วีดีโอ poysian ถามเรื่องสร้างบาตรแก้ว หน้า 9 #169

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 8 ธันวาคม 2014.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    กระทู้นี้เคยชื่อกระทู้ว่า " บันทึกทดลองแก้วเพื่อการหลอมต่อ "
    สร้างพระแก้วสีฝ้าหน้าตัก 9 - 36 นิ้วในราคาถูกและอบแค่วันสองวัน หน้า 9


    เพื่อนผมคนหนึ่งได้สั่งก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนเข้ามาในประเทศไทยจำนวนไม่มากนัก ได้ทำการทดลองหลอม และอบลดอุณหภูมิตามหลักวิชาการตามที่เขารู้ ผลที่ออกมาไม่เป็นที่พอใจ ผมรับทราบการทดลองและได้ถ่ายภาพผลงานที่ผ่านการอบเรียบร้อยแล้ว ผมจึงขอบันทึกไว้ในเวปพลังจิตเพื่อเป็นการเตือนจิตสกิดใจให้จำไว้ว่า บางครั้งการทดลองหรือการเลือกใช้วัตถุดิบนั้นไม่ควรนึกถึงแต่เฉพาะราคาต้นทุนมากเกินไป ราคาของก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนโดยเฉลี่ยราคาจะตกกิโลกรัมละ US$ 5.- ในขณะที่ถ้าเป็นของยุโรป อเมริกาหรือแม้แต่ญี่ปุ่นอาจมีราคาถึงกิโลกรัมละ US$ 40.- บางสีอาจสูงถึงกิโลกรัมละ US$ 150.- ( ไม่รวมค่าขนส่ง, ภาษีและค่าใช้จ่าย )

    ในฐานะที่ผมเคยเป็นนักหลอมแก้วมาก่อน ในปี พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2520 ผมหลอมแก้วทุกวันปีละ 365 วัน วันละประมาณ 2,000 กิโลกรัม และในบางช่วงโรงงานเพิ่มเตาหลอม ยังหลอมแก้วมากถึงวันละประมาณ 4,000 กิโลกรัม สมัยนั้นงานหลอมแก้วในประเทศไทยเราถึงจุดสูงสุดในแทบทุกด้าน แก้วสีแทบทุกสีหลอมได้เป็นอย่างดี แต่จุดอ่อนของการหลอมแก้วด้วยตนเองคือเตาหลอมแก้วมีราคาค่อนข้างแพงและต้องใช้เชื้อเพลิงวันละนับหมื่น ๆ บาททุกวัน หยุดแม้แต่ชั่วโมงเดียวเตาก็จะเสียหายทั้งหมด ปัจจุบันจึงมีแนวความคิดนำเอาแก้วเพื่อการหลอมต่อมาหลอมในประเทศเพื่อลดต้นทุนการหลอมแก้วด้วยตนเอง แต่ปัญหาก็คือ เราไม่สามารถรู้คุณภาพของแต่ละบริษัท และแต่ละบริษัทก็อาจมีการพัฒนาคุณภาพในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน จึงทำให้คุณภาพที่ได้ไม่แน่นอน

    ในประเทศยุโรป อเมริกาหรือในญี่ปุ่น เขาเคยผ่านปัญหานี้มาช้านาน ในที่สุดเขาสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เกือบทั้งหมด ทำให้ผู้ที่นำแก้วเพื่อการหลอมต่อนำไปหลอมต่อแล้วได้คุณภาพดีตามหลักวิชาการสากล แน่นอนว่าราคาที่ผ่านการทดลองนับพันนับหมื่น ๆ ครั้งย่อมมีราคาสูงกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2022
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อสีแดงจากจีน

    [​IMG]

    ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อสีเหลืองทองจากจีน

    และยังอีกหลายหลากสีที่ผมไม่ได้ถ่ายรูปก้อนแก้วตัวอย่าง
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    ผลการหลอมจากก้อนแก้วสีแดงใส กลายเป็นสีแดงขุ่น

    [​IMG]

    สีเหลืองทองใส สีนั้นพอใช้ได้ แต่เมื่ออบลดอุณหภูมิตามหลักวิชาแล้วแตกร้าว

    [​IMG]

    สีเขียวมรกต สีออกมาไม่ดีเท่าที่ควร

    [​IMG]

    ในสีเขียวบางครั้งมีการแตกร้าวหลังการอบอย่างรุนแรง

    [​IMG]

    ในแก้วสีเขียวแตกร้าวลึกมาก
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    ตัวอย่างสีเขียวปานกลางที่มีคุณภาพดีหลังการหลอมและอบลดอุณหภูมิอย่างถูกต้อง
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อเป็นนวัตกรรมไม่เกิน 40 ปี จีนเพิ่งทำตัวนี้ไม่ถึง 15 ปี จีนยังต้องทดลองอีกมาก

    การหลอมก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อในก้อนแก้วจีนครั้งนี้ ผมตั้งข้อสังเกตุว่า การที่แก้วสีแดงใสเมื่อผ่านการหลอมซ้ำเพื่อขึ้นรูปชิ้นงานแล้วแก้วที่ได้กลับกลายเป็นสีแดงขุ่นค่อนข้างเป็นขุ่นนมนั้น คาดว่าอาจเกิดจากการที่ตะกั่วในก้อนแก้วของจีนเป็นตะกั่วที่ไม่ได้ผ่านการทดลองชนิดและปริมาณเปอร์เซ็นต์ตามขั้นตอนที่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากไม่มีไกด์ที่ถูกต้องของผู้ผลิตแนบมาด้วย ซึ่งการที่ไม่ได้ไกด์แนบอาจเป็นเพราะเป็นการนำเข้าจำนวนค่อนข้างน้อยมาก ทางผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อต้นทางไม่ได้ให้รายละเอียดตรงนี้มาด้วย จำนวนที่ผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อในประเทศอเมริกาหรือในยุโรปหรือแม้แต่ในญี่ปุ่น เขาต้องการจำนวนน้อยสุดไม่ต่ำกว่า 300 ก.ก. เป็นส่วนมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2014
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    การที่ไม่มีไกด์แนบมาด้วยนั้น ทำให้การทำงานค่อนข้างยาก เพราะกว่าจะได้สูตรไกด์การหลอมต่อนั้น อาจต้องทดลองที่อุณหภูมิต่าง ๆ ช่วงระยะต่าง ๆ อาจต้องทดลองมากกว่า 100 ครั้งขึ้นไป ดังนั้นต้นทุนของก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจริง ๆ แล้ว ไม่ใช่เฉพาะแค่ค่าวัตถุดิบ + พลังเท่านั้น ยังต้องบวกด้วยการทดลองเต็มสูตรอีกด้วย

    ยกตัวอย่างเช่น การหลอมที่อุณหภูมิคงที่ที่พอดี ในช่วงเวลาที่พอดี จะให้ผลเท่ากับความพอดี แต่เมื่อเราให้อุณหภูมิที่สูงเกินพอดีเพียง 10% ผลอาจกลายเป็นแก้วที่ให้สีเพี้ยนขึ้นมาเป็นสี Cobalt Glass เช่นนี้เป็นต้น แต่หากสูงเกินพอดีเพียง 15% ขึ้นไป สีอาจกลายเป็นดังที่เห็นได้ในทันที การทดลองนี้ไม่ใช่ทำในมิติที่ต้องรู้เพียงสีเดียว แต่ต้องทำในมิติที่ต้องรู้ถึงผลที่จะให้ได้สีและผลอื่น ๆ ข้างเคียงอีกนับสิบชนิดของสีและคุณภาพอื่น ๆ ของแก้วอีกด้วย
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    บางประเทศที่เชื่อถือในความซื่อสัตย์ได้ เขาผลิตก้อนแก้วโคบอลท์ขายเพื่อให้โรงงานหลอมแก้วเพื่อการขึ้นรูปสินค้าต่อได้นำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ การทดลองของเขามีความถูกต้องซื่อตรงต่อลูกค้ามาก ทำให้ราคาค่อนข้างสูง แต่เป็นที่ไว้ใจได้ว่า สินค้าที่ขึ้นรูปไปแล้วนั้น สามารถป้องกันสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ให้เข้าไปภายในได้ เช่น แสงยูวี รังสีต่าง ๆ เพื่อปกป้องให้คุณภาพสินค้าค่อนข้างคงที่เป็นเวลานาน

    เช่นกระปุกแก้วของวิควาโปรัป ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าปัจจุบันอาจมีเนื้อพลาสติคบางชนิดมาแทนเนื้อแก้วแล้วหรือยัง

    ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากช่างหลอมแก้วที่เก่งบางท่าน อาจใช้วิธีลักไก่ ด้วยการทำแก้วด้วยเทคนิคพิเศษ ทำให้สีแก้วกลายเป็นโคบอลท์บลู แต่กลับไม่สามารถรักษาคุณภาพสินค้าภายในจากอันตรายได้จริง จึงควรใช้ให้ถูกต้อง


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2014
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    .......................

    ขอแก้ไขจาก

    ( ผลอาจกลายเป็นแก้วที่ให้สีเพี้ยนขึ้นมาเป็นสี Cobalt Glass เช่นนี้เป็นต้น )

    ขอแก้ไขเป็น

    ( ผลอาจกลายเป็นแก้วที่ให้ผิวเพี้ยนขึ้นมาเป็นผิว Cobalt Glass เช่นนี้เป็นต้น )

     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    บันทึกนัดปรึกษา flashed glass กับคุณอ้วนวันพุธพรุ่งนี้

    คุณอ้วนหลานคุณหมูนัดขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างชิ้นงาน flashed glass ตั้งแต่เริ่มต้นหลอม พรุ่งนี้จึงทราบรายละเอียด
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    วันพุธที่ 17 ธ.ค. 2557 คุณอ้วนหลานคุณหมูมาตามนัดไว้บ่ายโมง สายนิดหน่อย เพิ่งกลับไปตอนประมาณ 6 โมงเย็น นับว่าเป็นอินทิเรียดีไซเน่อร์ที่รักความก้าวหน้าทางด้านความจริงของงานศิลป์ ผมยอมรับว่า ผมเองไม่ได้รู้จักชิ้นงานศิลป์ในแขนงนี้เลย โดยเฉพาะตามแนวทางที่คุณอ้วนได้อธิบายมาแล้ว หากแต่การอธิบายโดยไม่มีข้อมูลสำคัญ ๆ และผมก็ไม่รู้ข้อมูลที่สำคัญนั้นด้วย จึงทำให้วันนี้เป็นเพียงการทำให้ผมรู้จักชิ้นงานอีกแขนงเท่าันั้น

    เอาไว้ค่อย ๆ หาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนแล้วค่อยสรุปไว้อีกที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ธันวาคม 2014
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    บันทึกถึงคุณอ้วนยังไม่เป็นทางการ ยังไม่แน่ใจอีกหลายองค์ประกอบ

    660 - 665 C.

    710 C. / 1,310 F.

    675 C. / 1,250 F.

    ขึ้นอยู่กับทุกองค์ประกอบ

    ชนิดของเตา การบวกลบควรไม่เกิน 2.5 % ( ยิ่ง +- น้อยยิ่งดี )
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คุณอ้วนหลานคุณหมูกับเรื่องแก้วกระจกแผ่นพิเศษ

    มาเรียบเรียงเรื่องราวที่คุณอ้วนเล่าให้ฟังเพื่อให้ผมเข้าใจถึงสิ่งที่คุณอ้วนกำลังต้องการคำปรึกษา

    เรื่องแก้วกระจกแผ่นพิเศษ

    คุณอ้วนเล่าว่าในอดีตกาลนานมาก ( อาจจะหลายสิบปีหรือหลายร้อยปีก่อน ) ได้มีการนำแก้วกระจกแผ่นมาทำหน้าต่าง ในเวลานั้น มีช่างทำหน้าต่างที่เก่งบางคน รับจ้างทำกระจกแผ่นหน้าต่างที่ใช้วิธีแกะผิวกระจกออกไม่ลึกนัก แค่ 0.5 - 2 มิลลิเมตร แล้วใช้สีทาบนแผ่นกระจกนั้น ความลึกตื้นหนาบางทำให้สีที่ติดบนกระจกนั้นมีสีจาง หรือสีเข้มตามความลึกของกระจกที่ถูกแกะออกไปหลังจากทาสีนั้น หรือทาสีก่อนแล้วค่อยแกะ ( ผมจับใจความได้ไม่ชัดเจน ) จากนั้นนำกระจกแผ่นที่ทาสีแกะรูปคนหรือรูปสัตว์ หรือรูปวิวทิวทัศน์ที่มีขนาดเท่ากัน มีสิ่งที่วาดเหมือนกันเลย แกะแก้วออกก็เท่ากัน เพียงแต่ทาคนละแผ่นคนละสี นำทั้ง 2 แผ่นที่ทาสีแต่ละสีไปเข้าเตาอบ เมื่อผ่านการอบแล้ว นำแผ่นที่มีสีหนึ่งมาซ้อนกับแผ่นที่มีอีกสีหนึ่ง ซ้อนกัน 2 แผ่นบ้าง 3 แผ่นบ้าง เมื่อซ้อนลงไป บริเวณที่ทับกันก็จะกลายเป็นอีกสีหนึ่ง หรืออีกความเข้มข้นอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ต้องการ เช่น นำสีเหลืองมาซ้อนสีน้ำเงิน จุดที่ทับซ้อนกันกลายเป็นสีเขียวเป็นต้น ชิ้นงานที่ได้ออกมาคือ กระจกที่แกะสลักหน้าคนที่มีสีสันชวนมองในสไตล์กระจกแบบพิเศษนั้น นำมาขึ้นรูปด้วยตะกั่วทำให้เป็นหน้าต่าง

    คำถามคือ อุณหภูมิที่ต้องใช้อบแก้วกระจกแผ่นนั้นต้องการความร้อนเท่าไร ? เวลานานเท่าไร ?
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เมื่อวานตอนที่คุยกับคุณอ้วนได้บอกคุณอ้วนไปแล้วว่า แก้วส่วนมากมีจุด working point ที่ประมาณ 590 C ขึ้นไปจนถึงประมาณ 800 C ( + - อาจจะได้มากถึง 10 % ) [ ในวงเล็บเมื่อวานไม่ได้บอกไปด้วย ]

    และเมื่อวานผมได้โพสต์คำตอบที่มีชาวต่างประเทศได้ทดลองมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน โดยค่อนข้างจะสรุปได้ว่า อุณหภูมิที่ต้องการพร้อมช่วงระยะเวลานั้น ขึ้นกับองค์ประกอบของสีที่ทาลงไปบนกระจกแผ่นนั้นว่า เป็นสีที่ทำจากธาตุ ( ต้องดูที่แผ่นตารางธาตุ ) ว่าธาตุหรือสิ่งที่นำมาทำสีนั้นคืออะไร สีนั้นหรือธาตุนั้นต้องการอุณหภูมิเท่าไรจึงจะจับตัวกับแก้วได้อย่างสนิทในเวลาเท่าใด

    สมมุตินะครับ ไม่ใช่ของจริง สมมุติว่า สีที่ใช้ทาเป็นสีแดง ทำมาจากธาตุ.... ต้องการอุณหภูมิที่ 660 C ที่ 5 นาที หรือ 12 นาที สีนี้ก็จะเปลี่ยนสภาพหรือจับกับแก้วได้เป็นชิ้นเดียวกันกับแก้วไปเลย ความคงทนถาวรจึงอาจบอกได้ว่า สีนี้จะทนทานถาวรไปนับร้อย ๆ ปีโดยไม่เปลี่ยน ไม่ซีด ไม่จืดจางในภายหลัง ส่วนสีอื่น ๆ ก็อาจต้องการอุณหภูมิและช่วงเวลาที่ไม่เท่ากัน แต่ไม่ยากเกินไปที่จะทดลอง เพราะเป็นการทดลองที่ใช้เงินไม่มากนัก และการทดลองแบบนี้มักสำเร็จในการทดลองเพียงไม่กี่ครั้ง อย่างมากก็แค่สิบครั้งก็มักประสบความสำเร็จแล้ว

    ความคืบหน้าจะได้บันทึกไว้เมื่อคิดออกและเมื่อคอมพิวเตอร์ยังใช้งานได้

    วิทยาทานอย่างนี้ไม่ต้องปกปิด การเปิดเผยทำให้เกิดความก้าวหน้าในทุกวงการ ทำให้ประเทศก้าวหน้าและสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ดีขึ้น ทำให้เกิดความคงทนถาวรมากกว่าที่ตลาดมักแข่งกันในเรื่องราคา เช่น การนำกระจกแผ่นมาทาสีเพ้นส์สีเฉย ๆ โดยไม่มีการเผาการอบ ราคาถูกอย่างเดียว แต่สิ่งที่ได้ไม่ใช่ของคงทนถาวรอะไรเลย
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คุณอ้วนหลานคุณหมูตกใจที่มหาวิทยาลัย M.I.T. เริ่มทำการสอนวิชาแก้วในภาคปฏิบัติ สอนให้นักศึกษาของ M.I.T. ปั้นแก้วฟรีฟอร์มด้วยมือเปล่าคือไม่มีแม่พิมพ์ เป่าแก้วด้วยปอด ปั๊มแก้วขึ้นรูป ซึ่งถ้าสิ่งพวกนี้ไม่สำคัญ M.I.T. มหาวิทยาลัยชื่อดังของโลกคงไม่สอนด้วยการปฏิบัติจริง และเท่าที่ทราบมา เขาสอนให้เป็นช่างแก้วในภาคปฏิบัติจริงด้วย
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    กราบนมัสการพระ อ. บารมี คำถามการสร้างพระแก้วด้วยแก้วธรรมดา

    Visitor Messages About MeStatisticsFriendsContact Info
    ข้อความ:

    [​IMG]พระ บารมี

    ขอปรึกษาหน่อยครับ พระที่หล่อด้วยแก้วธรรมดามีใหม และราคาอยู่ที่ประมาณเท่าใหร่ครับ ขนาด9นิ้วครับ

    .............................................

    คำตอบของผม glassbuddha2009

    กราบนมัีสการครับพระ อ. บารมี ไม่ได้ติดต่อกันนานพอสมควร ผมใช้สื่อสมัยใหม่ไม่ค่อยเป็นครับ หากหลงหายหรือขาดการติดต่อแปลว่าผมไม่ได้รับข้อความ อีเมล์ผมมีแต่ส่งข้อความแล้วต้องแจ้งผม เพราะผมไม่ได้เปิดทุกวันครับ มือถือยังเป็น 086-1050222 และเบอร์บ้าน 02-XXXXXXX ตอบคำถามพระ อ. บารมีครับ สามารถทำได้ครับ ผมนำคำถามพระ อ. บารมีไปที่กระทู้ในหมวดธรรมทาน ชื่อกระทู้ " บันทึกทดลองแก้วเพื่อการหลอมต่อ "

    ...........................................

    ตอนส่งคำตอบกลับไปมีข้อความบอกว่าผมตอบเกิน 1,000 ตัวอักษร ผมจึงแก้ไขคำตอบให้สั้นลงมาก ขอกราบขอขอมาที่คำตอบอาจสั้นจนอ่านไม่รู้เรื่องครับ พระ อ. บารมี

    การบันทึกจากนี้ไปอาจช่วยให้หลายท่านที่สนใจเรื่องการสร้างพระพุทธรูปจากแก้วจริง ๆ แก้วแท้ ๆ ได้มีความรู้ความเข้าใจ และไม่เกิดความเสียหายจนมากมาย เสียเงินทองนับเท่าไรไม่ถ้วน แล้วผลก็คือพระแก้วที่สร้างนั้นเสียหาย กระทู้นี้จะเป็นคำตอบแทบทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้น และท่านที่สนใจกำลังจะสร้างจะได้เตรียมพร้อมก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2014
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    พระพุทธรูปสร้างจากแก้วธรรมดาขนาดหน้าตัก 9 นิ้วสร้างได้ครับ 3 วิธี

    วิธีที่ 1 การใช้แก้วธรรมดา sodalimesilica glass ในทุกสี, หรือใช้, ทรายทะเลขาว, ทรายก่อสร้าง, หินควอทซ์ทุกชนิด, หลอมละลายที่ความร้อนสูงมากนานมากลงสู่เบ้าหลอมเหมือนกันกับวิธีหล่อพระพุทธรูปทองเหลืองทั่วไป แต่ยากตรงความเข้าใจและวิธีที่จะได้องค์พระที่สวยออกมา ดังจะกล่าวต่อไปด้านล่างครับ ( โจทย์คือการสร้างพระแก้วหน้าตักประมาณ 9 นิ้วนะครับ ถ้าโจทย์เปลี่ยนแม้แต่นิดเดียว คำตอบอาจต้องเปลี่ยนมากมายมหาศาลครับ )

    วิธีที่ 2 การใช้แก้วธรรมดา sodalimesilica glass, หรือ, borosilicate glass, crystal glass ในทุกสีของแก้ว เป่าด้วยปอดให้เกิดองค์พระแก้วกลวง ( วิธีนี้สามารถสร้างให้มีขนาดใหญ่หน้าตักเกิน 9 นิ้วได้ถึง 19 นิ้วในประเทศไทย ( และใหญ่ได้ถึง 36 นิ้วในต่างประเทศโดยหมายถึงโรงงานที่เก่งจริง ๆ นะครับ ไม่ได้หมายถึงต่างประเทศทุกโรงงาน )


    วิธีที่ 3 การใช้แก้วธรรมดา sodalimesilica ด้วยวิธี pressed glass หรือคนไทยเรียกติดปากเมื่อปี พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2535 โดยประมาณ แต่พอถึง พ.ศ. 2557 แม้แต่คนในวงการแก้วเองหลายคนก็ไม่รู้จักศัพท์นี้แล้ว เนื่องจากเลิกสร้างพระแก้วปั๊มมานานมาก ( วิธีนี้สร้างได้ตั้งแต่หน้าตัก 0.5 นิ้วถึง 9 นิ้วในประเทศไทย ( และใหญ่ได้ถึง 19 นิ้วในโรงงานชั้นนำของโลกไม่กี่โรงงานเท่านั้น ) การใช้แก้วชนิดอื่น ๆ ก็สามารถสร้างได้เช่นกันเหมือนวิธีที่ 2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2014
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    วิธีที่ 1 การใช้แก้วธรรมดาหรือทรายทะเลขาวหรือหินควอทซ์สามารถสร้างเองได้

    วิธีที่ 1 การใช้แก้วธรรมดาหรือทรายทะเลขาวหรือหินควอทซ์หรือทรายก่อสร้างทรายแม่น้ำนั้น สามารถสร้างพระพุทธรูปได้ด้วยตนเองเหมือนกับการหล่อพระพุทธรูปด้วยทองเหลืองทั่ว ๆ ไป แต่ยากตรงขบวนการอบลดอุณหภูมิ annealing process หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า glass forming relaxation หรืออาจเรียกอีกอย่างว่า reheat หรืออาจเรียกแบบคนไทยอีกอย่างว่า การอบแก้ว, การเข้าเตาอบ ขบวนการอบลดอุณหภูมิ ขบวนการนี้ยากมากครับ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ความเข้าใจถึงธรรมชาติของแก้วคือหัวใจของความสำเร็จ

    ก่อนอื่นท่านที่ต้องการสร้างพระพุทธรูปตัน ๆ ( เนื้อตัน ๆ ) ขนาดหน้าตักประมาณ 9 นิ้ว ควรต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของแก้วจริง ๆ แก้วแท้ ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดในทุกแง่ทุกมุมก่อน นี่คือหัวใจของความสำเร็จครับ หากมีความเข้าใจผิดไปจากความจริง ความสำเร็จก็อาจล้มเหลวได้

    สิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวถึงนี้ ผมไม่ยืนยันว่าเป็นตามหลักวิชาการนะครับ ผมยืนยันว่าเป็นความเข้าใจของผมเองที่เคยผ่านงานด้านแก้วนี้มามากพอสมควร

    ก. ต้องเข้าใจถึงชนิดของแก้วก่อนว่าบนโลกนี้มีแก้วกี่ชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างใด

    ข้อ ก. นี้พระ อ. บารมีได้ตัดออกไป ผมเชื่อว่าเป็นการตัดที่ถูกต้องตามสไตล์ไทย ๆ เพราะแก้วชนิดอื่น ๆ นั้นมีราคาค่อนข้างสูงถึงสูงมาก ไม่สามารถทำการทดลองเล่น ๆ ได้ด้วยเงินจำนวนน้อย ( น้อยในที่นี้ก็ไม่น้อยนะครับ ) แม้แต่การทดลองสร้างด้วยแก้วธรรมดาที่หล่อเองก็ไม่น้อยแล้วล่ะครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เจาะลึกเฉพาะสิ่งที่พระ อ. บารมีต้องรู้ต้องเข้าใจก่อนการสร้าง

    ก. ชนิดของแก้วที่พระ อ. บารมีเลือกคือแก้วธรรมดา, sodalimesilica glass เอาเฉพาะแก้วธรรมดาก่อน ( ทรายทะเลขาว, ทรายก่อสร้างทรายแม่น้ำ หรือหินควอทซ์ จะกล่าวต่อไป )

    แก้วธรรมดา หรือหลายคนเรียก sodalimesilica glass ( soda ย่อมาจากโซดาแอ๊ซ สารละลายชนิดหนึ่ง ) + [ lime ย่อมาจากไลม์สโตนหรือหินฟันม้า ] + ( silica ย่อมาจากทรายทะเลขาวชนิดที่สามารถหล่อเป็นแก้วได้ ) ดังนั้นแก้วธรรมดาในที่นี้หมายถึงการหล่อสารเคมีปะปนกับทรายทะเลขาวให้กลายเป็นแก้ว

    อุณหภูมิที่ต้องการประมาณ 1,200 องศาเซลเซียสถึง 1,600 องศาเซลเซียสนานประมาณ 6 - 14 ชั่วโมง

    ชนิดของพลังงาน หากหล่อเองควรหาพลังงานที่สะอาด ไม่ทิ้งคราบดำเพราะอาจทำให้แก้วได้สิ่งปนเปื้อน สีของแก้วอาจไม่สวยงาม ไม่ใส

    แหล่งที่จะหาซื้อแก้วชนิดนี้ได้ทั้งในรูปแบบวัตถุดิบไปหล่อเอง หรือเป็นแก้วก้อนนำไปหลอมต่ออีกครั้งหนึ่ง คือตามโรงงานแก้วในประเทศไทยเกือบทุกโรงงาน 98% เป็นโรงงานหลอมแก้วธรรมดาทั้งสิ้น

    วัตถุดิบที่ยังไม่ได้หลอมจะมีหน้าตาเป็นทรายทะเลขาวปะปนกับแก้วแตก ๆ และมีสารเคมีในรูปแบบคล้ายฝุ่นทรายปะปนอยู่ สามารถนำไปหลอมเองที่ไหนก็ได้ ราคาแล้วแต่แต่ละโรงงาน ราคากิโลกรัมละประมาณ 10.- บาทถึงไม่น่าเกิน 200.- บาท

    ราคาก้อนแก้วที่นำไปหลอมต่ออยู่ที่แต่ละโรงงานกำหนด ชนิดดีหน่อยราคากิโลกรัมละอาจถึง 300.- บาท ชนิดธรรมดาประมาณกิโลกรัมละ 100.- บาท และชนิดรีไซเคิ้ลกิโลกรัมละ 10.- บาทไม่ถึงร้อยบาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2014
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ก. ชนิดของแก้วที่พระ อ. บารมีอาจสนใจ ( ทรายทะเลขาว, ทรายก่อสร้างทรายแม่น้ำ หรือหินควอทซ์ จะกล่าวต่อไป )

    ทรายทะเลขาว

    อุณหภูมิที่ต้องการประมาณ 1,600 องศาเซลเซียสถึง 2,000 องศาเซลเซียสนานประมาณ 10 - 30 ชั่วโมงแล้วแต่ชนิดของทราย

    ชนิดของพลังงาน หากหล่อเองควรหาพลังงานที่สะอาด ไม่ทิ้งคราบดำเพราะอาจทำให้แก้วได้สิ่งปนเปื้อน สีของแก้วอาจไม่สวยงาม ไม่ใส

    แหล่งที่จะหาเป็นทรายในธรรมชาติ มีตามหาดทรายและจังหวัดที่มีทรายทะเล แหล่งที่นำทรายทะเลขาวมาหลอมเป็นแก้วมักเป็นทรายที่มีบริษัทขนส่งทรายมาหลอมแก้วโดยเฉพาะขายกันเป็นรถสิบล้อ หรือบางทีก็พ่วง 18 ล้อ หรืออาจไปตักจากแหล่งที่อยู่ทะเล นำมาร่อนเอาสกปรกออก ตากแดด คัดทรายที่มีน้ำหนักและชนิดที่เหมือน ๆ กัน นำเอาแต่ที่คัดแล้วมาหลอมเป็นแก้ว

    คุณสมบัติของแก้วที่หลอมได้จากทรายทะเลขาวโดยไม่ใส่สารเคมี มักจะมีสีใสไม่ค่อยบริสุทธิ์ คือไม่ใสปิ้ง และที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ ความหนืดตัวค่อนข้างสูงกว่าแก้วธรรมดาที่ใช้สารเคมีช่วย ความหนืดตัวจะลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิให้แรงขึ้นมาก ๆ ในเวลาที่นาน ๆ หรืออาจใช้ปืนไฟเข้าช่วยเพื่อลดความหนืดเฉพาะจุดหรือเฉพาะบริเวณที่มีความกว้างประมาณ 0.5 - 4 นิ้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...