วีดีโอ poysian ถามเรื่องสร้างบาตรแก้ว หน้า 9 #169

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 8 ธันวาคม 2014.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    .......................

    เป็นเช่นนั้นครับ โดยเฉพาะโรงงานแก้วคริสตัลชนิดที่ใช้แฮนด์เมดและแบบปั้นขึ้นรูปฟรีฟอร์ม ต้องใช้เวลายาวนานในการขึ้นรูป แต่ถ้าเป็นโรงงานแก้วคริสตัลบางอย่างที่ทั้งโรงงานมีแต่งานปั๊ม pressed glass ก็ไม่จำเป็นต้องผสมเคมียืดช่วงการอ่อนตัวของแก้ว ซึ่งถ้าไม่ใส่เคมีตัวเพิ่มช่วงเวลาอ่อนตัว ข้อดีคือ เราสามารถอบแก้วได้ตามใจชอบมากกว่า และแก้วไม่ยุบตัว ไม่แบนง่าย

    ดังนั้นจึงมีสูตรของแก้วคริสตัลหลายสูตรไว้ให้ช่างแก้วเลือกใช้ตามที่งานต้องการ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    ......................

    เป็นเช่นนั้นครับ แต่ปัจจุบันมีการต่อยอดวิชา ลดปริมาณตะกั่วในสูตรแก้วคริสตัล แต่ยังคงเงางามเหมือนเดิม อาศัยการออกแบบเหลี่ยมมุมที่มีประสิทธิภาพทดแทนได้เช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทของออสเตรียทำได้ดีมานานแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    .....................

    เป็นเช่นนั้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขออนุญาตชี้แจงเพิ่มเติมในแต่ละข้อที่อ่าน

    .......................

    เป็นเช่นนั้น และยังมีการสร้างแก้วตะกั่วกันกัมมันตภาพรังสีโดยเฉพาะ เป็นกระจกแผ่นใช้ในห้อง X-Ray กระจกแผ่นนี้ใช้ทำที่กำบังในขณะที่ผู้ควบคุมเครื่องรังสียังสามารถมองเห็นผู้ป่วยได้ โดยที่รังสีไม่ผ่านตรง ๆ ถึงผู้ควบคุม แต่อย่างไรก็ดี ถ้ายังอยู่ในห้องถ่าย X-Ray ก็ยังเห็นต้องใส่ชุดป้องกันและต้องพกตัวนับการโดนรังสีด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2015
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมคัดลอกและทำลิ๊งค์ไปวิชาการดอทคอมที่ผมเคยเขียนไว้หลายปีที่แล้ว

    ที่เวปวิชาการดอทคอม
    Webboard กิจกรรมพิเศษ ทำไมพระพุทธรูปที่สร้างจากแก้วตัน ๆ จึงมีราคาสูงมาก

    กระทู้นั้นผมตั้งชื่อไว้ว่า
    ทำไมพระพุทธรูปที่สร้างจากแก้วตัน ๆ จึงมีราคาสูงมาก

    หน้า 2 ความคิดเห็นที่ 32 inchai 20 ส.ค. 2551 17.21 น.
    ( ยูสเซอร์เนม inchai คือผมเอง มาจากคำว่า พระอินทร์ใช้ )

    " ต่อไปนี้ผมจะได้อธิบายถึงคำถามที่เป็นหัวข้อกระทู้ที่ว่า " ทำไมพระพุทธรูปที่สร้างจากแก้วตัน ๆ จึงมีราคาสูงมาก " ถ้าตอบอย่างสั้น ๆ และง่าย ๆ ก็คือ เพราะผู้ผลิตแก้วดัง ๆ ของโลกอย่าง Swarovski, Lalique, Baccarat และอื่น ๆ ซึ่งมีไม่มากนัก ไม่ยอมขายชิ้นงานที่มีน้ำหนักประมาณ 10 ก.ก. ที่เป็นชิ้นเดียวในราคาถูก หากถามว่าแล้วเพราะเหตุใด เขาจึงไม่ขายในราคาถูก ก็อาจอธิบายได้ว่า คนที่มีความรู้ในเรื่องการอบลดอุณหภูมิของแก้วตันขนาดดังกล่าวอย่างแท้จริง มีไม่มาก และเป็นความลับ

    ผมเคยหาโรงงานแก้วในประเทศไทย ให้ทำการทดลองอบลดอุณหภูมิพระ 9 นิ้วตัน ในที่สุดก็พบทั้งสิ้นรวม 2 โรงในปี ค.ศ. 2005 และอีก 1 โรงมาพบภายหลัง โรงแรกเจ้าของโรงงานเมื่อทราบว่า ผมจะสร้างพระแก้วตัน 9 นิ้ว ก็ดีใจและว่า เขาจะทดลองเอง ค่าทดลองเขาออกเอง จึงเป็นที่มาของโครงการสร้างพระจากแก้ว 9 นิ้วของผมในครั้งนั้น และผมได้ลงทุนสร้างแม่พิมพ์เหล็กเสร็จแล้วซึ่งหมดเงินไปเป็นแสน ๆ ต่อมาทราบว่า เจ้าของโรงงานแรกและหุ้นส่วนเกิดมีปากเสียงกัน เนื่องจากค่าทดลองอาจแพงมาก

    โรงงานที่ 2 มีญาติเป็นเจ้าของโรงงานแก้วในไต้หวัน ญาติที่ไต้หวันติดต่อกับโปรเฟสเซอร์วิชาแก้วในเยอรมัน เขาจึงร่วมกันคิดคำนวน ในที่สุดก็ได้ตัวเลขว่า 2 ล้านบาทน่าจะสามารถทดลองและประสบผลสำเร็จ แต่ก็ไม่กล้ารับประกัน

    โรงงานที่ 3 เจ้าของโรงงานคิดค่าทดลองเป็นรายครั้งซึ่งก็แพงมาก นอกจากไม่รับรองอะไรเลยแล้ว ก็ยังสงวนสิทธิ์ที่ทางโรงงานจะไม่ให้ทดลองในครั้งใดก็ได้

    ขบวนการอบลดอุณหภูมิหรือที่เรียกว่า annealing process ก็ดี จะเรียกว่า glass forming relaxation ก็ดี ยากขนาดไหน ทำไมต้องมีการทดลอง ผมจะอธิบายเคร่า ๆ พอสังเขป

    เมื่อเทน้ำแก้วลงในแม่พิมพ์เหล็ก น้ำแก้วจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ 1200 - 1650 องศาเซ็นติเกรด ( แล้วแต่ชนิดของแก้ว ) ตัวแม่พิมพ์เหล็กจะต้องทำให้ได้อุณหภูมิ 500 - 800 c แล้วแต่ชนิดของแก้วและเทคนิคของช่างแต่ละทีม เมื่อกดน้ำแก้วเข้าแม่พิมพ์หมดแล้ว ช่วงเปิดแม่พิมพ์เหล็กนำชิ้นงานออกมา ชิ้นงานจะอยู่ที่อุณหภูมิ 650 - 950 c แล้วแต่ชนิดของแก้วและเทคนิค ช่วงนี้เองที่ชิ้นงานหากไม่ได้รับการย้ายเข้าสู่เตาอบลดอุณหภูมิให้ทันภายในเวลาไม่ถึง 2 นาที แก้วจะลดอุณหภูมิตัวเองเร็วมาก หากไม่เอาหัวแก๊สมาเลี้ยงความร้อนไว้ แก้วตันขนาดใหญ่และหนัก 10 ก.ก. นี้จะแตกเป็นเสี่ยง ๆ

    เมื่อนำชิ้นงานเข้าเตาอบที่เตาอบต้องมีอุณหภูมิรองรับที่ถูกต้องตามที่ชิ้นงานต้องการ ( ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีใครทราบว่า ชิ้นงานต้องการอุณหภูมิตรงนี้เท่าใด ) หากอุณหภูมิในเตาอบสูงกว่าที่ต้องการ ชิ้นงานจะเริ่มอ่อนตัวเอนหรือละลาย หากอุณหภูมิในเตาต่ำกว่าที่ชิ้นงานต้องการ ชิ้นงานจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ( ในกรณีที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ ก็เพราะอุณหภูมิต่ำกว่ามากเกินไป ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่าไม่มากนักแต่ก็ยังไม่ถึงกับที่ชิ้นงานต้องการ ชิ้นงานจะยังไม่แตกในทันที จะไปแตกหลังจากนำออกจากเตาอบไปแล้ว 1 วันบ้าง 3 วันบ้างหรืออาจนานกว่านั้นก็ได้ )

    อุณหภูมิที่ชิ้นงานในที่นี้ก็คือพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วตันต้องการ ขึ้นอยู่กับชนิดของแก้วด้วย เพราะถ้าเป็นแก้ว sodalimesilica อาจต้องการอยู่ในช่วง 600 - 700 c แก้วคริสตัล 24% อาจต้องการ 700 - 850 c แก้วควอทซ์อาจต้องการ 1,000 - 1,500 c ค่าความเที่ยงตรงตรงนี้อาจต้องบวกลบได้ไม่เกิน 50 c เท่านั้น หากไม่เช่นนั้นก็จะแตกร้าวภายหลังได้

    เมื่อนำเข้าเตาอบแล้ว ก็เริ่มลดอุณหภูมิ ซึ่งสูตรการลดอุณหภูมิส่วนมากเป็นความลับ แต่เท่าที่ทราบภายหลังจากเมืองนอกว่า มีการนำชิ้นงานน้ำหนักประมาณ 10 ก.ก. ขนาดใกล้เคียงกันกับพระแก้ว 9 นิ้วตัน ๆ หลังจากนั้นอีกประมาณ 20 - 30 วันจึงจะสามารถนำออกจากเตาอบได้ ความยากอยู่ตรงที่ไม่มีใครรู้ว่าจะเริ่มที่เท่าไร ต้องลดอย่างไร

    ภายหลังมาทราบแบบเคร่า ๆ ว่า แบ่งช่วงการลดเป็น 4 ช่วงเวลา
    ช่วงที่ 1 ลดชั่วโมงละครึ่งองศาเซ็นติเกรด นานเท่าใดไม่ทราบ ช่วงอุณหภูมิเท่าใดไม่ทราบ
    ช่วงที่ 2 ลดชั่วโมงละ 1 - 2 c
    ช่วงที่ 3 ลดชั่วโมงละ 2 - 4 c
    ช่วงที่ 4 ลดชั่วโมงละ 4 - 8 c
    ทั้งหมดไม่ทราบรายละเอียดที่แน่นอน

    ถ้าหากเทียบกับชิ้นงานแก้วกลวง แก้วโปร่ง ที่มีความหนาไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร มักใช้เวลาอบลดอุณหภูมิเพียง 4 - 24 ชั่วโมงเท่านั้น "

    ...........................

    ลิ๊งค์กระทู้ในวิชาการดอทคอม
    ทำไมพระพุทธรูปที่สร้างจากแก้วตัน ๆ จึงมีราคาสูงมาก | เว็บบอร์ด วิชาการ.คอม
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]

    นี่คืิอแม่พิมพ์เหล็กที่ผมจ้างโรงงานทำแม่พิมพ์สร้างขึ้น และเป็นแม่พิมพ์เหล็กที่ใช้หยอดน้ำแก้วลงไปในแม่พิมพ์ น้ำหนักแก้วรวมประมาณเกือบ 7 ก.ก. ภายในเวลาเพียงไม่ถึงนาที ด้วยทีมช่างแก้วที่ทุกคนตักรอไว้แล้ว กดด้วยเครื่องมือกดเพียงเสี้ยววินาที นำออกจากแม่พิมพ์เหล็ก ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียงประมาณ 2 นาที
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    .....................

    สิ่งที่ผมเคยเขียนไว้หลายปีที่แล้ว เป็นการยืนยันว่า ผมได้ใช้วิธีนั้นกับองค์พระแก้วตันองค์นั้น และผมยังคิดด้วยตนเองหรือเข้าใจด้วยตนเองอีกว่า เป็นเพราะผมใช้วิธีตั้งรับที่ 650 ํC แล้วรีบลดให้เหลือ 595 ํC ภายใน 5 นาที แล้วลดอีกให้เหลือ 550 ํC ภายใน 5 นาที ทำให้องค์พระแก้วตันไม่แตกผ่าครึ่ง ซึ่งวิธีหน่วงให้ความเครียดคลายออกบ้าง ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติซึ่งในธรรมชาติแล้วแก้วจะลดจาก 650 ํC ลงมาถึง 550 ํC ในเวลาเพียงนาทีเดียว ซึ่งผมเข้าใจเองว่า การที่ลดความร้อนเร็วขนาดนั้น ความเครียดน่าจะออกไม่ทันโดยเฉพาะในแก้วตัน ๆ ขนาดหน้าตัก 9 นิ้วและมีมวลน้ำหนักเกือบ 7 ก.ก. ( ถ้าแก้วบาง ๆ แค่ 2 ม.ม. ก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาหรือปัญหาน้อยกว่า )
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    สำหรับท่านที่กำลังหาลูกแก้วกลมขนาดใหญ่บนยอดเจดีย์หรือที่สูงมาก

    [​IMG]

    ลองเข้าไปอ่านในกระทู้เดิมที่ผมเคยเขียนเอาไว้ครับ เพราะแก้วกลมในท้องตลาดส่วนมากมักคุณภาพไม่ค่อยดี ลูกแก้วกลมที่คุณภาพผ่านการอบที่ดีจริง ๆ ในประเทศไทย ผมเห็นมีแต่ลูกแก้ววิทยาศาสตร์เท่านั้นครับ

    ขอเชิญอ่านกดลิ๊งค์


    http://palungjit.org/threads/ลูกแก้วกลมใหญ่บนยอดแหลมวิหารยอดเจดีย์-วิชาแก้ว.483528/
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คุณอ้วนอยากให้ผมนำรูปชิ้นงานแก้วในอดีตที่ผมเคยสร้างมาโพสต์บ้าง

    จากข้อความด้านบนนี้ ทำให้คุณอ้วนอยากให้ผมนำรูปภาพชิ้นงานแก้วในอดีตสมัยที่ผมเคยสร้างมาโพสต์ไว้บ้าง อยากให้โพสต์ในแต่ละชนิดเป็นตัวอย่าง

    ได้ครับ ผมจะค่อย ๆ โพสต์ชิ้นงานแก้วที่ผมเคยสร้างในอดีตนะครับ พร้อมคำอธิบายวิธีการสร้างหรือความยากพิเศษของชนิดหรือวิธีนั้น ๆ ครับ ผมเองโชคดีที่ได้เกิดเป็นลูกของคุณพ่อคุณแม่ที่สนับสนุนให้ผมรู้จักงานแก้วตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ๆ เท่าที่จำความได้ผมหัดเรื่องกรดกัดแก้วตั้งแต่ประมาณ 7 ขวบ และเป็นที่มาของความสนใจเรื่องแก้วมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอายุ 17 ปีผมก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตของโรงงานแก้วที่คุณพ่อเป็นเจ้าของ และได้ค้นคว้าวิธีต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาหลายปีนั้นโดยมีอาจารย์วิชาแก้วหลายท่านที่คุณพ่อเชิญมาสอนและมาร่วมงาน
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    โคมถนนหลังเต่าหลายขนาดแก้วหนาประมาณ 10 ม.ม. ยอดยากในสมัยนั้น

    พ.ศ. 2516 อันดับหนึ่งของความยากในสมัยนั้นสำหรับผมที่เข้ามารับงานหลายชนิดหลายขนาดหลายวิธีทั้งที่ไม่มีความรู้ คือการสร้างชิ้นงานแก้วรูปหลังเต่า เพื่อให้โรงงานต่าง ๆ นำไปประกอบเป็นโคมไฟถนนภายใต้ยี่ห้อต่าง ๆ หลายยี่ห้อ ยอดของความยากที่สุดและสูญเสีย เสียหายมากที่สุด เนื่องจากอบแล้วแตกผ่าครึ่งมากที่สุด แตกร้าวมาก และเนื่องจากคุณพ่อไม่ยอมให้ใช้แก้วชนิดอื่นนอกจากแก้วโซดาไลม์กล๊าสซึ่งราคาถูกที่สุดสร้าง จึงทำให้กดดันเรื่องคุณภาพเนื่องจากต้องทนความร้อนของหลอดชนิดต่าง ๆ ในสมัยนั้น เช่น หลอดแสงจันทร์ 160w 250w ที่ให้ความร้อนที่ผิวหลอดประมาณ 100 ํC แต่ที่ร้อนกว่านั้นคือหลอดไฟตระกูลไฮโซเดียมเพรสเซอร์สีเหลืองที่นิยมในสมัยนั้นที่ร้อนถึง 200 ํC ทำให้ผมมีความรู้สึกผิดที่ไม่ได้ทำให้ดีที่สุดเนื่องจากต้นทุนที่บีบให้อยู่ในราคาเพียงใบละเพียงไม่กี่ร้อยบาท

    ต่อมาในสมัยประมาณปี พ.ศ. 2550 เริ่มเห็นการใช้หลอดประเภทความร้อนต่ำ เช่น หลอดประหยัดไฟคอมแพคขั้วเกลียวที่ให้ความร้อนต่ำกว่า 60 ํC และในอนาคตคงต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งฝาครอบแก้วไม่มีความจำเป็นต้องใช้แก้ว คงใช้พลาสติคทดแทนได้


    [​IMG]

    ในยี่ห้อดี ๆ มีคุณภาพสูง เขาต้องใช้ทุกวิถีทางที่จะระบายความร้อนออกจากตัวเฮ้าส์ซิ่ง ไม่เช่นนั้นฝาครอบแก้วที่ต้องทนความร้อนประมาณ 200 ํC คืนละ 12 ชั่วโมงนานหลายปีจะกรอบได้ ยิ่งประเทศไทยทั้งหมดทุกยี่ห้อแข่งราคากัน จึงไม่มีทางได้ของดีไว้ใช้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2015
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    อัญจกลับ เรียกอีกอย่างว่าไฟห้อยทรงระฆังยอดง่ายและภูมิใจ

    [​IMG]

    พ.ศ. 2516 โคมอัญจกลับ เรียกอีกอย่างว่าไฟห้อยทรงระฆัง การสร้างที่ยอดง่ายและไม่มีความเสียหายเลย มีหลายขนาดมาก ตั้งแต่เล็ก ๆ ไปถึงใหญ่ ๆ แต่ที่่น่าภาคภูมิใจคือ ในปี พ.ศ. 2516 หลวงพ่อพุทธทาสได้สั่งให้ผมสร้างโคมอัญจกลับนี้ถวายต่อพระธาตุไชยาซึ่งโคมแก้วแตกไป ผมไม่ทราบว่าแตกไปกี่ใบ แต่ผมได้สร้างขึ้นใหม่ทั้งแม่พิมพ์ไม้จำนวนหนึ่ง ได้น้อมถวายที่หลวงพ่อพุทธทาสไปในปีนั้น ( แม่พิมพ์ไม้ได้ถูกกาลเวลาทำลายไปแล้ว )

    โคมอัญจกลับนี้เข้าใจว่ามีหลายโรงงานแก้วที่สร้างและส่งให้โรงงานโคมไฟสำเร็จรูปไปทำตัวเรือนโลหะ รวมทั้งโรงงานของคุณพ่อผมเองก็มีโคมอัญจกลับนี้หลายรุ่นหลายขนาดและที่พิเศษก็คือขนาดใหญ่ ๆ ที่ติดตั้งในหลายโรงแรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 00001.jpg
      00001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155 KB
      เปิดดู:
      1,233
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ท่านที่รออ่านกระทู้นี้ ขออภัยที่ล่าช้า ขอรออีกหลายวันเนื่องจากผมกำลังเกาะติดโพสต์กระทู้บุญสร้างศาลาวัดดอนธาตุที่เคยเป็นที่พำนักอาศัยของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ซึ่งหลวงปู่สรวง สิริปุญโญสร้างเป็นอาจาริยบูชา
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]
    ผมได้ไปกราบนมัสการถามคำถามเรื่องพระพุทธรูปหลอมจากทรายทะเลหรือแก้วแท้ ๆ กับหลวงปู่สรวง สิริปุญโญ ซึ่งคำตอบของท่านสามารถแก้ความข้องใจของผมได้ ผมจึงจะทำตามที่หลวงปู่สรวง สิริปุญโญได้เมตตาแนะนำผมเอาไว้

    การเขียนกระทู้เรื่องการหลอมการอบพระพุทธรูปหลอมจากทรายทะเลหรือจากแก้วชนิดต่าง ๆ ต่อจากนี้ไป จะเป็นไปตามที่ผมได้กราบเรียนหลวงปู่สรวงไว้ว่า ผมจะไม่ทำให้ใครเห็นช่องในการจะล้มต้นไม้เพื่อมาหลอมหรืออบพระแก้ว ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามที่ผมเคารพต่อพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระสงฆ์ที่ต้องใช้พื้นที่ในป่าเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส หากป่าไม้หมด หรือลดลง ผมคงมีโทษ เป็นบาปกรรมไปด้วย

    กระทู้จะถูกเขียนต่อไปอีกไม่นานนี้ครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    วันสองวันนี้จะได้มาต่อกระทู้นี้ครับ

    การโพสต์ในกระทู้นี้จะเริ่มทยอยโพสต์ต่อไปภายในวันสองวันนี้แล้วครับ เพราะรู้แนวทางปฏิบัติต่อไปที่เป็นคำตอบจากหลวงปู่สรวง สิริปุญโญที่ท่านเมตตาไขข้อกังขาในใจของผม ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติต่อไปแล้วครับ

    ถ้ายังไงท่านที่ติดตามกระทู้นี้สามารถเขียนคำถามไว้บนกระทู้ได้เลยครับ เพื่อที่จะได้สร้างชิ้นงานจากแก้วได้จริง ๆ โดยเฉพาะองค์พระพุทธรูปที่ผมจะได้พยายามให้คนสร้างได้องค์ใหญ่ ๆ ขนาดหน้าตัก 30 กว่านิ้วขึ้นไป จนกระทั่งอาจถึงหลายเมตร โดยมองดูเหมือนแก้วตัน แต่ความจริงเป็นแก้วกลวงที่มีความหนาเฉลี่ยบางที่สุดเท่าที่จะบางได้ เพื่อลดการใช้พลังงานอบซึ่งถ้าแบบตันแล้วต้องอบกันยาวนานมาก แค่แก้วหนาเพียง 9 นิ้ว ต้องใช้เวลาอบนานถึงประมาณ 1 เดือนเศษแล้ว ถ้าตัน ๆ หน้าตัก 40 - 50 นิ้ว ไม่ต้องอบนานเป็นปี ๆ หรือครับ ?

    แต่ถ้ากลวง อบกันไม่กี่วันก็เสร็จแล้วครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    นำกลับมาสู่ชิ้นงานแก้วในอดีตที่ผมเคยสร้างจำนวนมาก

    โคมไฟห้อยทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 - 8 นิ้ว ความสูงชิ้นแก้วประมาณ 1 เมตรเศษในชิ้นสีเขียวยอดแหลม ในเมืองนอกขายปลีกราคาอันละเกือบ 80,000.- บาท ( US$ 2,750.- ) ความหนาเฉลี่ยประมาณ 2 - 3 ม.ม.

    ส่วนโคมแก้วทรงกระบอกที่ผมเคยสร้างนั้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 - 7 นิ้ว ความสูงชิ้นแก้วประมาณ 70 ซ.ม. ความหนาเฉลี่ยประมาณ 2 - 3 ม.ม. สามารถนำไปทำโคมสนามที่ทนร้อนทนฝนนานนับสิบปีตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2516 - 2521 เลิกผลิตไปด้วยเหตุบางประการที่น่าเสียดาย แต่ฝรั่งกลับนำไปทำนำเงินตราเข้าประเทศจำนวนมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 005.jpg
      005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.4 KB
      เปิดดู:
      80
    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.1 KB
      เปิดดู:
      83
    • 010.jpg
      010.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.4 KB
      เปิดดู:
      87
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ในเมืองนอกยุค 1960 - 1970 เขาใช้แก้วทรงกระบอกปลายแหลมบ้าง ปลายตัดบ้างมาทำโคมห้อยกันมาก รวมทั้งแก้วกลมบอลขนาดใหญ่ทำโคมห้อยและโคมสนาม

    ส่วนประเทศไทยในยุคที่ผมสร้างนั้น มีการสร้างมาก่อนแล้ว ผมเข้าไปรับงานในยุคที่เขากำลังสร้างชิ้นงานแก้วขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และยักษ์ อย่างแก้วกลมยักษ์เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 24 - 36 นิ้วในสมัยนั้น เป็นงานที่ช่างเป่าแก้วจำนวนหนึ่งยังเป่าด้วยปอดไม่ค่อยได้ ต่อเมื่อผมเข้ารับงานตั้งแต่ปี 2516 ช่างเป่าแก้วด้วยปอดที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดีก็สร้างได้ และเก่งขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นที่มาของงานแก้วเป่าด้วยปอดชิ้นใหญ่ ๆ และปัจจุบันช่างเป่าแก้วด้วยปอดที่เก่ง ๆ ยังพอมีอยู่ เพียงแต่งานชิ้นใหญ่น้อยลงตามสมัย เมื่อจะสร้างก็ต้องมาฝึกฝนกันใหม่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 015.jpg
      015.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.7 KB
      เปิดดู:
      95
    • 016.jpg
      016.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.3 KB
      เปิดดู:
      78
    • 017.jpg
      017.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79 KB
      เปิดดู:
      76
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ปัจจุบันมีการสร้างชิ้นงานแก้วที่มีขนาดใหญ่ เปลี่ยนจากวิธีการเป่าด้วยปอดและการปั๊มแก้วด้วยเครื่องกด มาใช้วิธี lost wax เหมือนกับการเททองเหลืองอย่างไรอย่างนั้น ในปัจจุบันที่เมืองนอกโดยเฉพาะในอเมริกา ในยุโรป มีการสร้างชิ้นงานแก้วด้วยวิธี Lost Wax นี่แหละ เพียงแต่เปลี่ยนจากงานตัน ๆ มาเป็นงานกลวง ๆ ซึ่งทำให้กินเนื้อแก้วน้อย น้ำหนักไม่มาก และที่สำคัญคือขบวนการอบลดอุณหภูมิในแก้วบาง หรืออาจเรียกว่าแบบชิ้นงานกลวง สามารถกระทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรืออย่างมากก็แค่ 1 - 2 วันก็อบเสร็จแล้ว

    ดังนั้น ต่อจากนี้ไป ผมจะพยายามเขียนเน้นไปในเรื่องของการสร้างพระพุทธแก้วแบบกลวงที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ อย่างน้อยควรเริ่มที่ประมาณหน้าตัก 9 นิ้วขึ้นไปถึง 36 นิ้วก่อน เมื่อเข้าใจแล้ว การสร้างพระพุทธรูปแก้วแบบกลวงน่าจะได้เกิดขึ้น
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]
    การสร้างพระแก้วแบบกลวงเป่าด้วยปอดนั้น ในช่างไทยที่ฝึกฝนทักษะน้อย มักเป่าได้แบบในรูปนี้ คือแก้วตรงหัวเข่าจะบาง ( ขอให้ดูตรงหัวเข่าพระแก้วองค์นี้ที่เห็นความบางของเนื้อแก้ว ) ซึ่งต่างจากวิธี Lost Wax ที่เราสามารถสร้างให้หัวเข่ามีความหนาเท่าเทียมกับส่วนอื่น ๆ ได้ ดังนั้น การสร้างชิ้นงานแบบที่คนไทยเรียกติดปากว่า งานเททองหล่อพระจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะอบไม่นาน สิ้นเปลืองพลังงานน้อย และผมขออนุญาตขอร้องไว้ในที่นี้ว่า เพื่อรักษาป่าไม้ ขอให้ใช้เตาไฟฟ้าหรือเตาน้ำมัน อย่าใช้เตาไม้แบบ anagama เพราะจะทำลายป่าไม้ถึงแม้แบบกลวงจะใช้ไม้ไม่มากก็ตาม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0001.jpg
      0001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      174.1 KB
      เปิดดู:
      472
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]
    องค์นี้ก็กลวงครับ การสร้างชิ้นงานแก้วแบบกลวงถ้าสร้างด้วยวิธี Lost Wax เราสามารถกำหนดให้มีความหนาเท่าใดก็ได้ เช่น หัวเข่าหนา 10 ม.ม. ซึ่งแบบเป่าด้วยปอดทำไม่ได้ ( ยกเว้นช่างแก้วระดับโลกที่เก่งมากจริง ๆ )

    คราวนี้ลองนึกถึงว่า ถ้าเราสร้างพระแก้วกลวงแบบขี้ผึ้ง หน้าตักประมาณ 24 นิ้ว แล้วมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 12 ม.ม. สม่ำเสมอเท่ากันทั้งองค์ อบลดอุณหภูมิเพียง 2 วัน 2 คืน จะดีแค่ไหน แต่ถ้าเราสร้างอย่างตันหน้าตัก 24 นิ้วอาจต้องอบนาน 1 ปีกว่า ๆ ขึ้นไป

    และงบประมาณอย่างกลวงก็ถูกมาก ขึ้นอยู่กับว่า สร้างจำนวนมากหรือน้อย หากน้อยยังไงก็สูง ถ้าสร้างมาก ๆ ต้นทุนจะเฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ ค่าปั้นหุ้น ค่าทุกค่าจะถูกเฉลี่ยออกไป อาจเหลือองค์ละไม่กี่หมื่นบาทในแก้วชนิดโซดาไลม์กล๊าส ซึ่งผมยืนยันว่า ไม่จำเป็นต้องแก้วคริสตัลที่แพงเว้อร์ ทำสีฝ้าแบบนี้ ใครจะดูออกว่าตันหรือกลวง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0002.jpg
      0002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      199.4 KB
      เปิดดู:
      511
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มกราคม 2015
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,124
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    [​IMG]
    งานแก้วแบบขี้ผึ้ง Lost Wax นอกจากจะทำให้กลวง มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 12 ม.ม ได้แล้ว ยังทำให้คมชัดได้ถึงขนาดนี้ ลองคิดว่าถ้าองค์นี้หน้าตัก 24 - 36 นิ้ว เป็นแก้วสีฝ้า มองไม่ออกว่าตันหรือกลวง มีแสงไฟสว่างออกมาจากด้านใน หรือไม่ต้องแสงก็ได้ แล้วราคาไม่แพงมากเนื่องจากเราเลือกใช้แก้วโซดาไลม์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0003.jpg
      0003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      178.2 KB
      เปิดดู:
      476

แชร์หน้านี้

Loading...