราณ ซึ่งยึดถือเอาพระธาตุเป็นที่พึ่งและคุ้มครองตน ดังนั้นการไหว้บูชาพระธาตุทุกคืนจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อีกทั้งยังถือกันว่าในชีวิตหนึ่งควรได้มีโอกาส ไปสักการบูชาสักครั้งให้เกิดความเป็นสิริมงคล มีอายุมั่นขวัญยืน ทั้งยังได้บุญอานิสงส์

    นอกจากนี้การไหว้พระธาตุตามปีเกิด ยังสัมพันธ์กับประเพณีการขึ้นพระธาตุทุกวันเดือนแปดเพ็ง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนหกของภาคกลาง ในวันสำคัญนี้ชาวเหนือนิยมพากันไปนมัสการพระธาตุเจดีย์ ณ สถานที่สำคัญๆ เช่น พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ พระธาตุหริภุญชัยที่จังหวัดลำพูน พระธาตุลำปางหลวงที่จังหวัดลำปาง พระธาตุดอยกองมูที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น รวมทั้งพระเจดีย์หรือวัดทุกหนทุกแห่งที่อยู่ใกล้บ้าน



    [​IMG]


    ความเชื่อแต่โบราณนั้นคนล้านนาเชื่อว่า ก่อนที่คนเราจะปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดานั้นดวงวิญญาณจะต้องมา 'ชุ' (คนเหนืออ่านว่า จุ๊ แปลว่าพัก หรือบรรจุ) อยู่ที่พระธาตุประจำตัวก่อน โดยมี 'ตัวเปิ้ง' นำมาเมื่อได้เวลา วิญญาณก็จะไปสถิตย์อยู่ที่กระหม่อมของบิดาเป็นเวลา ๗ วัน แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดาแล้วก็คลอดออกมา จนเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไป 'ชุ' อยู่ที่พระธาตุประจำตัวของตนตามเดิมก่อนที่จะกลับไปเกิดในภพภูมิตามบุญกรรมที่ต่างทำมา



    นี่เป็นตำนานความเชื่อของชาวล้านนาเกี่ยวกับพระธาตุ ย้อนกลับมาว่ากันเรื่อง ตำนานพระธาตุลำปางหลวงกันต่อ........


    ..........................................

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1381118/[/MUSIC]​

    ..........................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]



    วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีเป้า ปีฉลู(วัว)

    ตำนานกล่าวว่าในสมัยพุทธกาลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์๓องค์ กับพระอานนท์เถระรวมเป็น ๔พระองค์ พร้อมทั้งพระเจ้าปเสนทิตามเสด็จมาโปรดบ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลาย เมื่อเสด็จมาถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธองค์ได้ประทับ ณ ดอยม่อนน้อย (เขาเตี้ย) มีชาวบ้านชื่อลั๊วะอ้ายกอน มีความเลื่อมใสนำเอานึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้าง (ไม้ข้างหลามไม้เปราะ) มะพร้าวและมะตูมอย่างละ ๔ลูก มาน้อมถวายพระพุทธองค์รับเอาแล้วจึงส่งมอบกระบอกน้ำผึ้งนั้นแก่พระอานนท์เถระเจ้าไปกองลงบาตร แล้วพระองค์จึงได้ฉันน้ำเสร็จแล้วพระองค์จึงทิ้งกระบอกไม้นั้นตกไปทางทิศเหนือ พระองค์จึงพยากรณ์ว่า สถานที่นี้จะมีผู้มาสร้างเมืองที่มี ชื่อว่า “ลัมภะกัปปะนคร” แล้วต่อจากนั้นพระองค์ก็ยกพระหัตถ์ข้างขวาขึ้นลูบพระเศียรได้พระเกศา ๑เส้นติดพระหัตถ์มา แล้วพระองค์มอบลั๊วอ้ายกอน ลั๊วอ้ายก้อนรับพระเกศาด้วยความโสมนัสแล้วจึงนำลงบรรจุในผอบทองคำ แล้วขุดหลุมกว้าง ๕ วา ลึก ๕ วา อัญเชิญผอบเกศาลงไปประดิษฐานท่ามกลางหลุมนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสพยากรณ์ว่า เมื่อตถาคตปรินิพานแล้ว ๒๑๘ปี จักมีพระอรหันต์ ๒องค์นำพระอัฐิลำคอข้างหน้าหลัง และพระนลาฏข้างขวาของตถาคตมาบรรจุไว้ที่นี้อีก เจดีย์นี้จักปรากฏเป็นเจดีย์ทองคำชื่อว่า “ลัมภะกัปปะ” แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสร็จจาริกไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ต่อไป ต่อมาเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพานไปแล้ว ๒๑๘ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแห่งชมพูทวีปได้มีศรัทธาสร้างเจดีเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘๔,๐๐๐องค์ และพระวิหาร ๘๔,๐๐๐หลังเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและ ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้พระเถระเจ้านำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ พระกุมารกัสสปะเถระเจ้ากับ พระเมฆิยะเถระเจ้าได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์ลัมภะกับปะนคร (วัดพระธาตุลำปางหลวง) และมีเรื่องเล่าว่ามีพระเถระชาวเชียงใหม่ ๒ รูปได้จาริกไปอยุธยาเพื่อนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุที่เมืองอยุธยา พระเถระเจ้าเมืองอยุธยาบอกแก่พระเถระชาวเชียงใหม่ว่าทางเหนือมีมากกว่าและที่มีมากคือที่เมืองหริภุญชัยและลัมภะกัปนคร พระเถระชาวเชียงใหม่กล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่มีในหริภุญชัยนั้นตูข้ารู้อยู่ ส่วนที่มีที่ลัมภะกัปปะนครนั้น ยังไม่รู้มาก่อนเลย


    [​IMG]



    คำบูชา
    ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง ปะติฎฐาลัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา อุตตุราภิทัยยา นะมามิ
    หันตัง วะระชินะธาตุง กุมาระกัสสะปะ นะลาตะธาตุโย เมฆิยะมะหาเถโร กะนะธาตุง
    ฐะเปติ มหาฐาเน เจติยัง ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหังวันทามิ ธาตุโย



    [​IMG]


    ลงจากพระธาตุลำปางหลวงมาได้ประมาณ ๙ โมงเช้าเศษ หาอะไรลองท้องก่อนหิวมากอยู่...

    การถ่ายรูปล็อตแรกหมดไปจึงรู้ได้ว่า คณะนี้เขามาไหว้พระธาตุจริงๆ อะไรๆ ก็จะตรงดิ่งมาที่พระธาตุก่อนแล้วคณะหลวงพี่ก็จะนำสวดมนต์และเดินเวียนไหว้พระธาตุ แต่มีเหตุติดขัดนิดหน่อยเพราะว่าวันนี้เป็นวันมาฆบูชา จึงมีคนเยอะ กลุ่มก็เลยค่อนข้างจะแตกกระจาย หลวงพี่จึงพาชมพระวิหารก่อน สักพักจึงรวมตัวกันได้ที่หน้าพระธาตุ แต่สร้อยฟ้าฯ ไม่ได้ร่วมกับคณะด้วยเพราะจะช้า จึงได้ไหว้และเดินเวียนพระธาตุก่อนเลย แล้วก็ไล่เก็บรูป ซึ่งทางคณะฯ จะมีคนเดินถ่ายรูปอยู่ไม่กี่คนจะเป็นพวกวัยรุ่น ผู้สูงวัยก็ไหว้พระไป ดังนั้น สร้อยฟ้าฯ จึงต้องรีบไหว้รีบเดินรีบถ่ายภาพ ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันกับชาวคณะฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    จากจังหวัดลำปางสู่จังหวัดเชียงใหม่จะต้องผ่านจังหวัดลำพูน ที่จังหวัดลำพูนนี้ก็จะมีพระธาตุประจำปีเกิดอีกหนึ่งพระธาตุที่คณะของเราจะแวะกัน และพระธาตุแห่งนี้ สร้อยฟ้าฯ เคยมาแล้วหนึ่งครั้งเมื่อคราวเขียนกระทู้ Pai Mini Stories หลายๆ คนคงพอจะเดาได้นั่นก็คือ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร



    a.jpg

    ตอนที่คณะของเรามาถึงนี้ทางวัดกำลังมีงาน “เบิกฟ้าหริภุญชัย ๑,๓๕๔ ปี วิถีวัฒนธรรม” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่บริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัย, จวนผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน, กาดขัวมุง,สวนเฉลิมพระเกียรติริมแม่น้ำกวง, พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว และบริเวณพิพิธภัณฑ์ ชุมชนเมือง ด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย การจัดงานเป็นความร่วมมือของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดลำพูน เพื่อมุ่งอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ มีความโดดเด่นของมรดกวัฒนธรรมล้านนา ในงานจะมีการแสดงภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดมาแต่โบราณกาล การแสดงและสาธิตงานศิลปหัตถกรรม เช่น การทอผ้ายกดอก, การแกะสลัก, การทำร่มกระดาษ, การทำพัดใบตาล, การจำลองวิถีชีวิตกลุ่มชนชาติพื้นเมือง ไทยอง, ไทลื้อ, ไทยวน, มอญ, กะเหรี่ยง การแสดงฟ้อนรำและดนตรีพื้นบ้าน ตอนนี้คณะของเราต้องหยุดชะงักสักเล็กน้อยเพราะกำลังมีการแสดงฟ้อนของนักเรียน สร้อยฟ้าฯ เก็บภาพมาได้หน่อยเดียวเนื่องจากไทยมุงและช่างภาพคนอื่นก็ไม่สนใจเลยว่ามีใครยืนถ่ายภาพอยู่ใกล้ๆ บ้าง เรียกได้ว่า ข้าถ่ายคนเดียวไม่แบ่งพื้นที่ให้ใคร สร้อยฟ้าฯ ก็เลยเดินเข้าไปไหว้พระธาตุดีกว่า...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]

    วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีเล้า ปีระกา(ไก่)

    ตำนานมูลศาสนากล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาบิณฑบาตยังชัยภูมิแห่งหนึ่งซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ของชาวเม็งเมื่อรับบิณฑบาตแล้วได้เสด็จเลียบฝั่งแม่น้ำระมิงค์ขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงสถานที่แห่งหนึ่ง พระพุทธองค์มีพระราชประสงค์ ที่ประทับนั่งก็ปรากฏหินก้อนหนึ่งโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน พระพุทธองค์ทรงวางบาตรแล้วประทับหินก้อนนั้น ในขณะเดียวกันก็มีพระยาชมพูนาคราชและพระยากาเผือกออกมาอุปฐากพระองค์ มีชาวลัวะผู้หนึ่งนำหมากสมอมาถวายพระองค์ เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงทิ้งเมล็ดหมากสมอลงบนพื้นดิน เมล็ดหมากสมอได้ทำปทักษิณ ๓ รอบ


    [​IMG]

    พระพุทธองค์ทรงมีพุทธทำนายว่าสถานที่แห่งนี้ต่อไปในอนาคตจะเป็นที่ตั้งของ "นครหริภุญชัยบุรี" และสถานที่แห่งนี้ยังจะเป็นที่ประดิษฐาน "พระสุวรรณเจดีย์" หลังจากที่พระองค์นิพพานแล้วจะมี พระบรมสารีริกธาตุเป็นต้นว่า ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือและธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง มาประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ด้วย หลังจากทรงมีพุทธพยากรณ์แล้ว พระอรหันต์ พระยาอโศกชมพูนาคราช และพระยากาเผือกจึงพร้อมกันกราบบังคมทูลขอ พระเกศาธาตุ จากพระพุทธองค์ๆ ทรงใช้พระหัตถ์ เบื้องขวาลูบพระเศียร ประทานให้เส้นหนึ่งพระอรหันต์และพระยาทั้งสามได้นำเอาพระเกศาธาตุ บรรจุไว้ในกระบอกไม้รวกแล้ว นำไปบรรจุ ในโกศแก้วใหญ่ ๓ กำนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับนั้น พระพุทธองค์พร้อมด้วย พระอรหันต์ทั้งหลายจึงเสด็จกลับพาราณสี ส่วนหินที่พระพุทธองค์ประทับนั้นก็จมลงไปในแผ่นดินดังเดิมโดยชมพูนาคราชและ พระยากาเผือกได้ทำหน้าที่เฝ้าพระเกศาธาตุนั้น

    กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช ๒๓๘ พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๑,๔๒๐ ปี พระยาอาทิตยราชได้ครองเมืองหริภุญชัย พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น อยู่มาวันหนึ่งพระองค์เสด็จไปสู่วลัญชนฐาน ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ ผู้หนึ่งทัดทานไว้เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง


    [​IMG]

    คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกศาธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วันและอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง พระยาอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกศาธาตุโดยละเอียด พระยาอาทิตย์จึงโปรดให้เชิญพระยากาเผือกมาสู่ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่าความเป็นมาถวายทุกประการพระยาอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อราชมณเฑียรทั้งปวงออกไปจากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้พระสงฆ์สวดพระปริตตมงคลเพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดินทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศสูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพัณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ เวลา ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดินดังเดิม พระยาอาทิตย์โปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุจึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก

    พระยาอาทิตยราชโปรดให้สร้างโกศทองคำหนัก ๓,๐๐๐ คำ สูง ๓ ศอกประดับประดาไปด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการครอบโกศพระธาตุของพระพุทธเจ้านั้น แล้วโปรดให้สร้างมณฑปปราสาทสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าดังข้อความที่กล่าวไว้ในตำนาน มูลศาสนา ดังนี้ " พระยาอาทิตตราชก็ให้เอาหินมาเพื่อจักก่อให้เป็นเจดีย์ ครั้นได้หินมาบริบูรณ์แล้วจึงให้หานักปราชญ์มาพิจารณาดูวันยาม ฉายาฤกษ์อันเป็นมงคล ครั้นได้ฤกษ์แล้วพระยาก็แบกหินอันเป็นมงคลนั้นมาก่อในท่ามกลาง เพื่อจักให้ก่อก่อนสำหรับเป็นที่รอง โกศธาตุพระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นแลครั้นพระยาหยิบหินก้อนนั้นยอขึ้น ก็ให้ประโคมดุริยดนตรีเป็นมงคลเสียงอึงมี่นัก เป็นดังเมฆอันพัดกันในท้องฟ้าฉะนั้น ก็เป็นอันดังกึกก้องทั่วเมืองหริภุญไชยทั้งมวลนั้น พระยาก็ให้ก่อในที่หนึ่งแล้วก็ให้ก่อเป็น ๔ เสาดังปราสาทสูงได้ ๑๒ ศอก ให้เป็นประตู โค้งทั้ง ๔ ด้าน อยู่ภายนอกโกศธาตุเจดีย์นั้นแล ในเมื่อธาตุเจดีย์เสร็จพร้อมทุกอันแล้ว พระยาก็ให้ฉลองเจดีย์มีเครื่องพร้อม ทุกอัน กระทำบูชาอยู่ถ้วย ๗ วัน ๗ คืน "


    [​IMG]

    ในสมัยของพระยาสรรพสิทธิ์ พระองค์โปรดให้สร้างมณฑปองค์หนึ่งสูงได้ ๒๔ ศอก ครอบมณฑปองค์เดิมที่พระยาอาทิตยราช สร้างไว้ ต่อมาเมื่อพระยามังรายมาครองเมืองลำพูน พระองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ครอบมณฑปที่พระยาสรรพสิทธิ์สร้าง เจดีย์องค์นี้เป็น เจดีย์ทรงกลมมีความสูงถึง ๗๐ ศอกตลอดทั้งองค์เจดีย์ได้มีการหุ้มด้วยแผ่นทอง

    เมื่อพระยากือนาขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้ปฏิบัติตามราชประเพณีที่จะต้องทำนุบำรุงพระบรมธาตุเช่นที่พระบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา พระองค์ทรงตั้งสัตยอธิษฐานปล่อยช้างพลายมงคลเชือกหนึ่งชื่อ "ผู้ไชยหนองแขม" ให้ออกไปหาดินแดนถวายพระธาตุ โดยกำหนดเอาตามเส้นทางที่ช้างเชือกนี้ออกหากินได้ดินแดนถวายแก่องค์พระธาตุมากมายดังนี้ " ช้างเชือกนั้นก็กระหวัดแปรไปทิศใต้ฟากน้ำแม่ระมิงค์ด้านตะวันตกไปถึงสบล้องงัวเฒ่า เกี้ยวไปข้ามสบแม่ทาน้อยแผวแสน ข้าวน้อย (ฉางข้าวน้อย) ฟากน้ำแม่ทาฝายตะวันตกถึงหนองสร้อยและสบห้วยปลายปืน แล้วไปกิ่วปลีดอย ละคะแล้วถึงบ้านยางเพียง ไปดอยถ้าโหยดดอยเก็ดสอง ขุนแม ขุนกอง ลงไปถึงแม่ขุนยอด ไปม่อนมหากัจจายน์ ฝายเวียงทะมอฝายตะวันตก เกี้ยวขึ้นมาทาง แปหลวงมาผีปันน้ำ ถึงกิ่วขามป้อมหินฝั่งถึงขุนแม่อี่เราะแล้วไปถึงขุนแม่ลาน ลงมาแม่ออนล่องแม่ออนมาถึงสบแม่ออน แล้วกินผ่าเวียงกุมกาม กลับมาถึงป่า จรดกับปล่อยตอนแรก" ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช พระองค์โปรดให้ก่อพระมหาเจดีย์เจ้าองค์หนึ่งโดยพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานร่วมกับพระมหาธังกร การก่อสร้างเริ่มขึ้นในในปีดับเปล้า (ปีฉลู) เดือน ๘ (เหนือ) ออกค่ำ (แรมหนึ่งค่ำ) วันพุธ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๒ ชื่อ อุตราสาฒ จนถึงปีรวายยี (ปีขาล) จุลศักราช ๘๐๘ พระพุทธศานาล่วงแล้วได้ ๑,๙๙๐ ปี เดือนวิสาขะออก ๓ ค่ำ วันอังคาร ไทยยกสง้านับได้ ๖ เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ พระเจดีย์องค์นี้ตีนฐานมนกว้าง ๑๒ วาครึ่ง สูงแต่ใจกลางขึ้นไป ๓๒ วา มีฉัตร ๗ ใบเมื่อเสร็จแล้วก็โปรดให้มีการสวด ปริตตมงคลและพุทธาภิเษกฉลองอบรมพระมหาเจดีย์องค์นี้ และจัดให้มีการมหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน

    ในปี ๒๔๗๒ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครคนที่ ๑๐ ได้อารธนา ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า มาทำการรื้อทองจังโกที่หุ้มองค์พระธาตุมาแต่เดิมออก และทำการบูรณะใหม่โดยการหุ้มแผ่นทองเหลืององค์พระธาตุตลอดทั้งองค์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๐๐ในปี ๒๔๘๑ ได้มีการว่าจ้างช่างทองมาทำการหลอมไล่เอาทองคำแยกออกจากแผ่นทองจังโก เพื่อนำออกขายนำเงินมาเก็บเป็นสมบัติของพระธาตุเงินส่วนหนึ่งนั้นได้มีการนำไปซื้อที่ดินบริเวณห้องแถวตลาดสดเก่ากลางเมืองลำพูน เพื่อใช้สำหรับเก็บผลประโยชน์สำหรับมาบำรุงพระธาตุ องค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสนต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มาบูรณะใหม่พร้อมกับให้สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ


    [​IMG]

    ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้าง หอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหาร ด้านเหนือพระธาตุเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรให้ชื่อว่าพระละโว้ ภายในเขตพุทธาวาสยังมีเจดีย์อีกองค์หนึ่งก่อด้วยอิฐทรงสี่เหลี่ยมคล้ายกับเจดีย์มหาพลที่วัดจามเทวี เจดีย์องค์นี้มีชื่อเรียกว่า " เจดีย์ปทุมวดี " โดยเรียกตามพระนามของผู้สร้างคือพระนางปทุมวดีอัครมเหสี ของพระยาอาทิตยราช นอกจากนั้นเจดีย์องค์นี้ ยังมีชื่อเรียกตามตำนานอีกชื่อหนึ่งว่า " สุวรรณเจดีย์ " เนื่องจากว่าเดิมทีนั้น เจดีย์องค์นี้ หุ้มด้วยแผ่นทองทั้งองค์ ปัจจุบันคงเหลือให้เห็นบ้างที่ยอดของเจดีย์เท่านั้น เจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะโดย กรมศิลปากรแล้ว ครั้งนั้นมีการขุดที่ฐาน ของเจดีย์เพื่อเสริมรากฐานให้มั่นคง ปรากกฏว่าได้ค้นพบพระพิมพ์ ที่ใต้ฐานของเจดีย์มากมายเป็นพระพิมพ์ที่เป็นศิลปะแบบหริภุญชัย มีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่เรียกกันทั่วไปว่า พระเปิม ใกล้ๆ กันกับเจดีย์ปทุมวดีมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือวิหารพระพุทธไสยยาสน์ซึ่งอยู่ด้านตะวันออก ของเจดีย์ปทุมวดี ปัจจุบันได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้ว ด้านตะวันตก ของเจดีย์ปทุมวดีนั้นเป็นวิหารพระกลักเกลือ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐถือปูน ที่นับว่าแปลกตา คือเป็นพระพุทธรูปที่ห่มคลุมด้วยผ้าสีแดง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระเจ้าแดง สันนิษฐานว่าพระกลักเกลือองค์นี้คงจะสร้างขึ้นมาทดแทนองค์เดิมที่พังทลายลง ด้านใต้ของเจดีย์ปทุมวดีมีวิหารพระเจ้าพันตน ปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่เช่นเดียวกับวิหารพระพุทธไสยยาสน์


    คำบูชา
    สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิเสฎฐัง
    สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง
    อะหัง วันทามิ สัพพะทา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ได้เวลาเกือบสิบเอ็ดโมงเช้า ต่างคนก็ต่างค่อยๆ ทะยอยมาขึ้นรถ แต่มีพี่ของสร้อยฟ้าฯ คนนึงแยกตัวออกไปปฏิบัติภารกิจที่ตั้งใจมานานเหลือเกินว่าจะต้องมาไหว้พระราชานุสารีย์พระแม่เจ้าจามเทวีให้ได้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดนัก วันนี้ได้มาไหว้อย่างที่ตั้งใจไว้แล้วเห็นว่าเป่าปี่ไปหนึ่งรอบ ๕๕๕+ ...

    คนครบแล้วคณะของเราก็ออกเดินทางมุ่งสู่จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เวลาไม่นานนักก็เข้าสู่เขตจังหวัดเชียงใหม่ และพระธาตุต่อไปที่เราจะไปกันนั้น สร้อยฟ้าฯ ไม่เคยไปมาก่อนก็เป็นครั้งแรกที่มาไหว้ก็คือวัดพระธาตุศรีจอมทอง ตอนนี้เวลาเที่ยงแล้ว พระอาทิตย์ตรงศีรษะแดดร้อนเปรี้ยง ผู้คนมาทำบุญแน่นขนัดเลยหล่ะ สร้อยฟ้าฯ แพ้แสงแดดแรงๆ ตาจะหยีมองอะไรก็แสบตาไปหมด ยิ่งแสงแดดกระทบพระธาตุสะท้อนแสงเหลืองอร่ามงามตาแทบจะต้องหลับตาเลย อาการหวัดแดดก็เริ่ม จามไปหลายรอบฉันจะไหวไหมเนี่ยะ...




    [​IMG]


    วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีใจ้ ปีชวด(หนู)

    ตามตำนานเล่าว่า ดอยจอมทอง หรือ ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “ เมืองอังครัฏฐะ ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “ บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย ” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา( พระทักษิณโมลี ) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้ ” แล้วเสด็จกลับส่วน พระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนม์มายุของพระองค์

    ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้


    กาลหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จไปสู่ดอยจอมทอง และทรงได้สั่งขุดคูหาให้เป็นอุโมงค์ใต้พื้นดอยจอมทอง แล้วให้สร้างสถูปทองคำไว้ภายในคูหาและยังหล่อพระพุทธรูปทั้งเงินและทอง ตั้งไว้รอบสถูปนั้นแล้ว เอาพระบรมธาตุเจ้าที่อยู่ในสถูป ที่พระยาอังครัฏฐะให้สร้างไว้บนยอดดอยนั้น เข้าไปไว้ในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหาใต้พื้นดอยจอมทองแล้วรับสั่งให้เอาก้อนหินปิดปากถ้ำคูหาเอาไว้ แล้วทรงอธิษฐานว่า “ ต่อไปข้างหน้า ถ้ามีพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชน มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏแก่ผู้ชนให้ได้กราบไหว้สักการบูชา แล้วพระองค์จึงเสด็จกลับเมืองปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย



    [​IMG]


    เมื่อ พ.ศ.๑๙๙๔สามีภรรยาคู่หนึ่งชื่อนายสร้อยและนางเม็ง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ดอยจอมทองและเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง สามีภรรยาทั้งคู่ได้แผ้วถางบริเวณยอดดอยพร้อมทั้งสร้างเจดีย์และพระพุทธรูป ๒ องค์ ไว้บนดอยจอมทองซึ่งผู้คนได้พบเห็นจึงเรียกว่า ” วัดศรีจอมทอง ” การสร้างวัดยังไม่เสร็จดี นายสร้อย นางเม็ง ก็ได้ถึงแก่กรรมไปเสียก่อน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๐๐๙ มีชายสองคน ชื่อ สิบเงิน และ สิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะก่อสร้างวัดศรีจอมทอง ให้เป็นรูปเป็นร่าง มีพระวิหารมุงด้วยคาหลังหนึ่ง และได้นิมนต์พระภิกษุชื่อ “สริปุตต์เถระ” มาเป็นเจ้าอาวาสและท่านเจ้าอาวาสก็ได้ปฎิสังขรณ์วิหารให้มั่นคงแข็งแรงใช้ไม้ระแนงและกระเบื้องมุงหลังคา หลังจากที่เจ้าอาวาสได้มรณภาพไป ต่อจากนั้นก็มีเจ้าอาวาสองค์ต่อๆมาได้สร้างปราสาทเฟื่องและระเบียงหน้ามุขหลังวิหาร เพื่อเป็นที่ไว้พระพุทธรูปและยังก่อกำแพงรอบพระวิหารทั้ง ๔ด้าน พร้อมทั้งสร้างกุฎิเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุและก็ช่วยบูรณะปฎิสังขรณ์วัดอยู่เสมอ


    กาลล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๐๔๒ สมัยนี้มี พระธัมมปัญโญเถระเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ได้มีตาปะขาวคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่วัดนั้นเกิดนิมิตฝันว่า เทวดาได้มาบอกว่าใต้พื้นวิหารบนยอดดอยที่ตั้งของวัดนี้มีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าและพระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมาให้ฝูงชนได้กราบไหว้สักการะบูชาต่อไป ตาปะขาวจึงได้ไปเล่าความฝันนั้นให้แก่เจ้าอาวาสฟัง เจ้าอาวาสจึงได้ทำการอธิษฐานจิตว่า “ถ้ามีจริงดังความฝันนั้น ขอให้พระบรมธาตุจงได้เสด็จออกมา ในเมื่อข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงได้ไหว้สักการบูชาพระบรมธาตุนั้น เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้เห็นและได้สักการบูชาแล้ว ขออย่าให้ข้าพเจ้าสิ้นชีวิตไปเสียก่อนเลย ” ครั้นอธิษฐานแล้ว จนล่วงมาถึงปีจุลศักราช ๘๖๑ ปีพ.ศ.๒๐๔๒ เดือน ๔ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พระบรมธาตุเจ้าก็เสด็จออกจากพระสถูปทองคำ ซึ่งก็แสดงปฎิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ต่างให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย แล้วในวันรุ่งขึ้นพระธัมมปัญโญเถระกับตาปะขาวก็ได้พบพระบรมธาตุเจ้าอยู่ในรูพระเกศโมลีของพระพุทธรูป ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารนั้น จึงได้เก็บรักษากันไว้โดยเงียบ ๆ และรู้กันเพียงแค่ตาปะขาวและเจ้าอาวาสเท่านั้น


    เมื่อพระบรมธาตุเสด็จออกมาจากคูหา ปรากฏแก่คนภายนอกแล้ว พระธัมมปัญโญเถระเป็นเจ้าอาวาส ได้เก็บพระธาตุรักษาไว้ในช่องพระโมลีพระพุทธรูป หลังจากนั้นก็มีพระอานันโทเป็นเจ้าอาวาสองค์ถัดมา และก็มี พระเหมปัญโญ พระญาณมงคล พระพุทะเตชะ พระอรัญวาสี พระธัมมรักขิต พระไอยกัปปกะ กาลล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๐๕๗สมัยของพระมหาสีลปัญโญเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจอมทอง มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระมหาพุทธญาโณ ท่านไปยังเมืองพุกามและได้ตำนานพระบรมธาตุมาจากเมืองพุกาม ได้พิจารณาจากตำนานจึงคาดคะเนว่าพระบรมธาตุน่าจะตั้งอยู่ที่วัดศรีจอมทองแน่ จึงได้สั่งให้พระอานันทะ และปะขาวนักบุญทั้งหลาย ให้ไปที่วัดศรีจอมทอง และหากไปถึงวัดให้ทุกคนทำการสักการบูชาดอกไม้ธูปเทียนและให้ตั้งสัตยาธิษฐาน หากว่าพระบรมธาตุตั้งอยู่ในที่นั้นจริงดังตำนานกล่าว ขอพระบรมธาตุจงแสดงปฎิหาริย์เป็นอัศจรรย์ต่างๆให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายด้วยเทอญ เมื่อพระอานันทะได้ไปถึงวัดศรีจอมทองแล้วก็ได้ทำการเคารพสักการบูชา และตั้งสัตยาธิษฐานตามที่พระพระพุทธญาโณสั่งทุกประการ ฝ่ายพระมหาสีลปัญโญ เจ้าอาวาสเมื่อได้เห็นอาการของคนเหล่านั้นเช่นนั้นจึงได้นำเอาพระบรมธาตุ ซึ่งเก็บรักษากันต่อมานั้นออกมาแสดงให้พระอานันทะและปะขาวนักบุญทั้งหลายเหล่านั้นได้เคารพสักการบูชา แล...



    [​IMG]


    ความเป็นมาแห่งพระบรมธาตุในกาลต่อมา
    พระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อได้ทราบความที่ พระมหาพุทฺธญาโณว่า “ พระบรมธาตุเจ้าได้เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ภายในอาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์เช่นนั้นแล้ว ” ก็มีพระทัยยินดีปิติปราโมทย์เป็นกำลัง จึงรับคำสั่งแก่พระมหาพุทฺธาญาโณเถระว่า “ ขอพระคุณเจ้าจงไปจัดการเริ่มปฏิสังขรณ์ปลูกสร้างพระวิหารหลังหนึ่ง ให้เป็น ๔ มุขเหมือนวิหารวัดชัยศรีภูมิ แล้วได้ก่อปราสาทหลังหนึ่งให้เหมือนปราสาทอันมีอยู่ในพระอุโบสถวัดมหาโพธิ์หลวง(วัดเจ็ดยอด) ไว้ภายในท่ามกลางพระวิหารนั้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า ให้เป็นอัครสถานอันประเสริฐต่อไป” ดังนี้ แล้วทรงประทานเงินหมื่นหนึ่งเพื่อเป็นค่าอุปกรณ์ในการก่อสร้าง พระเถระเจ้ารับคำพร้อมด้วยปะขาวนักบุญ และนายช่างทั้งหลายไปสู่วัดพระธาตุศรีจอมทอง แล้วร่วมกับเจ้าอาวาสเริ่มการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาท ในปีชวดอัฏฐศก พ.ศ. ๒๐๖๐ ตามแบบที่พระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองนครสั่งนั้นทุกประการ เมื่อการปลูกสร้างพระวิหารและปราสาทสำเร็จบริบูรณ์แล้ว พระเถระจึงไปทูลถวายพระพรให้เจ้าผู้ครองนครทรงทราบ พระเมืองแก้วเจ้าผู้ครองนครมีใจยินดีมากนัก จึงรับสั่งให้สุวรรณช่างทองสร้างโกศทองคำน้ำหนักได้ ๕๖๐ คำ เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุและพร้อมด้วยเถรานุเถระ เสนาอำมาตย์ชาวบ้านชาวเมืองออกไปทำมหกรรมฉลองเป็นมหาปางใหญ่ แล้วเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าไว้ในโกศทองคำตั้งไว้ภายในปราสาทนั้นแล้ว ทรงโปรดพระราชทานวัตถุไทยทานและเครื่องแห่ไว้กับพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก และถวายข้าคนไร่นาตามเขตป่า ที่ดิน ย่านน้ำ ไว้สำหรับให้ปฏิบัติรักษาทำนุบำรุงพระบรมธาตุให้เจริญถาวรสืบต่อไปตลอด ๕๐๐๐ พระวัสสา ส่วนพระมหาสีลปัญโญเถระผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองได้อยู่อุปฐากรักษาทำนะบำรุงพระธาตุเจ้าได้ ๑๕พรรษาก็มรณภาพ ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชา ได้มาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ ๓๖พรรษา ก็มรณภาพ ต่อจากนั้นพระสังฆราชาญาณมังคละมาเป็นเจ้าอาวาสได้ ๑๒พรรษา ต่อจากนั้นพระมหาสังฆราชาชวนปํญโญโสภิตชิตินทริยวโสจากวัดหัวครั้งหลวงมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสได้ ๑๐พรรษาก็มรณภาพ และพระมหาสามิคณาจิตตะผู้เป็นศิษย์ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาสแทนต่อมา ปีพ.ศ.๒๑๐๐ปีมะโรงเดือน๔ทายกทายิกาศรัทธาทั้งหลาย ได้ไปนิมนต์พระมหาสังฆราชาญาณมงคละอยู่แคว้นทุ่งตุ๋มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ในสมัยพระนางมหาเทวีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่พร้อมด้วยพระอัครพระราชมารดา(พระแม่ราชวงศ์มังรายที่ ๑๕) มีจิตศรัทธานิมนต์พระบรมธาตุจอมทองเข้าไปในเมืองเชียงใหม่มีความเลื่อมใสยินดีในพระบรมธาตุเจ้ายิ่งนักจึงถวายไทยทานเป็นอันมาก จึงมีรับสั่งแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง ๔คือพระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้าน พระยาเด็กชาย ว่าต่อแต่นี้ไป บรรดาข้าพระธาตุเจ้าจอมทองให้ยกเว้นอย่าได้ใช้สอยเก็บส่วย และเกณฑ์ไปทำการบ้านเมืองเข้าอยู่อุปัฎฐากพระบรมธาตุเจ้าทุกวันคืนอย่าได้ขาดดังที่ พระรัตนราชหากได้ประธานไว้นั้นทุกประการ

    ถึงปีขาล เดือน ๓ใต้ เดือน ๕เหนือ พระยาสามล้านไชยสงครามได้มีจิตศรัทธามาใส่ช่อฟ้า บ้านลมวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง และสร้างถนนจากวัดไปถึงฝั่งน้ำปิงและถวายคนไว้เป็นข้าพระรัตนตรัย ลงอาญาหาบเงินตราหินไว้เป็นหลักฐาน

    ถึงปี พ.ศ.๒๑๑๒พระเจ้ามังธาเจ้าหงสาวดี พระเจ้าแผ่นดินพม่า ได้ยกทัพมาปราบลานนาไทยเชียงใหม่ใว้ในอำนาจ ได้ริบเอาทรัพย์ของพระศาสนาไปและบ้านเมืองเชียงใหม่ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า

    ถึงพ.ศ.๒๑๘๒ พระเจ้าสุทโธธรรมราชา พระเจ้าแผ่นดินพม่าได้ตกแต่งเครื่องวัตถุไทยทาน มาถวายบูชาพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง ตามเยี่ยงอย่างเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่หากได้เคยถวายทานมาแล้วแต่หนหลัง
    ถึง พ.ศ.๒๓๑๔ปีขาล โทศก เดือน ๕แรม ๑๑ค่ำ วันจันทร์ พระบรมธาตุเจ้าองค์ประเสริฐก็อันตรธานสูญหายไป นับแต่นั้นมาถึงปีมะแมศก จุลศักราชล่วงได้ ๑๑๓๖พ.ศ.๒๓๑๘กษัตริย์เมืองอยุธยา ยกพลโยธา มารบกับพม่าที่เมืองนครเชียงใหม่ได้ชัยชนะแล้วยกพลไปสู่นครหริภุญชัยนมัสการพระธาตุหริภุญชัยแล้ว จึงแต่งตั้งให้พระยาจ่าบ้านเป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิเชียรปราการ เมืองเชียงใหม่จึงได้หลุดจากพม่ามาขึ้นกับไทยกลางส่วนใหญ่ตลอดมาจนทุกวันนี้

    ถึง พ.ศ.๒๓๒๒พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มาคำนึงถึงพระบรมธาตุเจ้าจอมทององค์ประเสริฐ อันได้สูญหายไปแต่ พ.ศ.๒๓๑๔นั้น จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองคำ เพื่อจะได้นำไปเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุเจ้า แล้วจึงรับสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย ไปทำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าตามโบราณประเพณีเป็นครั้งแรกก่อน พระบรมธาตุก็ยงไม่เสด็จมา และได้อาราธนาอีก ๒ครั้ง จนถึงแรม ๔ค่ำเวลาก๋องงาย(๑๙.๐๐น.)พระบรมธาตุเจ้า ก็ได้เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาท ตามคำอธิษฐาน จากนั้นพระยาวิเชียรปราการเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ ทำการสระสรง และ ถวายทานต่างๆ นาน ๗วัน ๗คืน แล้วจึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม

    หลังจากนั้นก็มีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อีกหลายพระองค์ได้มาบูรณะปฎิสังขรณ์วัดพระธาตุศรีจอมทอง รวมไปถึงการสร้างโกศเงินโกศทอง เพื่อบรรจุพระบรมธาตุ นอกจากนี้ยังมีการอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าไปในเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านชาวเมืองได้สักการบูชา เสร็จแล้วก็อัญเชิญกลับมาที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม และ ในปีพ.ศ.๒๔๖๕เจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้รับสั่งพระนายกคณานุการให้จัดการ ปฎิสังขรณ์ พระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง ถึงเดือน ๗วันเพ็ญ จึงได้พร้อมกันทำบุญถวายทานฉลองพระวิหารเป็นมหาปางอันใหญ่ พร้อมทั้งสระสรงพระบรมธาตุเจ้าด้วยสันโธทกเป็นมโหฬารยิ่งในกาลนั้นแล...


    คำบูชา
    นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฏ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตติมันตัง มะโนหะรัง
    อะหังวันทามิ สัพพะทา อังคะวะเย ปุเรรัมเม โกวิลา รัคคะปัพพะเต สะหิเหมะคูหา คัพเภ ทักขิณะโมลี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    หลังจากที่ไหว้พระธาตุศรีจอมทองเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นเวลาเที่ยงแก่ๆ ก็เลยพากันเดินหาข้าวกลางวันทานกัน อิ่มพออยู่ท้องกะว่าจะเดินเข้าเซเว่นตุนขนมคิดไปคิดมาก็คิดว่าเดี๋ยวรถคงจะแวะปั๊มแล้วค่อยลงไปซื้อก็ได้ ก็เลยเดินออกมาจากวัดแต่หันไปหันมาไม่เห็นรถเลย รถไปจอดที่ไหนเนี่ยะ ปรากฎว่ารถจอดที่หน้าวัดไม่ได้ก็เลยไปจอดห่างออกไปเกือบ ๕๐๐ เมตรเห็นจะได้ ต้องรีบเดินเพราะว่ากลุ่มของสร้อยฟ้าฯ เป็นกลุ่มสุดท้ายที่ขึ้นรถเลยก็ว่าได้ ด้วยหลงไม่รู้ว่ารถจอดตรงนี้ ทีแรกเห็นทางคณะฯ เขาเดินเกาะกลุ่มกันไป จะบอกสักหน่อยก็ไม่ได้ว่ารถจอดอยู่ตรงไหน...บ่นมากก็เปลืองพลังงาน


    [​IMG]


    สถานที่ต่อไปที่ทางคณะฯ จะพาไปเป็นวัดประจำปีมะโรง นั่นก็คือ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ถึงตรงนี้ค่อนข้าง งง กับข้อมูลว่าที่บอกว่า ประจำปีเกิดปีมะโรงนี่คือ พระสิงห์ หรือว่า เจดีย์พระธาตุในวัดพระสิงห์ แต่เห็นเขาบอกว่าไหว้พระธาตุก็คงจะหมายถึงเจดีย์นั่นเองมั้ง แต่พออ่านตำนานจะเห็นว่าเจดีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อไว้เพื่อบรรจุอัฐิของพญาคำฟูบิดาของพญาผายู แล้วจะเป็นพระธาตุยังไงหล่ะ แต่พอสืบค้นอีกทีเห็นว่าต่อมาภายหลังได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ พระธาตุเจดีย์แห่งนี้


    วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร พระธาตุประจำปีเกิดปีสี ปีมะโรง(งูใหญ่)


    วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่บน ถนนสิงหราชจรด กับ ถนนราชดำเนิน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และยังเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาอันงดงาม ซึ่งเป็ที่รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต



    [​IMG]

    ตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่า พญาผายู โปรดให้สร้างเจดีย์ สูง ๒๓วา เพื่อบรรจุอัฐิพญาคำฟู พระบิดาของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๘๘ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๐ จึงโปรดให้สร้างวัดขึ้น และนิมนต์พระเถระอภัยจุฬาพร้อมภิกษุสงฆ์มาจำพรรษา แต่เนื่องจากหน้าวัดเป็นสถานที่ชุมนุม ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวเมือง วัดนี้จึงให้อีกชื่อว่า "วัดลีเชียง" (ลี แปลว่า ตลาด ) แต่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "กาดลี"


    [​IMG]


    และตามข้อมูลอีกแหล่งกล่าวว่า พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) เป็นพระเจดีย์เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับการตั้งวัด ศิลปะแบบล้านนา หริภุญชัย ผสมลังกา ฝีมือช่างหลวงนครเชียงใหม่ มีการตกแต่งน้อย คือ เป็นความงามที่เรียบง่าย สูงจากพื้นดินถึงยอด ๒๕ วา เป็นฐานเจดีย์เหลี่ยม ยาวด้านละ ๑๖ วา ๑ ศอก ๖ นิ้ว มีช้างประจำอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ทิศละ ๑ เชือก พระมหาเจดีย์นี้ พญาผายู เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๑๘๘๘ ต่อมาได้บูรณะขึ้นมาใหม่ มีขนาดสูงใหญ่ขึ้นในสมัยครูบาศรีวิชัยราว พ.ศ. ๒๔๖๙ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากทวีปลังกา มีความเชื่อว่า อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตผู้เกิดปีมะโรง ได้มีโอกาสมานมัสการพระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ จะเป็นมงคลอันสูงสุด

    งั้นก็สรุปได้ว่า ไหว้ทั้ง พระพุทธสิงห์ และไหว้ทั้ง พระธาตุ จะได้ไม่พลาด.....


    [​IMG]


    ในตำนานสิหิงคนิทานและพงศาวดารโยนก เล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไป๗๐๐ ปี พระเจ้าสีหลและกษัตริย์องค์อื่นใคร่ทอดพระเนตรรูปของพระพุทธเจ้า มีแต่พญานาคที่เคยเห็นพระองค์ จึงแปลงรูปเนรมิตตนเป็นพระพุทธเจ้า พระเจ้าสีหลได้กระทำการบูชา ๗ วัน ๗ คืน และให้ช่างถ่ายแบบพระพุทธรูปไว้ ต่อมาพระร่วงแห่งสุโขทัยได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธสิหิงค์ ใคร่จะได้บูชา จึงบอกกับพระเจ้าสิริธรรมแห่งเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าสิริธรรมได้ส่งทูตไปขอจากลังกา อัญเชิญไปให้พระเจ้าสุโขทัย ต่อมาพระพุทธสิหิงค์ถูกอัญเชิญไปยังเมืองสำคัญจนกระทั่งราวปี พ.ศ.๑๙๘๓ เจ้ามหาพรหมได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากกำแพงเพชรมาถวายพญาแสนเมืองมาแห่งเชียงใหม่ เดิมพญาแสนเมืองจะให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบุปผาราม แต่เมื่อรถที่อัญเชิญมาถึงหน้าวัดลีเชียงพระ (ชื่อเดิมวัดพระสิงห์) รถเกิดติดขัดไม่สามารถชักลากไปได้ จึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.๒๐๖๓ พระเมืองแก้วได้สร้าง วิหารลายคำ เพื่อประดิษฐานพระพุทธ



    [​IMG]

    อีกตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นเป็นพระสิงห์สกุลช่างเชียงแสน ศิลปะล้านนา ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเชียงราย ขณะนั้นเชียงรายกับเชียงใหม่เกิดการรบพุ่งกันขึ้น เชียงใหม่เป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแสนเมืองมา (พญาแสนเมือง พ.ศ.๑๙๓๑ - ๑๙๕๔) มานครเมืองเชียงใหม่ จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มายังเมืองเชียงใหม่โดยล่องเรือมาตามลำน้ำปิง เรืออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเทียบท่าฝั่งนครเชียงใหม่ที่ท่าวังสิงห์คำ ขณะเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบกปรากฎรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง ๒,๐๐๐ วา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั่นได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้งนั้นว่า "วัดฟ้าฮ่าม" ซึ่งหมายถึงฟ้าอร่ามนั่นเอง




    แต่เดิมนั้นพระเจ้าแสนเมืองตั้งพระทัยจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดบุปฝาราม(วัดสวนดอก) ซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออกไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไปถึงวัดลีเชียงพระก็มีอันติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พระเจ้าแสนเมืองมาถือเป็นศุภมิตรจึงโปรดให้สร้างมณฑปขึ้นวัดลีเชียงและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้นชาวบ้านต่างพร้อมใจกันนิยมเรียกวัดนี้ว่า "วัดพระสิงห์" ตามนามของพระพุทธรูป
    พระสิงค์ ท่านผู้รู้บางท่าน ให้ข้อคิดว่า พระสิงค์ หมายถึง พระสิงหวัติกษัตริย์โบราณ ผู้สร้างเมืองโยนกนครก็มี บางที่อธิบายว่าหมายถึง พระศากยสิงห์ คือพระบาทหนึ่งของพระพุทธเจ้า

    กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระสิงห์เป็นโบราณสถานสำคัญระดับชาติ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๓ จึงได้รับการสถาปนานายกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร และได้รับนามใหม่ว่าวัดพระสิงห์วรมหาวิหารมาจนถึงปัจจุบัน และประกาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๒

    ในเทศกาลสงกานต์ของทุกปีจะมีการอัญเชิญพระสิงห์สิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี


    ภายในวัดพระสิงห์มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่


    [​IMG]

    หอไตร สร้างเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ ที่ตัวผนังตึกด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้นแต่งองค์ทรงเครื่องสวยงาม ทำเป็นรูปเทพพนมยืน บ้างก็เหาะ ประดับอยู่โดยรอบเป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้วต่อมาในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐได้มีการซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ที่ฐานหอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัวภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น นางเงือกมีปีก คชสีห์มีปีก และกิเลน เป็นต้นโดยประจำยามที่มีลักษณะละม้ายลายสมัยราชวงค์เหม็งของจีน


    [​IMG]



    พระอุโบสถ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขโถงทั้งทั้งด้านหน้าด้านหลัง ด้านข้างแลเห็นหน้าต่างขนาดใหญ่ตีเป็นช่องแบบไม้ระแนง แต่ภายในเป็นหน้าต่างจริง มีลายปูนปั้นบริเวณซุ้มประตูทางเข้า หน้าบันมีลักษณะวงโค้งสองอันเหนือทางเข้าประกบกัน เรียกว่า คิ้วโก่ง เหนือคิ้วโก่งเป็นวงกลมสองวงคล้ายดวงตา ที่เสาและส่วนอื่นๆ มีปูนปั้นนูน มีรักปั้นปิดทอง ถือเป็นลักษณะอาคารและการตกแต่งเป็นแบบศิลปะล้านนาที่วิจิตรสวยงามโดยแท้


    [​IMG]


    วิหารลายคำ เป็นวิหารทรงพื้นเมืองล้านนาขนาดเล็ก ภายในประดิษฐาน "พระพุทธสิหิงค์" ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๑ นิ้ว สูงจากขอบฐานถึงยอดพระเมาลีบัวตูม ๕๑ นิ้ว บนผนังด้านหลังพระประธานมีรูปปราสาทแวดล้อมด้วยมังกรและหงส์ มีความงดงามน่าชมยิ่ง มีเสาหลวง (เสากลม) เสาระเบียง(เสาสี่เหลี่ยม) ที่ผนังวิหารมีภาพจิตรกรรมโดยรอบ ด้านเหนือเขียนเป็นเรื่องสังข์ทอง ด้านใต้เป็นเรื่องสุวรรณหงส์โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทองพบเพียงที่นี่แห่งเดียว อีกทั้งเป็นวิหารลายคำที่พบที่นี่ได้แห่งเดียวเท่านั้น และลักษณะเด่นของภาพจิตรกรรมที่พบในล้านนา ซึ่งศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ประติมากร ชาวอิตาเลียน บิดาแห่งวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย ได้สรุปไว้ว่า "จิตรกรรมในภาคเหนือนิยมเขียนภาพชีวิตประจำวันเป็นภาพเหมือนชีวิตจริง ถ้ามองดูภาพที่งดงามเรื่องสังข์ทองในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เราจะรู้สึกคล้ายกับว่า เราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นจริงตามความเป็นอยู่เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน"



    [​IMG]


    ในระหว่างเวียนไหว้พระธาตุวัดพระสิงห์ สิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือ กับระเบิด ยิ่งในสนามหญ้าที่ปูอยู่ข้างๆ กับองค์พระธาตุนี่เยอะเลยหล่ะ เกือบเหยียบเหมือนกันตอนถ่ายภาพเพราะไม่ค่อยจะมองพื้น แต่ก็รอดมาอย่างหวุดหวิด ที่วัดแห่งนี้มีชาวต่างชาติมากันเยอะ สิ่งนี้ควรจะปรับปรุงเพราะเป็นสิ่งรบกวนทัศนียภาพอย่างยิ่ง

    สร้อยฟ้าฯ ได้ถวายสรงน้ำพระธาตุ โดยใช้ชักลอกขึ้นไป ลอกฝืดมากเกือบขึ้นไม่ถึง แต่ระหว่างที่กำลังชักลอกขึ้นไปนั้น ฝนก็ได้โปรยปรายลงมาเล็กน้อย เหมือนเทวดารดน้ำมนต์ให้เลย สาธุ สาธุ สาธุ



    [​IMG]




    คำบูชา
    อิติปะวะระสิหิงโต อุตตะมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร อุปาโท สะกาละพุทธะ
    สาละธัง โชตะยันโตวะ ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนวะ พุทโธติ นะมามิ สิหิงคะพิมพัง
    สุวัณณาภิรัมมัง ลังกาชาตัง โสภาภิโสภัง สะราภิกันตัง นะมามิหัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ประมาณบ่ายสามโมงกว่าๆ เดินออกจากวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร มองซ้ายมองขวา หาร้านเซเว่นปรากฎว่าไม่มี ไม่เป็นไรทางข้างหน้าคงจะมีน่ะ ขึ้นรถดีกว่า ชาวคณะฯ ต่างทะยอยกันมาแล้ว เดี๋ยวจะช้ากว่าเขาอีก วัดหน้าคงจะมีร้านค้าบ้างหล่ะ...


    วัดต่อไปที่เราจะไปกันนั้น สร้อยฟ้าฯ เคยแต่นั่งรถผ่าน มีป้ายเล็กๆ บอกชื่อวัดบนถนนแคบๆ วัดนี้เป็นวัดประจำปีเกิดปีจอ นั้นก็คือ วัดเกตการาม ซึ่งมีพระธาตุเกตแก้วจุฬามณี พระวิทยากรท่านบอกว่า ใครอยากไปไหว้ของพระธาตุเกตแก้วจุฬามณีบ้าง ถ้าใครจะไปต้องตายก่อนถึงจะไปได้ แต่คงไม่ได้ไปหมดทุกคนหรอกสร้อยฟ้าฯ ว่า ก็แล้วแต่บุญกรรมทำไว้จะมีแรงส่งไปถึงดาวดึงส์ยอดเขาพระสุเมรุ ตอนนี้ก็ไหว้พระธาตุที่มนุษย์สร้างขึ้นไปก่อน....

    วัดเกตการาม พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี พระธาตุประจำปีเกิดปีเส็ด ปีจอ(สุนัข)

    วัดเกตการาม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตย่านการค้าของชาวต่างชาติ ตามประวัติว่าสร้างโดยพญาสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๑พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช ผู้จัดการก่อสร้างวัดเกตุการาม คือ พระยาเมืองพระยาคำ และพระยาลือ มีบริวารทั้งหมด ๒,๐๐๐ คน ในการก่อสร้างวัดเกตุการาม (ศิลาจารึกประวัติวัดเกตุการาม อยู่ด้านทิศใต้ของวิหาร) แต่พระเจดีย์ได้พังทลายลงในปี พ.ศ. ๒๑๒๑ พระสุทโธรับสั่งให้สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบล้านนา นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระวิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑ์เก็บของใช้พื้นบ้านให้ชม


    [​IMG]

    ความเป็นมา ความสำคัญ คุณค่าและเอกลักษณ์ วัดเกตการามสร้างในปี พ.ศ.๑๙๗๑ สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน (พ.ศ.๑๙๕๔ - ๑๙๘๕) พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๑๙๘๑ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

    วัดเกตการาม มีศิลาจารึกหลักหนึ่ง ตั้งอยู่บนมุขด้านใต้ของพระวิหาร จารึกเป็นอักษรฝักขามบนหินทรายสีแดง กว้าง ๕๘ เซนติเมตร สูง ๑๗๖ เซนติเมตร หนา ๒๑ เซนติเมตร ด้านหน้าลบเลือนไปหมด เหลือแต่ดวงศิลาจารึก ด้านหลังพออ่านได้ สรุปได้ว่า ศักราช ๙๔๐ (ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๑๒๑) มีการบูรณะพระเกศธาตุเจดีย์ที่พังลง สันนิษฐานว่า น่าจะพังลงในปีเดียวกับยอดพระธาตุวัดเจดีย์หลวง คือ ปี พ.ศ.๒๐๘๘ ที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เชียงใหม่ มีความรุนแรงขนาด ๕.๐– ๕.๙ ริกเตอร์ พอศักราช ๙๔๓ (ประมาณ ธันวาคม - มกราคม พ.ศ.๒๑๒๔) มีงานฉลองพระเจดีย์แจ้งความกว้างความยาวของพระอาราม ถวายคนประมาณ ๑๐๐ครอบครัว เป็นข้าวัด พร้อมทั้งแจ้งชื่อหัวหน้าและสมาชิกและครอบครัวด้วย

    ยุคที่พม่าเข้ามาครองเมืองเชียงใหม่ตั้ง พระเจ้าบุเรงนองเห็นความสำคัญถึงขั้นเสด็จมาบูรณะปฏิสังขรณ์ และนำสิ่งของมาถวายแก่วัด พม่าได้ใช้นโยบายให้ประชาชนปฏิบัติไปตามจารีตเดิมของท้องถิ่น การกัลปนาหรือเจาะจงให้คนเป็นข้าวัดของวัดเกตการามการสร้างเจดีย์ก็ยังคงใช้ศิลปะแบบล้านนา อย่างไรก็ตาม ล้านนาก็ยังรับอิทธิพลบางอย่างจากพม่า เช่น เรื่องอาหารการกิน ประเพณีการสร้างรูปสิงห์ตามประตูวัดต่างๆ ส่วนวัดเกตการามเป็นวัดที่มีมาก่อนที่พม่าจะเข้ามา ทั้งยังเป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญที่พม่ายอมรับการกัลปนาข้าวัดตามจารีตที่มีมาแต่เดิม จึงไม่มีการสร้างรูปสิงห์ที่ประตูวัด ส่วนรูปสิงห์ที่ประตูหลังวัดเกตการามนี้ พึ่งจะนำมาติดตั้งเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๒นี้เอง

    ตำนานกล่าวว่า เจดีย์จุฬามณี ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสวรรค์ที่อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เป็นเจดีย์ที่บรรจุ เครื่องทรงและพระเมาฬีของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งทรงสละทิ้งเมื่อคราวออกผนวช และยังเป็นที่เก็บรักษาพระเขี้ยวแก้ว ของพระพุทธองค์ หลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วย เมื่อเจดีย์จุฬามณีเป็นเจดีย์ที่อยู่ไกลถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงมีการสมมติให้เจดีย์องค์หนึ่งในประเทศพม่า เป็นที่กราบไหว้แทน โดยมีตำนานเล่าว่าพระอินทร์เป็นผู้นำลามาแขวนไว้ริมหน้าผาให้ผู้คนบูชา คนไทยจึงเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า "พระธาตุอินทร์แขวน" เจดีย์วัดเกตุการาม จังหวัดเชียงใหม่ ถูกกำหนดให้เป็นองค์แทนเจดีย์จุฬามณีอีกองค์หนึ่ง ซึ่งนอกจากจะเป็น การสะดวกในการเดินทาง เพื่อกราบไหว้แล้ว อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ชื่อของวัดเสียงเหมือนคำว่า "เกศ" แก้วจุฬามณี



    [​IMG]

    พระเจดีย์ประธานหรือพระธาตุเกตแก้วจุฬามณี เป็นปูชนียสถานที่ใหญ่โต มีฐานกว้าง ๘๒ วา ยาว ๖๓ วา มีเจดีย์บริวาร ๔ มุม สำหรับเจดีย์บริวารนี้ เดิมมีฉัตรแบบเดียวกับของวัดพระธาตุดอยสุเทพ แต่ปัจจุบันสูญหายไป ไม่ทราบว่าใครถอดออกเมื่อใดและด้วยเหตุผลใด ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า สมัยก่อนเคยเห็นพระธาตุออกมาเที่ยว โดยจะลอยไปทางทิศใต้เพื่อไปเยี่ยมเยือนพระธาตุจอมทอง มีลักษณะเป็นดวงไฟสีอุ้มฮุ่ม (สีเขียวเข้มและเย็นแบบป่า) พระธาตุนี้เสมือนเป็นการจำลองพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาไว้บนโลกมนุษย์ ดังนั้นการสร้างพระธาตุเกศแก้วจึงสร้างให้ยอดพระธาตุเอียงนิดหน่อย เพื่อมิให้ยอดชี้ขึ้นไปตรงกับพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์และเดิมองค์พระธาตุเป็นสีตะกั่วตัด เพิ่งมีการนำสีทองมาทาในยุคของท่านพระครูญาณาลังการ เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง


    [​IMG]



    [​IMG]

    พระวิหาร
    สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๙ ห้อง มีเสาคู่ในรองรับหลังคาหน้าจั่วและเสาคู่นอกรับแนวหลังคาปีกนกย่อเก็จ ๓ ตอน ในแนวตะวันออก - ตะวันตก หัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะ ตัวเสามีลายทอง มีประตูทางเข้าสามทาง หลังคาทรงจั่วเรียงซ้อนกัน ๕ ชั้น (คำเมืองเรียกว่า ซด) ๒ ตับ งดงามและหาดูได้ยาก อุโบสถทรงเดียวกับพระวิหาร แต่มีขนาดเล็กกว่า



    [​IMG]



    [​IMG]



    สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในวัดเกตุการาม คือ ภายในพิพิธภัณฑ์วัดเกตุการาม จังหวัดเชียงใหม่ จัดแสดงเครื่องใช้ที่มีคุณค่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของล้านนาในช่วง ๒๐๐ ปีที่ผ่านมาจำนวนมาก อาทิ ตาลปัตร พัดยศของพระภิกษุในวัด เครื่องแก้วเจียรไนยจากยุโรป เครื่องเคลือบจีน โตก เครื่องเขิน ที่เจ้าหลวงและเชื้อสายของราชวงศ์ล้านนาถวายในการทำพิธีสระผมในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ทุกปี หีบเหล็ก เครื่องเล่นแผ่นเสียงแบบตะวันตก แสดงถึงอิทธิพลชาวตะวันตก ซึ่งเข้ามาทำกิจการป่าไม้ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ตลอดจนเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีรวยระกา หางหงส์ของวิหารในวัดที่ถูกนำออกไปจำหน่าย เมื่อครั้งซ่อมแซมครั้งใหญ่ ซึ่งทางร้านค้าขายของเก่าในเชียงใหม่ได้นำกลับมามอบคืนแก่พิพิธภัณฑ์ เมื่อทราบว่ามีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของวัด พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงมีความหมายถึงการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวเชียงใหม่ ในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของตนอย่างแข็งขันอีกด้วย


    [​IMG]



    ...................................


    คำบูชา


    ตาวะติงสายะ ปุรัมเม เกสะจุฬามะณี สะรีระปัพพะตา


    ปูชิตา สัพพะเทวานัง ตังสิระสาธาตุ อุตตะมัง อะหังวันทามิ สัพพะทา


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,897
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg



    ภาพพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ภาพนี้ไม่เคยเห็น อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...