.oO เรื่องสั้น ปั้นแต่ง Oo.

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    มีภาพสาวๆ มาฝากหนุ่มพลังจิต อิ อิ... เลยหาอาหมวยมาเข้ากล้อง จะได้เข้าบรรยากาศ....


    [​IMG]
    ไม่รู้ว่าธูปจะไปทิ่มคนข้างๆ หรือเปล่านะ ... หวาดเสียว



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    ภาพสุดท้ายของวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ จ่ะ เป็นผืนผ้ายันต์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร


    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]



    ...........................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เรื่องที่ ๑๕


    เยือนพนมรุ้ง มุ่งสู่วัดป่า มาถ้ำนารายณ์


    ก็ขออนุญาต ตั้งกระทู้แยกย่อยขึ้นมาอีก ๑ กระทู้ เป็นการแยกออกจากงานทอดกฐินวัดป่าศิริสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งสร้อยฟ้ามาลา ได้ลงภาพของวัดป่าศิริสมบูรณ์ไปแล้วในกระทู้ ทริปกฐินไปฟรีในวันที่ ๒๔ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ วัดป่าศิริสมบูรณ์ และกระทู้ ภาพงานกฐินวัดป่าศิริสมบูรณ์ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ แต่อาจจะลงเพิ่มในกระทู้นี้อีกนิดหน่อย....


    ซึ่งกระทู้นี้จะลงในเรื่องราวของ ปราสาทหินพนมรุ้ง และวัดเขาวง(ถ้ำนารายณ์) แต่ไม่ขอบรรยายมากว่าเส้นทางไหนเดินทางอย่างไร แต่จะขอตัดบทไปที่สถานที่เลย


    ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

    ประวัติความเป็นมา

    อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ บ้านตาเป็ก ตำบลตาเป๊กอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถานสำหรับชาติในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ปัจจุบันตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเฉลิมพระ เกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์



    [​IMG]


    อดีตกาลพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟซึ่งผ่านการระเบิดมาแล้วและธรรมชาติก็ได้เปลี่ยนแปลงปล่องภูเขาไฟให้เป็นแหล่งน้ำ
    ซึ่งมีปริมาณน้ำมากเพียงพอต่อการบริโภคและ อุปโภคได้ตลอดปี สำหรับคนโดยทั่วไปและสำหรับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ขึ้นไปทำสิ่งก่อสร้าง อันยิ่งใหญ่บนนั้น ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์ ลัทธิศิวะนิกาย คือการยกเอาพระศิวะเป็นมหาเทพ สิ่งก่อสร้าง ส่วนใหญ่สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ ร่วมสมัยกับปราสาทนครวัดซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ มหาราชองค์หนึ่งของกัมพูชาเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นั้นเป็นศาสนสถานทาง ศาสนาพราหมณ์ลัทธิวิษณุนิกายคือการยกเอาพระนารายณ์หรือพระวิษณุเทพ โดยเหตุที่พระศิวะมีถิ่นฐานที่สถิตย์ประทับอยู่บนภูเขาพระสุเมรุ ฉะนั้นการที่บรรพชนในอดีตจะทำสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ถวายเป็นที่ประทับของ พระศิวะมหาเทพ จะต้องหาทำเลหรือชัยภูมิ เพื่อจะสมมติหรือทำอุบายว่าคือเขาพระสุเมรุ จึงเลือกเอาพนมรุ้งสร้างสิ่งก่อสร้าง คือ ปราสาทพนมรุ้งด้วยหินทรายสีชมพู บนขอบปล่องภูเขาไฟด้านทิศใต้อันเป็นหนทางอันใกล้สวรรค์มากยิ่งกว่าพื้นราบ และหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อรับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นอันเป็นสิริมงคลและพลังอันยิ่งใหญ่ร้อนแรง


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    สิ่งที่น่าสนใจ


    [​IMG]
    ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์

    ทับ หลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้น หมายถึง พระนารายณ์เทพองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์ บรรทมหลับพักผ่อนอยู่บนอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร โดยมีพระนางลักษมีซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและเป็นพระมเหสีคอยปรนนิบัติพัดวี มิให้ยุงริ้นไรมาไต่ตอมพระนารายณ์ เพื่อให้บรรทมหลับพักผ่อนให้สบาย เมื่อตื่นบรรทมมาแล้วแล้วและพระพรหมเทพอีกองค์หนึ่งของศาสนาพราหม์จะเป็นผู้ สร้างโลก

    และทำสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่จึงเริ่มนับใหม่ ครั้นสิ้นกัลป โลกก็จะแตกดับลงไปเองพระนารายณ์ก็จะบรรทมหลับพักผ่อนอีกครั้นหนึ่ง


    ทางดำเนิน
    ทาง ดำเนิน คือทางเดินก่อนถึงสะพานนาคราชที่ขึ้นสู่ศาสนสถานปราสาทเขาพนมรุ้ง ณ ทิศเบื้องบนสองข้างทางเดินนี้มีเสาศิลาทราย ทำคล้ายรูปดอกบัวสี่เหลี่ยมปักเรียงรายสองข้างทาง เรียกกันมาแต่เดิมว่าเสานางเรียง เป็นทางเดินสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ขอมหรือเขมรโบราณเรียกว่า เสานางจรัญ หากนำเข็มทิศมาวางจับจะเห็นว่าทางดำเนินตรงกับแกนทิศตะวันออกและทิศตะวันตก โดยไม่คลาดเคลื่อน


    [​IMG]


    สะพานนาคราช
    ถัด จากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่าเสา นางเรียง จำนวนข้างละ ๓๕ ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค ๕ เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปด ในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ ๑ มีบันไดจำนวน ๕๒ ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา

    [​IMG]

    ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ ๒ ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย


    [​IMG]

    ตัวปราสาท
    ศิวลึงค์ ประดิษฐานภายในห้องครรภคฤหะปราสาทประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและ ด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง ๘.๒๐ เมตร สูง ๒๗ เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดย นเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗


    [​IMG]


    ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่า ประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์เท่านั้น

    ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย


    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]


    [​IMG]

    จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ และ ๑๖ ตามลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารสองหลังก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่าบรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ก่อสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘


    [​IMG]


    [​IMG]



    ที่บริเวณหน้าบันและทับหลัง ของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น พระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระราม (ในเรื่องรามเกียรติ์) หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤๅษีเป็นต้น


    [​IMG]


    ปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวด ลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤๅษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้าง ขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก ๑ องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน

    [​IMG]


    ละที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออก เฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ร่วมสมัยกันกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า โรงช้างเผือก


    [​IMG]

    เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.

    อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๑๕๐ บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมโบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ ได้แก่ โบราณสถาน ปราสาทเมืองต่ำ ที่อำเภอประโคนชัย ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๕๐ บาท

    สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. ๐ ๔๔๗๘ ๒๗๑๕,๐ ๔๔๗๘ ๒๗๑๗



    ................




    ที่จริงยังมีอีกหลายซอกหลายหลืบที่ไม่ได้ถ่ายภาพเพราะเจออุบัติเหตุเสียก่อน
    เท้าไปสะดุดหินศิลาแลงที่เขาปูเป็นทางไว้ เล็บเท้าฉีกปวดเลย

    ...............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดป่าศิริสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์

    ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ เป็นวัดป่าสายปฏิบัติ ซึ่งพระใบฎีกา ปภสฺสโร ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับประพฤติปฏิบัติ ฝึกฝน อบรมพระภิกษุ-สามเณร ผู้มุ่งสู่ความพ้นทุกข์ ให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ เสียสละ พากเพียรเพื่อมรรคผลนิพพาน และนำพาไปสู่การเป็นสมณะที่งดงาม ด้วยการรักษาวัตรปฏิบัติตามธรรมวินัย อันจะเป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น ร่วมประคองค้ำชูพระศาสนาให้มีอายุยืนยาว เจริญรุ่งเรือง เพื่อหวังให้ต่อไปจะได้เป็นศูยน์กลางการอบรมสั่งสอน ตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา ให้กับนักปฎิบัติธรรมทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ที่สนใจทุกคนต่อไป



    [​IMG]
    ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ ตั้งอยู่บ้านไร่สมบูรณ์ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๕๐ ไร่ อาณาเขต
    ทิศเหนือ ประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จดที่ดิน-ที่สวนชาวบ้าน ทิศใต้ ประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จดที่ดินสาธารณประโยชน์-ถนนลูกรัง ทิศตะวันออก ประมาณ ๔๐๐ เมตรจดที่ดินสาธารณะ ทิศตะวันตก
    ประมาณ ๔๐๐ เมตร จดที่สวนชาวบ้าน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๖ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ชั้นเดียว โปร่ง หอสวดมนต์
    กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่ยังไม่เสร็จ เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๑ หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีห้องน้ำประจำกุฏิ โรงครัวสร้างด้วยปูนและอิฐ
    ห้องน้ำญาติโยมเป็นเรือนแถว จำนวน ๒๐ ห้อง ปูชนียวัตถุ หลวงพ่อศิลาเขียว เป็นพระพุทธรูปหินทรายสีเขียวหน้าตัก ๑๕๐ เซนติเมตร ปางชนะมาร ๑ องค์พลวงพ่อศิลาแดง เป็นพระพุทธรูป
    หินทรายแดง หน้าตัก ๑๒๐ เซนติเมตร ปาง คันธารราฏ ๑ องค์ ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศเหนือของหมู่บ้านไร่สมบูรณ์ และ หมู่บ้านน้อยอุบล
    โดย หลวงพ่อพระใบฎีกาวิศวาธาน ปภสฺสโร เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์และมีพระปฏิบัติธรรม ร่วมจำพรรษาในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า ๑๐ รูป มีทั้งธรรมยุต และมหานิกาย เพราะทางวัดมุ่งใน
    การปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐาน จึงไม่ได้แบ่งแยกนิกาย

    เหตุของการก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรมธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ (วัดป่าไร่สมบูรณ์)


    [​IMG]
    ท่านพระใบฎีกาวิศวาธาร หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้อยู่ถือนิสัยกับครูบาอาจารย์ เพียง ๓ พรรษาก็กราบลา ท่านพระอาจารย์เพื่อออกุดงค์เพียงลำพัง ในตอนนั้นท่านถือนิสัยอยู่กับท่านพระอาจารย์เผ่า จิตฺตคุโณ วัดเขาถ้ำสหกรนิคม
    ท่านพระ อาจารย์เผ่าเห็นว่าท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน นี้เป็นผู้สามารถที่จะรักษาตัวเองรอดจากภัยร้ายต่างๆได้แล้ว เพราะเป็นผู้ได้ฝึกหัดทางด้านการเจริญสมาธิภาวนามาหลายปี และความรู้ในทางปริยัติธรรมก็จบนักธรรมเอกแล้ว จึงอนุญาตให้ออกธุดงค์เพียงรำพังได้
    เส้นทางที่ท่านได้เที่ยวจาริกไปนั้นเป็นเส้นทางตะเข็บชายแดน โดยตัดป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มุ่งตรงขึ้นสู่ภาคเหนือของประเทศไทย ผ่านทั้งป่าดงดิบ ภูเขา อดบ้างอิ่มบ้างไปจนถึง ถ้ำผาผึ่ง บ้าน เปลิ่งเคลิ่ง จึงหยุดพักทำความเพียรที่นั่น ๑ พรรษา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ ร่วมกับคณะสงฆ์ธรรมยุตที่ท่านพักภาวนาอยู่ก่อนแล้ว
    พอออกพรรษา ท่านก็ออกจาริกต่อไปทางเหนือมุ่งไปอย่างไม่ลดละไม่พักที่ใดเกินหนึ่งคืน และไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจของความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า รวมทั้งความกลัวต่างๆทั้งสัตว์ร้าย คนร้าย ผีร้าย จนบรรลุถึง อำเภอ ปางมะพร่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้หยุดพัก บำเพ็ญเพียรภาวนาในถ้ำแห่งหนึ่งอาศัยการบิณฑบาตจากชาวเขาเลี้ยงชีพ
    พอพักอยู่เป็นเวลานาพอสมควรแล้วจึงได้ออกจาริกต่อไปมุ่งตรงไป ทางตอนเหนือสุดของไทยคือจังหวัดเชียงราย แล้ววกกลับลงมา ทางเชียงใหม่ ได้ผ่าน อำเภอเชียงดาวจึงได้แวะไปพักภาวนาอยู่กับท่าน หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาป่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และได้อุบายธรรมจากท่านหลวงปู่เป็นที่น่าพอใจแล้ว
    จึงได้เดินตอลงมาจนบรรลุถึงเขตของภาคอีสาน ในตอนนั้นมีอยู่คืนหนึ่งในระหว่างที่ท่านพักภาวนาอยู่นั้นจิตได้รวมลงสู่ ความสงบดังเช่นเคยเพราะท่านได้เคยฝึกสมาธิจนจิตสงบมาแล้วจนชำนาญ ท่านได้เกิดภาพนิมิตขึ้นเห็น อุบาสกท่านหนึ่งมากราบแล้วอาราธนานิมนต์ให้ท่านให้รีบกลับวัดหนองป่าพง พอท่านออกจากสมาธิจึงใคร่ควรดุถึงนิมิตนั้น
    วันรุ่งขึ้นท่านจึงหลังจากทำภัตรกิจแล้วจึงได้จาริกมุ่งตรงสู่ วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กว่าที่ท่านจะไปถึงนั้นก็จวนจะเข้าพรรษาแล้ว ท่านจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง
    ซึ่งใน ตอนนั้นทางวัดหนองป่าพงได้ทำการเตรียมสถานที่เพื่อประกอบพีธีพระราชทานเพลิง ศพ พระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภสฺสโท )ท่านพระใบฎีกาวิศาวาธานจึงได้อยู่ช่วยงานสงฆ์จนเสร็จกิจทั้งปวง เป็นเวลาเกือบ ๘ เดือน


    [​IMG]
    หลังจากนั้นท่านจึงได้กราบลาพระราชภาวนาวิกรม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง เพื่อจาริกแสวงหาวิโมกข์ธรรมต่อไป ทั่วราชอานาจักรไทย และได้พักบำเพ็ญภาวนา ตาม ในระยะนั้นท่านมีท่านพระอาจารย์รูปหนึ่งได้ขอติดตามท่านพระใบฎีกาวิสวาธาน จาริกธุดงค์ด้วย ท่านมีนามว่า ท่านพระมหาเมธชนัน โกวิโท ท่านสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตนิกาย (แม้ในปัจจุบันนี้ท่านพระอาจารย์รูปนี้ก็ยังอยู่เพื่อช่วยงานท่านตลอดมา และเป็นผู้ที่เปนสักขีพยานในเรื่องการบำเพ็ญภาวนาของท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน รวมทั้งเรืองปาฏิหารต่างๆอันเกิดขึ้น ) สถานที่ต่างๆ และได้วกกลับขึ้นไปทางเหนืออีก ได้ไปพักอยู่ที่ถ้ำ พระ บ้านเมืองแพรม อำเภอปางมพร่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    ในเช้าวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.๒๕๔๒ ในขนะที่ท่านได้นั่งทำสมาธิอยู่นั้นได้เกิดนิมิต เห็นอุบาสิกาผู้หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาวร่างกายสะอาด ได้มากราบท่านแล้วกร่าวอาราธนานิมนต์ให้กลับไปยังภูมิลำเนาเดิม เพื่อได้โปรดญาติโยมผู้ที่เคยได้สร้างกรรมร่วมกันมาในอดีตชาติ และได้เกิดภาพเห็นผืนป่าแห่งหนึ่งเขียวขจีสวยงามมาก พอออกจากสมาธิท่านได้พิจารณาถึงการจาริกธุดงค์ของท่านและการบำเพ็ญบารมี ต่างๆก็พอที่จะรักษาตัวเองให้อยู่รอดจากเหล่ามารร้ายได้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจกลับสู่ถิ่นกำเนิดของตน โดยได้อธิฐานจิตไว้ว่าหากจะเป็นจริงดั่งนิมิตนั้นแล้วก็ให้เดินทางให้ถึง สถานที่นั่นก่อนเข้าพรรษาเถิดเราจะขอถอนการสมาทานการเดินเท้าหากมีใครขับรถ มา แล้วมีผู้จอดรับ ก็จะขึ้นรถนั้นไปด้วย ( ท่านไม่รับปัจจัย การเดินทางเดินเท้า )
    พอท่านเดินออกมาถึงถนนลาดยางสายเชียงใหม่แม่ฮ่องสอนก็มีรถจอดรับ ไปจนถึงเชียงใหม่และยังได้ซื้อตั๋วรถเชียงใหม่บุรีรัมย์ถวายอีก เป็นอันว่าท่านได้ใช้เวลาใน การเดินทางสู่บุรีรัมย์ เพียง ๑ วัน กับอีก ๑ คืน เท่านั้น พอถึงบุรีรัมย์ท่านจึงไป พักอยู่กับเพื่อนสหธรรมมิก ของท่านรูปหนึ่งซึ่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ป่าช้าแห่งหนึ่งใกล้ๆกับอำเภอเมือง บุรีรัมย์ และได้ไปแวะพักกับเพื่อนสหธรรมิกอีกหลายท่าน บางท่านเห็นหน้า ท่านพระใบฏีกาวิศาวาธาน แล้วจำไม่ได้นึกว่าหลวงตาที่ไหนมาเพราะท่านผอมมากจนแก้มตอบลงไปลึกทีเดียว แต่พอถามไถ่กันแล้วจึงจำได้ต่างก็เอ่ยขึ้นทันทีว่านึกว่าตายแล้ว แล้วก็หัวเราะกันไป
    จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ปี เดียวกันนั้นท่านพร้อมกับพระมหาเมธชนัน โกวิโท จึงได้เดินเท้ามุ่งมาทางอำเภอ โนนสุวรรณ จนถึงวันที่ ๙ มิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จึงถึงป่าแห่งหนึ่ง มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕๐ ไร่ เป็นป่าไม่รุ่น ๒ แต่มีความสมบูรณ์พอสมควร จึงได้หยุดพักปลักกลด ณ ที่ป่าแห่งนั้น ตกดึกมาใน
    ขณะ ที่ท่านพระใบฎีกาวิศวาธานได้นั่งสมาธิท่านได้เห็นนิมิตเป็นร่างชายกับหญิง แก่ นุ่งห่มผ้าขาว ถือจานใส่เครื่องบูชามาถวายท่านแล้วกราบลงกับพื้นดิน แล้วยิ้มและหายไป ท่านจึงออกจากสมาธิ เวลาประมาณ ๐๐.๓๖ น. ในทางทิศตะวันออกได้มีอะไรบางอย่างปรากฏขึ้นมา เป็นสิงอัศจรรย์ อย่างหนึ่งนั่นก็คือ มีดวงไฟดวงใหญ่ขนาดเท่ากับ โอ่งมังกรขนาดใหญ่ ลอยอยู่เหนือพื้นดินประมาณ ๓ เมตร ซึ่งก้องไฟนี้ท่านพระมหาเมธชนัน ก็ เห็นเช่นเดียวกัน ลอยอยู่อย่างนั้นประมาณ ๒๐ นาทีก็ได้แตกออก เป็น ๗ สีเหมือนกับ พุที่เขาจุด แต่ไม่มีเสียงใดๆเลย


    [​IMG]
    พอรุ่งเช้ามาท่านพระใบฎีกาวิศวาทานจึงได้ออกไปโปรดสัตว์พร้อมกับ ท่านพระมหาเมธชนัน ญาติโยมพอได้เห็นพระไปรับบิณฑบาตก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาบางคนกล่าวว่าได้ ฝันเห็นพระ ๒ รูปมาโปรด หน้าตาเหมือนกับท่านทั้ง ๒ รูปและได้บอกหวยอีก งวดนั้นเลยถูกกันทั้งหมู่บ้าน
    ใน เช้านั้นชาวบ้านได้พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ให้พระใบฎีกาวิศวาธานอยู่ในป่า แห่งนั้น เพื่อเป็นผู้นำทางด้านจิตใจของชาวบ้านต่อไปจึงได้เกิดเป็น ธุดงค์สถานป่าศิริสมบูรณ์ขึ้นมา ในระยะแรกของการก่อตั้งวัดได้มีปัญหาเกิดขึ้น อยู่บ้างเช่นการไม่เข้าใจกันเกี่ยวกับประเพณีบางอย่าง ซึ่งท่านพระใบฎีกาวิศวาธาน ท่านไม่ยอมให้กระทำ เช่น การกินเหล่าในวัด การมีมหรสพเวลามีงานวัด การฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ อย่างนี้ ท่านจะไม่อนุญาตให้ทำเป็นเด็จขาด คนที่จะมาเป็นทายกวัด หรือเป็นผู้นำทางด้านศาสนา ท่านจะให้เลิกอบายมุขเสียก่อนถ้าเลิกไม่ได้ก็ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับการดูแล กิจกรรมต่างๆของวัดเด็จขาด เพราะจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ผู้อื่น ท่านพยายามคัดสรรค์บุคลากรที่มีคุณภาพทั้งทางความรู้และ คุณธรรม เข้ามาทำงานในส่วนที่ไม่ เหมาะสมกับ สมณะสารูป เช่นการดุ แลปัจจัยเงินทอง เป็นต้น สอนให้ชาวบ้าน ลด ละ เลิกอบายมุขทุกชนิด และมีเรื่องน่าอัศจรรย์อีกมากมายที่เกิดข้น จึงทำให้มีผู้เคารพ นับถือ

    รายละเอียดทั้งหมดดูได้จากที่นี่จ่ะ ทริปกฐินไปฟรีในวันที่ ๒๔ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ วัดป่าศิริสมบูรณ์ และกระทู้ ภาพงานกฐินวัดป่าศิริสมบูรณ์ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) จังหวัดสระบุรี


    ตั้งอยู่ที่วัดเขาวง บ้านเขาวง หมู่ ๕ ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท ห่างจากตัาอำเภอพระพุทธบาท ประมาณ ๓ กิโลเมตร ที่ปากถ้ำมีอักษรมอญโบราณ (ปัลลวะ) ซึ่งเป็นแบบอักษรของชาวอินเดียฝ่ายใต้ ปรากฎมีในภาคกลาง และภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยก่อนสุโขทัย จนวิวัฒนาการมาเป็นอักษรขอมและ มอญโบราณ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง นำมาดัดแปลงประดิษฐ์เป็นต้นกำเนิดอักษรไทย จนถึงทุกวันนี้อักษรจารึกถ้ำนารายณ์ มีข้อความ ๓ บรรทัด ถูกจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (ยุคทวาราวดี) ในยุคนั้น ชนชาติมอญมีอำนาจรุ่งเรือง อักษรจารึก เขียนเป็นคำบอกร้อยแก้ว กรมศิลปากรแปลไว้ว่า


    [​IMG]



    [​IMG]


    “กัณทราชัย ผู้ตั้งแคว้นอนุราธปุระ ได้มอบให้พ่อลุงสินาธะ
    เป็นตัวแทนพร้อมกับชาวเมือง (อนุราธปุระ) จัดพิธีร้องรำ
    เพื่อเฉลิมฉลอง(สิ่ง)ซึ่งประดิษฐานไว้แล้วข้างในนี้”

    อ้างอิงจาก
    (เทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ‘จารึกบนผนังปากถ้ำนารายณ์’ ในวารสารศิลปากร หน้า ๕๓-๕๗ ม.ป.ป.)


    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    จารึกนี้บอกให้ทราบว่า ท้องถิ่นแถบนี้มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลานาน และอาจจะเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง มาก่อน ซึ่งคำว่า ‘อนุราธปุระ’ เป็นชื่อเมืองโบราณในประเทศศรีลังกา


    [​IMG]

    เป็นเกาะทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย และอาจจะแสดงว่าชาวลังกากับคนท้องถิ่นนี้ (มอญโบราณ) มีการติดต่อสัมพันธ์กัน จึงมีการอ้างชื่อเมือง เพื่อกำหนดให้ระลึกถึงกัน พร้อมทั้งจารึกอักษรไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้เปรียบเทียบศึกษาจาก บันทึกในพงศาวดารหลายฉบับระบุว่า ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.๒๑๖๓-๒๑๗๑) เคยมีปรากฏคณะสงฆ์ไทยเดินทางไปเมืองลังกาเพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ แต่พระภิกษุลังกาได้บอกว่ามีรอยพระพุทธบาท ในประเทศไทยที่เขาสุวรรณบรรพต และเกิดการค้นพบรอยพระพุทธบาทบริเวณเทือกเขานี้ในเวลาต่อมา หรืออาจจะหมายถึงการแลกเปลี่ยน วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์และสยามวงศ์ตามที่ปรากฏในพงศาวดารของชาติไทยเราด้วย ก็อาจจะเป็นได้


    [​IMG]



    วัดเขาวง ตั้งอยู่เลขที่ ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดตามลำดับ จนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑ มีบริเวณกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๕๑ เมตร เนื้อที่ ๑,๕๐๐ ตารางเมตร ดำเนินการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]

    สถานที่แห่งนี้เป็นศาสนสถานมาเป็นเวลายาวนาน สืบความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเสด็จจากวังนารายณ์เมืองละโว้(ลพบุรี) ไปว่าราชการที่กรุงศรีอยุธยา ทรงผ่านประทับแรม ณ ถ้ำนารายณ์


    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]



    ... และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทรงเสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท ก็ได้เสด็จประทับพักแรมในถ้านารายณ์ ซึ่งมีอากาศเย็นสบายตลอดปี และจากจารึกอักษรผนังปากถ้ำก็ปรากฏหลักฐานว่า ถ้ำนี้ได้เคยเป็น ที่บำเพ็ญกุศลมาตั้งแต่สมัยอนุราธปุระ เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว ผ่านความรุ่งเรืองและเสื่อมโทรมและฟื้นฟูขึ้นเป็นวัดตามประเพณีการปกครองแผ่นดินและ การสืบพระพุทธศาสนา ดังกล่าวข้างต้น


    [​IMG]

    ปัจจุบันนี้ โดยการนำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และพระธรรมสิทธินายก (ธงชัย สุขญาโณ) แห่งวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร วัดเขาวง ได้พัฒนาขึ้นมาสู่สภาพวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้วเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง และยังเป็นแหล่งพันธุ์ไม้และสัตว์หาดูยาก คือโมกราชินี (Wrightia SIRIKITIAE D.J. Middleton&Santisuk) จันผา, นกหัวจุก, กระรอกเผือก ฯลฯ เพื่อรักษาไว้เป็นมรดกวัฒนธรรมศาสนาของชาติไทยสืบไป


    [​IMG]

    วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสระบุรี และปฏิบัติกรรมฐานตามสาย พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) มีหลักเจริญภาวนา มหาสติปัฏฐานสูตร รับผู้เข้าพัก ปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปี ตามระเบียบและจารีตของสำนัก


    [​IMG]


    ........................



    สุดท้ายนี้อันกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์เจ้านายทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย คุณแม่พระธรณี พระคงคาพระพาย พระเพลิง พระโพสพ พระยายมราช เจ้ากรรมนายเวร และขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่าน

    <EMBED height=80 type=application/x-shockwave-flash width=315 src=http://www.ijigg.com/jiggPlayer.swf?Autoplay=1&songID=V24EEF74PA0 wmode="transparent" scale="noscale">


    อ้างอิง :


    ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
    ข้อมูลจาก :
    www.tonkeian.com



    วัดป่าศิริสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์
    ข้อมูลจาก :
    ทริปกฐินไปฟรีในวันที่ ๒๔ - ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ วัดป่าศิริสมบูรณ์
    โดยคุณ teporrarit



    วัดถ้ำเขาวง (ถ้ำนารายณ์)
    ข้อมูลจาก :
    http://www.watkhaowong.com


    ภาพโดย สร้อยฟ้ามาลา
    ไม่ได้เรียบเรียงใหม่
    .......................



    [​IMG]




    ..............

    <O:p</O:p
    <!-- google_ad_section_end -->​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    a.jpg

    ดอกไม้หอม...พยอมกลิ่น....เหมือนอินทร์สร้าง
    ดั่งรูปนาง.......อัปสรา.......มาเสกสรร
    ทั้งรูปโฉม......ได้ยล.........ต้องมนต์พลัน
    แลกลิ่นนั้น......จรุงค์จิต......ติดต้องใจ


    ดอกไม้งาม.....จุติสูง..........สุดเสียดฟ้า
    ช่างเย้ยเหล่า....ภุมรา..........มาโหยไห้
    มิได้ยั่ว..........แต่ความจริง...ที่เป็นไป
    สิ่งดีใด..........สถิตย์ไหน.....ใครก็ปอง


    หากเทียบกับ....สตรี............ที่เหมาะสม
    กริยา............น่าชม..........ไม่เป็นสอง
    ทั้งมรรยา.......มารยาท........นวลละออง
    เดินเหิรคล่อง...นุ่มนวล.........ชวนตรึงตา


    แลกอร์ปกับ.....ความดี.........ที่มีศีล
    รักษาตัว........ไร้ราคิน.........สิ้นกังขา
    รักษาใจ........ให้ผ่องแผ้ว......จิติมา
    เธอนั้นหนา.....ได้ชื่อว่า...........กุลสตรี



    ....สาธุ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เรื่องที่ ๑๖

    เที่ยวกระจายบุญ ตอน งานประเพณีชักพระวัดนางชี


    เมื่อวันพุธที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ ที่ผ่านมา สร้อยฟ้ามาลาได้มีโอกาสอันดีอีกครั้งที่ได้เข้าร่วมงานประเพณีชักพระวัดนางชี ที่จริงแล้วเมื่อปีที่แล้วสร้อยฟ้ามาลาก็เคยเข้าร่วมงานมาแล้วแต่พอกลับมาถึงที่ทำงานเกิดอาการไข้ขึ้นหนัก ปวดศีรษะ เดินแทบไม่ไหว นอนซมไป ๓ วันเลย พอหายก็เดินไม่ตรงทางอยู่หลายวันเลยไม่ได้โม้อะไรให้ฟังเลย พอมาปีนี้เลยต้องเตรียมตัวให้ดี เลยมีแรงมาโม้ให้ฟัง.... เข้าเรื่องดีกว่า เริ่มเกริ่นยาวไปแล้ว


    แต่ก่อนจะไปทราบเรื่องราวของงานประเพณีชักพระ มาทราบประวัติวัดนางชีกันก่อนดีกว่า เนอะ....(เรื่องยาวนิดหนึ่งนะ แต่เพื่อเป็นการประดับความรู้).....

    วัดนางชีวรวิหาร หรือวัดนางชีโชติการาม

    วัดนางชี เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา
    ทิศเหนือ ติดกับหมู่บ้านบริเวณคลองวัดนางชี
    ทิศใต้ จรดคลองวัดนางชี
    ทิศตะวันออก จรดคลองด่าน
    ทิศตะวันตก ติดวัดนาคปรก


    a.jpg

    ประวัติความเป็นมา
    วัดนางชีเป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๖ ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ในพ.ศ.๒๕๐๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา สถาปนาเป็นพระอารามหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด้จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    สาเหตุที่ชื่อว่า วัดนางชี นั้น สันนิษฐานว่าได้ชื่อมาจากพระนามของสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์ มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินิ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์ มหานาคนารี เสด็จออกบวชชี ขณะที่เป็นพระรูปชีนั้น พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางชี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทรงบูรณปฏิสังขรณ์อะไรบ้าง



    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภกและมีพระราชศรัทธาในการสร้างวัดเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ได้ทรงสร้างวัดขึ้นใหม่ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ทั่วประเทศ วัดนางชีเป็น ๑ ในจำนวน ๒๕ วัดที่พระมหากษัตริย์และขุนนางบูรณปฏิสังขรณ์ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
    “พระยาโชฎึกราชเศรษฐี(จ๋อง) บุรณะวัดนางชี วัด ๑ วัดในคลองบางยี่ขันซึ่งเป็นวัดของมารดาท่านวัด ๑ วัดคูหาสวรรค์ นั้นโปรดให้เจ้าพระยามหาโยธาไปบุรณะขึ้น วัด ๑ ..... รวมเจ้าและขุนนางสร้างขึ้นใหม่สิ้น ๕ วัด บุรณะวัด ๒๕ วัด รวม ๓๐ วัด ที่ถวายเป็นพระอารามหลวงก็ได้พระราชทานเงินช่วย”


    การบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไม่ปรากฏหลักฐานการบูรณะ ทราบแต่ว่าศิลปวัตถุภายในวัด ได้สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบจีน ซึ่งเป็นศิลปะนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เห็นได้จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งทำกระเบื้องเคลือบรูปเรือสำเภาจากประเทศจีนจำนวน ๒ คู่ และพระราชทานให้แก่วัดนางชี จำนวน ๑ คู่ เพื่อใช้ประดับหน้าบันพระวิหารที่สร้างตามศิลปะแบบจีน คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานเสาหินเทียบเรือพระที่นั่ง ซึ่งทรงสั่งทำมาจากประเทศจีนด้วย ปัจจุบันทางวัดได้นำขึ้นมาเป็นเสาป้ายหน้าวัด

    ในการปฏิสังขรณ์วัดนางชีครั้งนี้ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (จ๋อง) ก็ได้ร่วมบูรณปฏิสังขรณ์ด้วย โดยทำเป็นศิลปะแบบจีนประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบลวดลายของจีนทั้งหมด ได้นำตุ๊กตาหินแบบจีน เช่น ถ้วยชาม รูปกระจก ลายเขียน กาน้ำร้อน หรือปั้นน้ำร้อนแบบจีน ประเภทกังใส ซึ่งยังปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ ท่านยังได้ถวายเตียงไม้มะเกลือประดับมุกแลหินอ่อนจำนวน ๑ หลัง ลับแลหรือฉากบังเตียงแกะฉลุลายไทย ฝีมือจีนมีผ้าแพรไหมเป็นรูปเขาไม้ และรูปสัตว์ต่างๆ จำนวน ๒ บาน ปัจจุบันเก็บไว้ในพระมณฑปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราชลมาคมาวัดนางชี ใน พ.ศ. ๒๔๑๘ ดังปรากฏในหนังสือ COURT ข่าวราชการเจ้านาย ๑๑ พระองค์ทรงช่วยกันแต่งว่า
    “ ณ วันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุนสัปตศก จุลศักราช ๑๒๓๗ เวลาเที่ยงเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิรออกทางทวารหน้าพระที่นั่ง สมมติเทวราชอุปบัติ ประทับเกยทรงพระราชยานไปประทับท่าราชวรดิษฐ เสด็จพระราชดำเนิรลงทรงเรือพระที่นั่ง นารายณ์ทรงสุบรรณ เรือพระที่นั่งสุวรรณเหราเปนเรือพระที่นั่งรอง เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เปนเรือไชย เดิรกระบวรไปเข้าคลองบางหลวงแล้วออกจากด่านไปประทับวัดนางชี ซึ่งจะเสด็จพระราชทานพระกฐินเป็นที่ ๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จมื่นประธานมณเฑียร ๑ จ่าชำนาญ ๑ ไปเกาะตัวพระยารามกำแหง ซึ่งขาดเรือกลองแขก นำเสด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเข้าในพระอุโบสถ ทรงจุดเทียนเครื่องนมัสการแล้ว นายบำเรออ่านจำนวนพระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ในพระอารามนั้นทูลเกล้าฯ ถวายจำนวนพระสงฆ์พระอารามนั้น พระครู ๑ ถานานุกรม ๒ อันดับเรียนคันถธุระ ๑๐ อันดับเรียนวิปัสสนาธุระ ๑๐ อันดับเล่าสวดมนต์ ๘ รวมพระสงฆ์ ๓๑ รูป มากกว่าปีจอ ฉศก ๖ รูป พระสงฆ์จำพรรษาปีจอ ฉศก ๒๕ รูป ครั้งอ่านถวายแล้ว จึงพระราชทานผ้าห่มพระพุทธรูป ให้เจ้าพนักงานภูษามาลาเอาไปห่มพระพุทธรูปแล้วพระราชทานเทียบอุโบสถ ๒๔ เล่ม ให้พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตทรงประเคนพระสงฆ์แล้วทรงถวายกฐิน ครั้นทรงจบพระสงฆ์ก็รับสาธุ แล้วทรงยกผ้าไตรไปตั้งริมอาสนะพระครูวิสุทธิศีลาจารย์ ก็ว่าคำปฤกษาพระสงฆ์ ครั้นจบพระสมุห์ก็ว่า เห็นสมควรแก่พระครูวิสุทธิศีลาจารย์ พระสงฆ์ก็รับสาธุพร้อมกัน พระสงฆ์ ๒ รูป จึงสวดให้ผ้ากฐินด้วยญัติทุติยกรรม ครั้นจบแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชทานไตรปีแก่ถานานุกรม ๒ รูป พระสงฆ์ก็ไปครองผ้าเสร็จแล้ว พระครูวิสุทธิศีลาจารย์ก็กรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิ แล้วพระสงฆ์ก็อนุโมทนากฐิน ครั้นแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาลถวายเครื่องบริขาร พระสงฆ์สวดอนุโมทนาทานเสร็จแล้ว พระพินิตพินัยวัดราชบุรณะก็ถวายอติเรก พระสงฆ์สวดภะวะตุสัพจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงทรงเรือพระที่นั่งไปประทับฉนวนวัดหนัง ซึ่งจะเสด็จพระราชดำเนิรทรงทอดพระกฐินวัดหนังเป็นที่ ๒”


    และใน พ.ศ.๒๔๒๓ ได้เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินดังปรากฏในจดหมายเหตุราชกิจรายวัน “วันที่ ๔๓๗๔ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒

    เวลาบ่าย ๒ โมง ทรงเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ์ เรือสุวรรณเหราเป็นพระที่นั่งรอง เรือไชยสุวรรณหงส์เป็นเรือผ้าไตร เสด็จพระราชดำเนินเข้าคลองบางกอกใหญ่ เลี้ยวด่านประทับวัดนางชีที่ ๑ โปรดให้พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ถวายของแล้วพระราชทานผ้าไตรพระกฐิน ให้ทูลกระหม่อมพระองค์ใหญ่ไปทอดกฐินวัดหนัง โปรดให้ทูลกระหม่อมพระองค์น้อยไปทอดกฐินวัดนางนอง แล้วเสด็จวัดราชโอรส โปรดให้พระองค์เจ้าจิตรเจริญเอาไตรปีไปถวายพระสังวรวิมล ซึ่งอาพาธอยู่ลงไม่ได้โปรดให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์เข้าไปเฝ้าในพระอุโบสถ แล้วโปรดให้กรมขุนเจริญผลถวายของ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธไสยาศน์ แล้วเสด็จกลับเวลาบ่าย ๓ โมง

    วันนี้ทรงฉลองพระองค์ฟรอกโค๊ตเจ้านายและข้าราชการแต่งอิวนิงเดส ติดตราตามที่ได้รับพระราชทาน
    นอกจากนี้ ในรัชกาบที่ ๕ มีหลักฐานปรากฏว่า ใน พ.ศ.๒๔๔๓ พระครูวิสุทธิศีลาจารย์ เจ้าอาวาสได้สร้างกันสาดดัวยสังกะสีรอบพระอุโบสถ เพื่อป้องกันฝนสาดผนังและหน้าต่าง ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๔๘ ได้ปฏิสังขรณ์กุฏิและหอสวดมนต์ ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดนางชี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ร.ศ.๑๑๙ และ ร.ศ.๑๒๔


    ต่อจากนั้นได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนะต่างๆ ที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


    a.jpg

    ในนิราศเมืองเพชรของพระสุนทรโวหาร (ภู่) แต่งระหว่าง พ.ศ.๒๓๘๔ – ๒๓๙๓ ก็ได้กล่าวถึงวัดนางชีไว้ว่า

    ถึงวัดบางนางชีมีแต่สงฆ์
    ไม่เห็นองค์นางชีอยู่ที่ไหน
    หรือกลวงชีมีบ้างหรืออย่างไร
    คิดจะใคร่แวะหาปรึกษาชี
    ก็มืดค่ำอำลาทิพาวาส
    เลยลีลาศล่วงทางกลางวิถี
    ถึงวัดบางนางนอนแม้นน้องพี่
    มาถึงนี่ก็จะต้องนองน้ำตา
    ตัวคนเดียวเที่ยวเล่นไม่เป็นห่วง
    แต่เศร้าทรวงสุดหวังที่ฝั่งฝา
    ฯลฯ



    a.jpg

    สิ่งสำคัญภายในวัด
    ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ
    ๑ พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางสมาธิ ศิลปะสกุลช่างอยุธยา หน้าตักกว้าง ๕ ศอก สูงตลอดยอดพระรัศมี ๗ ศอก และมีพระพุทธรูปขนาดต่างๆ ประดิษฐานร่วมฐานชุกชีรอบพระประธานอีกหลายองค์ ได้แก่ พระพุทธรูปศิลปะสกุลช่างเชียงแสน พระพุทธรูปศิลปะสกุลช่างสุโขทัยปางมารวิชัย พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร เป็นต้น


    ๒. พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่หลังพระพุทธปฏิมาประธาน ยาว ๙ ศอก กว้าง ๒ ศอก ๕ นิ้ว ด้านปลายพระบาทของพระพุทธไสยาสน์เป็นพระอานนท์พุทธอนุชา นั่งคุกพระชานุราบ

    ๓. พระบรมสารีริกธาตุ ๗ องค์ และพระธาตุสาวก ๒๐ องค์ ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุสาวกทั้งหมดนี้ได้มีการอัญเชิญเสด็จออกแห่เป็นประจำทุกปี เรียกว่า “งานประเพณีชักพระ”


    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ตำนานพระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี

    พระบรมสารีริกธาตุในประเทศไทยมีปรากฏอยู่หลายแห่ง ตามหัวเมืองต่างๆ โดยมากบรรจุไว้ในพระเจดีย์ แต่พระบรมสารีริกธาตุของวัดนางชี ไม่ได้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ บรรจุไว้ในผอบแก้ว ซึ่งประดิษฐานภายในมณฑปสี่เหลี่ยม จัตุรัส กว้างด้านละประมาณ ๑๔ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดประมาณ ๕๒ นิ้ว สร้างด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก ปัจจุบันตั้งประดิษฐานไว้ที่ตึกประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ


    a.jpg
    รูปเด็กๆ กำลังรอขบวนอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีรกธาตุลงเรือ


    ตามตำนานเล่าว่า มีพราหมณ์ ๓ คน และชาวจีน ๙ คน ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาจากชมพูทวีป ๒ ผอบ ผอบหนึ่งตั้งใจที่จะให้ประดิษฐานไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช และอีกผอบหนึ่งตั้งใจไว้ว่าจะนำไปประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ก็เดินทางโดยเรือสำเภานำพระบรมสารีริกธาตุขึ้นทางเหนือ เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณปากน้ำ คลองด่านปัจจุบัน เรือได้เกิดอุบัติเหตุล่มลง พระบรมสารีริกธาตุจึงได้ถูกฝังจมดิน

    เมื่อเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีได้สร้างวัด และธิดาของท่านชื่ออิ่ม ไดมีศรัทธาบวชเป็นชี พำนักอยู่วัดนี้อยู่ต่อมาได้ไม่นาน พระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ให้แม่ชีอิ่มเห็น แม่ชีอิ่มและคณะจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่วัดนางชี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ต่อมา สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จออกบวชเป็นชี ขณะที่เป็นพระรูปชีนั้น พระองค์ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางชี ก็พบว่ามีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าวัดนางชีมีพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้จัดให้มีการสมโภชขึ้น โดยจัดให้มีพิธีถวายน้ำสรงและพิธีแห่พระบรมสารีริกธาตุไปตามคลองด่าน คลองชักพระ เข้าคลองบางกอกน้อย ออกแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางหลวง กลับวัดนางชี จึงได้เกิดประเพณีแห่และสมโภชพระบรมสารีริกธาตุตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


    a.jpg


    การแห่พระบรมสารีริกธาตุของวัดนางชีนั้น ชาวบ้านบริเวณดังกล่าว เรียกกันว่า งานชักพระ สาเหตุที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่าการแห่ได้กระทำกันโดยทางเรือ ขบวนแห่นี้ก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากที่ประดิษฐานไปไว้บนเรือพิธี ซึ่งเป็นเรือขนาดใหญ่บรรจุคนได้มาก และต้องอาศัยการพายแต่อย่างเดียว มีชาวบ้านและผู้เลื่อมใสจำนวนมาก ร่วมแรงร่วมใจพร้อมกันนำเรือพายบ้าง เรือแจวบ้างมาช่วยกันฉุดชักเรือที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ แห่เป็นขบวนกันไปตามคลองดังกล่าว

    งานชักพระได้ทำเป็นประเพณีมากว่า ๒๐๐ ปี โดยกำหนดสรงน้ำในวันแรม ๑ ค่ำ อัญเชิญเสด็จแห่ทางเรือ ในวันแรม ๒ ค่ำ และทำพิธีสมโภช ในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี


    งานประเพณีชักพระวัดนางชี

    งานประเพณีชักพระวัดนางชี หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานแห่และสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ เป็นงานชักพระที่ไม่ได้แห่ทางน้ำงานเดียวที่ไม่ได้อัญเชิญพระพุทธปฏิมาออกแห่เหมือนที่อื่นๆ แต่ได้อัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุแห่ไปตามลำคลองในวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี


    a.jpg

    เส้นทางขบวนแห่
    ขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ เป็นการอัญเชิญเสด็จอ้อมเกาะ โดยเสด็จไปตามคลองต่างๆ ตังแต่ คลองหน้าวัดนางชีเรียกว่าคลองด่าน ไปตามคลองบางหลวง เข้าคลองบางแวก คลองชักพระ คลองบางกอกน้อย ออกแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางหลวง เลี้ยวซ้ายแยกวัดปากน้ำ เจ้าคลองด่านกลับวัดนางชี เส้นทางขบวนแห่ได้เสด็จผ่านบ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน และสถานที่ราชการเป็นจำนวนมาก



    a.jpg

    วัดริมสองฝั่งคลอง

    เส้นทางขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ ตลอดสองฝั่งคลองได้เสด็จผ่านวัดต่างๆ เป็นจำนวนถึง ๓๒ วัด ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ๕ เขต คือ เขตภาษีเจริญ เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และ เขตตลิ่งชัน ดังนี้ วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร วัดวรามาตยภัณฑสารารม วัดปากน้ำ วัดประดู่ฉิมพลี
    วัดนวลนรดิศ วัดทองศาลางาม วัดกำแพง วัดคูหาสวรรค์ วัดโบสถ์อินทสรเพ็ชร วัดวิจิตรการนิมิต วัดเชิงเลน วัดเรไร วัดช่างเหล็ก วัดตลิ่งชัน วัดสุวรรณคีรี วัดภาวนาภิรตาราม วัดนายโรง วัดศรีสุดาราม วัดใหม่ วัดสุวรรณาราม วัดอัมรินทร์ธาราม วัดระฆังโฆสิตาราม วัดอรุณราชวราราม วัดโมลีโลกยาราม วัดกัลยาณมิตร วัดหงส์รัตนาราม วัดประดิษฐาราม วัดสังข์กระจาย วัดเวฬุราชิณ วัดอินทาราม วัดจันทาราม วัดราชคฤห์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,714
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ขบวนแห่ทางเรือ


    [​IMG]


    การแห่ทางเรือสมัยก่อนนั้น ใช้เรือกระแซง ชาวบ้านเรียกว่า เรือเป็ดเป็นเรือประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ หรือเรียกว่า เรือองค์พระ ด้านหน้าเป็นเรือที่นั่งของพระสงฆ์ ด้านหลังเป็นวงบรรเลงปี่พาทย์ พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานตรงกลางลำเรือ เรือองค์พระนี้ จะได้รับการตบแต่งอย่างพิถีพิถันให้สวยงามอลังการเป็นพิเศษ



    [​IMG]
    เจ้าอาวาสวัดนางชี


    ขบวนแห่จะอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุ ในเช้าของวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี วัดและชาวบ้านนำเรือพายเรือแจว เรือการละเล่น เรือหัวลิง หัวครุฑ เรือแข่งลำยาวๆ มาร่วมขบวนเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยกันลากจูงเรือองค์พระไปตามคลองด่านหน้าวัดนางชี ลำใดเหนื่อยก็จะหยุดพักให้เรือลำอื่นมาลากจูงแทน สมัยนั้นยังไม่มีเรือยนต์ทำให้ไม่มีคลื่น เรือองค์พระไปได้สะดวกคล่องตัว ขบวนเรือจะแห่ผ่านไปตามคลองชักพระ คลองมอญ ออกคลองบางกอกน้อย พักรับประทาอาหารที่วัดไก่เตี้ย เดิมทีเดียว วัดนางชีได้นำข้าวขันแกงโถใส่ไปในเรือ พอถึงวัดไก่เตี้ย ชาวบ้านก็จัดให้มีการถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสามเณรบนเรือ มีชาวบ้านในละแวกนั้น ก็ได้พายเรือนำอาหาร เช่น ข้าวเม่ามอด ขนมจีนน้ำยา กล้วยแขก เป็นต้น มาถวายแด่พระภิกษุสามเณร และญาติโยมผู้เข้าร่วมขบวนแห่ก็จะหยุดพักรับประทานอาหารบนเรือเช่นกัน ต่อมาทายกทายิกาวัดไก่เตี้ย ได้นิมนต์พระภิกษุสามเณรขึ้นฉันภัตตาหารเพลบนวัด สำหรับพระบรมสารีริกธาตุไม่ได้อัญเชิญเสด็จขึ้นบนวัด ได้ประดิษฐานอยู่บนเรือตามเดิม



    [​IMG]


    เวลาบ่ายโมงตรง ก็จะอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุแห่ไปตามลำคลองบางกอกน้อย ออกแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวขวาเข้าคลองบางหลวง กลับวัดนางชี

    ในสมันพระบริหารบรมธาตุ(ประเสริฐ) ได้เปลี่ยนการลากจูงจากเรือประชาชน มาเป็นเรือยนต์ชื่อสระแก้วบ้างน่ำเอ็ง และโอเอ็ง ของโรงสีหน้าวัดอินทาราม มาช่วยลากจูง ลุถึงปี พ.ศ.๒๕๑๒ วัดไก่เตี้ยได้กำหนดการยกช่อฟ้าพระอุโบสถในวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ เวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นฤกษ์ยกช่อฟ้า มี ฯพณฯจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และขออัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานไว้หน้าที่บูชามณฑลพิธีด้วย การอัญเชิญเสด็จพระบรมสารีริกธาตุในปีนี้จึงเช้ากว่าทุกปี เป็นเหตุให้ประชาชนมีเวลาไม่พอที่จะสรงน้ำ จึงได้เปลี่ยนการสรงน้ำจากเช้าวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ มาเป็นตอนเย็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ และได้อัญเชิญเสด็จลงเรือองค์พระแห่ไปตามคลองในวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ เวลา ๐๗.๐๐ น. พระบรมสารีริกธาตุได้เสด็จถึงสัดไก่เตี้ยทันพิธียกช่อฟ้านับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้กำหนดให้มีการสรงน้ำในเย็นของวันแรม ๑ ค่ำ อัญเชิญเสด็จแห่ทางเรือในวันแรม ๒ ค่ำ และจัดให้มีการสมโภชในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี


    [​IMG]


    ลุถึงปี พ.ศ.๒๕๑๔ พระครูฉันทวรกิจ(ปลอด) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนางชี ได้เปลี่ยนเรือลากจูง มาเป็นเรือยนต์น้ำแข็งทอง เพื่อให้เป็นเรือประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ลุถึงปี พ.ศ.๒๕๓๐ ในสมัยพระครูประสาทสมาธิคุณ เป็นเจ้าอาวาสวัดนางชี และคณะกรรมการ ได้ปรารภการจัดงานประเพณีชักพระเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ในการนี้ได้ขอความอุปถัมภ์จากกองทัพเรือ เพื่อขอเรือพระราชพิธีคือ เรือดั้ง เรือแซง จำนวน ๕ ลำ เข้าร่วมขบวนแห่ และใช้เป็นเรือประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเป็นประเพณีที่กองทัพเรือได้ให้การอุปถัมภ์วัดนางชี โดยได้รับอนุมัติเรือพระราชพิธีเข้าร่วมขบวนแห่จนถึงปัจจุบัน

    ในปีถัดมา พ.ศ.๒๕๓๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เห็นถึงความสำคัญของงานประเพณีชักพระวัดนางชีว่า เป็นงานประเพณีแห่ทางน้ำเพียงงานเดียวในกรุงเทพมหานคร สมควรที่จะถืองานประเพณีชักพระวัดนางชีนี้ เป็นงานที่แสดงถึงเกลักษณ์ของกรุงเทพมหานคร จึงได้ให้การสนับสนุนการจัดงานโดยมอบให้สำนักงานเขตทุกสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร ร่วมจัดเรือบุปผาชาติเข้าร่วมขบวนแห่ ได้เชิญฑูตานุฑูตจากหลายประเทศเข้าชมขบวนแห่ที่หน้าวัดสุวรรณคีรี ทำให้งานยิ่งใหญ่อลังการเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง น่าเสียดายปัจจุบันทางกรุงเทพมหานครได้ให้การสนับสนุนน้อยลง มีเพียงเขตพื้นที่เจ้าของงานเท่านั้น คือเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชันที่ยังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่


    [​IMG]

    เรือร่วมขบวนแห่
    การแห่ทางเรือ นอกจากเรือพระราชพิธีของกองทัพเรือแล้วยังมีเรือร่วมขบวนเรือแห่อื่นๆ ประมาณ ๕๐ ลำ เช่น เรือการละเล่นแบบไทยหัวล้านชนกัน เรือกระตั๊วะ สิงโต เรืออุบาสกอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาว เรือนักเรียนแสดงดนตรีไทย เช่น ระนาด กลองยาว แตรวง รำไทย เรือบุปผาชาติของสำนักงานเขตต่างๆ เรือตำรวจน้ำ เรือเจ้าท่า และเรือประชาชน ซึ่งแต่ละลำก็ได้ประดับตกแต่งเข้าร่วมขบวนอย่างสวยงาม

    ณ ริมสองฝั่งคลอง
    วันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญแก่พุทธศาสนิกชนที่อาศัยอยู่ ณ ริมสองฝั่งของคลองด่าน คลองบางหลวง คลองบางแวก คลองชักพระ คลองบางกอกน้อย เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นวันที่ขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุเสด็จผ่านเป็นประจำทุกปี

    บ้านเรือนของประชาชนริมสองฝั่งคลอง ได้ประดับประดาตกแต่งธงทิวอย่างสวยงาม ตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อรอรับเสด็จ ในขณะที่ขบวนเรือพระบรมสารีริกธาตุผ่าน ประชาชนจะจุดธูปเทียนเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ บางบ้านได้ตั้งจิตอธิษฐานใช้ขันเพื่อตักน้ำในคลองเป็นน้ำพระพุทธมนต์ขณะที่พระบรมสารีริกธาตุเสด็จผ่าน ปัจจุบันทางวัดได้นำน้ำมนต์พระบรมสารีริกธาตุที่ทำการสรงตั้งแต่ตอนเย็นไปประพรมให้กับประชาชนที่รอรับเสด็จสองฝั่งคลองด้วย บรรยากาศริมฝั่งคลองจึงเนืองแน่นไปด้วยประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธา ทุกคนมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเกิดปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง และพร้อมใจกันร่วมทำบุญกับทางวัดตั้งจิตอธิษฐานขอพรเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต มีการตั้งโต๊ะหมู่บูชารับเสด็จ มีระนาดบรรเลงหลายคณะตลอดเส้นทางสองฝั่งคลอง

    วัดที่ตั้งอยู่สองฝั่งคลองที่ขบวนแห่เรือเสด็จผ่าน ได้ตั้งโต๊ะหมู่บูชาอย่างสวยงาม ได้จุดเทียนธูปบูชาในขณะที่ขบวนเรือพระบรมสารีริกธาตุเสด็จผ่าน บางวัดได้นำพระภิกษุสามเณรและญาติโยมมารอรับเสด็จที่ศาลาริมคลอง เป็นภาพที่น่าประทับใจยิ่ง


    [​IMG]


    ตลอดถึงสำนักงานเขตและโรงเรียน ก็ได้ตั้งโต๊ะหมู่บูชาด้วยเช่นกัน บางโรงเรียนได้นำนักเรียนมาเฝ้ารับเสด็จถึงศาลาท่าน้ำ ให้นักเรียนแสดงการละเล่น เช่น รำกลองยาว แตรวง เป็นต้น เป็นที่ครึกครื้นสนุกสนาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...